Skip to main content
ศึกษาแนวคิดงานบูรณาการกระบวนทัศน์พัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมิติองค์รวม (รูปธรรม นามธรรม เชิงซ้อน)[1]
 
อิสมาอีล เจ๊ะนิ
นักวิจัยศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย
อาจารย์โรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

 
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฎฐ อินทรสุวรรณ (2553 : 36-42) ได้กล่าวถึง แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตว่าได้มีการพัฒนาเพื่อแทนที่การใช้ดัชนีผลผลิตมวลรวมประชาชาติต่อหัวประชากร ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากข้อเสนอของสหประชาชาติในปี ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) ที่กล่าวถึงแนวคิดคุณภาพชีวิต แต่เป็นแนวคิดที่ไม่สามารถกำหนดนิยามของคุณภาพชีวิตให้ยอมรับกันเป็นสากลได้ จึงได้มีการให้คำนิยามใน 3 มิติใหม่ คือ ความสามารถในการกระทำการรับรู้และลักษณะอาการต่างๆ ซึ่งแยกออกเป็นประเด็นย่อยคือ ภารกิจประจำวัน การปฏิบัติกิจกรรมทางด้านสังคม การใช้สติปัญญา อารมณ์ และความรู้สึก สถานภาพทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี ความพึงพอใจในชีวิต โรคภัยต่างๆ
จากการศึกษากรอบเชิงทฤษฎี (บงกช นพวงศ์ ณ อยุธยาและคณะ, 2554) ( theoretical framework ) ทฤษฎีคุณภาพชีวิตบุคคล( theoretical framework ) ว่าพัฒนามาจากผลงานของนักปรัชญา 2 คนคือมาสโลว์ (Maslow, 1954)  และชาร์มา (Sharma, 1988) อ้างใน อัจฉรา นวจินดา, 2549 .โดยมีกรอบแนวคิดการศึกษาดังนี้คือชีวิตประกอบด้วยร่างกายและจิตใจชีวิตจะเจริญเติบโตได้ด้วยมีปัจจัยมาหล่อเลี้ยงทั้งร่างกายและจิตใจ มาสโลว์ได้เสนอทฤษฎี Maslow’s Hierarchy Needs แสดงให้เห็นว่ามนุษย์จะมีความต้องการเป็นแรงผลักดันหรือเป็นแรงจูงใจอยู่ภายในที่จะใช้พลังความรู้ความสามารถเพื่อนำตนเองไปสู่จุดมุ่งหมายตามความต้องการนั้นและมาสโลว์ได้ลำดับขั้นของความต้องการ 5 ระดับ                     ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจที่ละขั้นจากระดับต่ำ สู่ระดับสูงให้เกิดการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับหรือสนองความต้องการตามลำดับคือ
ระดับ 1 ความต้องการพื้นฐานด้านร่างกาย(Physiological Needs) เป็นความต้องการปัจจัยที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของชีวิตด้านร่างกายขาดไม่ได้ได้แก่ความต้องการในปัจจัยสี่คืออาหารที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรคการได้รับการตอบสนองต่อสิ่งที่ต้องการด้านปัจจัยสี่และที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจะทำให้เกิดสุขภาพกายดี
ระดับ2 ความต้องการความปลอดภัยมั่นคงทั้งร่างกายและจิตใจ(Safety and Security of Physical andMental Needs) ได้แก่การที่ร่างกายและจิตใจไม่ต้องเผชิญหรือหวั่นไหวหวาดระแวงต่ออันตรายหรือความไม่แน่นอนที่ไม่พึงปรารถนา จากสภาพแวดล้อมหรือจากกิจกรรมการดำเนินชีวิตทำให้สุขภาพจิตดี
ระดับ3 ความต้องการความรักความเป็นที่ยอมรับของสังคม(Love and Belonging Needs) ได้แก่ความต้องการที่จะได้เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในปัจจัยที่พึงพอใจและนำมาซึ่งการมีสุขภาพจิตดี
ระดับ4 ความต้องการความนับถือและความต้องการความสุนทรียภาวะ(Esteem and Esthetic Needs) เป็นความต้องการ ที่จะได้รับการเห็นคุณค่าของตน(คือความนับถือ) หรือได้เห็นคุณค่าของสิ่งอื่น(ความงามของธรรมชาติหรือความไพเราะของบทเพลงหรือบทกวี) ทำให้สุขภาพจิตดี
ระดับ5 ความต้องการบรรลุศักยภาพแห่งตน(Self - Actualization Needs) เป็นความต้องการที่จะบรรลุความสามารถของบุคคลตามที่ตนตระหนักในศักยภาพดังนั้นการที่บุคคลสมประสงค์ในความสามารถของตนในเรื่องต่างๆทำให้สุขภาพจิตของบุคคลดี
ทำให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดเครื่องบ่งชี้คุณภาพชีวิตของประชากรไว้ 8 ด้านได้แก่ อาหาร และโภชนาการ สุขภาพ การศึกษา สภาพแวดล้อม รายได้ การมีงานทำ สถานภาพสตรี และที่อยู่สตรี ต่อมาคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ ได้นำแนวความคิด คุณภาพชีวิต มากำหนดเป็นเกณฑ์การวัดคุณภาพชีวิต หรือดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิต โดยมองคุณภาพชีวิตในฐานะที่เป็นภาพรวมขององค์ประกอบต่างๆ ประกอบด้วย 7 ด้าน 28 ตัวชี้วัด คือ ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา (การใช้สติปัญญา) ด้านชีวิตการทำงาน ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชุมชน และด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้กำหนด เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชากรในกลุ่มประเทศภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกไว้ 9 หมวด 45 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านคุณภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านการจ้างงานและชีวิตการทำงาน ด้านที่อยู่อาศัย ด้านรายได้ด้านสวัสดิการสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านความปลอดภัยของสาธารณะ และด้านสิ่งแวดล้อม
ต่อมาในปี 2005 ได้มีการพัฒนา ดัชนีคุณภาพชีวิต เปรียบเทียบระหว่างประเทศ โดยนิตยสารนักเศรษฐศาสตร์โดยแบ่งเป็น 9 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความเป็นอยู่ที่ดีทางวัตถุ ด้านสุขภาพ ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตชุมชนด้านสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านเสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง ด้านเสรีภาพทางการเมือง และด้านความเท่าเทียมระหว่างเพศจึงเกิดการกำหนดส่วนประกอบและการวัดคุณภาพชีวิต ( อภิวัฒน์ บุญสาธร, 2549 : 167-168) ดังนี้
การวัดคุณภาพชีวิตของต่างประเทศ
          1) แบบจำลองการสำรวจคุณภาพชีวิตของ ESCAP คือคณะผู้แทนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกจาก 54 ประเทศ พร้อมกับสมาชิกอีก 5 เขตการปกครอง ได้ร่วมกันสร้างแบบจำลองการสำรวจคุณภาพชีวิตของประชากรในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก โดยมีส่วนประกอบ 7 ด้าน คือ 1) ด้านสุภาพ 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านชีวิตการทำงาน 4) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ5) ด้านชีวิตครอบครัว 6) ด้านชีวิตชุมชนและ 7) ด้านชีวิตวัฒนธรรม ชีวิตจิตใจและชีวิตเวลาเสรี
          2) การวัดคุณภาพชีวิตของประเทศมาเลเซีย ประเทศมาเลเซียได้สร้างตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตโดยพิจารณาจากเกณฑ์ 3 เกณฑ์ คือ ความสำคัญของตัวบ่งชี้ ความสามารถที่สะท้อนมิติเหล่านั้น และการมีข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ และได้ให้ความหมายของคุณภาพชีวิตว่าเป็นผลรวมของส่วนประกอบ 10 ด้าน คือ 1) ด้านรายได้และการกระจายรายได้2) ด้านการขนส่งและการสื่อสาร 3) ด้านสุขภาพ 4) ด้านการศึกษา 5) ด้านที่อยู่อาศัย 6) ด้านสิ่งแวดล้อม 7) ด้านชีวิตเวลาเสรีครอบครัว 8) ด้านการมีส่วนร่วมทางสังคม 9) ด้านความปลอดภัยสาธารณะ และ 10) ด้านวัฒนธรรมและการใช้
          3) เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก องค์การอนามัยโลกโดยทีมงาน WHOQOLซึ่งประกอบด้วยศูนย์ปฏิบัติงานภาคสนามจำนวน 15 ประเทศ ได้พัฒนาและนำเสนอเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป แม้ในกลุ่มประชากรที่มีสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างกัน เครื่องมือดังกล่าวให้ความสำคัญกับกระบวนการดูแลสุขภาพ ผลของการรักษาและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วย โดยมีข้อคำถามจำนวนทั้งสิ้น 100 ข้อ แบ่งเป็นคำถามด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม 4 ข้อ อีก 96 ข้อ จัดเป็น 24 หัวข้อ แต่ละหัวข้อมี 4 คำถาม และในจำนวน 24 หัวข้อ                       ได้จัดกลุ่มเป็น 6 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตวิทยา 3) ด้านระดับความเป็นอิสระของบุคคล 4) ด้านความสัมพันธ์                  กับสังคม5) ด้านสิ่งแวดล้อม และ 6) ด้านจิตใจหรือด้านความเชื่อบุคคล
สำหรับในประเทศไทยได้มีการเสนอกรอบแนวคิดและการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสังคมในลักษณะต่างๆ โดยนักวิชาการ นักวิจัย และปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนองค์กรต่างๆ เพื่อนำไปเป็นทางเลือกให้แก่สังคมมากขึ้นมีดังนี้
                1) ด้านสิทธิเสรีภาพและการเมือง นักวิชาการ เช่น ศ.เสน่ห์ จามริก ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นต้น ที่นำเสนอแนวทางการจัดการทางกฎหมายและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกการรับรู้สิทธิของภาคประชาชน
                2) ด้านการศึกษา ได้มีการนำเสนอแนวคิดในการจัดมาตรฐานทางการศึกษาทั้งในแง่การพัฒนาบุคคล สถานศึกษา ระบบการบริหารจัดการการศึกษาทางเลือก และการรับรู้ของประชาชนในการเรียนรู้ เป็นต้น
                3) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีการนำเสนอกระบวนการจัดการระบบนิเวศของฝ่ายต่างๆ โดยประเมินผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนองค์กรเอกชน อาทิ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ได้เสนอแนวทางในการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์ทรัพยากรโดยชุมชน การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
                4) ด้านคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสังคม ที่นำเสนอโดยพระธรรมปิฏก ศ.นพ.ประเวศ วะสี ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ และดร.สีลาภรณ์ (นาครทรรพ) บัวสาย ดังตัวอย่าง เช่น ประเวศ วะสี (ในเสรี พงศ์พิช,บรรณาธิการ,2531) ได้อธิบายว่า คุณภาพชีวิต ควรประกอบด้วยเสรีภาพ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวัตถุ เช่น การมีวัตถุปัจจัยพอเพียงเลี้ยงชีวิตไม่ต้องถูกบีบคั้นจากความอดอยากขาดแคลน 2) ด้านสังคม เช่น ไม่มีการกดขี่เบียดเบียนกันในสังคมมนุษย์ สามารถเป็นตัวของตัวเอง สามารถตัดสินด้วยตนเองได้ที่จะเลือกดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและดีงาม 3) ด้านจิตใจ
นอกจากนั้นได้มีการพัฒนาตัวบ่งชี้และดัชนีการวัดคุณภาพชีวิตในประเทศไทยดังนี้
                1) ตัวบ่งชี้ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย (สศช.) โดยได้กำหนดแนวคิดในการประเมินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศขึ้นมา โดยเรียกแนวคิดนี้ว่า “ ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย” ความหมายของแนวคิดนี้ระบุว่าหมายถึงการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่ายกาย และจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ โดยได้กำหนดส่วนประกอบของความอยู่ดีมีสุขไว้ 7 ด้าน คือ 1) ด้านสุขภาพอนามัย 2) ด้านความรู้ 3) ด้านชีวิตการทำงาน 4) ด้านรายได้และการกระจายรายได้ 5) ด้านชีวิตครอบครัว 6) ด้านสภาพแวดล้อม และ 7) ด้านการบริหารจัดการที่ดี
                2) ดัชนีความก้าวหน้าของคน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทยได้จัดพิมพ์รายงานการพัฒนาคนของประเทศขึ้นมา โดยในรายงานฉบับนี้ UNDP ได้จัดสร้าง “ดัชนีความก้าวหน้าของคน” ขึ้น โดยพัฒนามาจาก “ดัชนีความขัดสน” ซึ่งวัตถุประสงค์ของ UNDP ในการพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าของคน เพื่อใช้แสดงความก้าวหน้าของการพัฒนาคนมากกว่า ที่จะพิจารณาในเรื่องความขัดสนนั่นคือ เป็นการมองภาพของผลการพัฒนาในเชิงบวกมากกว่าจะมุ่งเน้นที่ความขาดแคลนขัดสน โดยดัชนีความก้าวหน้าของคนมีลักษณะเป็นหลายด้านและมีนัยเชิงนโยบาย ดัชนีความก้าวหน้าของคน มีการวัดใน 8 ด้านคือ 1) ด้านสุขภาพ 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านการทำงาน 4) ด้านรายได้ 5) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 6) ด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน 7) ด้านการคมนาคมและการสื่อสารและ 8) ด้านการมีส่วนร่วม
