color:#333333">นายอับดุลฆอนี มะนอ
color:#333333">สำนักสื่อวารตานี [WARTANI]
วันที่15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00 น. ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครือข่ายนักศึกษา มอ. ปัตตานี ประมาณ 30 คน ได้รวมตัวกันเพื่อได้จัดกิจกรรมถึงการแสดงความเห็นและแสดงจุดยืนเกี่ยวกับการประกาศเคอร์ฟิวหรือมติของ ครม. ที่กำลังจะออกมาว่า จะมีการประกาศเคอร์ฟิวหรือไม่ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ทางเครือข่ายได้มีกิจกรรมการพูดคุยและเดินเคลื่อนไหวให้พี่น้องนักศึกษาและประชาชนที่ผ่านไปมาหน้าอาคารเรียนรวม ตึก19 ได้รับรู้ถึงการที่รัฐจะประชุมลงมติจะประกาศเคอร์ฟิวหรือไม่ในวันนี้ และได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการประกาศใช้เคอร์ฟิว คืออะไร มีผลดี ผลเสีย อย่างไร ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ และใครผู้ที่ได้รับผลกระทบ ให้พี่น้องนักศึกษาและประชาชนที่ผ่านไปมาได้รับทราบ
และถัดมาได้เคลื่อนย้ายมาที่บริเวณโรงอาหารลานอิฐ มอ. ปัตตานี ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการประกาศเคอร์ฟิว และมีการเสวนาในเรื่อง สิทธิมนุษยชน ที่ได้รับจากการเคอร์ฟิว หรือประโยชน์ที่ได้รับจากเคอร์ฟิว หรือ ผลกระทบต่างๆจากเคอร์ฟิว หรือเหตุลต่างๆที่ต้องประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ ตามที่รัฐบาลมีความเห็นตามมติที่จะประชุมกันวันนี้ และสุดท้ายด้วยการอ่านแถลงการณ์จากเครือข่ายนักศึกษา มอ.ปัตตานี
นายศราวุฒิ อัตสาโร เครือข่ายนักศึกษา มอ. ปัตตานี กล่าวว่า “ ในนามเครือข่ายนักศึกษา ที่เป็นปัญญาชนในรั้วมหาวิทยาลัยทุกคน ต่างมีบทบาทและตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตของพี่น้องในพื้นที่สามจังหวัด เพราะว่าพี่น้องทุกคนต่างได้รับความบอบช้ำ กับความรุนแรงที่ผ่านมา ยาวนานย่างเข้าปีที่เก้าแล้ว ถ้าหากรัฐยังไม่พิจารณาหรือวิเคราะห์ให้ดีถี่ถ้วนเกี่ยวกับการใช้มาตรการรุนแรงตรงนี้ อาจจะเป็นผลเสียด้วยซ้ำ หรือเป็นการเพิ่มพูนปะทุความรุนแรง สร้างความบอบช้ำและสร้างแผลให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อีกด้วย”
นายดันย้าล อับดุลเลาะ นักศึกษาเอกตะวันออกกลางศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี (เครือข่ายนักศึกษา มอ. ปัตตานี) กล่าว “จุดประสงค์หลักในครั้งนี้คือ เราไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่า เราต่อต้านเคอร์ฟิว แต่เราสร้างกิจกรรมตรงนี้เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ให้กับนักศึกษา และคนที่สนใจ ว่า “เคอร์ฟิว” คืออะไร ทางออกหรือทางตันกับความขัดแย้งหรือความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นี้คือธงหลักของเรา และจริงๆแล้ว ในฐานะที่เป็นนักศึกษา ที่จะแสดงพลังนักศึกษาออกมาว่า เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ในภาวะทางสังคมที่มีความขัดแย้งและความรุนแรงนี้ เราสามารถแสดงออกอย่างสันติได้หรือเปล่า นี้คือพลังส่วนหนึ่งของนักศึกษา
แล้วสิ่งสำคัญที่สุดของเสียงของเราที่ว่า จะให้รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินนโยบายใดๆกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ฟังเราสักนิดหนึ่ง ให้ฟังคนในพื้นที่บ้าง อย่างน้อยๆ การประกาศเคอร์ฟิวนี้ ไม่ใช่แค่ประชุมหารือแค่บนโต๊ะผู้มีอำนาจรัฐ แต่ควรลงมาถามประชาชนในพื้นที่ด้วยว่า เขาต้องการหรือเปล่า? ถ้าไม่ถาม ตกลงแล้วความชอบธรรมในการประกาศใช้เคอร์ฟิวมันอยู่ตรงไหน นี้คือสิ่งที่เรากังวลใจเป็นอย่างมาก เพราะเราเองก็วิเคราะห์หลายๆแง่มุม ว่าถ้ามีการประกาศเคอร์ฟิวขึ้นมาจริง สถานการณ์จะเป็นอย่างไร จะรุนแรงขึ้นหรือเปล่า และเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มใดบ้าง อันนี้คือสิ่งที่สำคัญ ”.