Skip to main content
หมายเหตุ: รายงานของ International Crisis Group ชิ้นนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2554 กรุณาดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ Thailand: The Calm before Another Storm? (pdf file in enlish)
 
Asia Briefing N°121
Bangkok/Brussels, 11 April 2011
 
ประเทศไทย: ความสงบก่อนพายุอีกลูกจะมาเยือน?
 
I.                บทนำ
 
ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังจากการสลายการชุมนุมขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านชนชั้นนำเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว แม้ว่ารัฐบาลจะได้พยายามสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงแต่มวลชนยังคงให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง และความแตกแยกทางการเมืองก็ยังคงดำรงอยู่ แผนปรองดองแห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศไว้มิได้นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ใดๆ ภายหลังการสลายการชุมนุมได้มีการก่อเหตุวางระเบิดซึ่งคาดว่าเป็นการกระทำของคนเสื้อแดงที่โกรธแค้นและดูเหมือนว่าจะเป็นฝืมือของผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากนัก การต่อสู้แบบใต้ดินมิได้ปรากฎขึ้นจริงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกกังวล ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มชาตินิยมเสื้อเหลืองได้หันมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทั้งที่การเคลื่อนไหวของพวกเขาก่อนหน้านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลชุดนี้ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ กลุ่มเสื้อเหลืองอ้างว่าการเลือกตั้งไม่มีประโยชน์ในสภาวะที่การเมือง “สกปรก” และเรียกร้องให้คนไทยไม่ลงคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองใดๆ การทำให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย แม้ว่าการเลือกตั้งจะเสรี ยุติธรรมและสันติ การแทรกแซงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของกลุ่มชนชั้นนำจะเป็นประเด็นที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงรอบใหม่ของกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งอาจจะผลักให้เกิดการเผชิญหน้าทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
 
การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 ได้นำไปสู่การปะทะทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและผู้ชุมนุมประท้วงที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่และมีผู้ที่ต้องสูญเสียชีวิตถึง 92 คนการใช้กำลังสลายการชุมนุมของรัฐบาลอาจจะทำให้คนเสื้อแดงอ่อนแอลง แต่ไม่อาจทำลายการเคลื่อนไหวที่ยังคงได้รับการสนับสนุนจากผู้คนหลายล้านคน โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน การจับกุมแกนนำและการปิดสื่อและช่องทางการสื่อสารยิ่งจะเป็นการตอกย้ำถึงความอยุติธรรม แม้คนเสื้อแดงบางกลุ่มจะเลือกตอบโต้ด้วยความรุนแรง แต่ว่าแกนนำได้ยืนยันในแนวทางสันติวิธี การต่อสู้ครั้งต่อไปจะเป็นการต่อสู้ในสนามเลือกตั้งซึ่งคนเสื้อแดงจะสนับสนุนแนวร่วมพรรคการเมืองของพวกเขา คือ พรรคเพื่อไทย
 
การต่อสู้ที่ยืดเยื้อระหว่างกลุ่มชนชั้นนำและผู้สนับสนุนอันประกอบไปด้วยสถาบันกษัตริย์ กองทัพ และศาล กับกลุ่มที่เป็นแนวร่วมของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เริ่มต้นขึ้นเมื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้ก่อตัวขึ้นในปี 2549 ทักษิณถูกขับออกจากอำนาจด้วยการรัฐประหารในเดือนกันยายน2549 แต่เหตุการณ์นั้นก็ได้ผลักให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านอีกขั้วหนึ่ง คือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง การปิดสนามบินในกรุงเทพฯ ของ พธม. ในปี 2551 ได้ก่อให้เกิดสภาวะทางตันซึ่งยุติลงเมื่อศาลได้มีคำพิพากษายุบพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็น “หุ่นเชิด” ของทักษิณและนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งทหารให้การสนับสนุน สองปีต่อมา ขบวนการเคลื่อนไหวชาตินิยมสุดขั้วของคนเสื้อเหลืองก็เริ่มขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยเป็นพันธมิตรของพวกเขา พธม. ได้ชุมนุมประท้วงที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ซึ่งพวกเขากล่าวหาว่าล้มเหลวในการปกป้อง “ดินแดนไทย” ในประเด็นความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา ข้อเรียกร้องของกลุ่มพธม. ให้ผู้นำที่มี “คุณธรรม” มาทำหน้าที่แทนนายกฯ อภิสิทธิ์ได้ก่อให้เกิดคำถามว่า พธม. กำลังเรียกร้องการรัฐประหารเช่นนั้นหรือ
 
นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศว่าจะยุบสภาในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมภายหลังจากรัฐสภาผ่านกฎหมายลูกอันเกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขกฎเกณฑ์ในการเลือกตั้ง เขาเร่งดำเนินการให้เกิดการเลือกตั้งโดยเร็วท่ามกลางกระแสข่าวลือเกี่ยวกับการรัฐประหาร พรรคประชาธิปัตย์คาดว่ากติกาการเลือกตั้งใหม่ รวมถึงโครงการแจกจ่ายเงินก่อนการเลือกตั้งจะสามารถทำให้พรรคได้ที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) มากขึ้นและสามารถกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีกสมัยหนึ่ง ในขณะที่ทักษิณยังคงได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงว่าพรรคเพื่อไทยอาจจะได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง การถกเถียงกันในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างเข้มข้น นปช. ได้ขู่ที่จะกลับคืนสู่ท้องถนนถ้าหากพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งแต่ว่าไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ความพยายามใดๆ ของฝ่ายชนชั้นนำในการบิดเบือนผลการเลือกตั้งจะเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่การประท้วงและความรุนแรงได้ แต่ถ้าสถานการณ์เกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม ถ้าพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงเพียงพอและได้จัดตั้งรัฐบาล พธม. อาจจะกลับมามีพลังอีกครั้งขึ้นและพวกเขาก็คงจะไม่อดทนกับรัฐบาลที่เป็น “หุ่นเชิด” ของอดีตนายกฯ ทักษิณ
 
