โดย – ทีมข่าวภูมิภาค หนังสือพิมพ์มติชน
หมายเหตุ - ท่ามกลางสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังคุกรุ่น ประชาชน เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ ครู พระสงฆ์ ผู้นำทางศาสนาอิสลาม ชาวไทยทั้งพุทธและมุสลิม ต้องบาดเจ็บเสียชีวิตอยู่เนืองๆ จนดูเหมือนว่าจะไม่มีหนทางจะแก้ไขเยียวยา ให้ความสงบสุขกลับคืนสู่พื้นที่สุดด้ามขวานของประเทศไทย ต่อไปนี้ เป็นนานาทรรศนะของผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงทางออกในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งคำอวยพรในวาระปีใหม่ 2556
ณพพงศ์ ธีระวร
ประธานหอการค้าจังหวัดยะลา
“เรื่องคาดหวังสูงสุดน่าจะเป็นเรื่องของความไม่สงบของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีหน้าถ้าคาดหวังได้และเลือกได้ก็อยากให้เหตุการณ์ความไม่สงบจบลง นั่นเป็นการคาดหวังสูงสุด แต่ถ้าสมมุติว่าถ้าเลือกได้อยากให้จบให้ทุกอย่างสงบและก็ จ.ยะลา ในพื้นที่ที่เกิดเหตุก็อยากให้ทุกอย่างสงบ"
"รองลงมา ถ้าเกิดเหตุการณ์ยังไม่สงบก็อยากให้หน่วยงานรัฐในส่วนกลางให้ความสำคัญในการ แก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะ เรื่องเศรษฐกิจ โครงการต่างๆ นโยบายต่างๆ ในการที่ภาคเอกชนได้หารือและนำเสนอต่อศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาค ใต้ (ศอ.บต.) เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล"
"อยากจะให้เห็นความสำคัญโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือการเงินค่าแรง 300 บาท สิ่งต่างๆ เหล่านี้อยากจะเห็นการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมลงมาในพื้นที่"
"เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถที่จะดำรงชีวิตและธุรกิจอยู่ได้เหมือนพื้นที่อื่นๆ"
"เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถที่จะดำรงชีวิตและธุรกิจอยู่ได้เหมือนพื้นที่อื่นๆ"
ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ
ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้"สภาประชาสังคมชายแดนใต้
ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้"สภาประชาสังคมชายแดนใต้
“คาดหวังว่าปีใหม่ 2556 นี้ว่า ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความรุนแรงและขับเคลื่อนจังหวัดชายแดนใต้ สู่สันติสุข จะได้ใช้สติปัญญาและความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ร่วมกันเข้าสู่กระบวนการสันติภาพใช้เหตุผลและความคิดสร้างสรรค์เชิงบวก"
"ร่วมกันสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน"
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
"แนวโน้มที่จะเกิดในปี 2556 ก็คือความรุนแรงที่มีลักษณะยืดเยื้อเรื้อรังและมีความซับซ้อนยอกย้อนนั้นจะ ยังคงอยู่ในระดับคงที่ แต่สิ่งที่น่าจะเปลี่ยนแปลงก็คือความคิดและทัศนคติของคนไทยทั่วไปต่อสถานการณ์ชายแดนใต้ ที่จะเปลี่ยนไปสู่การยอมรับหนทางทางการเมืองและการประนีประนอมในการแก้ปัญหาชายแดนใต้มากขึ้น"
"ในขณะที่ภายในพื้นที่เอง พื้นที่ทางการเมืองเพื่อการพูดคุยสันติภาพจะเปิดออกมากกว่าเดิมในระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ส่วนฝ่ายรัฐก็ยังยอมรับหนทางการเจรจาต่อรองทางการเมืองและสันติภาพมากยิ่งขึ้น"
"ยิ่งเมื่อพลังสันติภาพที่เรียกร้องจากภาคประชาชนมีความแข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมๆ กับการสื่อสารสาธารณะที่เปิดประตูของโอกาสในทุกช่องทางเพื่อผลักดันเรื่องนี้ บทสนทนาเกี่ยวกับสันติภาพที่สร้างจากคนในก็จะกลายเป็นพลังหลักในการแสวงหาทางออกอย่างชัดเจนขึ้น"
"ภายในปี 2556 นี้ เราจึงอาจจะได้เห็นการเปิดตัวออกสู่พื้นที่สาธารณะของฝ่ายขบวนการใต้ดินใน รูปแบบที่ชัดเจนมากขึ้นโดยเป็นการตอบสนองต่อแรงกดดันจากสถานการณ์แวดล้อม ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่กระบวนการปรองดองและสานเสวนาเพื่อสร้างสันติอย่างแท้จริงและยั่งยืนในระยะยาว"
"แต่จุดชี้ขาดของการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งที่ว่านี้อยู่ที่พลังของภาคประชาชนและเครือข่ายในระดับรากหญ้า ที่สำคัญอีกอย่างคือ สิ่งที่เรียกว่า ‘ตาข่ายรองรับ’ หรือ ‘safety net’ หรือในที่นี้คือการทำงานของเครือข่ายดังกล่าวอันหลากหลาย ซึ่งจะเป็นโครงสร้างที่คอยเกื้อหนุนและค้ำจุนกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสันติ จะมีแนวโน้มทวีความเข้มแข็งมากขึ้น เพราะการสนับสนุนทางสถาบันทั้งจากนักวิชาการและประชาคมระหว่างประเทศ"
"ดังนั้น ปีใหม่นี้พลังสันติจะถ่วงดุลความรุนแรงได้อย่างมีพลังมากกว่าเดิม ผมคิดว่าเรายังมีความหวัง"
ซาฟีอี เจ๊ะเลาะ
ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส
"ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขอให้ชาวไทยทุกคนในทุกศาสนามีความสุขกาย สุขใจ สุขภาพแข็งแรง และปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุด คือ อยากให้เกิดความสันติและสงบสุขขึ้นอย่างถาวรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว"
อับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ
รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส
สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต.