                3) โครงการกำหนดดัชนีคุณภาพชีวิตของไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการและการดำเนินการต่างๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แต่เนื่องจากที่ผ่านมามีชุดข้อมูลที่สะท้อนคุณภาพชีวิตของคนไทยอยู่หลายชุด ซึ่งหน่วยงานหลายแห่งได้จัดทำขึ้นและเรียกชื่อต่างๆ กันไป ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงได้ดำเนินการศึกษา ทบทวน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิต เพื่อจัดทำดัชนีคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทบทวน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิต เพื่อจัดทำดัชนีคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับเป็นเครื่องมือวัดระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งประกอบด้วย 11 ด้าน คือ 1) ด้านสุขภาพ 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านที่อยู่อาศัย 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 5) ด้านรายได้ 6) ด้านการทำงาน 7) ด้านจริยธรรม 8) ด้านครอบครัว9) ด้านความปลอดภัย 10) ด้านการคมนาคมและการสื่อสารและ 11) ด้านการมีส่วนร่วม
หลักการงานบูรณาการกระบวนทัศน์พัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
ด้วยความตระหนักถึงความจำเป็นของการศึกษาพัฒนารูปแบบและกระบวนการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตประชาชน บนวิถีชีวิตพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการพิจารณาทบทวนนโยบาย และศึกษาปัญหาเชิงระบบเกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนซึ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นองค์กรรับผิดชอบดำเนินการ สำหรับให้ได้รับทราบข้อมูลความเป็นจริงที่ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา สำนักประสานนโยบายและสังคมจิตวิตยา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(บงกช นพวงศ์ ณ อยุธยาและคณะ, 2554.)   
จึงพิจารณาถึงความจำเป็นของการนำไปสู่การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนสันติสุข          ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2554 ขึ้น เพื่อติดตามว่าภายหลังจากการดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถนำไปสู่การบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ว่า 1) ประชาชนและชุมชนมีฐานะทางเศรษฐกิจ             และคุณภาพชีวิตที่ดี 2) ประชาชนมีความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐและกระบวนการยุติธรรม 3) ประชาชนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและสังคมมีความสมานฉันท์ และ 4) ฐานเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งบนพื้นฐานศักยภาพและอัตลักษณ์วัฒนธรรมศักยภาพของพื้นที่ (เอนก นาคะบุตรและคณะ, 2553 : 4) อีกทั้งเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายแผน 1 เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตคือ 1) เป้าหมายรายได้ ตามแผนนี้ครอบคลุมหมู่บ้านทั้งหมด 2901 หมู่บ้าน ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้                   โดยในปี 2552-2553 เร่งดำเนินการในหมู่บ้านเป้าหมายเร่งด่วน 686 หมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีระดับรายได้ต่ำและอยู่ในพื้นที่เสี่ยง                          และ 205 หมู่บ้าน/ชุมชน ในบริเวณใกล้เคียงและปี2554-2555 ดำเนินการปีละ 1,000 หมู่บ้าน 2) กำหนดให้เพิ่มรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยจาก 64,000 บาทต่อปี ในปัจจุบันเป็นไม่ต่ำกว่า 120,000 บาทต่อปี (ครัวเรือนมีสมาชิกเฉลี่ย 5 คน และผู้ทำงานมีรายได้เฉลี่ย 2 คน) 3) เพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันไม่ต่ำกว่า 200,000ไร่ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 20,000 ราย และมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และโรงงาน ผลิตใบโอดีเซล เพื่อแปรรูปอย่างครบวงจร 4) เพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวจากนาร้าง 85,000ไร่ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 12,500 ราย 5) เพิ่มปริมาณการเลี้ยงแพะป้อนโรงงานฆ่าสัตว์และโรงงานผลิตอาหารฮาลาล 3000,000 ตัวในปี 2555 และมีโรงงานฆ่าสัตว์และโรงงานผลิตอาหารฮาลาลอย่างครบวงจร 6) การเลี้ยงไก่เป็ดตั้งฟาร์มตัวอย่างตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง / เกษตรทฤษฎีใหม่ และเพิ่มปริมาณไก่และเป็ด 840,000 ตัว และมีไข่สดเดือนละ 16.8 ล้านฟอง7) ประชาชนมีที่อยู่อาศัยมั่นคงไม่น้อยกว่า 100,000ครัวเรือนในปี 2555 8) ระบบประปาหมู่บ้านได้รับการก่อสร้าง/ปรับปรุงเพิ่มขึ้น 619 แห่งในปี 2555 และ 9) ถนนในระดับหมู่บ้านและตำบลได้รับปรับปรุงมาตรฐานเป็นถนนปลอดฝุ่นรวม 60สายทางภายในปี 2555 (กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา, 2553 : 4)
  จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทำให้คณะวิจัยได้ทำการศึกษาแนวคิด หลักการที่เกี่ยวข้องและได้กรอบแนวคิดของหลักการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีใหม่ว่าจำเป็นต้อง 1) นำหลักการบูรณาการพัฒนา 2) เสริมกระบวนทัศน์บูรณาการพลังชีวิตธรรมาธิปไตย 3) ขับเคลื่อนด้วยพลังธรรมาธิปไตยชุมชน: (สืบสานพลังชีวิตธรรมาธิปไตยชุมชน)                     4) น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงจะสามารถขับเคลื่อนกระบวนทัศน์งานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตใหม่ที่ดีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคตได้ ดังหลักสาระสำคัญดังนี้
1. นำหลักการบูรณาการพัฒนา
     SEAMEO Secretariat, 2554 ได้กล่าวถึงเรื่องราวที่สำคัญของงานบูรณาการการพัฒนาขั้นพื้นฐานไว้ดังนี้ความหมายของคำว่า “บูรณาการ”เมื่อเรามองเห็นว่าการที่สิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นหน่วยย่อย จะต้องมาประสานสัมพันธ์กลมกลืนกันให้ดีจึงจะเกิดความพอดีเป็นสมดุล และสิ่งนั้นจึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี ในกรณีที่เป็นอย่างนี้ เมื่อเรามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายที่เป็นหน่วยย่อยเราจะทำอย่างไร เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องนำเอามันเข้ามาประมวลประสานเข้าหากันเป็นองค์รวมในลักษณะอาการที่ให้เกิดความสมดุลให้ได้ ซึ่งการกระทำอันนี้เขาเรียกว่า บูรณาการ บูรณาการ แปลว่าการกระทำให้สมบูรณ์ ภาษาอังกฤษใช้ว่า integration                                    
ความหมายของศัพท์ว่า บูรณาการ หรือ integration อย่างง่ายที่สุดของคำว่าบูรณาการ คือการทำให้สมบูรณ์                      แต่พูดแค่นี้มันอาจจะไม่สมบูรณ์ ถ้าจะพูดให้สมบูรณ์ก็คงจะต้องให้ความหมายที่ละเอียด ให้เกิดภาพที่ชัดยิ่งขึ้น ขอพูดขยายความออกไปหน่อยว่า การนำหน่วยย่อยอันหนึ่งเข้ารวมกับหน่วยย่อยอื่นๆ ภายในองค์รวมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ อย่างนี้ก็ได้หรือขยายความออกไปอีกก็บอกว่า การประมวลหน่วยย่อยที่แยกๆ กันให้รวมเข้าเป็นองค์รวมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ขออีกอันหนึ่งว่า การทำให้หน่วยย่อยทั้งหลายเข้าร่วมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งทำหน้าที่ประสานซึ่งกันและกัน กลมกลืนเข้าเป็นองค์รวมอันเดียวอันทำให้เกิดความสมดุลที่องค์รวมนั้น สามารถดำรงอยู่และดำเนินไปได้ในภาวะที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไปๆ มาๆ                 ก็วนเวียนอยู่ที่คำว่า “สมบูรณ์”
สรุป ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องบูรณาการ หรือความหมายของมันนี้ ก็ไปสัมพันธ์กับทรรศนะที่มองสิ่งทั้งหลายเป็นองค์รวม ที่เรียกว่า holistic view หรือ holism อย่างที่ยกตัวอย่างเช่นเรื่องแพทย์เมื่อกี้ ถ้าวินิจฉัยและรักษาโรคโดยคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งทางร่างกายและจิตใจของคนไข้ พร้อมทั้งปัจจัยทางสังคมและธรรมชาติแวดล้อมที่เกี่ยวข้องก็เรียกว่าใช้วิธีบูรณาการ หรือในการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้าพัฒนาโดยมุ่งให้มนุษย์เป็นอยู่ดี ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคมและนิเวศวิทยาที่เกื้อกูล ก็เรียกว่าใช้วิธีบูรณาการ หรือถ้าเป็นการศึกษา เอาเฉพาะการสอน การสอนโดยทำให้คนพัฒนาขึ้นมาเต็มตัวทั้งคนก็เป็นการใช้วิธีบูรณาการ
 ระบบบูรณาการ
เนื้อหาและการปฏิบัติในบูรณาการนั้นเป็นสิ่งละเอียด เรามักถามกันว่า เราจะเอาอะไรมาบูรณาการและจะทำกันอย่างไรมีข้อพึงพิจารณาดังนี้
1. ขอย้ำอีกหน่อยหนึ่งว่าบูรณาการนั้นไม่เฉพาะจะทำในขอบเขตที่ครอบคลุมทั้งหมดหรือในระดับองค์รวมใหญ่สุดเท่านั้นแต่บูรณาการนั้นจะต้องทำในทุกระดับของพัฒนาการคือในการพัฒนาแต่ละระดับจะต้องมีภารกิจในการที่จะสร้างบูรณการอยู่เสมอจะต้องทำเรื่อยไปทุกระดับของพัฒนาการและจะต้องทำในทุกขอบเขตหรือทุกขนาดที่บูรณาการได้พูดง่ายๆ ว่า
     1.1) การบูรณาการนั้นจะต้องทำในทุกระดับของพัฒนาการ
     1.2) บูรณาการจะต้องทำในแต่ละส่วนหรือทุกส่วนทุกขนาดภายในองค์รวม
2. หมายความว่าองค์รวมนั้นมันมีหน่วยย่อยหรือส่วนประกอบที่เป็นองค์รวมย่อย ๆ ซ้อนกันลงไปเช่นในร่างกายของมนุษย์เราจะเห็นว่าคนนี้เป็นระบบบูรณาการใหญ่และภายในระบบบูรณาการใหญ่นี้ก็มีระบบบูรณาการย่อยมากมาย เช่นระบบหายใจ
ภายในระบบหายใจก็มีปอดมีหลอดลมมีอะไรต่างๆ ซึ่งแต่ละอย่างก็เป็นอีกระบบหนึ่งๆที่มีบูรณาการภายใน                   ตัวในขอบเขตย่อยลงไปๆ หรือระบบทางเดินอาหารก็มีกระเพาะอาหารลำไส้และอะไรต่ออะไรที่ต่างก็มีระบบบูรณาการของมันหรือระบบประสาทระบบสูบฉีดโลหิตก็ล้วนแต่เป็นระบบบูรณาการทั้งนั้นถ้าระบบเหล่านี้บูรณาการกันดีท่ามกลางพัฒนาการอย่างสมดุลก็ประกอบกันเข้าเป็นระบบบูรณาการใหญ่ คือองค์รวมใหญ่ที่เป็นมนุษย์อีกทีหนึ่ง
รวมความแล้วจะเห็นได้ว่าในการบูรณาการนั้นเราจะเอาหน่วยย่อยหน่วยหนึ่งมารวมเข้าในองค์รวมที่มีหน่วยย่อยอื่นอยู่แล้วก็ได้หรือจะเอาหน่วยย่อยทั้งหลายที่ต่างก็แยก ๆ กันอยู่มารวมเข้าด้วยกันเป็นองค์รวมก็ได้อันนี้เรียกว่าบูรณาการทั้งสิ้นแต่ข้อสำคัญจะต้องมีตัวยืนที่เป็นหลักอยู่ 3อย่างในเรื่องบูรณาการคือ
     1) มีหน่วยย่อยองค์ประกอบชิ้นส่วนอวัยวะหรือขั้นระดับแง่ด้านที่จะเอามาประมวลเข้าด้วยกันอันนี้เป็นสิ่งที่จะเอามาประมวลเข้าด้วยกันคือสิ่งย่อยส่วนย่อย
     2) หน่วยย่อยเป็นต้นนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอิงอาศัยซึ่งกันและกันอันนี้อาจจะเลยไปถึงลักษณะที่ว่ายืดหยุ่นปรับตัวได้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาด้วย
     3) เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วก็จะเกิดความครบถ้วนเต็มบริบูรณ์โดยมีความประสานกลมกลืนเกิดภาวะได้ที่พอดีหรือสมดุลพอได้ที่หรือพอดีสมดุลแล้วองค์รวมนั้นก็มีชีวิตชีวาดำรงอยู่และดำเนินไปด้วยดีอันเป็นภาวะของบูรณาการ
ถ้าครบ 3 อย่างนี้ก็เป็นบูรณาการสามอย่างนี้เป็นตัวยืนที่จำเป็นตามสภาวะส่วนในทางปฏิบัติจะมีหลักและกระบวนวิธีอย่างไรก็พิจารณาว่ากันอีกส่วนหนึ่งแต่สิ่งที่จะต้องเน้นก็คือว่าความพอดีหรือได้ที่หรือสมดุลซึ่งเป็นภาวะ ที่ต้องการของบูรณาการนั้นเราจะแสดงลักษณะออกมาให้เห็นเป็นข้อสำคัญได้ 2อย่างคือ
                ข้อที่ 1 เมื่อเป็นองค์รวมแล้วองค์รวมนั้นมีชีวิตชีวาหรือดำเนินไปด้วยดี
                ข้อที่ 2 องค์รวมนั้นเกิดมีภาวะและคุณสมบัติของมันเองที่ต่างหากจากภาวะและคุณสมบัติ                              ขององค์ประกอบทั้งหลาย
                นี่เป็นลักษณะ 2 อย่างที่เป็นองค์รวมซึ่งเกิดบูรณาการขึ้นมาแล้วขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น          เราเอาชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบมากมายมาประกอบเข้าให้ประสานกลมกลืนได้ที่สมดุลพอดีแล้วก็อาจจะเกิดเป็นองค์รวมอันหนึ่งเรียกว่ารถยนต์รถยนต์นี้ก็จะมีภาวะของมันขึ้นมาเป็นพาหนะสำหรับใช้ขับขี่ได้
                ภาวะที่เป็นรถยนต์ซึ่งมีความหมายเป็นพาหนะใช้ขับขี่ได้เป็นภาวะและคุณสมบัติใหม่ที่ไม่เหมือนกับส่วนประกอบย่อยของมันกล่าวคือส่วนประกอบย่อยของมันนั้นจะเป็นล้อเป็นเครื่องยนต์เป็นพวงมาลัยหรืออะไรก็ตาม           ล้วนแต่ใช้ประโยชน์ในการขับขี่เป็นพาหนะไม่ได้เลยสักอย่างแต่พอมาประกอบกันเข้าเป็นองค์รวมแล้วมันมีภาวะใหม่เป็นรถยนต์เป็นพาหนะสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใหม่เป็นคุณสมบัติอย่างใหม่ขึ้นมาแต่อย่างไรก็ดีมันจะต้องมีภาวะที่สมดุล              ถ้าไม่สมดุลมันก็ไม่เดินไม่วิ่งความเป็นรถก็เกิดขึ้นไม่ได้เป็นพาหนะไม่ได้ถ้าไม่สมดุลคือองค์ประกอบต่าง ๆส่วนย่อย                 หรือชิ้นส่วนทั้งหลายของรถนั้นมันไม่เข้าที่กันมันก็เป็นรถขึ้นมาไม่ได้อย่างดีก็ได้แค่เป็นของพิการฉะนั้นจึงต้องมีภาวะที่ว่าเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วองค์รวมมีความสมดุลพอดีก็มีชีวิตชีวาดำเนินไปด้วยดีแล้วก็เกิดมีภาวะเป็นคุณสมบัติใหม่ของมัน           อันนี้ก็เป็นตัวอย่างขององค์รวม
