“อิสลามในอินโดนีเซีย : ทางสายกลาง และสันติภาพ
หมายเหตุ : คำกล่าวบรรยายโดย H.E. Mohammdad Hatta เอกอัครราชทูต อินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย ในเวทีเสวนาสาธารณะ “อิสลามในอินโดนีเซีย : ทางสายกลาง และสันติภาพ เมื่อวันอังคาร 20 ธ.ค. 54 ณ โรงแรมหรรษาเจ.บี. หาดใหญ่
H.E. Mohammdad Hatta เอกอัครราชทูต อินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย
อิสลามในประเทศอินโดนีเซีย มีความแตกต่างกันกลากหลายมิติเมื่อเทียบกับอิสลามทั่วภูมิภาคหรือทั่วโลก อิสลามในอินโดนีเซียเป็นอิสลามสายกลาง ซึ่งได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมจากอาหรับน้อยมาก การเข้ามาของอิสลาม เข้ามาโดยคณะซูฟีย์ หรือมาจากกลุ่มนักปราชญ์ ผู้รู้ หรือแม้แต่พ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในอินโดนีเซีย เมื่อดูทางด้านภูมิศาสตร์ หรือภูมิประเทศอินโดนีเซียแล้ว อินโดนีเซียอยู่ห่างจากตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของอิสลามมาก แม้กระนั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำความเข้าใจในศาสนาอิสลามแต่อย่างใด
ก่อนอินโดนีเซียจะเป็นสาธารณรัฐ หรือก่อนประกาศอิสรภาพ อินโดนีเซียมีความเป็นอาณาจักร มีสุลตาลปกครองพื้นที่ และสุลตาลจะเป็นผู้นำของแต่ละศาสนา หลังจากปีประกาศเอกราชอินโดนีเซีย แม้ว่าประชากรในประเทศอินโดนีเซียจะมีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้นำประเทศต้องมารวมกันคิดว่าในประเทศมีชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก และมีเกาะ 17,000 กว่าเกาะ เป็นเหตุให้อินโดนีเซียไม่ได้นำเอาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติได้ เนื่องจากยังมีศาสนาอื่นๆอยู่ในประเทศอีกด้วย
ประชากรอินโดนีเซีย 20 กว่าล้านคน มีระบบการศึกษาในประเทศเกิดขึ้นสองรูปแบบ รูปแบบแรกเป็นการศึกษาในระบบ ซึ่งได้รับการยอมรับไปทั่วอินโดนีเซีย และทั่วโลก และอีกรูปแบบคือ การศึกษานอกระบบ ซึ่งไม่ได้รับความยอมรับจากรัฐ เช่น สถาบันปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา และสามัญ หรือ Pesantren เปอซันเตรน
ความเข้มแข็งของอิสลามในอินโดนีเซียสามารถพิสูจน์ได้โดยดูจากการเกิดขึ้นของสถานบันปอเนาะ และมีบางกลุ่มเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่งมีความพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม โดยการใช้ความรุนแรง แต่การกระทำเช่นนี้ก็ไม่สามารถทำให้เกิดการยอมรับได้ นักวิเคราะห์ในประเทศจำนวนมากวิเคราะห์ว่า ถึง แม้อินโดนีเซียจะเผชิญกับความรุนแรงมากมายทางศาสนา ปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเป็นอิสลามสายกลางในอินโดนีเซียได้
การเข้ามาของอิสลามในอินโดนีเซีย ในพื้นที่ชวา ศาสนาที่มีความโดดเด่นในชวาคือศาสนาฮินดู ซึ่งมีประเพณีต่างๆมากมาย เช่น พิธีกรรมสำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์ และเมื่อมีการเสียชีวิต จะมีการเลี้ยงรำลึก 7 วัน 40 วัน หรือ 100 วัน ในพิธีกรรมเหล่านี้อิสลามในอินโดนีเซียได้นำควบเข้ากันระหว่างวัฒนธรรมเดิม คือ ฮินดู กับอิสลามได้
ส่วนวัสดุ ที่เป็นสัญลักษณ์ของฮินดู เช่น Geduk กลองใหญ่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเดิมของฮินดูเพื่อมีไว้ตีเพื่อใช้ในพิธีการทางศาสนา เมื่ออิสลามเข้ามาก็สามารถใช้กลองเพื่อเรียกร้องให้ทราบเวลาละหมาดได้ แม้ว่าการเข้ามาของฮอลแลนด์ ที่ปกครองอินโดนีเซียมา 300 กว่าปี ได้นำเอาศาสนาคริสต์เข้ามา แต่ก็ยังไม่สามารถลบภาพลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของวัฒนธรรมเดิมออกไปได้ อิสลามมีการส่งเสริมประเพณีเดิมที่มีอยู่ หากไม่มีความขัดแย้งกับความเป็นอิสลาม เช่น การกล่าวตะฮลีล (กล่าวสรรเสริญ) ในอินโดนีเซีย มีการอ่านในหลายๆพิธีกรรม เช่น ขึ้นบ้านใหม่
