Skip to main content
 
 
เผยแพร่วันที่ 26 เมษายน 2554
 
 
 
 
ผู้ถูกควบคุมตัว 5 คนจังหวัดสงขลายื่นคำร้องคัดค้านการควบคุมตัวไม่ชอบ
เจ้าหน้าที่ใช้พรก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่สี่อำเภอ จ.สงขลา
ประชาชนสับสนและขาดความเชื่อมั่นในการใช้กฎหมายพิเศษ
 
          เมื่อวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2554 ที่ศาลจังหวัดปัตตานี โดยทนายความของผู้ถูกควบคุมตัวจำนวน 5 คน นายมะนาเซ สะมะแอ นายสุริยา แวนาแว นายอับริก สหมานกูด นายรอหีม หลำโสะ และนายดอเลาะ เดนอายัด ราษฎรจากอำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ถูกจับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554 ปัจจุบันถูกควบคุมตัวตามอำนาจพรก.ฉุกเฉินที่ศูนย์พิทักษ์สันติ จังหวัดยะลา ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขยายระยะเวลาการควบคุมตัวตามพรก.ฉุกเฉินฯ ที่ออกโดยศาลจังหวัดปัตตานี ซึ่งผู้ถูกควบคุมตัวทั้หมดได้ถูกจับกุมจากอำเภอเทพาและอำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา
 
เหตุที่ญาติได้ยื่นคัดค้านการควบคุมตัวโดยหมายจับพรก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากในระหว่างที่มีการควบคุมตัวนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ซักถามถึงเหตุการณ์ที่เป็นเหตุในการขอออกหมายจับและควบคุมตัวตามพรก.ฉุกเฉินฯ แต่กลับซักถามข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ได้มีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินฯ และไม่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่สี่อำเภอจังหวัดสงขลาแต่อย่างใด  นอกจากการนี้การควบคุมตัวดังกล่าวอาจเป็นไปเพื่อแสวงหาหลักฐานเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินคดีอาญากับบุคคลมีภูมิลำเนาในพื้นที่ที่ไม่ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินอีกด้วย  ทั้งนี้อาจจะทำให้ประชาชนในพื้นที่สี่อำเภอจังหวัดสงขลาสับสนในการบังคับใช้กฎหมายพรก.ฉุกเฉินและขาดความเชื่อมั่นกับการบังคับใช้พรบ.ความมั่นคงในพื้นที่สี่อำเภอจังหวัดสงขลา
 
          ศาลจังหวัดปัตตานีได้มีคำสั่ง “นัดไต่สวนวันที่ 29 เมษายน ศกนี้ ซึ่งเป็นวันครบระยะเวลาควบคุมตัว เวลา 09.00 น. หมายแจ้งนัดพร้อมสำเนาคำคัดค้านให้ผู้ร้องทราบโดยเร็ว และให้ผู้ร้องนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลในวันนัดด้วย”  ณ ศาลจังหวัดปัตตานี ซึ่งทนายความได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้ควบคุมตัวผู้ถูกควบคุมตามพรก.ฉุกเฉินฯ ต่อศาลจังหวัดปัตตานีอีกครั้งในวันอังคาร ที่ 26 เมษายน 2554 เพื่อให้ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งให้นำตัวบุคคลทั้ง 5 มาไต่สวนโดยทันที รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  และตามมาตรา 32 ซึ่งได้รับรองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ อย่างไรก็ตาม การจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจนั้น ก็เฉพาะเท่าที่จำเป็นและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ (มาตรา 29 และมาตรา 32) เนื่องจากศาลมีบทบาทในการถ่วงดุลการใช้อำนาจบริหารจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในสถานการณ์ความไม่สงบ  ประชาชนย่อมต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม ตามมาตรา 39   และการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา หน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม  ภายใต้