บูรณาการประสานกับพัฒนาการ
แต่ทีนี้เรามามองดูองค์รวมอย่างคนคนก็เป็นองค์รวมอย่างหนึ่งอวัยวะต่าง ๆ มากมายมาประชุมกันเข้าเป็นคนทางพระท่านเรียกว่าขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มาประชุมพร้อมกันแล้วเกิดเป็นคนขึ้นองค์ประกอบที่เป็นขันธ์ 5 หรืออวัยวะทุกอย่างนั้นจะต้องทำงานประสานกลมกลืนกัน ถ้าหากไม่ประสานกลมกลืนกันเกิดความขัดแย้งกัน ไม่ได้เป็นคนก็เป็นสิ่งที่ตายหรือเป็นศพ ความเป็นคนก็ไม่เกิดขึ้นจึงต้องทำงานประสานกลมกลืนกันด้วย
อย่างไรก็ตามคนนี้มีลักษณะต่างออกไปจากรถยนต์ คนไม่เหมือนรถยนต์ รถยนต์นั้นเป็นองค์รวมก็จริงแต่เป็นองค์รวมที่นิ่งเป็นองค์รวมแบบตายไม่มีชีวิตชีวาที่แท้จริงอาจจะใช้เคลื่อนไหวไปอะไรต่าง ๆแต่มันก็ไม่ได้มีพัฒนาการอะไรของมันขึ้นมามันก็อยู่อย่างนั้นอยู่ในสภาพอย่างนั้นแต่คนเราไม่เป็นอย่างนั้นคนเราเป็นองค์รวมที่มีการเคลื่อนไหวมีการเจริญเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงไป องค์รวมที่เรียกว่าคนนั้นก็เกิดจากองค์ร่วมคือกายกับใจซึ่งแต่ละอย่างก็แบ่งซอยออกไปได้มากมาย เฉพาะด้านกายก็มาจากอวัยวะคือส่วนประกอบย่อย ๆ ทั้งหลายมากมาย ซึ่งแต่ละส่วนนั้นก็มีพัฒนาการของมันมีความเจริญเติบโตขึ้นมาได้ไม่เหมือนกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่นิ่งเป็นชิ้นส่วนที่ตาย แต่ชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์นี้มีความเจริญเติบโตขึ้นมา
เพราะฉะนั้นภาวะที่เป็นบูรณาการของมนุษย์นั้นจึงมีความซับช้อนมากกว่ารถยนต์ ซับซ้อนอย่างไรซับซ้อนก็คือว่ามันมีพัฒนาการปนขึ้นมาในบูรณาการด้วยหมายความว่าในองค์รวมนี้มีอวัยวะมีส่วนประกอบมากมายและส่วนประกอบทุกอย่างที่เข้ามาบูรณาการประสานกันนั้น แต่ละอย่างมีพัฒนาการของมันเองโดยเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลาในขณะหนึ่งนั้นมันมีความสมดุลเพราะมันประสานกลมกลืนกัน แต่เมื่อแต่ละส่วนพัฒนาการต่อไปทำอย่างไรจะให้มันประสานกลมกลืนกันต่อไปนี่เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในเมื่อส่วนย่อยแต่ละส่วนต่างก็มีพัฒนาการเจริญเติบโตเราจะต้องให้ส่วนย่อยทุกส่วนนั้นพัฒนาไปอย่างประสานกลมกลืนกันด้วยแล้ว เมื่อประสานกลมกลืนขึ้นมาเป็นองค์รวมมนุษย์แล้ว องค์รวมที่เป็นตัวมนุษย์ทั้งหมดทั้งตัวนี้ ก็มีพัฒนาการขององค์รวมเองอีกทีหนึ่งด้วยนี่ก็เป็นเรื่องที่ว่าตอนนี้บูรณาการ กับพัฒนาการมาประสานกันเข้าแล้วไม่ใช่มีบูรณาการอย่างเดียว มนุษย์นี้เป็นบูรณาการที่มีพัฒนาการอยู่ด้วยมีพัฒนาการทุกส่วนทุกระดับทุกขั้นตอนไม่ว่าในขอบเขตเล็กหรือขอบเขตใหญ่ ถ้าไม่มีการพัฒนาอย่างชนิดบูรณาการแล้วชีวิตจะไม่สามารถดำเนินไปไม่ว่าด้านรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ถ้าหากว่ามันพัฒนาการแบบไม่บูรณาการมันก็จะไม่ประสานกลมกลืน ส่วนหนึ่งมากไปส่วนหนึ่งน้อยไป ก็คงเป็นมนุษย์ที่วิปริตอย่างน้อยก็จะเกิดเนื้องอก เนื้องอกนี้ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของพัฒนาการที่ไม่บูรณาการหรืออาจจะร้ายกว่านั้นก็เป็นมะเร็งหรือถ้าแขนขามันโตเกินไปอวัยวะบางส่วนวิปริตไปไม่บูรณาการกับส่วนอื่นแต่มันพัฒนาเหมือนกันมันพัฒนาของมันไปไม่ประสานกับใครก็เกิดเป็นคนพิการขึ้นมาอย่างที่ว่านี้เรียกว่าความไม่สมดุล อย่างร้ายแรงก็ทำให้ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้หรืออย่างน้อยก็ทำให้ไม่อาจเป็นอยู่ด้วยดีนี่เป็นเรื่องของมนุษย์ทีนี้เรื่องธรรมชาติก็เหมือนกันธรรมชาติก็ประกอบขึ้นด้วยส่วนย่อย และหน่วยย่อยทั้งหลายต่างก็มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง มีพัฒนาการเช่นเดียวกันส่วนประกอบย่อยทุกส่วนนั้นไม่ว่าจะเป็นสัตว์เป็นพืชอะไรก็ตามในสภาพแวดล้อมของเรามันมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันและโยงมาถึงมนุษย์ด้วย เพราะมนุษย์ก็เป็นองค์รวมอย่างหนึ่งในองค์รวมใหญ่
เพราะฉะนั้นปัญหาของมนุษย์ก็เกิดจากการปฏิบัติผิดในระบบความสัมพันธ์อันนี้ด้วยเช่นว่าเราทำให้วงจรชีวิตของธรรมชาติสูญเสียไป ยกตัวอย่างเราทำยาฆ่าแมลงขึ้นแล้วเอาไปฉีดในนา เสร็จแล้วแมลงตาย นกมากินแมลงนกตายต่อมาแมลงสร้างภูมิต้านทานยาฆ่าแมลงได้ดีตายยากขึ้น แต่ไม่มีนกมากินแมลงเลยต้องฉีดยาฆ่าแมลงกันเรื่อยไปและต้องผลิตยาที่แรงมีพิษมากขึ้น ๆ ด้วยยิ่งกว่านั้นวงจรในธรรมชาติส่วนอื่นอาจจะย้อนกลับมาเป็นพิษแก่มนุษย์อีกเช่นว่าสัตว์เล็ก ๆ อย่างแมลงนี้ถูกดีดีทีหรือถูกยาฆ่าแมลงแล้วไปโดนปลากินปลากินยาฆ่าแมลงเข้าไปแล้วปลานั้นมีพิษอยู่ข้างในมนุษย์จับเอาปลานั้นมากินก็เกิดเป็นผลร้ายแก่มนุษย์อาจจะเกิดเป็นมะเร็งขึ้นเป็นต้นอันนี้ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติแวดล้อมที่ว่าส่วนประกอบทุกอย่างมีความเชื่อมโยงอิงอาศัยซึ่งกันและกันซึ่งเมื่อมันประสานกลมกลืนแล้วธรรมชาติก็อยู่ด้วยดีมีความสมดุลแล้วก็เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตมนุษย์แต่ถ้าไม่สมดุลแล้วก็เกิดผลร้ายแก่ชีวิตมนุษย์
สังคมก็เช่นเดียวกันสังคมก็ประกอบด้วยสถาบันหน่วยย่อยต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่นโรงเรียนสถาบันการเมือง ศาล ฯลฯและสถาบันทางนามธรรมเช่นวัฒนธรรมเป็นต้น
ถ้าส่วนประกอบต่าง ๆเหล่านี้เชื่อมโยงประสานซึ่งกันและกันเกิดความสมดุลก็เป็นสังคมที่ดำเนินไปด้วยดีในที่สุดทั้งมนุษย์ทั้งธรรมชาติและสังคมนี้ซึ่งแต่ละหน่วยเป็นระบบบูรณาการที่มีพัฒนาการของตัวก็จะต้องมาประสานกันทั้งหมดอีกชั้นหนึ่งให้เป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมท่ามกลางสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่มีบูรณาการโดยต่างก็พัฒนาการไปอย่างได้สมดุลถ้าเป็นอย่างนี้แล้วทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดีนี่คือแม่แบบรวมใหญ่ของระบบบูรณาการที่มีพัฒนาการซึ่งจะต้องใช้ในการแก้ปัญหาของยุคสมัยต่อไปมนุษย์สมัยต่อไปนี้จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดี
ความคิดเรื่องบูรณาการในขอบเขตที่สมบูรณ์ก็เป็นอย่างนี้จึงเป็นอันว่าเราจะต้องมีบูรณาการท่ามกลางพัฒนาการเพราะถ้าพัฒนาการโดยไม่บูรณาการก็ต้องวิปริตหรือแตกสลายต้องเกิดปัญหาเช่นเป็นมนุษย์ที่เกิดเป็นเนื้องอกเป็นมะเร็งเป็นต้นอย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้เพราะมีความไม่สมดุลมีความขัดแย้งเกิดขึ้นซึ่งเราบอกได้ว่านี่แหละเป็นปัญหาของสังคมปัจจุบัน                    ที่มีพัฒนาการโดยไม่บูรณาการเป็นปัญหาใหญ่ของโลกหรือสังคมปัจจุบัน
ทีนี้ถ้าไม่บูรณาการพร้อมไปกับพัฒนาการ ก็เป็นบูรณาการอยู่ไม่ได้ เพราะบูรณาการจะคงเป็นบูรณาการอยู่ได้อย่างไร ในเมื่อหน่วยย่อยทุกส่วนมันเปลี่ยนแปลงไป องค์รวมจะคงอยู่อย่างเดิมไม่ได้ เช่นในองค์รวมคือตัวมนุษย์นี้ร่างกายทุกส่วนก็เปลี่ยนแปลงไป จิตใจก็เปลี่ยนแปลงไป เด็กเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่บูรณาการในสภาพใหม่ จะคงสภาพบูรณาการอยู่อย่างเดิม มันอยู่ไม่ได้ หรืออย่างว่าเรามีพัฒนาการในทางคุณธรรมภายในจนกระทั่งปุถุชนกลายเป็นอริยชนไปแล้ว ระบบบูรณาการมันก็เปลี่ยนไปใหม่ หรืออย่างสังคมของเรานี้จะบูรณาการอยู่ในสภาพอย่างเดิมไม่ได้ เพราะว่าในสังคมนั้นประชากรก็เพิ่มขึ้น ความเจริญทางเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าไป สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ของมนุษย์ก็มากขึ้นความเป็นอยู่ของคนก็เปลี่ยนไป ทรัพยากรก็น้อยลง สัตว์อื่นและพืชทั้งหลายก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นต้น เป็นเรื่องที่ว่าพัฒนาการมันมีอยู่เรื่อย ฉะนั้นบูรณาการก็จะต้องดำเนินไปพร้อมกับพัฒนาการด้วย จะต้องตามให้ทันซึ่งกันและกัน เป็นอันว่าได้พูดเรื่องบูรณาการมาโยงถึงพัฒนาการแล้ว ให้เห็นว่าบูรณาการนั้น สำหรับระบบของมนุษย์ซึ่งสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและสังคม จะต้องเป็นบูรณาการที่ไปพร้อมกับพัฒนาการ
2. เสริมกระบวนทัศน์บูรณาการพลังชีวิตธรรมาธิปไตย
     2.1 ความหมายของคำว่า “ กระบวนทัศน์ ”
           คำว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm)ซึ่งมาจากภาษากรีก โดย para แปลว่า beside ส่วน digm แปลว่า ทฤษฎี            คือ ชุดแนวความคิด หรือ มโนทัศน์ (Concepts) ค่านิยม (Values) ความเข้าใจรับรู้ (Perceptions) และการปฏิบัติ (Practice)                   ที่มีร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่ง ชุมชนหนึ่งและได้ก่อตัวเป็นแบบแผน ของทัศนะอย่างเฉพาะแบบหนึ่ง เกี่ยวกับความจริง (Reality) ซึ่งเป็นฐานของวิถี เพื่อการจัดการตนเอง ของชุมชนนั้น ทีทำหน้าที่สองประการ ประการแรกทำหน้าที่ วางหรือกำหนดกรอบ ประการที่สอง ทำหน้าที่บอกเราว่าควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร ภายในกรอบเพื่อให้เกิดความสำเร็จ รวมไปถึง เราวัดความสำเร็จนั้นอย่างไร
Paradigm เป็นวิธีการหรือมุมมองต่อปรากฏการณ์ที่แสดงความสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การวิจัยและการปฏิบัติ ช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ ประเด็นปัญหา แนวทางแก้ไข และเกณฑ์ ในการพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน paradigm ประกอบด้วยทฤษฎีและวิธีการ
Paradigm หรือ กระบวนทัศน์ โดยมุมมองทางด้านวิทยาศาสตร์ได้นิยามไว้ว่า คือตัวอย่างต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับของ การทำงานด้าน วิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ตัวอย่างที่รวมไปถึงกฎ ทฤษฎี การนำไปใช้และเครื่องมือรวมกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ก่อให้ เกิดรูปแบบที่ซึ่งนำไปสู่ แนวปฏิบัติที่เชื่อมโยงกันอย่างเฉพาะพิเศษ ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอธิบายต่อว่า " คนที่มีงานวิจัยอยู่ในกระบวนทัศน์เดียวกัน จะมีกฎและมาตรฐานการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน และได้ผลออกมาเหมือนกัน"
กระบวนทัศน์ ก็คือ กระบวนคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต มาทบทวนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์ ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความเชื่อพื้นฐานที่มีในจิตใจของมนุษย์ทุกคน แตกต่างกันตามเพศ ตามวัย ตามสิ่งแวดล้อม ตามการศึกษาอบรม และตามการตัดสินใจเลือกของแต่ละบุคคล ความเชื่อพื้นฐานนี้แหละเป็นตัวกำหนด ให้แต่ละคนชอบอะไร และไม่ชอบอะไร พอใจแค่ไหนและอย่างไร เป็นตัวนำร่องการตัดสินใจด้วยความเข้าใจ และเหตุผลในตัวบุคคลคนเดียวกัน อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ หากรู้สึกว่ามีเหตุผล เพียงพอที่จะเปลี่ยน แต่จะไม่เปลี่ยนด้วยอารมณ์ ก่อนเปลี่ยนจะต้องมีความเข้าใจ กระบวนทัศน์เก่าที่มีอยู่และ กระบวนทัศน์ที่จะรับเข้ามาแทน มีการชั่งใจจนเป็นที่พอใจ มิฉะนั้นจะไม่ยอมเปลี่ยน เพราะอย่างไรเสีย ตราบใดที่มีสภาพเป็น คนเต็มเปี่ยมจะต้องมีกระบวนทัศน์ใด กระบวนทัศน์หนึ่งเป็น ตัวตัดสินใจเลือกว่า จะเอาหรือจะปฏิเสธ ไม่มีไม่ได้ ถ้าไม่มีจะไม่รู้จักเลือก และตัดสินใจไม่เป็น
กระบวนทัศน์ไม่ใช่สมรรถนะตัดสินใจ สมรรถนะตัดสินใจ(faculty of decision) คือ เจตจำนง (The will) กระบวนทัศน์เป็นสมรรถนะเข้าใจ (understanding) และเชิญชวนให้เจตจำนงตัดสินใจ กระบวนทัศน์แม้จะมีมากมาย กล่าวได้ว่าไม่มีคน 2 คนที่มีกระบวนทัศน์เหมือนกันราวกับแกะ
 กระบวนทัศน์การวิจัย (Research Paradigm) เป็นกระบวนการทางความคิด และปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิจัย                 ที่มีการเชื่อมโยง ระหว่างโลกทัศน์ (worldview) และมโนทัศน์ (concept) ต่อความเป็นจริง หรือปรากฏการณในโลกอันเป็นพื้นฐาน ในการสร้างและทำความเข้าใจรับรู้ (perception) ต่อความเป็นจริง หรือปรากฏการณ์นั้นๆ เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างแนวปฏิบัติ (practice) รวมทั้งหาวิธีการจัดการ (management) ร่วมกัน โดยมีเป้าหมาย ในการสร้างแบบแผน (pattern) แบบจำลอง (model) รวมทั้ง ค่านิยม (value) ที่เป็นพื้นฐาน การจัดการตนเอง ของชุมชนหนึ่งๆในเรื่องของกระบวนทัศน์นี้มีข้อที่น่าสังเกตคือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ นั้น เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นในสังคมมนุษย์
 