พิธีแต่งงานของชาวเบอตาวี หากมีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นที่ต้องหมายของผู้ชาย ฝ่ายชายต้องมีการเตรียมพร้อมในการอ่านอัลกุรอาน หากไม่มีความพร้อมหรือเสียงไม่ดี ก็ไม่สามารถเข้าไปสู่ขอ หรือแต่งงานได้
คุณลักษณ์ของอิสลามในอินโดนีเซีย คือการพึ่งพาตนเองโดยปราศจากการสนับสนุนจากรัฐบาล สถาบันอิสลามในอินโดนีเซียมีความเข้มแข็งด้วยตนเอง เช่นการเก็บซากาต จะมีการผลักดันจากภายนอกให้มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นมาดูแลภายใต้กระทรวงการศาสนา และกระทรวงก็ต้องให้ความสำคัญต่อศาสนาทุกๆศาสนา แม้ว่ารัฐมนตรีกระทรวงจะเป็นมุสลิม และแม้ว่าผู้นำประเทศของอินโดนีเซียเป็นมุสลิม แต่เมื่อถูกเชิญให้ไปร่วมประเพณีของแต่ละศาสนา ผู้นำเหล่านี้ก็ต้องไปร่วมงาน และร่วมในการสวดอ่านของแต่ละศาสนา แต่ก็ไม่ได้เชื่อหรือศรัทธาในศาสนานั้นแต่อย่างใด
มีกลุ่มมุสลิมบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการประกาศของผู้นำ ที่ไม่ได้นำเอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ มีความพยายามตั้งกลุ่มใต้ดิน เพื่อเป้าหมายแบ่งแยกดินแดนเพื่อให้เกิดรัฐอิสลาม แต่ไม่ได้เกิดความยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่ความเป็นอิสลามในอินโดนีเซียส่วนใหญ่เมื่อเกิดเหตุการณ์โดยขบวนการคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นมาเกิด ทำให้เกิดความร่วมระหว่างมุสลิมนิกายต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อต่อต้านกระแสคอมมิวนิสต์
การเผยแพร่ศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นอิสลามแบบผสมวัฒนธรรม คือ อิสลามที่มีอยู่ในสถาบันการศึกษา ใช้การระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือ และอิสลามแบบการเมือง มีการเผยแพร่โดยใช้กระบวนการทางการเมือง ซึ่งมีการแจกจ่ายเงิน แต่ในรูปแบบที่สอง ได้รับการยอมรับในสังคมอินโดนีเซียน้อยมาก
อิสลามวัฒนธรรม ยิงนานยิ่งมีอิทธิพลในอินโดนีเซีย ก่อให้การก่อตั้งกลุ่มเกิดขึ้น แต่ไม่ได้เป็นพรรคการเมือง เป็นองค์กรเอกชน แต่สมาชิกภายในองค์กรสามารถเข้าไปเล่นการเมืองในระบบได้
ความเป็นประชาธิปไตยมีอยู่ในความเป็นอิสลามอินโดนีเซีย เห็นได้จากการเลือกตั้ง หรือเลือกตัวผู้นำทั้งในระดับล่างจนระดับชาติ ซึ่งแม้ว่าจะมีพื้นที่ที่มีมุสลิมเป็นจำนวนมาก แต่คนที่ถูกคัดเลือกเป็นคนที่ไม่ใช่มุสลิม เนื่องจากชาวบ้านจะเลือกผู้ที่มีความสามารถขึ้นมาเป็นตัวผู้นำ
สำหรับมุสลิมการขอความช่วยเหลือมุสลิมจะขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ เป็นอันดับแรก ต่อมาก็ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่แค่ว่าขอความช่วยเหลือเฉพาะมุสลิมแต่อย่างใด จะมีการยึดเอาความสามารถ และลักษณะนิสัยมาเป็นเกณฑ์การเลือกขั้นต้น
ส่วนงานการดะวะห์ การเผยแพร่เพื่อพัฒนา การใช้ความรุนแรงไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ความรุนแรงได้ รัฐบาลพยายามจับกุมคนกลุ่มนี้ แต่เมื่อปล่อยตัวออกมาแล้วก็ยังคงปฏิบัติการความรุนแรงต่อไป การดะวะห์ หือการเผยแพร่เพื่อพัฒนา ควรเป็นไปด้วยกาย วาจา
กรณีของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่อาเจะห์ รัฐบาลกลางได้มอบการปกครองตนเองแก่ชาวอาเจะห์ ซึ่งสามารถใช้กฎหมายอิสลาม หรือชารีอะห์อิสลามได้ แต่อยู่ภายใต้รัฐเดียว เหตุผลก็เนื่องจากว่าในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน รัฐบาลได้มอบสิทธิให้แต่ละพื้นที่ปกครองตนเองได้ โดยอยู่ภายใต้นโยบาย “หนึ่งเดียวทางความหลากหลายทางชาติพันธ์”
http://www.bungarayanews.org/news/view_news.php?id=596