แม้ว่าการเลือกตั้งจะไม่สามารถยุติความแตกแยกทางการเมืองและสถานการณ์หลังการเลือกตั้งดูเหมือนจะมืดมนประเทศไทยยังควรที่จะเดินหน้าอย่างเต็มที่ไปสู่การเลือกตั้ง ข้อตกลงในเรื่องกฎกติกาการเลือกตั้งและการสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั้งจากองค์กรภายในและนอกประเทศอาจจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและลดความรุนแรงในการเลือกตั้งลงได้ ถ้าหากว่าการจัดตั้งรัฐบาลดำเนินไปได้สำเร็จลุล่วง รัฐบาลที่มาจากเสียงประชาชนจะมีความชอบธรรมมากขึ้นในการริเริ่มสร้างความปรองดองทางการเมืองในระยะยาวให้เกิดขึ้นได้
 
Thailand: The Calm before Another Storm?
 
I.                OVERVIEW
 
Nearly a year after the crackdown on anti-establishment demonstrations, Thailand is preparing for a general election. Despite government efforts to suppress the Red Shirt movement, support remains strong and the deep political divide has not gone away. Prime Minister Abhisit Vejjajiva’s roadmap for reconciliation has led almost nowhere. Although there have been amateurish bomb attacks carried out by angry Red Shirts since the crackdown, fears of an underground battle have not materialised. On the other side, the Yellow Shirts have stepped up their nationalist campaigns against the Democrat Party-led government that their earlier rallies had helped bring to power. They are now claiming elections are useless in “dirty” politics and urging Thais to refuse to vote for any of the political parties. Even if the elections are free, fair and peaceful, it will still be a challenge for all sides to accept the results. If another coalition is pushed together under pressure from the royalist establishment, it will be a rallying cry for renewed mass protests by the Red Shirts that could plunge Thailand into more violent confrontation.
 
The Red Shirt demonstrations in March-May 2010 sparked the most deadly clashes between protestors and the state in modern Thai history and killed 92 people. The use of force by the government may have weakened the Red Shirts but the movement has not been dismantled and is still supported by millions of people, particularly in the North and North East. Arresting their leaders as well as shutting down their media and channels of communication has only reinforced their sense of injustice. Some in the movement’s hardline fringe have chosen to retaliate with violence but the leadership has reaffirmed its commitment to peaceful political struggle. The next battle will be waged through ballot boxes and the Red Shirts will throw their weight behind their electoral wing, the Pheu Thai Party.
 
The protracted struggle between supporters of the elite establishment – the monarchy, the military and the judiciary – and those allied with ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra began with the formation of the “yellow-shirted” People’s Alliance for Democracy (PAD) in 2006. The September 2006 coup removed Thaksin from power but prompted the emergence of a counter movement: the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD) or Red Shirts. The PAD’s campaigns to close down Bangkok airports in 2008 created deadlock that was resolved by a court ruling that removed Thaksin’s “proxy” party – People Power Party – from power. This led to the formation of the Democrat-led coalition government, backed by the military. Two years later, the ultra-nationalist Yellow Shirts have apparently split from their former allies and are protesting outside Government House against Abhisit’s alleged failure to defend “Thai territory” in the Preah Vihear border dispute with Cambodia. The PAD’s call for a “virtuous” leader to replace the prime minister has raised concerns that it is inviting the military to stage a coup.
 
Abhisit has stated he will dissolve parliament in the first week of May after expediting the enactment of legislation to revise key electoral rules. He is moving quickly towards the elections amid rumours of a coup. With the new rules and pre-poll largesse, the Democrat Party hopes to secure more seats and position itself to lead another coalition. Thaksin is still popular with much of the electorate and there is a strong possibility that his de facto Pheu Thai Party could emerge as the largest party. The formation of the government is likely to be contentious. The UDD has threatened to return to the streets if Pheu Thai wins a plurality but does not form the government. Obvious arm bending by the royalist establishment to this end is a recipe for renewed protests and violence. Should the opposite occur, and Pheu Thai has the numbers to lead a new government, the Yellow Shirts might regain momentum; they are unlikely to tolerate a “proxy” Thaksin government.
 
While elections will not resolve the political divide and the post-election scenarios look gloomy, Thailand nevertheless should proceed with the polls. A well-publicised electoral code of conduct and independent monitoring by local and international observers could help enhance their credibility and minimise violence during the campaign. If installed successfully, the new government with a fresh mandate will have greater credibility to lead any longer term effort to bring about genuine political reconciliation.
File attachment
Attachment Size
b121-_thailand-_the_calm_before_another_storm.pdf (437.6 KB) 437.6 KB