 
ครั้งที่หนึ่ง จากที่มนุษย์เร่ร่อนหากิน โดยการล่าสัตว์และเก็บพืชผลตามธรรมชาติมาทำเกษตรกรรมแบบตั้งรกราก
ครั้งที่สอง เมื่อสมัยเรเนซอง และการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามมา โดยอาจมองเดคาร์ต-นิวตัน ว่าเป็นนักคิด นักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความชัดเจน แก่กระบวนทัศน์ในยุคนั้นซึ่งได้แบ่งกายออกจากจิตอย่างเด็ดขาด และนิวตันก็มองสรรพสิ่งว่าเป็นก้อน ดังเช่นลูกบิลเลียดที่เคลื่อนไหว กระทบกระทั่งกัน หรือสัมพันธ์กันแต่ภายนอก ซึ่งจะตรงข้ามกับทัศนะในการ มองธรรมชาติแบบกระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์
ครั้งที่สาม ที่มนุษยชาติกำลังจะก้าวเข้าสู่ ยุคควอนตัมฟิสิกส์ที่ความสัมพันธ์ แบบ เครือข่ายอันเป็น พลวัตจากภายในกายกับจิต คือหนึ่งเดียวไม่อาจแบ่งแยกกันได้ เคลื่อนไหวแปรเปลี่ยนแทรกซึมอยู่ในทุกสรรพสิ่ง
ฉะนั้น เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนแปลงมนุษย์จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีคิดแบบใหม่ ซึ่งผู้เขียนเอง
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงพยายามชี้ให้เห็นว่ากำลังมี การชนปะทะกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพ (mathematics philosophy) กับ universe ซึ่งเป็น machine กับโลกธรรมชาติ และอาจจะถึงจุดแตกหัก หากมนุษย์ยังคงดำเนินวิถีเช่นเดิมต่อไป แม้ว่าโลกยังคงอยู่ได้ แต่อาจมีมนุษยชาติ หลายเผ่าพันธุ์ไม่น้อย ที่จะต้องได้รับผลของความวิบัติที่เกิดขึ้นในเรื่องวิธีคิดแบบใหม่นี้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่อง รากฐานของการเรียนรู้เพราะกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐาน ขององค์ความรู้ที่เราเชื่อมั่นว่าเป็นความจริง องค์ความรู้ที่ให้คำอธิบาย หรือตอบความจริงที่ว่านั้น ให้กับมนุษย์เราที่สำคัญที่สุดคือ วิทยาศาสตร์ที่มีรากเหง้าจากฟิสิกส์ กระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดตั้งอยู่บนรากฐานนั้น วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เก่าจากฟิสิกส์เก่า และในปัจจุบันนี้ก็ยังมีวิทยาศาตร์ใหม่ที่ตั้งบนฟิสิกส์ใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาอีก และบางส่วนได้พิสูจน์อย่างไร้ข้อสงสัยแล้วว่า วิทยาศาสตร์เก่า แม้ว่าจะนำมาใช้ได้จริงแต่ก็ยังหยาบมาก ซึ่งเมื่อลงไปในรายละเอียดแล้ว วิทยาศาสตร์เก่านั้นมีทั้งไม่จริงหรือไม่ก็ไม่สมบูรณ์เลยวิทยาศาสตร์ใหม่และเป็นความรู้ใหม่จริงๆ นั้นมาจากวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ นำมาใช้ตามคำเรียกหาของนักวิชาการตะวันตก ในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ด้านหนึ่งหมายถึง ควอนตัมฟิสิกส์และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ วิทยาศาสตร์ทางจิต สำหรับควอนตัมฟิสิกส์นั้น แม้ว่ายังมีการจัดไว้ให้เป็นวิทยาศาสตร์กายภาพ แต่ที่แน่นอนคือ ควอนตัมฟิสิกส์ ไม่ใช่ฟิสิกส์คลาสสิกของนิวตัน หรือกาลิเลโอดังเช่นที่เราคุ้นเคยกันอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะมีบางอย่างที่ไม่จริง แต่ก็ยังนำมาใช้ได้ เป็นเพราะวิทยาศาสตร์เก่าตั้งบน หลักการเครื่องจักรเครื่องยนต์ประกอบขึ้น มาจากชิ้นส่วนของวัตถุที่แปลกต่างกัน เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่จะทำงานได้ก็ต้องอาศัย พลังงานจากภายนอกทำให้เราสามารถกำหนดหรือทำนายผลของการทำงานนั้นๆ ได้
ขณะที่ (บงกช นพวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ, 2554 ) ได้ศึกษาหลักการพัฒนากระบวนทัศน์บูรณาการพลังชีวิตธรรมาธิปไตยว่า จำเป็นต้องดำเนินการเชิงระบบ มิติองค์รวม ทั้งในแง่รูปธรรม นามธรรม และเชิงซ้อนเป็นเพราะกระบวนการบูรณาการความสมดุล ระหว่าง มนุษย์ ธรรมชาติ จักรวาลนั้นถือเป็นรากฐานสำคัญในการบูรณาการความมั่นคงของชาติ จากฐานคิด บูรณาการ คือ การทำให้สมบูรณ์  ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดความตระหนักรู้ในตนเอง จนสามารถพัฒนาธรรมาธิปไตย หรือ เกิดพลังอำนาจทางจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง สามารถยืนหยัดที่จะแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการปัญหาต่างๆตามกำลังความสามารถในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะในสภาวการณ์วิกฤติการณ์ของชาติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ พบว่า หลายฝ่ายยังขาดโอกาสศึกษาเรียนรู้การเสริมสร้างพลังชีวิตธรรมาธิปไตย ขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดการทำงานแบบครบวงจร ประชาชนไม่มีส่วนร่วม เจ้าหน้าที่ขาดทักษะในการจัดกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง รวมทั้งขาดการประมวลผล จัดการองค์ความรู้ ประเมินติดตามผลเสริมพลัง และขยายผลการพัฒนา ซึ่งหมายถึง งานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนจึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์   ในมิติองค์รวม (รูปธรรม นามธรรม เชิงซ้อน) ซึ่งหลักการพัฒนากระบวนทัศน์บูรณาการพลังชีวิตธรรมาธิปไตยนั้นเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้จะต้องมุ่งส่งเสริมให้คนน้อมนำจิตใจคือการชำระใจของตนเอง ให้ละความชั่ว กลัวการทำสิ่งไม่ดี เพิ่มการทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เป็นเพราะเป้าหมายร่วมของการพัฒนากระบวนทัศน์บูรณาการพลังชีวิตมนุษย์นั้นคือ การเอื้อให้ประชาชน ชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมกัน ลดการทำสิ่งไม่ดีแต่เปิดใจมาร่วมกันทำความดี พัฒนาตนเอง / ครอบครัว พัฒนาชุมชน และค่อยๆ ชำระใจ  ขยายใจ โดยการระเบิดใจจากภายในตนเองให้เป็นจิตสาธารณะ จิตผู้ให้และเป็นจิตที่รักบ้านรักเมือง             จนเกิดเป็น พลังจิตวิญญาณบริสุทธิ์ 
หัวใจสำคัญในการยกระดับพลังจิตวิญญาณบริสุทธิ์(อิสมาอีล เจ๊ะนิ อ้างถึงในบงกช นพวงศ์ ณ อยุธยา, 2553) นั้นก็มีความเข้าใจว่าจะต้องมีการพัฒนาด้านจิตวิญาณให้สามารถไปสู่สุนทรียะภาวะ ในการครองตนซึ่งหมายความว่าการที่จะพัฒนาจิตวิญญาณมนุษย์ที่จะก่อให้เกิดความถ่องแท้ในจิตวิญญาอันประเสริฐนั้น ไม่ใช่การปฏิบัติการทางจิตวิทยาโดยตรงเพียงอย่างเดียวเพราะการปฏิบัติทางจิตวิทยามันเป็นสิ่งเสมือนเป็นเชิงบังคับให้กระทำหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์               แต่ด้วยเทคนิค กลวิธีทางจิโดยมากให้กระทำได้ทั้งในเชิงบวกและลบ โดยมีขอบเขตและข้อจำกัดของระยะเวลาความต่อเนื่องต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ยั่งยืนตลอดไป ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอีกหลายประการของปัจเจกชนที่มาช่วยเสริมหนุน เช่น พื้นฐานทางจิตใจ ความพร้อมความตระหนักรู้ การยอมรับหรือความขัดแย้งในตนเอง ความมีสติมีปัญญา ปฏิภาณ ไหวพริบ และอื่นๆ อีกทั้งองค์ประกอบทางสังคม ก็เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ อาทิ บริบทในพื้นที่ สิ่งแวดล้อม ชุมชน พื้นฐานระดับครอบครัว ฐานะความเป็นอยู่ และสถานการณ์ต่างๆล้วนแล้ว        เป็นเสมือนชนวนที่ก่อให้เกิดความแปรปรวนต่อจิตใจ ด้วยข้อจำกัดอันเปราะบางที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์จึงอาจกล่าวได้ว่าการครองตน ครองจิตตามวิถีของปัจเจกชนจะมีคุณภาพมากน้อยแตกต่างกันไปตามองค์หนุนเสริมนั้นๆ
ฉะนั้นการบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตมิติองค์รวม (บงกช นพวงศ์ ณ อยุธยาและคณะ, 2554 ) จำเป็นต้องยึดถือ“ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ธรรมาธิปไตยในพระองค์ ฯ ” เป็นกระบวนทัศน์นำในการบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะที่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวยุทธศาสตร์พระราชทาน “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ”                 โดยระบบบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์( Strategic Management) ในทุกระดับ ดังนี้
1. ระดับนโยบายมีดังนี้
     1.1) ผู้กำกับนโยบาย ผู้บริหารทุกระดับ พิจารณานำผลจากการวิจัยประเมินผลเชิงระบบครั้งนี้ สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและพัฒนาระบบงานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ในทุกขั้นตอน                                นับตั้งแต่การเตรียมความพร้อม/ วางแผน /และมอบหมายภารกิจ ซึ่งต้องมีสมรรถนะในการบริหารจัดการทรัพยากร                      ที่มีอยู่ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อระบบงานทุกระดับ
    1.2)ให้ความสำคัญกับการน้อมนำศึกษาแก่นสาระแนวพระราชปณิธาน พระราชดำริ พระราชจริยวัตร                     และแก่นสาระปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ธรรมาธิปไตยในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเพื่อเป็นฐานคิดในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบกระบวนการนโยบายสาธารณะ
     1.3)ให้ความสำคัญกับระบบบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสนับสนุนงบประมาณ                                    เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีชีวิตที่สมบูรณ์ “ บูรณาการคุณค่า และมูลค่า ” บนพื้นฐานกระบวนการ                      นโยบายสาธารณะที่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักวิถีธรรม
     1.4) ประสานความร่วมมือกับ กระทรวง กรมที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน รวมทั้ง                    สำนักงบประมาณ หน่วยงานความมั่นคง สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือน ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐแบบบูรณาการ              ที่สามารถหนุนเสริมและสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ซึ่งรับผิดชอบภารกิจบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
2. ระดับบริหารมีดังนี้
     2.1) จัดทำแผนงานวิจัยของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ                              งานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ฯลฯ โดยทำเป็นแผนงานต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบ
     2.2) จัดกระบวนการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติในการพัฒนาแผนบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพัฒนาคู่มือดำเนินงาน คู่มือปฏิบัติงาน และคู่มือชาวบ้าน                               ที่สอดคล้องกับระบบชีวิตประชาชน และระบบการทำงานทุกระดับในพื้นที่ โดยใช้เอกสารจากงานวิจัยครั้งนี้ เป็นฐานคิดในการจัดทำแผนบูรณาการ และคู่มือฉบับจริง
     2.3) การจัดทำแผนงานหรือกลุ่มกิจกรรมบูรณาการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการ มีทรัพยากรสนับสนุนอย่างเหมาะสม และดำเนินการสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย และกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งควรจัดทำเป็นแผนงาน/โครงการพิเศษ มีระบบบริหารจัดการที่แตกต่างจากงานประจำมีระยะเวลาดำเนินการ 3 , 5 , 10 ปี อาจทำเป็นชุดโครงการ และมีส่วนประกอบของโครงงานย่อยและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
    2.4) ควบคุม กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนกระบวนการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการติดตามประเมินผล และการสนับสนุนกระบวนการทำงานของฝ่ายปฏิบัติการ
     2.5) สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ทั้งระดับบุคคลคณะบุคคล องค์กร ได้ศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการสรุปบทเรียน จัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคประชาชน จนเกิดความตระหนักรู้ในตนเอง และมีความสุขที่จะดำเนินชีวิต และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ให้ประสบผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักศาสนธรรม หรือ พลังศรัทธาที่นับถือ ร่วมกันประเมินค่าหรือประเมินผลร่วมตัดสินใจ / เลือกการพัฒนาต่างๆร่วมกัน และยอมรับผลของงานด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรไมตรีต่อกัน
     2.6) พัฒนาระบบเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายในระดับปฏิบัติการ ซึ่งทำงานท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยความยากลำบาก และมีความเสี่ยงต่อชีวิต ทั้งในรูปค่าใช้จ่าย สวัสดิการ การให้รางวัลความดีความชอบเป็นรายบุคคล /คณะ /กลุ่ม /ฯลฯ
     2.7) ประสานหน่วยงานด้านความมั่นคง เพื่อขอความร่วมมือ และ/หรือ ร่วมออกแบบระบบการดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนที่มีส่วนร่วมในการทำงานกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งประสานหน่วยงานต่างๆในพื้นที่เพื่อพัฒนาระบบงานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้สอดคล้องกัน
     2.8)  รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้กำกับนโยบายเป็นมิติองค์รวม
3. ระดับปฏิบัติการมีดังนี้
     3.1) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และร่วมพัฒนาระบบบริหารจัดการที่พึงประสงค์ในท้องถิ่นตามข้อเสนอเชิงนโยบาย บริหาร
     3.2) ใช้ระบบฐานทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ คณะพัฒนาตำบล รวมทั้ง คู่มือต่างๆ ลฯ เป็นต้น
     3.3) ให้ความสำคัญกับการสรุปผลการดำเนินงานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มิติองค์รวม มีการจัดการความรู้ร่วมกันกับทีมงาน และประชาชนในพื้นที่ 
     3.4) ให้ความสำคัญกับงานวิจัยนโยบาย วิจัยประเมินผล และอื่นๆ ซึ่งประชาชนมีโอกาส ร่วมคิด ร่วมออกแบบ ร่วมวางแผน ร่วมจัดกระบวนการวิจัยต่างๆร่วมกัน “ วิจัยชีวิต วิจัยชุมชน ”
                สำหรับขั้นตอนของการพัฒนากระบวนทัศน์บูรณาการพลังธรรมาธิปไตยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้น คณะทำงานศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตยได้ร่วมกันถอดบทเรียนเป็นคู่มือชาวบ้านจากเวทีการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต            ที่ดีของศูนย์บูรณาการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ว่า การจะพัฒนากระบวนทัศน์บูรณาการ                             พลังธรรมาธิปไตย (อเนก นาคะบุตรและคณะ, 2553 : 2-16) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตนั้นจะต้องมีวิธีการสร้างดังนี้
1. การเพาะใจด้วยธรรมาธิปไตยชุมชน คือ การน้อมนำปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาศึกษาให้เกิดความข้าใจและลงมือปฏิบัติ จนเกิดการเข้าถึงด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองและขยายเป็นการมีกิจกรรมการพัฒนาร่วมกันของหมู่บ้านเป็นธรรมาธิปไตยชุมชน บนวิถีชีวิตชุมชน ที่มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันตนเองดังนี้
     1.1) ด้วยหลักปรัชญาเรื่อง “พอประมาณ” ตามหลักธรรมาธิปไตยชุมชน คือ การมุ่งดำรง รักษาจิตสำนึกการพึ่งตนเองรักและภาคภูมิใจในวิถีชีวิตการเกษตรของชุมชนที่มุ่งเน้น การสร้างความมั่นคงของตนเองด้วยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้จากการทำการเกษตร การประมง เลี้ยงสัตว์ การค้าขาย การทำวิสาหกิจชุมชน ทั้งในระดับครอบครัว โดยมีการรวมกลุ่มในหมู่บ้านและระดับการเป็นเครือข่ายเขา - นา-เล ระหว่างหมู่บ้าน
     1.2) ด้วยหลักปรัชญาเรื่อง “มีเหตุผล” ตามหลักธรรมาธิปไตยชุมชน คือ การให้ชาวบ้านในชุมชนเกิดความรู้จากการเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ ด้วยการยกระดับผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านของตนเอง จัดทำสื่อจากความสำเร็จของชาวบ้าน             เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล จนทำให้ชุมชนเข้าถึงความรู้รักษ์สามัคคี สืบสานวิถีชีวิตวัฒนธรรม                        ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนกับการปรับตัวอย่างมีสมดุลกับสังคมโลก ที่แตกต่างหลากหลาย
     1.3) ด้วยหลักปรัชญาเรื่อง “มีภูมิคุ้มกัน” ตามหลักธรรมาธิปไตยชุมชน คือ การมุ่งให้ชุมชนมุ่งยกระดับคุณค่า     และจิตสำนึกของประชาชนจากการร่วมกันสร้างวิถีชีวิตพึ่งตนเองและพอประมาณ และวิถีชุมชนท้องถิ่นที่มีเหตุมีผลและรู้รักษ์สามัคคีให้มีความรู้คู่คุณธรรม ทั้งความถูกต้อง ความดีงาม ความจริงใจ และมีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง และความมั่นคงในตนเอง
2. การพัฒนาธรรมาธิปไตยเชิงบูรณาการมิติองค์รวมคือ การมุ่งน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอบรมบ่มนิสัย เริ่มตั้งแต่การเพาะใจ เพาะคน เพาะวิถีชีวิตเกษตรด้วยการเพาะจุลินทรีย์ให้เกิด “ความพอประมาณ” ก่อเกิดคุณธรรมในกลุ่ม ในเครือข่าย ชุมชนให้เป็นวิถีชีวิตชุมชน ประเพณีวัฒนธรรมที่มีเหตุมีผล                   มีคุณธรรมที่นำไปสู่การ “รู้รักษ์สามัคคี” และสุดท้ายนำมาซึ่งจิตสำนึกที่เป็นจิตสาธารณะเป็น “ภูมิคุ้มกัน” ของชุมชนสังคม เพื่อเป็นชุมชนธรรมาธิปไตยที่มีสันติสุขและสุขสงบร่วมกันโดยมีการพัฒนาใน 3 มิติเป็นสำคัญดังนี้
     2.1) มิติที่ 1: มิติรูปธรรมเพื่อพัฒนามูลค่า คือ การมุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นให้ร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคงในชีวิตในครอบครัวในชุมชน ทั้งด้านรูปธรรมที่นับเป็นมูลค่าสู่วิถีชีวิตการผลิตการเกษตรที่พึ่งตนเองอย่างพออยู่ พอกิน พอใช้ และพอใจ
     2.2) มิติที่ 2 : มิตินามธรรมเพื่อพัฒนาคุณค่า คือ การเน้นการพัฒนาจิตใจของตนเองให้เกิดคุณค่าใหม่ สำนึกใหม่ ที่มีความรักถิ่นเกิด รักครอบครัวเครือญาติ รักศรัทธาในหลักศาสนา และสุดท้ายรักและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ชาวไทย
     2.3) มิติที่ 3 : มิติเชิงซ้อนเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณบริสุทธิ์ คือ การให้ทุกศาสนาได้มุ่งส่งเสริมให้คนน้อมนำจิตใจ ชำระใจของตนเอง ให้ละความชั่ว กลัวการทำสิ่งไม่ดี เพิ่มการทำความดีและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เพราะเป้าหมายร่วมของทุกศาสนาคือการเอื้อให้ประชาชน ชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมกัน ลดการทำสิ่งไม่ดี มาร่วมการทำความดี พัฒนาตนเอง ครอบครัว พัฒนาชุมชน และค่อยๆ ชำระใจ ขยายใจ โดยการระเบิดใจจากภายในตนเองให้เป็นจิตสาธารณะ จิตผู้ใญห้และเป็นจิตที่รักบ้านรักเมือง จนเกิดเป็นพลังจิตวิญญาณบริสุทธิ์ ที่จะขับเคลื่อนและคุ้มครองชุมชนธรรมาธิปไตย
3. การขับเคลื่อนจากใจตนเองไปสู่ใจของครอบครัวและค่อยๆ ขยายจากครอบครัวสู่เพื่อนบ้านระหว่างหมู่บ้าน                  สู่สังคมชายแดนใต้โดยจังหวะก้าวการขับเคลื่อนเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยเริ่มจากการค้นหาค้นพบแกนนำครอบครัวแกนนำหมู่บ้าน แกนนำเครือข่ายชุมชน ที่มีจิตสาธารณะ จิตสงบ จิตดีงาม (ทุกสังคมจะมีอยู่แล้ว 10 คนใน 100 คนโดยเฉลี่ย)                 ให้ลงมือปฏิบัติจนเห็นผลที่เกิดกับตนเองและครอบครัว เพราะบทเรียนที่ตกผลึกนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ขยายผลสู่ชาวบ้านส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 70-80 แต่ละหมู่บ้าน) ให้เข้าร่วมที่ละครอบครัว ที่ละเขตบ้าน
 
