Skip to main content
 
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
ที่ 004/2554
วันที่ 10 มีนาคม 2554
 
เจนีวา : เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2554 นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Justice for Peace Foudation) ในนามคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists–ICJ) ได้แถลงด้วยวาจาระหว่างการเสนอรายงานร่วมของคณะทางานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ (Working Group on Enforced or Involuntary Disappearance) และคณะทางานด้านการควบคุมตัวตามอาเภอใจ (Working Group on Arbitrary Detention) ขององค์การสหประชาชาติ ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา (Human Rights Council) เรียกร้องให้คณะทางานฯ ร่วมมือกับรัฐบาลไทยยุติการควบคุมตัวตามอาเภอใจ และให้ความกระจ่างถึงชะตากรรมของบรรดาผู้ถูกบังคับให้สูญหาย โดยให้รัฐบาลไทยตอบรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของคณะทางานของสหประชาชาติ
 
ทั้งนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ในการประชุมครั้งที่ 10 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลได้แสดงความยินดีต่อรัฐบาลไทยในการให้การรับรองว่าผู้กระทาผิดในการทาให้นายสมชายสูญหายจะต้องถูกนาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตามจนปัจจุบันยังไม่มีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมที่จะหาตัวผู้รับผิดชอบต่อการสูญหายของนายสมชาย นีละไพจิตร ในขณะที่ครอบครัวยังต้องเผชิญกับการข่มขู่ คุกคาม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่จะมีการอ่านคาพิพากษา
 
นางอังคณา ยังกล่าวถึงกรณีผู้สูญหายอื่นๆในประเทศไทยว่าคณะทางานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติได้รับกรณีผู้สูญหาย 57 กรณีและได้ส่งคาถามถึงรัฐบาลไทย พบว่ามี 54 กรณีของผู้สูญหายรวมถึงคดีนายสมชาย นีละไพจิตร ที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย
 
นอกจากนี้ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ยังได้แสดงความกังวลเรื่องการควบคุมตัวประชาชนตามอาเภอใจ ภายใต้พระราชกาหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในประเทศไทย โดยกล่าวว่า พระราชกาหนดฯ ฉบับนี้ ได้กัดกร่อนหลักนิติธรรม และหลักกฎหมายของประเทศไทย รวมถึงยังเป็นการส่งสัญญาณการขยายขอบเขตอานาจในการจับกุม และควบคุมตัวประชาชน โดยอนุญาตให้สามารถควบคุมตัวบุคคลได้ตามอาเภอใจ ซึ่งขัดแย้งกับมาตรา 9 ของกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
 
ทั้งนี้ ดร.เจรามี ซาร์กิน ประธานคณะทางานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ ของสหประชาชาติ ยังได้แถลงเรียกร้องให้รัฐต่างๆ พัฒนาให้มีกฎหมายภายในรัฐต่างๆ กาหนดให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรม รวมทั้งการรับรองสิทธิของเหยื่อและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะทราบความจริง สิทธิในความยุติธรรม และสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา
 
ในขณะที่ประธานคณะทางานด้านการควบคุมตัวตามอาเภอใจของสหประชาชาติ ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยตอบรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของคณะทางานฯ เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การควบคุมตัวบุคคลโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย และกติกาสากลระหว่างประเทศ