Skip to main content
           วันที่  4-6 เมษายน 2555 ณ ห้องมะเดื่อ คณะมนุษย์สตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยประชาชน  ภายใต้ครือข่ายพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ในหลักสูตรแปรความขัดแย้งสู่สันติภาพ รุ่นที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรต่าง อาทิเช่น โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศใต้ (STEP PROJECT)  และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI)  โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความรู้ความเข้าใจอย่างที่ถูกต้องในกรณีที่เกิดความขัดแย้งที่อย่างรุ่นแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ยืดเยื้อมายาวนานและเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ในการสร้างสันติสุขในพื้นที่ ด้วยการเข้าใจวิธีการบริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ด้วยการนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรไปปฏิบัติเพื่อนำไปสู่สังคมสันติสุขต่อไป
นาย  มูฮัมหมัดอายุป  ปาทาน ที่ปรึกษาวิทยาลัยประชาชน
         
            นาย มูฮัมหมัดอายุป  ปาทาน  ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ในฐานะที่ปรึกษาวิทยาลัยประชาชน กล่าวว่า ในรุ่นที่ 1 ตนคิดว่า วิทยาลัยประชาชนได้สร้างองค์ความรู้ในกระบวนการคิดที่ดี มีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดเครือข่ายสร้างสันติภาพได้ดี และในรุ่นที่ 2 นี้ตนคิดว่าการที่วิทยาลัยประชาชนเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้ได้เข้ามาเรียนเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งตนก็ยังเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากกลุ่มเยาวชนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงหลากหลายอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้เกิดจากพลังของเยาวชน
            นายมูฮัมหมัด บินยูโซะ ซึ่งเป็นนักศึกษาในรุ่นที่ 1 ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการวิทยาลัยประชาชนได้สะท้อนให้เห็นว่า วิทยาลัยประชาชนเป็นสถานที่เปิดโอกาสให้ตนได้มาเปิดความคิดเข้ามาเรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆซึ่งความรู้ต่างๆหากเราจะเห็นถึงข้อเท็จจริงเราต้องเรียนรู้จากเบื้องบนแล้วนำความรู้มาสู่กระบวนการแก้ปัญหา แล้วเราจะเห็นทุกอย่างของปัญหาที่สำคัญเราจะเห็นถึงทางออกของปัญญาอีกด้วย
               นายวีฟาอี มอลอ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ผ่านการศึกษาในรุ่นที่ 1 ตอนนี้ก็เป็นคณะกรรมการวิทยาลัยประชาชน ได้กล่าวถึง ความรู้สึกภาคภูมิใจในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่รู้จักตระหนักตัวเองที่จะเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่  และได้มีการเปิดพื้นที่ แลกเปลี่ยนทางความคิดกลางความหลากหลาย ซึ่งตนเชื่อว่า เยาวชนสามารถเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และตนก็ยังหวังว่า เยาวชนที่ได้เรียนรู้ในหลักสูตรของวิทยาลัยประชาชนสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้
            วีฟาอี กล่าวว่า ในระยะเวลาที่ผ่านมาคิดว่าเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ขาดพื้นที่การเรียนรู้ทางการเมืองที่แท้จริง เนื่องจากขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษาก็ยังมีโอกาสที่จะได้รับการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนต่างๆ แต่สำหรับเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาหรือศึกษาศาสนาอย่างเดียวในระบบปอเนาะก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับการเรียนรู้ในวิชาการเมือง
          วีฟาอี ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า เยาวชนที่เข้ามาเรียนในวิทยาลัยประชาชนสามารถที่จะนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในชุมชนและเผยแพร่ต่อไป
          ส่วนนายซูกิฟลี ยูนุ๊ ก็เป็นอีกหนึ่งนักศึกษาของวิทยาลัยประชาชนรุ่นแรก กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ดี ที่มีเวทีในการสร้างองค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นการสร้างบรรยากาศของกระบวนการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในชุมชน และสิ่งที่ได้จากวิทยาลัยแห่งนี้ก็คือ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ในแง่มุมต่างๆ เพราะ วิทยากรที่มาพูดมาจากหลากหลายสาขาวิชา ทำให้เป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการเรียนรู้”

      วิทยาลัยประชาชนหวังว่าหลักสูตรแปรความขัดแย้งสู่สันติภาพ นี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้างนักคิด นักพัฒนา และนักวิชาการที่คนในชุมชนให้ความนับถือ เพื่อเป็นการสร้างเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั้งยืนโดยแท้จริง เพราะไม่มีใครเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง นอกจากคนในชุมชนด้วยกันเอง

  
    ทวีศักดิ์   ปิ  วิทยาลัยประชาชน