 
 
4.ขับเคลื่อนพลังธรรมาธิปไตยชุมชน: (สืบสานพลังชีวิตธรรมาธิปไตยชุมชน) ด้วยวิธีการดังนี้
         4.1 นำยุทธศาสตร์ธรรมาธิปไตยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้(กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยาและคณะ, 2553 : 14-23)ดังนี้
                4.1.1 กำหนดเป้าหมายชีวิตสุขสงบวิถีธรรม คือ การกำหนดสภาวะแห่งธรรมสูงสุดของมวลมนุษยชาติ คือ  ความพอเพียง สายกลาง เป็นสภาวะการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์ ระหว่าง กาย จิต วิญญาณ และ มนุษย์ ธรรมชาติ จักรวาล ดังนั้น พลังอำนาจทางการเมืองการปกครองที่เป็นธรรมของสังคมมนุษย์หรือระบบธรรมาภิบาลที่ปรารถนา จึงต้องเกิดจากสภาวะแห่งธรรมของปัจเจกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย : ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จำเป็นต้อง เสริมพลังชีวิตประชาชน ให้มีความสุขสงบวิถีธรรม จึงจะบังเกิดพลังอำนาจปวงชนที่มีความสุขร่วมกันได้ดังพระราชปณิธานในพระปฐมบรมราชโองการ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งเป็นที่มาของธรรมาธิปไตย หรือ สมรรถนะการใช้พลังอำนาจโดยธรรม มีความหมายเป็น 2มิติ คือ                 
( 1) สมรรถนะการใช้อำนาจตัดสินใจของพลเมือง ทุกขณะจิต ด้วยหลักเหตุผล คุณธรรม จริยธรรม สุนทรียภาวะในตนเอง /สังคม
(2) การพัฒนามิติองค์รวม ( นามธรรม รูปธรรม เชิงซ้อน )                                     
               4.1.2กำหนดกระบวนทัศน์การดำเนินชีวิตสู่สภาวะแห่งธรรม ในธรรมาธิปไตยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การปฏิรูปการเมืองการปกครอง สู่สมรรถนะแห่งธรรม ต้องสร้างความตระหนักรู้ให้พลเมืองไทยทุกฝ่าย                 ( รัฐ ประชาชน วิชาการ ฯลฯ ) ร่วมเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ มิติสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( องค์รวม ) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สุขสงบวิถีธรรม ” จึงจะช่วยให้บังเกิดผลการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน                        ไม่เบียดเบียนกันและกัน โดยอาศัยกระบวนการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ในลักษณะการศึกษาต่อเนื่องช่วยให้พลเมืองมีความสุขที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลงตนเอง สู่สภาวะแห่งธรรมขั้นสูง   มหาบารมี ”    “ บรมธรรม อย่างมีพัฒนาการสืบเนื่อง เกิดการเพิ่มพูนสมรรถนะธรรมาธิปไตยในตนเอง ดังที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสถึง การพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง ก้าวหน้า มีความเจริญ ว่า “… ต้องเป็นการทำให้ชีวิตของแต่ละคนมีความปลอดภัย มีความเจริญ                และมีความสุขด้วยกระบวนการที่ต่อเนื่อง ( Continuing Process ) ให้ความสำคัญกับลำดับ   และขั้นตอนความเชื่อมโยง โดยเน้นที่การพัฒนาบุคคลเป็นลำดับแรกด้วยการศึกษา  2ด้านคือ ด้านวิชาการ ( Academic Learning ) และการอบรมบ่มนิสัย                ( Spiritual Development ) ให้เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ดี ใฝ่เจริญ เป็นปกติ ละอายชั่วกลัวบาป เพื่อมีความรู้ไว้ใช้ประกอบการและมีความดีไว้เกื้อหนุนประพฤติปฏิบัติทุกอย่าง ให้เป็นไปในทางที่ถูก ที่ควร อำนวยประโยชน์ที่พึงประสงค์ ควรเป็นวิชาการที่ได้จากประสบการณ์ที่แท้จริงของประเทศไทย มิใช่เรียนเฉพาะตำราต่างประเทศ ทั้งนี้ การออกไปทำงานของนักพัฒนา                   ต้องศึกษาความเป็นจริงในพื้นที่เป็นสำคัญ การดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง จะช่วยให้ประเทศอยู่ได้ ต้องใช้เวลา อย่าใจร้อน ต้องประยุกต์ ให้เหมาะสมภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ ตามสังคมวิทยา สอดคล้องกับความต้องการประชาชน อธิบายให้ประชาชนเข้าใจหลักการของการ พัฒนา …” การทำงานตามแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา               อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไข ของนักพัฒนาต่างๆ ต้องทำอย่างง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ และระบบนิเวศน์โดยส่วนรวมของธรรมชาติตลอดจนสภาพของชุมชนนั้นๆไม่ติดตำรา      สร้างความรู้ รัก สามัคคี และการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เป็นประโยชน์กับประชาชนมุ่งไปสู่วิถีพัฒนาแบบยั่งยืน ( Sustainable Development ) ผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน จึงจะสำเร็จและได้รับความร่วมมือ  กล่าวโดยสรุปแก่นสาระปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ธรรมาธิปไตยในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึง ระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์      
               4.1.3 กำหนดสมรรถนะธรรมาธิปไตยของพลเมือ
                4.1.4กำหนดพลังอำนาจ ต่อสภาพการดำเนินชีวิตของประชาชน  คือ ทำความเข้าใจกับปัญหาที่สะสมทับซ้อนยาวนานมิรู้จบใหม่ และวางยุทธศาสตร์เชิงระบบเพื่อหาทางรับมือกับปัญหาเชิงปรากฏการณ์ทางสังคม ปัญหาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของประชาชน / ปัญหาการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ / นักพัฒนา ปัญหาโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง       การปกครอง ปัญหาทัศนคติ ความเชื่อ การให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ / จิตวิญญาณ  
                4.1.5 แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยกระบวนทัศน์ธรรมาธิปไตย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( พลังอำนาจแห่งธรรม สุขสงบ วิถีธรรมอย่างยั่งยืน) คือ การน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน                              เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงตามแนวทางสันติธรรมอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นที่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอที่มีเขตติดต่อของจังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่กำหนดการแก้ปัญหาและพัฒนาเชิงระบบ กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย
                                (1) การประสานความ เข้าใจ และพัฒนากระบวนการศึกษาเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติเพื่อเข้าถึง องค์ธรรม องค์ความคิด องค์ความรู้ ตามหลักคิดร่วมกัน 3 ฝ่ายได้แก่ รัฐ + วิชาการ/ ผู้นำทางจิตวิญญาณ / ปราชญ์ชุมชน +ประชาชน ที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน โดยการร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์ สาเหตุของปัญหา ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาเชิงระบบ ( 2547 - 2548)
                                (2) การดำเนินงานโครงการพัฒนาวิชาการ กระบวนทัศน์รัฐศาสตร์ศึกษาบูรณาการ :ธรรมาธิปไตย ( ความร่วมมือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร และสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : บงกช ณ สงขลา , 25482549
                                (3) การเสริมพลังสมรรถนะธรรมาธิปไตยแก่อาสาสมัครในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกช่วงวัย ( เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ) มุ่งหวังการสร้างกลุ่มพลังมวลชนธรรมาธิปไตย สู่การเสริมสร้างพลังชีวิตธรรมาธิปไตยชุมชน            ด้วยบทบาทความร่วมมือของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย อันเป็นกระบวนการปฏิรูปการเมืองการปกครอง   ด้วยกระบวนการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ ( Learning by doing ) อย่างยั่งยืน และการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแนวพระราชดำรัสการพัฒนายั่งยืน (2548ปัจจุบัน )
                                (4) การดำเนินงานวิจัยปฏิบัติการสังคมแห่งการเรียนรู้ ( CAR : Community Action Research ) ภายใต้โครงการวิจัยปฏิบัติการเสริมพลังความมั่นคงของชาติ มิติสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามรอยพระยุคลบาท เรื่อง “ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ธรรมาธิปไตยในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ”                                     ( ร่วมกับพันธมิตร 3 ฝ่าย : รัฐ ประชาชน วิชาการ ) ( พันเอก พิเศษ กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา , บงกช ณ สงขลา และคณะ : ตุลาคม 2550– มีนาคม 2551)
                                (5) การนำผลการวิจัย สู่การขยายผลการเสริมพลังชีวิตธรรมาธิปไตยของพลเมืองโดยกระบวนการหลากหลาย อาทิ การพบปะ พูดคุย ปรึกษาหารือ ผู้นำประชาชนต่างๆ เช่นผู้นำทางศาสนา/ผู้นำจิตวิญญาณ สมาชิก องค์การบริหารส่วนตำบล ครูผู้สอนศาสนา ผู้นำกลุ่มสตรี ผู้นำเยาวชน ข้าราชการ นักวิชาการ และประชาชนที่มีจิตอาสา เพื่อพัฒนารูปแบบ แนวทางการแก้ไขปัญหาความทุกข์ทับซ้อนทางจิตวิญญาณ กรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพัฒนาหลักสูตร / กิจกรรม / โครงการต่างๆร่วมกัน โดยมีศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย เป็นองค์กรบูรณาการ ประสาน และอำนวยการเชิงระบบ เพื่อให้อยู่ในครรลองกระบวนทัศน์ที่พึงประสงค์ ตามแนวทางธรรมาธิปไตย : พอเพียง ( มีนาคม 2551ปัจจุบัน )
                                (6) การดำเนินการขยายผลและต่อยอดจาก โครงการศึกษาวิจัยปฏิบัติการเสริมพลังความมั่นคงของชาติ มิติสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามรอยพระยุคลบาทเรื่อง “ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ธรรมาธิปไตย                        ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ” โดยการสร้างโอกาสให้อาสาสมัครต่างๆ ได้ร่วมพัฒนาโครงการ ประสานงาน บริหารจัดการ อำนวยความสะดวกกลุ่มพลังมวลชนที่ร่วมดำเนินงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น ด้วยรูปธรรมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย ร่วมกับองค์กรของรัฐ และหรือ สถาบันการศึกษาร่วมกันจัดขึ้น ทำหน้าที่ร่วมเฝ้าระวัง สรุปผล ประเมิน ติดตามผล ถอดบทเรียน รวมทั้งเสริมพลังชีวิตธรรมาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง     เพื่อร่วมกันนำพลังบริสุทธิ์ สว่างในธรรม ร่วมขับเคลื่อนพลังชีวิตธรรมาธิปไตยชุมชน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบ                  ที่หมู่บ้านและชุมชน สู่ความสุขสงบวิถีธรรมยั่งยืน ( มีนาคม 2551 – ปัจจุบัน )         
                                (7)การศึกษาเรียนรู้ต้นทุนความพยายามแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขององค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เพื่อหาแนวทางประสานความร่วมมือ / บูรณาการการทำงานร่วมกันในโอกาสต่อไป (2547ปัจจุบัน )       
                                (8)การประสานความร่วมมือ ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ กับภาครัฐระดับนโยบาย                 ในการพิจารณาศึกษาต้นทุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งศูนย์ศึกษา และพัฒนาธรรมาธิปไตยได้ดำเนินการไว้ เพื่อนำสู่การกำหนดนโยบาย / ยุทธศาสตร์ชาติ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ธรรมาธิปไตย ในพระองค์ อย่างเป็นระบบต่อไป ( มีนาคม 2551 - ปัจจุบัน )ทำความเข้าใจกับสังคมเกี่ยวกับการน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน     เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา สู่การปฏิบัติด้วยความสุขสงบวิถีธรรม ( ตุลาคม 2550ปัจจุบัน )
                                (9) การเตรียมการพัฒนาหลักสูตร พลังชีวิตธรรมาธิปไตย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่ข้าราชการ ประชาชน และผู้สนใจ
นอกจากนั้นจะต้องมีการทำงานตามแผนแม่บทพัฒนาหมู่บ้านธรรมาธิปไตยชุมชน (ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตยอ้างถึงในเอนก นาคะบุตรและคณะ, 2553 : 6-20) ด้วยวิธีการดังนี้
1.ปรับวิถีชีวิตของชุมชนทั้ง 211 หมู่บ้าน ตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง ทั้ง 4 ระดับ ดังนี้
   ระดับที่ 1 : ระดับครัวเรือนทุกครอบครัวใน 211 หมู่บ้าน: ใช้จุลินทรีย์น้ำ/ร่วมปั้นจุลินทรีย์บอลล์ในระดับครอบครัว และขยายตัวให้ 51% ของครอบครัวแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมการปั้นจุลินทรีย์บอลล์และเข้าร่วมการปาลูกบอลล์               และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลเพื่อให้เกิด
         1)เกิดแกนนำ/ผู้รู้จุลินทรีย์บอลล์หมู่บ้านละ 11 คนอย่างน้อย
         2) กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมปั้นจุลินทรีย์บอลล์ อย่างน้อย 51% ของหมู่บ้าน และสามารถลดรายจ่ายด้วยการใช้จุลินทรีย์น้ำอย่างน้อย 11% ของรายจ่ายครัวเรือน
         3)ครอบครัวในทุกหมู่บ้าน มีรายได้เพิ่มจากการจับสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น และรวมกันทำวิสาหกิจชุมชนจากสัตว์น้ำ หรือธุรกิจท่องเที่ยวมีรายได้ต่อครัวเรือนมากกว่า 64,111 บาทต่อปี และมากกว่า 121,111 บาทต่อปีหลังปี 2555
   ระดับที่ 2 : ระดับชุมชนท้องถิ่นคือขับเคลื่อน
         1)พื้นที่ทะเลรอบชายฝั่งบริเวณ 211 หมู่บ้าน มีน้ำใสขึ้น โคลนตมใต้ท้องทะเลลดลงและสัตว์น้ำชุกชุมขึ้น ควบคู่กับการมีองค์กรชุมชนที่มีความรักษ์ผูกพันจัดการอนุรักษ์ ใช้และฟื้นฟูทะเลหน้าชายฝั่งของ 211 หมู่บ้าน
         2) เป้าหมายการปั้นและนำจุลินทรีย์บอลล์ไปปาลงในทะเลหน้าชุมชนตลอดชายฝั่งคาดว่าทุกหมู่บ้านจะโยนได้ 1,511,111 ลูก ในช่วง 2 ปีข้างหน้า
         3)เกิดการจัดระเบียบการใช้ทรัพยากรทะเลฤดูการจับสัตว์น้ำ การแบ่งเขตการ อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ การดูแลปะการัง และปะการังเทียม และมี กฎระเบียบของชุมชน จัดการเฝ้าระวังและติดตามผลร่วมกัน
   ระดับที่ 3 : ระดับเครือข่ายหมู่บ้าน: ยกระดับรายได้ของชุมชนท้องถิ่นจัดตั้งและจัดการวิสาหกิจของชุมชน             โดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างน้อย 111 หมู่บ้าน ใน 211 หมู่บ้านในปี 2555
         1)มีการลงหุ้นจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและมีกองทุนวิสาหกิจชุมชนจากสมาชิกในหมู่บ้านและเครือข่ายหมู่บ้านประมงในเขตใกล้เคียง
         2)มีกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนที่สมาชิกในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในกิจกรรมและใช้ผลผลิตจากสัตว์น้ำแปรรูป              เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มและครัวเรือน
         3)มีการแบ่งปันกำไรและรายได้จากวิสาหกิจชุมชนเพื่อใช้ในการฟื้นฟูทะเล สัตว์น้ำและแบ่งปันอุ้มชู                      ผู้ยากลำบากในหมู่บ้านกันเอง
   ระดับที่ 4 : ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล
         1)ค้นคว้า รวบรวมผู้รู้ ระดับครัวเรือน ระดับกลุ่มที่เป็นแบบอย่าง เป็นความสำเร็จของหมู่บ้าน และถอดความรู้เป็นสื่อท้องถิ่น เป็นชุดความรู้ เป็นคู่มือชาวบ้าน จัดการฝึกอบรม ดูงาน ขยายการเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงของตำบลทุกตำบล
         2)รวมกลุ่มผู้รู้ แกนนำ 4 เสาหลัก และสมาชิกในเครือข่ายกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ลงหุ้นระดมทุน จัดทำแผนวิสาหกิจชุมชน เพื่อร่วมกันบริหารวิสาหกิจของชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรให้ได้อย่างน้อย ตำบล                   ละ1 วิสาหกิจชุมชน
         3)เชื่อมโยงวิทยากรผู้รู้ และวิสาหกิจชุมชนเป็นสภาผู้รู้และสมัชชาวิสาหกิจชุมชนเผยแพร่และเป็นชุดวิทยากรเคลื่อนที่ไปตามหมู่บ้านใน 5 จชต. และจัดทำสื่อสาธารณะเผยแพร่ทั้งในสื่อ Online ทุกช่องทาง และสื่อสิ่งพิมพ์
                2. ขับเคลื่อนด้วยธรรมาธิปไตยชุมชนดังนี้
                                                2.1 ขับเคลื่อนด้วยพลังความรู้จากองค์ความรู้ที่สำเร็จในพื้นที่: เติม ต่อยอด ถอดองค์ความรู้ การจัดการฟื้นฟูอนุรักษ์และบริหารวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมโดยองค์กรชุมชน จากชุมชนต้นแบบหลากหลาย เช่น ชุมชนเกาะพิทักษ์ จ.ชุมพร ให้เป็นองค์ความรู้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ เป็นชุดความรู้ คู่มือชาวบ้านและเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาการเผยแพร่ ฝึกอบรมให้ชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จชต. ร่วมกับภาควิชาการและภาคราชการ
                                                2.2 พลังจิตอาสา จิตสาธารณะของพลังองค์กรภาคประชาชน : ขยายบทบาทของชุมชนเกาะพิทักษ์                    อ.หลังสวน จ.ชุมพร ให้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน เพื่อจุดประกายเชิงรูปธรรมให้เห็นรูปแบบการฟื้นฟูทะเลด้วยจุลินทรีย์บอลล์และการจัดการท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมแบบโฮมสเตย์ ด้วยองค์กรชุมชนให้เป็นแหล่งดูงานของชาวประมงพื้นบ้านใน 5 จชต. และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายรอบชายฝั่งอ่าวไทยและชายฝั่งอันดามัน จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี มาสู่ทะเลสาปสงขลาและเข้าสู่ 5 จชต. ในหมู่บ้านประมงพื้นบ้าน และเครือข่ายประมงทุกหมู่บ้าน
                                                2.3 พลังความร่วมมือผนึกกำลังของภาคีสนับสนุนการพัฒนา เบญจภาคี ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคสื่อสารมวลชน: ขับเคลื่อนให้หมู่บ้านชายฝั่งเข้าร่วมกิจกรรมปั้นจุลินทรีย์บอลล์จัดตั้งธนาคารจุลินทรีย์บอลล์ นำไปฟื้นฟูทะเลชายฝั่งหน้าหมู่บ้านตนเอง เมื่อสัตว์น้ำชุกชุม จะเกิดการขับเคลื่อนของเครือข่ายประมง เข้าร่วมกับเบญจภาคี หรือภาคีสนับสนุนนอกหมู่บ้านในการร่วมกันฟื้นฟู อนุรักษ์ทะเลร่วมกัน และร่วมกันบริหาร บริการ วิสาหกิจชุมชนในแต่ละตำบลร่วมกัน
                                                2.4 พลังการติดตามเสริมพลังให้กับทุกหมู่บ้านประมงชายฝั่ง: เพื่อเชื่อมโยงมิติความมั่นคงของชีวิตของทุกหมู่บ้าน จากทรัพยากรทางทะเล และจากรายได้ที่มั่นคงจากสัตว์น้ำ และวิสาหกิจชุมชนให้บูรณาการเข้ากับมิติด้านชุมชน   ที่เข้มแข็ง จากการรู้รักษ์สามัคคีจากการจัดระเบียบชุมชน จัดระเบียบองค์กรชุมชนจัดแผนและกองทุนชุมชนร่วมกัน น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนระดับตำบล ค้นหาในหมู่ผู้รู้และแกนนำถึงตัวชี้วัด                ความรู้ ความภาคภูมิใจ ความสงบสุขที่เกิดขึ้น ทั้ง 3 มิติ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 2.4.1)  ความพอประมาณ                          ในหมู่บ้านในครอบครัว 2.4.2) ความมีเหตุมีผล ในการจัดการตนเองร่วมกัน 2.4.3) มีภูมิคุ้มกันของครอบครัว ของกลุ่มของหมู่บ้านของตำบล ร่วมกัน
                3. จัดการและปฏิบัติการสืบสานพลังธรรมาธิปไตยชุมชนดังนี้
                                                3.1 จัดใจของแกนนำอาสา และแกนนำของ 4 เสาหลัก
                                                                3.1.1) เน้นการค้นหาแกนนำที่มีจิตอาสา และแกนนำที่มีสำนึกรักถิ่นเกิด รักทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานชีวิตให้เข้าร่วมกิจกรรมสาธิต ขยายจุลินทรีย์น้ำ ปั้น จุลินทรีย์บอลล์ และเกิดการเรียนรู้ เห็นประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่นำไปใช้จริงในครัวเรือนตนเอง
                                                                3.1.2) เริ่มระเบิดในใจถึงคุณค่าและประโยชน์จุลินทรีย์บอลล์ร่วมกับแม่บ้าน กลุ่มเยาวชนเริ่มชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมปั้นจุลินทรีย์บอลล์เพาะจุลินทรีย์บอลล์ปั้นจุลินทรีย์บอลล์ เพาะใจคนให้เห็นคุณค่า และรวมพลังกันไปฟื้นฟูทะเล ควบคู่การจัดการขยะในครัวเรือนและน้ำเสียของครัวเรือน ของหมู่บ้านที่ไหลลงทะเล
                                                3.2 จัดบ้าน จัดแบ่งความรับผิดชอบ จัดองค์กรชุมชน
                                                                3.2.1) แกนนำที่เชื่อมั่นในประโยชน์ของจุลินทรีย์บอลล์จัดแบ่งความรับผิดชอบร่วมกับ                 กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ในการปั้นจุลินทรีย์บอลล์ และนำไปขยายใช้ในแต่ละเขตบ้านในแต่ละโซน
                                                                3.2.2)ขยายความร่วมมือ วางแผนความร่วมมือกับองค์กรแกนนำ 4 เสาหลัก วางแผนการปั้นจุลินทรีย์บอลล์ให้ได้หมู่บ้านละ 111,111 ลูกต่อเดือน เป็นเวลา 8 เดือน ( ก.พ. ก.ย. ) เก็บใน ธนาคารจุลินทรีย์บอลล์              และนัดหมายกับท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานราชการทำกิจกรรมปาจุลินทรีย์บอลล์ในทะเล และติดตามผลทุกรอบเดือน ในจุดที่ไปปาจุลินทรีย์บอลล์
                                                                3.2.3) จัดตั้งกลุ่มที่จะลงหุ้น จัดทำวิสาหกิจชุมชนระดมเงินออม/เงินหุ้นเป็นกองทุนวิสาหกิจชุมชนจัดแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ ด้านการเงิน ด้านบริหาร ด้านการตลาด ด้านห้องพัก                   ด้านต้อนรับ ด้านอาหาร ของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโฮมสเตย์ เป็นต้น
                                                                3.2.4)จัดทำสื่อเผยแพร่ ร่วมกับหน่วยงานราชการ หน่วยงานภายนอกเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล วิสาหกิจชุมชนและศูนย์เรียนรู้ชุมชน สู่สังคม 
 
