Skip to main content

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สถานที่
: โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี
วันเวลา : 6 มีนาคม 2551 เวลา 08.00 - 12.30 น.

 

เวทีสาธารณะเรื่อง
"มิติสิทธิมนุษยชนกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้"

(ร่าง) กำหนดการ

07.30 น.   รับประทานอาหารเช้า        

08.00 น.   ลงทะเบียน

08.30 น.   กล่าวเปิดโดย ดร.อิสมาแอ อาลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลาม *  มอ.  ปัตตานี

09.00 น.   สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ เสนอความเห็นโดย

- คุณอังคณา นีละไพจิตร คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ *

- พลตำรวจโทอดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจส่วนหน้า *

- พลตรีจำลอง คุณสงค์ กองอำนวยการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร *

- คุณอับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ อับดุลสุโก ดินอะ นักวิชาการ

- คุณพระนาย สุวรรณรัฐ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ *

- ตัวแทนนักศึกษา *

ดำเนินรายการโดย คุณอิสมะแอ สาและ รองเลขาธิการสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

11.00 น.   พักรับประทานอาหารว่าง

11.15 น.   กลไกและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้

โดย ศ.วิฑิต มันตาภรณ์  คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12.15 น.   กล่าวปิด โดย คุณสมชาย หอมลออ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

หมายเหตุ : * อยู่ระหว่างการติดต่อ

 

1. ความเป็นมาและสภาพของปัญหา

สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อันได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นั้น นอกจากความเชื่อมโยงกันกับบริบททางประวัติศาสตร์สยาม-ปาตานีแล้ว รากเหง้าสำคัญของปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คอยเป็นฟืนเติมให้ไฟใต้ปะทุคุกรุ่นอยู่เสมอก็คือปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากการไม่เคารพในความแตกต่าง อีกทั้งการปฎิเสธความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ที่สะท้อนให้เห็นได้ตั้งแต่พัฒนาการการสร้างชาติในอดีตด้วยนโยบายรัฐนิยม 12 ฉบับ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม อันเป็นการบีบบังคับให้ประชาชนไทยเชื้อสายมาลายูมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องดำเนินชีวิตประจำวันที่ขัดต่อหลักศาสนาและวัฒนธรรมอิสลาม  จนกระทั่งปัจจุบันโดยแนวทางการจัดการกับสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สะท้อนให้เห็นการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากสาเหตุความแตกต่างทางเชื้อชาติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง  ไม่ว่าจะเป็นในด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ทั้งที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยบุคคลเอกชนด้วยกันเอง หรือการเลือกปฏิบัติโดยนโยบาย กฎหมาย ระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติของรัฐ ซึ่งการไม่ได้รับความไม่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนนี่เองที่เป็นอุปสรรคประการสำคัญต่อความพยายามในการดับไฟใต้ด้วยวิถีทางแห่งนิติธรรม และการเคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นวิถีซึ่งจะนำมาสู่สันติสุขและสันติภาพอย่างแท้จริง

อนึ่ง เพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคมในการหารือ ทำความเข้าใจ และแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ เกี่ยวกับสถานการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยศึกษาถึงปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอุปสรรค  ปัญหาในการเข้าถึงและใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ และการแก้ไขเยียวยา ทั้งปัจจัยภายใน อันได้แก่ วิถีชีวิต ความเป็นชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรมและความเชื่อ เป็นต้น และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ทัศนคติของสังคม และสถาบันต่างๆของสังคม รวมทั้งศึกษากฏหมายระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชนสากล และการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยและผลกระทบต่าง ๆ  ที่ส่งผลต่อสถานการณ์ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอยู่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงเห็นควรจัดให้มี เวทีสาธารณะเรื่อง "มิติสิทธิมนุษยชนกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้" เพื่อเป็นการศึกษาและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของหุ้นส่วนของปัญหา อันได้แก่ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคราชการ นักศึกษา ทนายความ ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ทางผู้จัดฯ เรียนเชิญ  ศ.วิฑิต มันตาภรณ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเป็นผู้มีบทบาทในด้านการสร้างสันติภาพและรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล กล่าวปัจฉิมนิเทศ เรื่อง "กลไกและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้"  เพื่อศึกษาทำความเข้าใจร่วมกันในประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข โดยอาศัยการมีส่วนร่วมด้วยวิถีทางแห่งสันติวิธีและการเคารพสิทธิมนุษยชน 

2. วัตถุประสงค์

1.เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็น  

2.เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อปัญหาสถานการณ์รุนแรงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อศึกษาและแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ในประเด็นสิทธิมนุษยชน

3. ผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คนจาก

  1. องค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม
  2. นักวิชาการ
  3. ภาคราชการ
  4. ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
  5. นักศึกษา
  6. ประชาชนทั่วไป

 

4.   ผู้รับผิดชอบการจัดประชุม                          

  1. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  2. สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
  3. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

5. วัน เวลา และสถานที่

         วันที่ 6 มีนาคม 2551 เวลา 8.00 - 12.30 นาฬิกา ณ โรงแรมซี.เอส. ปัตตานี

299 หมู่ 4 ถ.หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี

โทรศัพท์  073 335093-4, 073 336090-6

6.   ติดต่อประสานงาน

  1. คุณญาดา หัตถธรรมนูญ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  เลขที่ 111 ซ.สิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. 10310  โทรศัพท์ 02-6934939, 02-6934831, 089-1309757 โทรสาร 02-2753954   e-mail [email protected]