"สิ่งที่อยากได้และอยากเห็นมากที่สุดในปีใหม่นี้ คือ ความสามัคคีของคนในชาติ นักการเมืองต่างขั้วลดความขัดแย้ง ประการสำคัญสูงสุดให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว”
สุไรมิง อิสมาแอ
กำนันตำบลกะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี
"ในวาระขึ้นปีใหม่ 2556 นี้ นอกจากขอให้ประชาชนพ้นโรคภัยต่างๆ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ขอให้พระเจ้าประทานความสงบสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่าให้มีคนเจ็บคนตาย เพราะเรื่องสถานการณ์อีกเลยในปีต่อๆ ไป"
หะยีกอเซ็ง บินอับดุลโต๊ะ
อิหม่ามบ้านกรือเซะ ต.ตันหยงลูโล๊ะ อ.เมือง จ.ปัตตานี
"ปี 2556 นี้ ขอให้ประชาชนชาวปัตตานีมีความสุขความเจริญ ห่างไกลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขอพรจากพระเจ้าให้ทุกคนปลอดภัย ขอให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ภาวะปกติ ไม่มีเหตุการณ์ร้าย มีความสงบ มีความสันติสุข"
"ทุกหมู่เหล่า ทั้งประชาชน ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และทุกภาคส่วน มีความสามัคคี มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อให้ทุกคนมีความสุขในปี 2556"
จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
"นโยบายการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปีนี้นั้น จะเห็นว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่นั้น ฝ่ายเจ้าหน้าที่ มักจะตามหลังผู้ก่อเหตุอยู่ 1 ก้าวประจำ จะเห็นได้ว่าพอเกิดเหตุสังหารครู เจ้าหน้าที่ก็หันไปทำหน้าที่เป็นชุดคุ้มครองครู เมื่อคนร้ายสังหารพระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ก็หันไปคุ้มครองพระสงฆ์ ซึ่งคนร้ายก็หันไปก่อเหตุกับผู้บริสุทธิ์อื่นๆ อีก ซึ่งก็เป็นอย่างนี้หลายปี ภาครัฐไม่มีมาตรการอะไรที่ชัดเจนในการป้องกันเหตุได้เลย และยังคงทำงานช้ากว่าฝ่ายผู้ก่อเหตุ 1 ก้าวประจำ"
"ซึ่งแม้จะเข้าใจและทราบว่ากองกำลังมีน้อยและรบแบบกองโจร หมาลอบกัด เจ้าหน้าที่ก็ทราบดี แต่หน่วยงานรัฐไม่ได้มีอะไรมาหาทางในการป้องกัน ทำให้ผิดพลาดซ้ำซากเหมือนเดิมมาหลายปี นอกจากนั้นการที่ให้ครูในพื้นที่พกพาอาวุธ มองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ควรจะมีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริงๆ น่าจะมีอะไรที่ดีกว่าให้ครูมีอาวุธ"
"ปีหน้าจะแก้ปัญหาอย่างไรนั้นมองว่าสำคัญอยู่ที่นโยบายของภาครัฐและเห็นว่าผู้ที่มีอำนาจดูแลในเรื่องนี้ต้องมาฝังตัวอยู่ในภาคใต้เลย ซึ่งไม่ใช่หมายถึง เลขาธิการ ศอ.บต. แต่หมายถึงผู้ดูแลระดับนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ศึกษาสถานการณ์จริงมากกว่าที่จะนั่งฟังรายงานสถานการณ์จากผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะรับฟังรายงานมานานแล้ว แต่ผู้ที่ดูแลด้านนโยบายจะไม่ทราบว่าเรื่องจริงอย่างไรเรื่องเท็จอย่างไร"
"จึงควรจะลงมาฝังตัวอยู่ในพื้นที่เพื่อให้รู้เรื่องรู้เหตุการณ์จริง จึงจะนำไปกำหนดนโยบายได้ หากยังคงปฏิบัติตามหลังฝ่ายตรงข้ามอยู่เหมือนเดิม ปีหน้าก็ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์"
สมชาติ พิมพ์ธนะพูนพร
ประธานสภาอุตสาหกรรมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
"ปีนี้นั้นมองว่าเจ้าหน้าที่มีการร่วมกันวางมาตรการเข้มข้น โดยเฉพาะในบริเวณย่านใจกลางเมืองหาดใหญ่ จึงทำให้ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในพื้นที่ ภาวการณ์ท่องเที่ยว เศรษฐกิจจึงอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว มองว่าตลอดทั้งปีนั้นการทำงานของเจ้าหน้าที่มีความเข้มงวด สร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว"
"สำหรับในปีหน้านั้น ยังคงคาดหวังที่จะให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการป้องกันเหตุร้ายอย่างเข้มข้น ประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน อย่างใกล้ชิด หากเข้มแข็ง ไม่เผลอ ก็เชื่อว่าในปีหน้าสถานการณ์จะดีขึ้นแน่นอน"
ที่มา – หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 2 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย) โดยมีชื่อเดิมว่า “ความคาดหวังปี 2556 ผู้นำจังหวัดชายแดนใต้ 'ขอสันติสุขจงกลับคืนมา'