                                3.3 จัดทะเลด้วยการปาจุลินทรีย์บอลล์ในทะเล
                                                                3.3.1) ระดมพลังความร่วมมือของชาว้านทั้งหมู่บ้าน ร่วมกับ 4 เสาหลักจัดตั้ง ธนาคารจุลินทรีย์บอลล์ และนัดหมายไปปาจุลินทรีย์บอลล์ลงในทะเล
                                                                3.3.2) แบ่งกลุ่มจัดเขตการใช้ทะเล เขตการอนุรักษ์ปะการังติดตามผลการปาจุลินทรีย์บอลล์ หารือออกระเบียบหมู่บ้านที่เป็นข้อตกลงในการใช้ การอนุรักษ์ การฟื้นฟูสัตว์น้ำและทะเลชายฝั่งร่วมกัน
                                                                3.3.3) หารือจัดทำแผนลดการจับสัตว์น้ำ เพิ่มรายได้จากการทำวิสาหกิจชุมชนจากผลผลิตสัตว์น้ำ ด้วยการแปรรูปสัตว์น้ำ ด้วยการทำธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมและโฮมสเตย์ของหมู่บ้า
                                3.4  จัดเชื่อมโยง กองทุนของหมู่บ้าน จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
                                                                3.4.1) ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของทุกครัวเรือน มุ่งให้ทุกครัวเรือนมีรายได้ต่อครัวเรือนให้ได้มากกว่า 64,111 บาท ต่อปีทุกครัวเรือน และให้มีการสรุปบัญชีครัวเรือนในกลุ่มอาชีพแต่ละกลุ่มอาชีพ เดือนละ 1 ครั้ง              ทุกเดือน
                                                                3.4.2) ระดมเงินออมของทุกครัวเรือน เป็นหุ้นของกองทุนวิสาหกิจชุมชนร่วมกันต่อยอดกิจกรรมจับสัตว์น้ำ มาเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ต่อยอดจากสัตว์น้ำ เช่น การแปรรูป การทำธุรกิจท่องเที่ยว โฮมสเตย์ ตลาดสัตว์น้ำ เป็นต้น มีการศึกษาดูงาน มีการเชิญนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และ นักธุรกิจมาแลกเปลี่ยนความรู้ และให้คำปรึกษา
                                                                3.4.3) จัดตั้งคณะกรรมการ แบ่งงาน แบ่งความรับผิดชอบของสมาชิกที่เข้าร่วมวิสาหกิจชุมชน สรุปผลติดตามเสริมพลังทุกรอบเดือน
                                3.5 การจัดการความรู้ของชุมชน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
                                                                3.5.1) ถอดบทเรียน ค้นหาความสำเร็จ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกเดือนร่วมกัน และร่วมกับองค์กร 4 เสาหลัก
                                                                3.5.2)  จัดทำสื่อท้องถิ่น ฐานข้อมูลของชุมชน ค้นหาและเชิญผู้รู้ที่ทำกิจกรรมสำเร็จเป็นสภาผู้รู้ เลือกสถานที่รวบรวมข้อมูลจัดตั้งเป็น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
                                                                3.5.3) ขยายความรู้ให้กลุ่มผู้ยากลำบากเป็นแหล่งฝึกอบรมดูงานของคนในชุมชน                           และจากภายนอก ขยายแบ่งปันความรู้ ความภาคภูมิใจให้กับสังคม
                                                                3.5.4) ประสานความร่วมมือ กับภาคราชการ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อสารมวลชน เพื่อขยายภูมิปัญญาชาวบ้านต้นแบบความสำเร็จในการฟื้นฟูทะเล และการทำวิสาหกิจชุมชนให้กับชุมชนอื่น
         4.  สร้างพลังธรรมาธิปไตยชุมชน (อิสมาอีล เจ๊ะนิ อ้างถึงในอเนก นาคะบุตร, 2553 : …) ดังนี้
                                      4.1 การจัดทัพ 5   2: แกนนำก่อการ ก2 : กิจกรรมกลุ่ม ก 3 : กองทุนชุมชน ก 4 : การเรียนรู้ร่วมกัน / การติดตามเสริมพลัง ก 5: การเชื่อมโยงแกนนำ 4 เสาหลัก กันของพลังของหมู่บ้านของชุมชนท้องถิ่น                         หรือแม้กระทั่งของตำบล ดังรายละเอียดการจัดทัพ 5ดังนี้
                                ก 2 : คือ การค้นหา คัดสรร หนุนให้แกนนำที่มีจิตอาสา ก่อการดี เพื่อจุดประกายนำทำให้ชาวบ้านเห็น และมีตัวอย่างที่เป็นต้นแบบจากการปฏิบัติ
                                ก 2 : กิจกรรมกลุ่ม คือ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม การทำกิจกรรมกลุ่มด้านลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และร่วมทุน ลงหุ้นก่อตัว บริหารวิสาหกิจของชุมชนร่วมกัน
                                ก 3 : กองทุนชุมชน คือ การกระตุ้นให้กลุ่มต่างๆ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เชื่อมโยง การจัดการกองทุนที่หลากหลายของชุมชนให้เชื่อมโยง รวมพลัง ทั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนหมู่บ้าน ตลอดจนกองทุนลงหุ้นวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น
                                ก 4 : การเรียนรู้ร่วมกัน / การติดตามเสริมพลัง คือ การค้นหาความสำเร็จ “จับถูก” ผู้ทำกิจกรรมสำเร็จจากกลุ่มอาชีพ องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน มาสรุปบทเรียน จัดทำสื่อการเรียนรู้ของชุมชน รวบรวมผู้รู้ต่างๆ จัดตั้งเป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” บนฐานกิจกรรมที่สำเร็จต่างๆ ทั้งในระดับครอบครัว ระดับกลุ่ม ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล
                                ก 5 : การเชื่อมโยงแกนนำ 4 เสาหลัก คือ การสร้างเวทีสาธารณะ เชื่อมโยงการปรึกษาหารือ ประชุมสร้างแผนชุมชนที่เป็นแผนร่วม กิจกรรมร่วม และใช้งบประมาณร่วมกันเพื่อรวมพลังแกนนำให้เป็น 4 เสาหลัก                ของหมู่บ้านตำบลเป็นพลังร่วมของแกนนำทั้ง 4 ภาคี
 
                     
 
 
 
4.2 การยกระดับ 5 พลังขับเคลื่อน “ธรรมาธิปไตยชุมชน” คือพลังขับเคลื่อนด้วยการสนับสนุนส่งเสริม และติดตามให้ทุกหมู่บ้านเกิดพลัง 5 พ ดังนี้
                                            พ 2 : พลังเศรษฐกิจครัวเรือนพอเพียง คือ การสนับสนุนให้ผู้ยากลำบากได้โอกาส จัดการตนเอง มีเวทีเรียนรู้ของผู้ยากลำบากตามกลุ่มอาชีพ และใช้บัญชีครัวเรือนลดรายจ่ายสร้างรายได้เพิ่ม/ให้มีรายได้ต่อปี 120,000 บาท ต่อครัวเรือน
                                            พ 2 : พลังชุมชนเข้มแข็ง : ส่งเสริมให้มีเวทีประชาคมหมู่บ้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การติดตามผลเสริมพลังแผนชุมชนและบัญชีครัวเรือนผู้ยากลำบาก ของทุกกลุ่มอาชีพร่วมกับแกนนำ 4 เสาหลัก ทุกรอบเดือนเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาการดำเนินงานร่วมกัน และเพื่อค้นหายกระดับผู้รู้ ครอบครัวต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงานในแต่ละตำบล
                            พ 3 : พลังปัญญาผู้รู้ท้องถิ่น : คือ การพัฒนาฐานข้อมูล ผู้รู้ชุมชน กลุ่มอาชีพที่สำเร็จ ให้เกิดการยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่มีการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้และการขยายการดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกอบรมโดยศูนย์เรียนรู้แต่ละตำบลสู่ตำบลอื่นๆ
                            พ 4 : พลังการมีส่วนร่วมของประชาชนพลังมวลชน: คือ การประสานและเอื้อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีชีวิตระหว่าง 4 เสาหลัก กับ กลุ่มอาชีพต่างๆ และผู้ยากลำบากทุกครอบครัวเพื่อเป็นสื่อกลางในการติดตามผลเสริมพลังรับรู้ความสำเร็จและรับฟังข้อเสนอจากมวลชนและสร้างความไว้วางใจ เกิดพลังมวลชนขับเคลื่อนตัวเอง
พ.5 : พลังจิตสำนึกธรรมาธิปไตย คือ การสะสม สืบสาน ความภาคภูมิใจความมั่นใจ ความไว้วางใจ ความมีความจริงใจ ความบริสุทธิ์ใจของกลุ่มอาชีพของ 4 เสาหลัก และของเครือข่ายผู้ยากลำบาก ให้เชื่อมโยงและเกิดคุณค่าร่วม เกิดจิตสาธารณะและเป็นจิตสำนึกร่วมกันภายใต้ ศรัทธาและหลักคำสอนของทุกศาสนา เกิดการระเบิดภายในใจอย่างต่อเนื่องเป็นพลังใจของชาวบ้านที่ซื่อสัตย์ ซื่อตรง จริงใจ รักษ์แผ่นดิน เกิดเป็น “ธรรมาธิปไตยชุมชน” ในใจตนของชาวบ้าน
 
 
 
                      4.3 การเสริมพลัง 5 ขั้นตอนขับเคลื่อนธรรมาธิปไตยชุมชนคือ
                            ขั้นตอนที่ 1 : ระเบิดจากภายในใจตนเอง คือ การตั้งคำถามตนเอง ค้นหาใจตนเองว่า “ทำเพื่ออะไร?” ทำเพื่อพัฒนายกระดับจิตวิญญาณตนเองให้เข้าสู่จิตวิญญาณบริสุทธิ์ และมีจิตสำนึกธรรมาธิปไตย “หรือไม่?”
                            ขั้นตอนที่ 2 : ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ คือ การก่อการดีร่วมกันโดยมี “แกนนำก่อการดี” และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ กำหนด “ เป้าหมายร่วม” กำหนดพันธะสัญญา “ภารกิจศักดิ์สิทธิ์” ตามหลักศาสนาตามที่นับถือ เช่น ตามหลักศาสนาด้วย “กติกาศักดิ์สิทธิ์” และมี “เวลาศักดิ์สิทธิ์” ใน “สถานที่ศักดิ์สิทธ์”
                            ขั้นตอนที่ 3 : เชื่อมโยงองค์กรชุมชน / แกนนำให้เกิดพลัง 4 เสาหลักคือ การจัดเวทีเชื่อมโยงแกนนำจาก 4 เสาหลักเข้าร่วมขับเคลื่อน ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ทั้งจากองค์กรท้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำองค์กรศาสนา และผู้นำองค์กรชุมชน ผู้นำธรรมชาติ
                            ขั้นตอนที่ 4 : จัดทำแผนและติดตามผลเสริมพลังคือการจะเป็นชุมชนเข้มแข็ง ต้องจัดทำแผนของชุมชนใน 3 ระดับ คือ ระดับแผนครัวเรือน /แผนเขตบ้าน / แผนหมู่บ้าน และใช้บัญชีครัวเรือนติดตามตนเองแต่ละครอบครัว และใช้กลุ่มอาชีพ / องค์กรชุมชนในเขตบ้านติดตามปัญหาและค้นหากลุ่มอาชีพต้นแบบ ผู้รู้ในกลุ่ม และใช้แกนนำ 4 เสาหลักเปิดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ทั้งที่เป็นทางการเดือนละ 2 ครั้ง และเวทีไม่เป็นทางการติดตามผลตามแผนและวัดตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งต่อเนื่องของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล สรุปเป็นแบบบันทึก และรายงานผลต่อรัฐบาล ควบคู่การจัดทำสื่อไว้ในศูนย์เรียนรู้
                            ขั้นตอนที่ 5 : การระดมกองทุนศักดิ์สิทธิ์ คือการที่นำแกนนำ 4 เสาหลัก และชาวบ้านร่วมกันระดมทุนเป็นกองทุนศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน เช่น กองทุนซากาต กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนกลางของหมู่บ้าน และกองทุนหุ้นวิสาหกิจชุมชน
 
 
 
 
 
 
                     
                      4.4 การสร้างธรรมาธิปไตยชุมชน ด้วยการระเบิดใจตน ใน 3 ขั้นตอน
                            ขั้นตอนที่ 1 : น้อมน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่จิตใจตนเอง คือ การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านเข้าสู่จิตสำนึกของตนเองด้วยการกำหนดจิตมุ่งมั่นที่จะลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และสร้างภูมิคุ้มกันมีปัญญาที่เกิดจากการศึกษาดูงาน การอบรมบ่มนิสัย มีการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งทำความดีให้มีจิตใจ ที่สงบสุข มีความรักตัวเอง รักครอบครัวรักการแบ่งปันต่อเพื่อนบ้าน
                            ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดใจตนเองให้สั่งการให้ตนเองเปลี่ยนพฤติกรรม คือ เมื่อใจระเบิดจากภายใน จะสั่งการตนเองให้กล้าลงมือทำกล้าค้นคว้าลองทำจากผิดเป็นถูก ทำจนเกิดความชำนาญทำโดยไม่หวั่นเกรงต่อสายตาของสังคมทำจนรู้ตนเองว่าความพอประมาณและความมีเหตุผลของพฤติกรรมใหม่ในการจัดการเศรษฐกิจครัวเรือน เศรษฐกิจของกลุ่มที่อยู่บนความมั่นคงยั่งยืนของวิถีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ
                            ขั้นตอนที่ 3 : สรุปบทเรียน เกิดการเรียนรู้ใหม่จากการลงมือปฏิบัติคือ ทุกรอบเดือน รอบฤดูการผลิต หรือเมื่อทดลองทำกิจกรรม / โครงการธรรมาธิปไตยชุมชนเสร็จ จำเป็นต้องมีการสรุปบทเรียน หรือการทำกิจกรรมร่วมกันในหมู่สมาชิกของครัวเรือน ของกลุ่มอาชีพต่างๆ ตลอดจนระหว่างองค์กรชุมชน องค์กรแกนนำ 4 เสาหลักถึงความสำเร็จและผลที่เกิดขึ้นตลอดจนช่วยกันขยายบทเรียนดังกล่าว กับเพื่อบ้านและชุมอื่นๆ เมื่อแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ที่ทำสำเร็จให้คนอื่นจะพบว่าใจของตนเองมีความสุข สงบ มีจิตอาสาขยายใหญ่ขึ้นในใจของ “ผู้ให้” แต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชน เหล่านี้นับเป็นนวัตกรรมทางชุมชนที่ควรแก่การนำไปขยายต่อและเสริมสร้างพลังในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
         5.  ทำวิสาหกิจชุมชนตามหลักธรรมาธิปไตย( ศูนย์บูรณาการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้             อ้างถึงใน อเนก นาคะบุตรและคณะ, 2553 : คู่มือชาวบ้านชุดที่ 6 หน้า 1-14)      
                      5.1 หลักคิดสำคัญของวิสาหกิจชุมชน มีดังนี้
                            5.1.1) เกษตรกร ชาวประมง ชาวสวนยาง ชาวบ้าน จำเป็นต้องมีวิธีคิดใหม่ในการยกระดับวิถีการผลิต วิถีชีวิต จากผู้ผลิต ลูกจ้างมาเป็น “เถ้าแก่” หรือ “ผู้ประกอบการ” ร่วมกันเป็นเจ้าของ ร่วมหุ้น ร่วมจัดการ ธึรกิจและวิสาหกิจการแปรรูปผลผลิต การเกษตร ปลา ยางพารา ปาล์ม โดยชุมชนเป็นเจ้าของนำผลกำไรมาแบ่งปันตามหุ้นที่ลงทุนร่วมกันและนำกำไรที่ได้แบ่งปันเป็น”สวัสดิการชุมชน”
                            5.1.2)  เมื่อเกิดองค์กรชุมชนใหม่ที่ทำธุรกิจชุมชน ทำวิสาหกิจชุมชนที่เปิดพื้นที่ให้ผู้นำชุมชนทั้งรุ่นอาวุโส หัวหน้าครอบครัวและผู้นำรุ่นใหม่คือเยาวชนคนหนุ่มคนสาวคืนถิ่นอยู่ในถิ่นเกิด บริหารวิสาหกิจชุมชนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จิตสำนึกและจิตวิญญาณใหม่ก็จะก่อตัวในใจของคนทั้ง 3 กลุ่ม และของชุมชนท้องถิ่น
                      5.2 วิสาหกิจชุมชนกับการแก้ปัญหาความยากจนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังนี้
                            5.2.1) กระจายโอกาส คือ เกษตรกรเข้าถึงทุน ทรัพยากร ความรู้และเทคโนโลยี
                            5.2.2) กระจายการผลิต คือ เปลี่ยนเกษตรกรจากผู้ผลิตวัตถุดิบเป็นผู้สร้างผลิตภัณฑ์
                      5.3 พลังของวิสาหกิจชุมชนมีดังนี้
                            5.3.1)  ฟื้นความสัมพันธ์ทางสังคมแบบพึ่งพาอาศัยกันกลับคืนมา
                            5.3.2)  ฟื้นอำนาจในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและผลผลิตของชุมชน
                            5.3.3) ฟื้นการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชน
                      5.4 การจัดการ/การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน มีดังนี้
                            5.4.1) คนจนมีส่วนรับประโยชน์ : วิสาหกิจชุมชนจะมุ่งเน้นให้คนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของชุมชนเข้าร่วมลงทุน ร่วมเป็นสมาชิก ร่วมกิจกรรมและร่วมรับผลประโยชน์จากกำไรและสวัสดิการ ตลอดจนการได้บทเรียนเป็นเถ้าแก่น้อยร่วมกัน
                            5.4.2) องค์กรวิสาหกิจชุมชนต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล คือ วิสาหกิจชุมชนจะต้องมีการจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเป็นนิติบุคคล เช่น สหกรณ์ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเพื่อเพิ่มสถานะทางกฎหมายให้องค์กรชุมชนสามารถทำธุรกิจการเงิน ซื้อ-ขาย กู้ ได้อย่างมีกฎหมายรองรับ และมีความชอบธรรม ความเชื่อมั่นต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
                            5.4.3) การเงินชุมชนจะมีการรักษาเงินไม่ให้ไหลออกจากชุมชนไหลเวียนในชุมชนท้องถิ่นนานที่สุด คือ เมื่อชาวบ้านซื้อ-ขาย-กู้-ออม ผ่านวิสาหกิจชุมชนในตำบลและระหว่างตำบลมากขึ้น เสียภาษีทางตรงให้ท้องถิ่นมีการยกเว้นภาษีวิสาหกิจชุมชน/จะส่งเสริม เสริมกำลังให้เงินหมุนไหลเวียนอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น
 
 
 
 
 
 
 
                      5.5 การไหลเวียนเงินทุนในชุมชน มีดังนี้
                            5.5.1) เพิ่มรายได้ให้คนจน คือ เมื่อคนจนรวมตัวกันแปรรูปผลผลิต ข้าว ยาง ปาล์ม ปลา และผลไม้ และขยายให้ตลาดท้องถิ่นและผู้บริโภคโดยตรง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตของเกษตรกร ทำให้มีรายได้จากการผลิตเพิ่มขึ้น โดยผลิตเท่าเดิม
                            5.5.2) ป้องกันเงินทุนไหลออกนอกชุมชน คือ การส่งเสริมการออมในชุมชน การนำเงินออกมาลงทุนในรูปหุ้นในวิสาหกิจชุมชน การมีตลาดกลางของชุมชน และการทำธุรกิจแปรรูป ทำวิสาหกิจชุมชนแทนการขายผลผลิต และซื้อจากภายนอกออกมาบริโภค จึงเป็นการป้องกันไม่ให้เงินทุนของชุมชนไหลออกนอกชุมชนและเป็นการกระตุ้นให้เงินทุนเหล่านั้น หมุนเวียนสะพัดอยู่ในชุมชนท้องถิ่นให้นานที่สุด (เปรียบเสมือนเลือดในร่างกายของคนเรา ที่ควรมีในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย และไหลเวียนทั่วร่างกายอย่างคล่องตัว ไม่ตีบตันที่ใดที่หนึ่ง หรือมีผลทำให้เลือดไหลออกจากร่างกาย
                            5.5.3) ยกเว้นภาษีให้ผู้ประกอบการ คือ กรณีที่รัฐบาลยกเว้นภาษีวิสาหกิจชุมชน ให้สหกรณ์วิสาหกิจชุมชน/ย่อมทำให้เงินภาษีที่เคยเสียให้รัฐบาลกลางที่กรุงเทพ ไหลเวียนอยู่ในชุมชนท้องถิ่น เป็นทุนที่จะนำมาลงทุนในวิสาหกิจชุมชนต่อไปได้
                            5.5.4)  เสียภาษีเงินได้ให้อบต./เทศบาล คือ กรณีวิสาหกิจชุมชนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้อบต./เทศบาลย่อมทำให้เงินทุนไหลเวียนอยู่ในท้องถิ่นแทนการนำเงินทุนนำส่งเข้ารัฐบาลกลางที่กรุงเทพ
                            5.5.5) จัดตั้งกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล คือ ชุมชนที่เข้มแข็งจำเป็นต้องมีกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบลของชุมชนเองและบริหารร่วมกันโดยคณะกรรมการชุมชนผู้รู้/ผุ้ทรงคุณวุฒิที่คัดสรรและยอมรับในชุมชนเปรียบเสมือนเป็น “ธนาคารชาติ” ของประเทศแต่อยู่ระดับตำบลนั่นเอง
                     
 
 
 
 
 
 
 
                      5.6 กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้
                                5.6.1)  การคัดเลือกพื้นที่ : ความเร่งด่วนของปัญหา คือ การให้ความสำคัญกับพื้นที่ยากจน / รายได้ต่ำ อยู่ในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นลำดับแรก
                                5.6.2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ : การยึดโยงกับชุมชน คือ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องผ่านการคัดสรรของ 4 เสาหลัก และ 4 เสาหลักต้องกำกับดูแล และเอื้อกระบวนการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่หลุดออกจากชุมชน และก่อให้เกิดการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับภูมิปัญญาสากล
                                5.6.3)  ประเภทหรือชนิดของการประกอบการ : การเชื่อมโยงกับชุมชน คือ การให้ความสำคัญกับกิจกรรม/แผนงาน/โครงการตามแผนแม่บทฯ การให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่มุ่งต่อยอดโครงการที่ลงทุนโดยรัฐและชุมชน/เครือข่าย และการให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของครอบครัว/ชุมชน
                                5.6.4) การกำหนดรูปแบบการประกอบการ : การเชื่อมโยงฐานผลผลิตทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้ และอัตลักษณ์ คือ การสร้างวิสาหกิจชุมชนมาตอบสนองความต้องการภายใน-ภายนอก ดำเนินเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถต่อยอดมรดกทางภูมิปัญญาที่สามารถสร้างมูลค่าได้ และดำเนินกิจการเพื่อสังคมที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมในภาพรวม
                                5.6.5)  กระบวนการเรียนรู้ของโครงการ : ต่อเนื่องเป็นขั้นตอน คือ เริ่มจากการรู้จักตนเองจนกระทั่งการประเมินผลการประกอบการ
                                5.6.6)  เถ้าแก่น้อย คือ สามารถพัฒนาขีดความสามารถของเถ้าแก่น้อย และการรวมหุ้นเป็นวิสาหกิจชุมชนตามจุดแข็ง และศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจของแต่ละชาติพันธุ์
                                5.6.7) แบ่งปันกำไร คือ วิสาหกิจชุมชนที่เน้นการแบ่งปันกำไรที่ได้เพื่อดูแลผู้ยากลำบาก ผู้อาวุโส เด็กและเยาวชนในชุมชน
 
 
 
   
 
 
                                    
         6. น้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
                6.1 แก่นสาระปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ธรรมาธิปไตยในพระองค์ (กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา                   และคณะ, 2552 : 15-26)
                    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตฯ (พระราชดำรัสพระราชทานแก่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542)
 
            
 
 
 
 
 
               
พระราชดำรัสว่าด้วยการใช้หลักธรรมาธิปไตยทรงพระราชทานในวโรกาสทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี วันที่ 9 มิถุนายน 2549 ทรงเน้นการใช้ “ คุณธรรม” นำการพัฒนา ดังนี้
1) การที่ทุกคนคิด พูด ทำด้วยความเมตตา มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน
2) การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผลทั้งแก่ตน                    แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ
3) การที่ทุกคนปฏิบัติอยู่ในความสุจริต ในกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน
4) การที่ต่างคนต่างพยายามนำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุผล
    เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไปดังพระราชดำรัสเมื่อ 4 ธันวาคม 2540 “…ข้อสังเกตต่อไปก็คล้าย ๆ กับข้อสังเกตข้อแรก ที่ว่าทำอย่างไรเพื่อให้บ้านเมืองเรา มีความผาสุกเสียที มีความมั่นคงเสียที ทุกคนคงคิดว่าเรื่องต่าง ๆที่ได้กล่าวเป็นข้อสังเกตเป็นข้อ ๆไม่ทราบว่ากี่ข้อแล้ว เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการกระทำ การวางตัวของแต่ละคน ที่ยากนักที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ และให้เป็นประโยชน์ อาจจะนึกว่า พูดแต่ให้ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมเท่านั้น ใช่แล้ว ต้องทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ก็เพราะเหตุว่าประโยชน์ส่วนรวมนี้ เป็นประโยชน์ส่วนตัว แต่ละคนต้องการ ให้ประโยชน์ส่วนตัวสำเร็จ คือมีความพอใจนี้เอง แต่ว่าถ้าไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม ก็ไม่ได้ประโยชน์ส่วนตัว เพราะว่าถ้าส่วนรวมไม่ได้รับประโยชน์ ส่วนตัวพังแน่ นี่เป็นข้อที่สำคั ฉะนั้น ความรู้สึก หรือข้อสังเกตอันนี้เป็นจุดสำคัมาก ที่จะต้องทำความเข้าใจกับตัวเองว่า ประโยชน์ส่วนตัวนั้นคือประโยชน์ส่วนรวม หรือจะว่า ประโยชน์ส่วนรวม นั้นคือประโยชน์ส่วนตัว พูดกลับกันได้ คำพูดบางคำกลับกันไม่ได้ แต่คำพูดนี้กลับได้ ประโยชน์ส่วนรวม คือประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ส่วนตัว คือประโยชน์ส่วนรวม ข้อนี้ก็เป็นข้อสังเกต อีกอย่างหนึ่ง….”
พระราชดำรัสว่าด้วยการพัฒนา วันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2512 พระบรมราโชวาทแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้นำเยาวชนและเจ้าหน้าที่ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความว่า " การพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไปนั้น ย่อมต้องพัฒนาบุคคลก่อน เพราะ ถ้าบุคคลอันเป็นองค์ประกอบของส่วนรวมไม่ได้รับการพัฒนาแล้ว ส่วนรวมจะเจริญ และมั่นคงได้ ยากยิ่ง การที่บุคคลจะพัฒนาได้ก็ด้วยปัจจัยประการเดียว คือ การศึกษา การศึกษานั้นแบ่งเป็นสองส่วน            คือ การศึกษาวิชาการ ( Academic Learning ) ส่วนหนึ่ง กับการอบรมบ่มนิสัย ( Spiritual Development ) ให้เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ดีใฝ่เจริญ มีปกติ ละอายชั่วกลัวบาปส่วนหนึ่ง การพัฒนาบุคคลจะต้องพัฒนาให้ครบถ้วนทั้งสองส่วน เพื่อให้บุคคลได้มีความรู้ไว้ใช้ประกอบการและมีความดี ไว้เกื้อหนุนการประพฤติปฏิบัติทุกอย่างให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร และอำนวยผลเป็นประโยชน์ ที่ประสงค์ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเองสิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป เศรษฐกิจพอเพียง “… เป็นปรัชญา ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตน ของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึง ระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัตน์ (กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา, C:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\3detail_php.mht)
“ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมาย
 เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือ ภูมิภาคหนึ่งๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด
ความหมายเชิงทฤษฎี ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประมวลและกลั่นกรองโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ สามารถจำแนกองค์ประกอบของหลักปรัชญา เป็น 5 ส่วน ได้แก่ กรอบแนวคิด คุณลักษณะ ค่านิยม เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติ รวมถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำหลักปรัชญาไปปฏิบัติ
สำหรับกรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดํารงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น ( Normative ) โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยที่มองโลกเชิงระบบ ที่มีลักษณะพลวัตรและมุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ในขณะที่คุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง คือสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการปฎิบัติตนได้ในทุกระดับและตลอดเวลา โดยมีแนวคิดทางสายกลางเป็นหลักแนวคิดที่สําคัญ ความพอเพียง เป็นทั้งแนวทางปฏิบัติหรือวิธีการ ( Means ) และผลของการกระทำ ( Ends ) ที่คาดว่าจะได้รับ โดยคํานึงถึงความสมดุล บนพื้นฐานของความพอประมาณ อย่างมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี การจําแนกวิเคราะห์ดังกล่าวทําให้สรุปได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบด้านต่างๆ ที่สามารถนําไปใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนากรอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้ นอกจากนี้แล้วยังชี้ให้เห็นว่า
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมความหมายที่กว้าง โดยเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้าน ไม่จํากัดเฉพาะภาคเกษตรหรือภาคชนบทเท่านั้น หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต แนวทางปฏิบัติ /
ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี นัยสำคัญแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้
ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอ กับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรก เมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้ว จึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาด ก็จะเป็นกำไรของเกษตรกรโดยเฉพาะในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกลายสถานะเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็นตัวกระทำ หรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ และหลักใหญ่สำคัญยิ่ง คือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก ฯลฯ
ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้หลากหลาย ครอบคลุมทั้งการเกษตรแบบผสมผสานหัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้ว เกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก็จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสามารถขยายตัวไปพร้อม ๆ กับสภาวการณ์ด้านการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น
ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึงรายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน ความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น การรักษาไว้ ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต้องดำเนินการดังนี้
1) ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
2) ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ "ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง"
3) ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต " ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ "
4) ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง "ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น"
5) มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
6) ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
7) ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม
8) ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม การประยุกต์ใช้ ปัจจุบันมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ค้นพบว่า ถ้านำหลักการแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ก็จะทำให้กิจกรรมเหล่านี้ สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้โดยตลอด จึงถือได้ว่าอาจใช้ประยุกต์แทนหลักธรรมาภิบาลได้ สรุปได้ 10 ข้อ คือ 1)ใช้เทคโนโลยีให้ถูกหลักวิชาแต่มีราคาถูก 2)ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด 3)เน้นการจ้างงานเป็นหลักโดยไม่นำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน 4)มีขนาดการผลิตที่สอดคล้องกับความสามารถบริหารจัดการ 5)ไม่โลภจนเกินไป 6)ซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการ 7)กระจายความเสี่ยงจากการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีความสามารถในการเปลี่ยนผลผลิต ได้ง่าย 8)เน้นการบริหารความเสี่ยงต่ำ ไม่ก่อหนี้เกินขีดความสามารถบริหารจัดการ 9) เน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ตลาดในท้องถิ่น ภูมิภาค ตลาดในและต่างประเทศตามลำดับ    10)  แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง คือ ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย(กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา, C:\Documents and Settings\Administrator\Desktop\3detail_php.mht)
หลักพิจารณาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาในขณะที่คุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง คือ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับและตลอดเวลา โดยมีแนวคิดทางสายกลางเป็นหลักแนวคิดที่สำคัญ
ความพอเพียงเป็นทั้งแนวปฏิบัติหรือวิธีการและผลของการกระทำที่คาดว่าจะได้รับ โดยคำนึงถึงความสมดุล บนพื้นฐานของความพอประมาณ อย่างมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันทีเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี การจำแนกวิเคราะห์ดังกล่าวทำให้สรุปได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบด้านต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนากรอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้ นอกจากนี้แล้ว ยังชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงครอบคลุมความหมายที่กว้าง โดยเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้านไม่จำกัดเฉพาะภาคเกษตรหรือภาคชนบทเท่านั้น
 
คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยามความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมๆ กันดังนี้
1) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
เงื่อนไขการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1)  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ทีเกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
 หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
 การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันทีดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ
นัยสำคัญแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า “ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรก เมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้วจึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาดก็จะเป็นกำไรของเกษตรกรในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกระจายสถานะเป็นผู้กำหนด หรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็นตัวกระทำ หรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และหลักใหญ่สำคัญยิ่งคือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก
ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้านทั้งนี้กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้าจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ให้หลากหลายครอบคลุม ทั้งการเกษตรแบบผสมผสานหัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้ว เกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุกๆด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก็จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่า เศรษฐกิจสามารถขยายตัวไปพร้อมๆ กับสภาวการณ์ด้านการกระจายรายได้ทีดีขึ้น
ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อประกอบอาชีพต่างๆ ให้บรรลุสำเร็จประโยชน์ทีเกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึงรายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่นๆ
หลักการพึ่งตนเอง
ด้านจิตใจทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกทีดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวมมีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ด้านสังคม แต่ละชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนแข็งแรงเป็นอิสระ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่า โดยให้ยึดอยู่บนหลักการของความยั่งยืน
ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ มีทั้งดีและไม่ดีจึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน เลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่การลดรายจ่าย ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือ จะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อน เป็นสำคัญและยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ประกอบด้วย
1) ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะอยู่ในภาวะขาดแคลนการดำรงชีพ
2) ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ แข่งขันกันในทางการค้าขาย และการประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต
3) ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
4) ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป
การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1) ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
2) ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ “ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง”
3) ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต “ ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ”
4) ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู่กันอย่างรุนแรง “ ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบัญเอิญหรือแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น
5) มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
6) ทำมากินก่อนทำมาค้าขาย
7) ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม
8) ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม
 
 
 
 
หลักการทรงงานและหลักการโครงการแบบพอเพียง : ธรรมาธิปไตยในพระองค์
หลักการทรงงานและหลักการโครงการมีกระบวนคิดที่สำคัญดังต่อไปนี้
         1. หลักการทรงงานมีวิธีการดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ คือ ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลเบื้องต้น เอกสาร แผนที่จากการสอบถามผู้เกี่ยวข้องให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการของประชาชน2) มององค์รวม คือ มีวิธีคิดอย่างองค์รวมหรือมองอย่างครบวงจร มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง3) ไม่ยึดติดตำรา คือ ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย4) ทำให้ง่าย คือ การคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริโดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซ้อนให้เข้าใจง่าย5) เน้นการมีส่วนร่วม คือ เปิดโอกาสให้สาธารณชนทุกระดับร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นหรือความต้องการของสาธารณชน แล้วเก็บมาประมวลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์6) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม คือ เมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์ ตัวของเราเองก็ได้รับประโยชน์ด้วย                     7) ขาดทุนคือกำไร คือ หลักการคือ การให้ และ การเสียสละ เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร8) ความเพียร คือ ในการทำโครงการต่างๆ แม้ระยะแรกจะไม่มีความพร้อมมากนัก แต่ก็ต้องไม่ท้อและมีความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาบ้านเมือง9) เศรษฐกิจพอเพียง คือ เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างความเข้มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้าน ซึ่งจะสามารถทำให้อยู่ได้อย่างสมดุล ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง10) ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ คือ การเข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ เพราะปัญหาของธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติแก้ไขช่วยเหลือ11) ปลูกป่าในใจคน คือ การที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้องปลูกจิตสำนึกให้คนรักป่าเสียก่อน12) ทำงานอย่างมีความสุข คือ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น13) รู้ - รัก – สามัคคี : 1) รู้ คือ การที่จะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา 2) รัก คือ เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้นๆ 3) สามัคคี คือ เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วยดี14) ประหยัด                เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด คือ การใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัดราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก
2. หลักการโครงการมีวิธีการสำคัญดังนี้
1) ระเบิดจากข้างใน คือ การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้าน ที่ยังไม่ทันมีโอกาสเตรียมตัว 2) แก้ปัญหาที่จุดเล็ก คือ การมองปัญหาในภาพรวมก่อน แต่เริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม 3) ทำตามลำดับขั้น คือ การเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อนสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ก่อน จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และเศรษฐกิจชั้นสูงโดยลำดับต่อไป 4) ใช้อธรรมปราบอธรรม คือ ใช้ความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการและแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ 5) การพึ่งตนเอง คือ การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ชุมชนแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ แล้วขั้นต่อไปก็คือการพัฒนาให้สามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด 6) พออยู่พอกิน คือ การให้ประชาชนสามารถอยู่อย่างพออยู่พอกินเสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป 7) ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน คือ การที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ 8) คำนึงถึงภูมิสังคม คือ การพัฒนาต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศสังคมวิทยาตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น 9) บริการที่จุดเดียว คือ การบริการรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาใช้บริการ จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงานราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการ ณ ที่ แห่งเดียว( สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ, มปป.: 9-10)
สำหรับแนวพระราชดำริที่เกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ สรุปเป็นขั้นตอนสำคัญได้ดังนี้
1) การสร้างความตระหนักหรือการรับรู้ให้แก่ประชาชน (awareness) : เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาค จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้ตระหนัก รับทราบ และเข้าใจถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้งเป็นต้น
2) การสร้างความสนใจแก่ประชาชน (interest) : บ่อยครั้งประชาชนคงได้ยินหรือรับฟังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส
3) การประเมินผล (evaluation) : ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่างๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ คือการทำงานที่ยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง
4) การทดลอง (trial) : เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นได้ผลหรือไม่ ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัด ก็ทรงมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชนเป็นต้น
5) การยอมรับ (adoption) : โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่มเวลาการทดลองมาเป็นเวลานานตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่นๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, 2551: 181-182) ซึ่งจะต้องดำเนินตามขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างความเข้าใจกับประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีความร่วมมือ    2) การกำหนดพื้นที่ โดยพิจารณาจากภูมิสังคม และสภาพปัญหาแต่ละพื้นที่ที่เป็นเป้าหมายปฏิบัติการพัฒนา 3) การถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายก่อนกระบวนการพัฒนา 4) การลงมือปฏิบัติ คือ การที่ชุมชนและภาคีทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหา และพัฒนาโดยเรียนรู้จากโครงการพระราชดำริและนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม ศักยภาพชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนที่เน้นการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติ เพื่อสรุปบทเรียน ข้อค้นพบ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 6) การให้คำปรึกษาและติดตามอย่างใกล้ชิด เป็นการจัดทีมสนับสนุน ให้คำปรึกษาแก่พื้นที่ที่มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ส่งเสริมการพัฒนา 7) การวัดผล เป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อประเมินผลการดำเนินงานว่ามีผลสำเร็จ หรือมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ อย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ( สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ, มปป.:11 )
 “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จึงเป็น “ศาสตร์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม” หรือพระมหาบารมีบรมธรรม                     ตามแนวทางการพัฒนามิติองค์รวม (รูปธรรม นามธรรม เชิงซ้อน) มนุษย์ ธรรมชาติ จักรวาลหนึ่งเดียว อันเนื่องมาจาก                  ทรงเป็นองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีวัตรปฏิบัติสืบสานสมรรถนะคุณค่าจิตประภัสสรดั้งเดิมในพระองค์ที่สูงส่งอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ มิหิริ ความละอายใจและโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป มีพระมหากรุณาธิคุณ พระเมตตาธรรม และเคารพคุณค่าศักดิ์ศรีประชาชนชาวไทยและประชากรโลก โดยมิทรงแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนาและกลุ่มชน ในแง่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยทรงสืบสานสมรรถนะสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเกื้อกูลกันและกันกับรัฐธรรมนูญ                       โดยมีธรรมาธิปไตยเป็นหัวใจของการเมืองการปกครอง ทรงเน้นความชอบธรรม โปร่งใส ประชาชนตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้ เป็นพระอัจริยภาพคุณค่าความเป็นมนุษย์ชั้นนำที่ทุกคนควรเอาเยี่ยงในการร่วมสร้างสังคมแห่งบรมธรรม อีกทั้งทรงมุ่งหวังให้ประชาชนมีพัฒนาการเรียนรู้ การสืบสานสมรรถนะการใช้อำนาจอธิปไตยโดยธรรม เตรียมความพร้อมสมรรถนะการกระจายอำนาจธรรมาธิปไตยสู่ประชาชนด้วยกระบวนการทางออกที่สอดคล้องกับที่มาหรือทางเข้าของปัญหาการพัฒนาประเทศ และทรงยึดหลักการพัฒนาประชาธิปไตยโดยการให้การศึกษากับประชาชน ผ่านกระบวนการการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกระดับด้วยพระอัจริยภาพการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการ เน้นความร่วมมือหลายฝ่าย อันเป็นแนวทางแห่งสันติวิธี โดยเฉพาะพระมหากรุณาธิคุณการตัดสินพระราชหฤทัยโดยหลักธรรมาธิปไตยในภาวะวิกฤติต่างๆตามแนวสันติวิธีในรัฐธรรมนูญ ตามแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งรูปธรรมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย มิทรงย่อท้อในการทรงบำเพ็ญพระมหาบารมี ดังพระราชปรารถในบทพระราชนิพนธ์แปล “พระมหาชนก”  ที่ว่า “...ถึงจะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร...”
สรุป งานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนจึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ในมิติองค์รวม ซึ่งหลักการพัฒนากระบวนทัศน์บูรณาการพลังชีวิตธรรมาธิปไตยนั้นเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้จะต้องมุ่งส่งเสริมให้คนน้อมนำจิตใจคือการชำระใจของตนเอง ให้ละความชั่ว กลัวการทำสิ่งไม่ดี เพิ่มการทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง นำหลักการบูรณาการพัฒนา เสริมกระบวนทัศน์บูรณาการพลังชีวิตธรรมาธิปไตย ขับเคลื่อนด้วยพลังธรรมาธิปไตยชุมชน: (สืบสานพลังชีวิตธรรมาธิปไตยชุมชน)และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงจะสามารถขับเคลื่อนกระบวนทัศน์งานบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตใหม่ที่ดีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคตได้
 
 
 
 
 
 
 
       
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
 
กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา. 2552. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยปฏิบัติการเสริมพลังความมั่นคงของชาติ
มิติสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามรอยพระยุคลบาทเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง :
ธรรมาธิปไตยในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช. ปัตตานี : ศูนย์ศึกษาและพัฒนา
ธรรมาธิปไตย.
กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา. 2554. ข้อเสนอโครงการวิจัยปฏิบัติการ : “บูรณาการพลังชีวิตธรรมาธิปไตย เด็ก
เยาวชน และครอบครัวในพื้นที่ภาคใต้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษา-
และพัฒนาธรรมาธิปไตย.
กิตติพันธ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง :C:\DocumentsandSettings\Administrator\Desktop\3detail_php.mht.
บงกช นพวงศ์ ณ อยุธยาและคณะ. 2554. รายงานวิจัยประเมินผลเชิงระบบเรื่อง : งานบูรณาการการพัฒนา
คุณภาพชีวิตประชาชน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ปี 2554.
ปัตตานี : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฎฐ อินทรสุวรรณ. (2553). ตัวชี้วัดความสุข : กลยุทธ์การสร้าง
และการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข. กรุงเทพฯ : สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.            
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ. มปป.. มูลนิธิปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ : เอกภาพของโครงการพระราชดำริเพื่อพัฒนาชาติ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิปิดทอง-
หลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริและสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนว-
พระราชดำริ. มปท.
ศูนย์บูรณาการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. 2553. คู่มือชาวบ้าน. ปัตตานี : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย. 2553. คู่มือ : สำหรับฝ่ายปฏิบัติการพัฒนาฟื้นฟูจัดการอ่าวปัตตานีเชิงนิเวศวิทยา สู่ 3
                เขตเศรษฐกิจใหม่โดยสภาประชาคมอ่าวปัตตานี. ปัตตานี : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย.
ศูนย์บูรณาการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. 2553. เอกสารประกอบประชุมปฏิบัติการ
“สรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2553 และส่งมอบภารกิจศูนย์บูรณาการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2554. ปัตตานี : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย.
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้/ สำนักเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ
5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. 2553. บทสรุปจากกรณีศึกษาการดำเนินโครงการภายใต้แผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ
5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา : ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้/ สำนักเลขานุการ
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อภิวัฒน์ บุญสาธร. 2549. เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตตามแนวการศึกษาทฤษฎีเชิงระบบ. สมาคมนักประชากรไทย :
                การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ.
อิสมาอีล เจ๊ะนิและคณะ. 2553. สืบสานธรรมาธิปไตยชุมชนเกาะพิทักษ์. ปัตตานี : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย.
 


[1] บทความชิ้นนี้พัฒนาขึ้นจากการศึกษาเอกสารจากการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ (วิจัยปฏิบัติการเสริมพลัง) ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตยระหว่างปี 2548-2554 จากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในรูปวิจัยชีวิต โดยมีความมุ่งหมายในการนำเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ของงานพัฒนาบูรณาการกระบวนทัศน์การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการสืบสานพลังธรรมาธิปไตยชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงมิติองค์รวม                          (รูปธรรม นามธรรม เชิงซ้อน) เพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน