แปลและเรียบเรียง นายอิสมาอีล ฮายีแวจิ
สำนักสื่อวารตานี [WARTANI]
บทสุดท้ายกับแนวทางการกำหนดชะตากรรมตนเอง นักวิชาการอิสระ อาจารย์อัฮหมัด สมบูรณ์ เผยทิ้งท้ายผมได้อำนาจเมื่อไรสามารถวางกฎเกณฑ์ได้ชัดเจน ว่าเราจะทำอะไรให้กับคนมลายูปาตานี ชี้เดินทางไปไหนมาไหนเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาในรูปแบบใหม่เปรียบเทียบหนุ่มสาวปาตานีกับหนุ่มสาวบังซาโมโรความหวังคงอีกยาวไกล ตูแวดานียา นักวิชาการรุ่นใหม่ แนะควรเปรียบเทียบกับปัญหาความขัดแย้งที่คล้ายคลึงกัน ส่วนเรื่องหลังจากที่เขาได้มีอำนาจเป็นของตนเองแล้ว ประเทศของพวกเขาจะสมบูรณ์แบบหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของประชาชนประเทศนั้นๆ ผู้นำนักศึกษาสูงสุดแห่งประเทศไทยฝากสารจากผู้เฒ่าแม่เฒ่าถึงนักศึกษาปาตานี
ผู้ดำเนินรายการ : นายอาเต๊ฟ โซ๊ะโก
นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า
หัวหน้าฝ่ายการต่างประเทศ สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา [YDA]
อันที่จริงผมได้รับโน้ตจากผู้จัดหลายครั้งมากว่า เวลาเราหมดแล้วและก็หมดแล้วจริงๆ ตอนแรกผมจะเปิดโอกาสให้พี่น้องได้ถาม แต่ผมคงต้องขออภัยเป็นอย่างมาก เราคงไม่สามารถให้ทุกคนถามได้ ณ เวทีนี้อีกแล้ว แต่จะให้โอกาสถามในเวทีครั้งหน้า ส่วนผู้ที่จะตอบไปก็ไม่ให้ตอบแล้วเช่นเดียวกัน ยกเว้นผู้ที่ถูกพาดพิง หรือผู้ที่ผมเคยถามไปช่วงต้นรายการแล้ว ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าท่านจะใช้โอกาสในการตอบหรือไม่ ส่วนรอบหน้าคงจะต้องเป็นภาระของผู้จัด หรือของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) อีกครั้งในการจัดงานดีๆแบบนี้ ไม่ทราบมีวิทยากรท่านใดที่ต้องการจะตอบคำถาม ณ เวทีนี้ หรือว่าจะใช้โอกาสตอบในเวทีครั้งหน้าก็ได้
อาจารย์อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง
ผู้อำนวยการ หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันพระปกเกล้า
ประเด็นที่ผู้ดำเนินรายการบอกว่าผมชอบเดินทางไปต่างประเทศนั้น ก็อย่าอิจฉาผมน่ะครับ ผมทำงานหนักมาสองปีได้เงินแสน ผมก็ต้องเดินทาง นั้นคือความชอบของผม บังเอิญผมบินหาดใหญ่กรุงเทพเป็นประจำก็เลยได้รับโบนัสตั๋วเครื่องบินฟรีก็สามารถได้บินฟรีจากหาดใหญ่ถึงแฟรงก์เฟิร์ต [Frankfurt] ไม่ใช่เยอรมัน แล้วผมก็นั่งรถไฟไปถึงฮัมบูร์ก [Hamburg] ไปมิวนิก [Munich] ไปเนเธอร์แลนด์ ไปอัมสเตอร์ดัม[Amsterdam] ไปรอตเทอร์ดาม[Rotterdam]และไปสตอกโฮล์ม [Stockholm] อย่าอิจฉาผมน่ะครับ
เรื่องส่วนตัว ทะเลาะกับภรรยานิดหน่อยก็คงไม่เป็นไร เมียจะได้เบี้ยเลี้ยง 500 บาท ผมไป 10 วัน ภรรยาก็ได้ 5,000 บาท ก็ไม่เป็นไร เพราะนี้คือความชอบของผม แต่ในส่วนของเนื้อหาและรายละเอียดนั้นจะมีอะไรผมคิดว่าเดียวเรามาคุยกันในวงเล็กดีกว่า เพราะว่าถ้าหากคุยวงใหญ่แล้วผมกังวลว่าพวกเราจะไม่ทันละหมาดอัสรี
ส่วนเรื่องที่สองผมต้องการที่จะบอกในสิ่งที่ผมได้กล่าวกับทุกท่านว่า ในสถานการณ์ความขัดแย้งมันจะมีความขัดแย้งลึกๆในความรู้สึก มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอกับทุกประเทศและทุกพื้นที่ที่เกิดความแย้งนั้น ก็คือ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ไม่มีใครจะไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันในช่วงสถานการณ์อย่างนี้ บางครั้งเราหันมองไปทางขวาก็คิดว่าเขาคือคนที่มาจากหน่วยงานสันติบาล มาจาก CIA หรือCentral Intelligence Agency หรือ ศูนย์กลางสำนักข่าวกรอง เพื่อมาตรวจสอบเรา
ผมได้คำตอบจากชาวบ้านคนหนึ่งในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย ในขณะที่ลงพื้นที่เพื่อไปช่วยงานต่อต้านการสร้างเหมืองลิกไนต์ผมช่วยชาวบ้านมาเกือบ 27 ปี ผมขอเรียนให้ท่านทราบว่าวันหนึ่งมีกำลังใจจากผู้สูงอายุท่านหนึ่งเขาบอกผมว่า “มะ!! คุณจะทำงานอะไร ? รับผิดชอบอะไร ? ก็นึกถึงพระเจ้าไว้ หน้าที่ของคุณคือทำงานให้เสร็จตามที่ได้รับมอบหมายไว้ หากคนอื่นเขาจะติเตือนคุณ เขาจะวิจารณ์คุณ จะกล่าวหาคุณ หรือจะวิพากษ์กล่าวร้ายคุณก็เป็นเรื่องของพวกเขา ส่วนคุณมีหน้าที่ทำอะไรก็จงทำไป” ผมรู้สึกสบายใจที่สุดที่ผมได้ทำงานด้านนี้มา
แล้วที่ผมได้เดินทางไปต่างประเทศบ่อยที่สุดนั้นก็มาจากแนวความคิดที่ว่า มันพอมีทางออกอย่างอื่นอีกหรือไม่ ? นอกเสียจากการสู้รบกัน มีกลุ่มหนึ่งมาบอกผมว่า “ไม่ได้แบมะ เราต้องการเอกราชอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ขอพูด” ผมตอบกลับไปว่า “เราได้อำนาจเมื่อไรเราก็จะสามารถกำหนดเองได้ คือ ผมได้อำนาจเมื่อไรผมก็จะได้วางกฎเกณฑ์ได้ชัดเจนเลยว่าเราจะทำอะไรให้กับคนมลายูปาตานี” เขาตอบกลับมาว่า “นั้นคือหน้าที่ของแบมะ” ผมถามกลับไปว่า “มีแนวทางอื่นอีกหรือไม่ ?” เขาตอบว่า “ไม่มี” และสองสามปีหลังจากนั้นเขาก็ยังตอบว่า “
normal">ไม่มีแนวทางอื่นแล้ว นอกจากเอกราช
font-weight:normal">”
มีอยู่วันหนึ่งผมถามเขาอีกครั้งหนึ่งว่า “
normal">เป็นอย่างไรบ้างกับแนวทางที่ทำอยู่
font-weight:normal">” เขาก็ตอบว่า “
normal">ออ!! ก็สำเร็จพอสมควร” ผมถามต่อว่า “แล้วหลังจากได้รับเอกราชคุณจะบริหารประเทศใหม่ได้อย่างไร ?” เขาก็ตอบว่า “นั้นมันเรื่องของเรา” ผมถามต่อไปอีกว่า “แล้วเราจะปกครองอย่างไร ? ในเมื่อหนุ่มสาวและเยาวชนบ้านเราวันนี้ติดยาเสพติดไปแล้ว 60-70% เยาวชนบ้านเราวันนี้เขาดื่มน้ำกระท่อม
normal">” เขาก็เงียบไปสักครู่แล้วตอบกลับมาว่า “
normal">เรื่องนั้นไม่เป็นไรเดียวพวกเราจัดการกันเอง
font-weight:normal">” ผมถามกลับไปว่า “
normal">จะดูแลและแก้ปัญหานี้อย่างไร
normal">?” เขากลับตอบไม่ได้ เพราะนี่คือปัญหาเยาวชน
ส่วนกลุ่มที่เป็นบัณฑิตที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีก็มีไม่ถึง 5% นอกเหนือจากนั้นอีก
font-weight:normal">95% ก็ไม่มีใครเรียนหนังสือต่อหลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
normal">อย่างที่คุณกริยาได้กล่าวว่า ในแต่ละปีมีเยาวชนหนุ่มสาวที่ไม่เรียนหนังสือทั้งหมดจำนวนหนึ่งแสนคน ผมได้เช็คข้อมูลมารวมระยะเวลา
normal">20 ปี จะเห็นเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นไม่ถึงจุดเปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้จริงในพื้นที่ปาตานีที่สามารถคิดหาวิธีการในการที่จะกำหนดชะตากรรมตนเองให้เหมือนกับหนุ่มสาวในพื้นที่บังซาโมโรนั้นหากเทียบกับเราแล้วผมว่าความหวังมันยังคงอีกยาวไกล หลังจากนั้นเขาเงียบไปหลังจากผมถามไปว่าเราจะดูแลและแก้ปัญหานี้อย่างไร แล้วจบด้วยคำว่า “ถ้าอย่างนั้นเราคงต้องมาคุยกันอีกทีแล้วแบมะ”
สำหรับผมแล้วผมรู้สึกสบายใจมากที่มีโอกาสได้เดินทางไปไหนมาไหนไกลๆเพื่อหาวิธีการหรือแนวทางใหม่ๆ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียงบประมาณของตนเองก็ตามเพียงเพื่อต้องการกลับมาแก้ปัญหาในพื้นที่ปาตานีบ้านเรา นั้นคือแนวทางที่คนปาตานีเองจะต้องกำหนดชะตากรรมตนเองด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นมาชี้นำซ้ายขวาเหมือนกับพวกเราวันนี้
ตูแวดานียา ตูแวแมแง
รองผู้อำนวยการ สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (YDA)
สำหรับคำถามที่ผู้ดำเนินรายการได้ถามผมว่า “ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งนั้นเรามีความอ่อนแอในทุกๆด้าน ในเรื่องการกำหนดชะตากรรมของตนเอง หากนำไปเปรียบเทียบกับผู้ปกครองของรัฐไทยแล้ว เราจะมีโอกาสชนะบ้างหรือไม่ ?”
ผมขอเปรียบเทียบกับการต่อสู้ของประชาชนในพื้นที่อื่นๆ ที่มีปัญหาความขัดแย้งคล้ายคลึงกันกับปัญหาที่เกิดขึ้นในปาตานี เรื่องการกดทับ การกดขี่ และการยึดอำนาจอธิปไตยโดยกลุ่มจักรวรรดินิยมหรือกลุ่มที่มีอำนาจมากกว่า อย่างเช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต หรือ ชนชาติติมอร์ โดยเขามีจำนวนประชากรประมาณ 3-4 ล้านคนเช่นเดียวกัน แต่ประชากรทั้งหมดของประเทศจักรวรรดินิยมที่ยึดอำนาจของชนชาติติมอร์มีจำนวนมากกว่าหลายเท่า นั้นก็คือ 250 ล้านคน แต่วันนี้พวกเขาสำเร็จแล้ว พวกเขาสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ จนวันนี้พวกเขาได้มีอำนาจอธิปไตยและมีประเทศเป็นของตนเองไปแล้ว
ส่วนเรื่องหลังจากที่เขาได้มีอำนาจเป็นของตนเองแล้ว ประเทศของพวกเขาจะสมบูรณ์แบบหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของประชาชนคนติมอร์เองว่า รูปแบบสันติภาพในประเทศของพวกเขาคืออย่างนั้นหรืออย่างนี้ จะบอกว่าความพึงพอใจของคนมันมีไม่เหมือนกัน เช่น คนรวยเขาก็ลำบากในรูปแบบของพวกเขา แต่คนจนเขาก็สบายในรูปแบบของเขา ถึงจะกินได้แค่เกลือ แต่สามารถทำให้พี่กับน้องรักกัน มันก็คือความพึงพอใจในรูปแบบของเขา เป็นต้น นั่นคือตัวอย่างที่จะบ่งบอกถึงความพึงพอใจของมนุษย์ว่ามันไม่เหมือนกัน
แต่หลังจากที่ชนชาติติมอร์ได้รับเอกราชมีคนกล่าวหาว่าประเทศของพวกเขาล้มเหลวในการปกครอง สำหรับผมแล้วมันคือขั้นบันไดในการพัฒนาประเทศ เพราะมันยังไม่ถึงขั้นบันไดที่ชนชาติติมอร์จะสามารถพัฒนาประเทศของตนเองให้สามารถเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนามาก่อนหน้านี้หลายสิบปีแล้ว ชนชาติโคโซโวและชนชาติซูดานใต้ก็เช่นเดียวกัน
ต่อด้วยสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาก็เฉกเช่นเดียวกัน เราจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกามีทั้งเครื่องบินรบและรถถัง แต่อาวุธยุทโธปกรณ์ในการทำสงครามของเวียดนามเองก็ใช่ว่าจะมีเหมือนสหรัฐอเมริกา แต่เขาก็สามารถเอาชนะได้
จะเห็นได้ว่าการต่อสู้ของทุกที่ ที่ผมได้กล่าวมาไว้ข้างต้นนั้น มันชัดเจนว่าไม่มีที่ใดต่อสู้ด้วยการใช้วิธีการจับอาวุธเพียงวิธีเดียว ไม่ได้เอาชนะผ่านการต่อสู้ด้วยวิธีการทำสงครามกองโจรอย่างเดียว ซึ่งสงครามกองโจรของพวกเขาเหล่านั้นเขาใช้ควบคู่กับการเมือง คือ การเมืองที่สามารถให้การสนับสนุนโดยสหประชาชาติ อิงด้วยภาวะวิสัยทางการเมืองร่วมสมัยนั้นๆ
ในช่วงการทำสงครามเย็นที่ผ่านมานั้น หลักการประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนไม่เหมือนกับช่วงเวลานี้ เพราะช่วงเวลานั้นมหาอำนาจโลกคือกลุ่มที่นิยมใช้ระบบเผด็จการ มีการล็อบบี้ต่อรองผ่านการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน แต่สำหรับสมัยนี้มันหมดช่วงเวลาของการใช้ระบบเผด็จการนิยมแล้ว แต่หากใครยังจะใช้ระบบนี้อยู่ก็ได้ แต่คงต้องมีการทำสนธิสัญญาและแบ่งผลประโยชน์ลับๆกับมหาอำนาจโลกที่ใช้ระบบประชาธิปไตยเสรี
อย่างเช่น ประเทศไทยที่เพื่อนเราได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้นว่า ตามความเป็นจริงแล้วประเทศไทยใช้ระบบประชาธิปไตยซ่อนรูปเผด็จการ เห็นได้ชัดเจนจากผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กับนายกรัฐมนตรี ผู้ที่มีอำนาจมากกว่าในทางพฤตินัยคือ ผบ.ทบ. ซึ่งเห็นได้ชัดจากเหตุการณ์ที่ ฯพณฯท่านนายก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ช่วงที่มาหาเสียงในบ้านเรานั้นเขาได้กล่าวไว้ว่า เขาจะให้ระบบการปกครองในรูปแบบ “เขตปกครองพิเศษ” ให้กับพวกเรา แต่อยูแค่ครึ่งปี ผบ.ทบ. ก็ตอบมาว่า “เราได้ให้การปกครองในรูปแบบเขตปกครองพิเศษไปแล้ว อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แล้วพวกคุณต้องการเอาอะไรอีก ถ้าต้องการนอกเหนือจากนี้เราให้ไม่ได้” ท่านายกฯก็เงียบไป
หากประเทศใดต้องการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยที่ซ่อนรูปเผด็จการเพื่อรักษาอำนาจของตนเองนั้นก็สามารถทำได้ แต่จะต้องแบ่งผลประโยชน์ให้กับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาด้วย อย่างประธานาธิบดีโอบามาที่เดินทางมาประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว ไม่ใช่มาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และทำความรู้จักอย่างเดียว แต่เขามาเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกันโดยไม่ได้เปิดเผยให้ประชาชนทราบ อย่างเช่น ทรัพยากรน้ำมัน เป็นต้น
ผมจะบอกว่าถ้าหากต้องการกำหนดชะตากรรมตนเองจนถึงขั้นได้ลิ้มลองรสชาติของอิสรภาพจริงๆ โดยที่ไม่ได้วิเคราะห์ให้เท่าทันกับการเมืองโลกร่วมสมัย รวมทั้งการต่อสู้ที่ไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และไม่สอดคล้องกับแนวทางแห่งความรักต่อสันติภาพนั้น การต่อสู้เพื่อให้ได้รับชัยชนะและสามารถกำหนดชะตากรรมตนเองด้วยตัวเราเองนั้นแน่นอน มันค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากมาก
นายสุพัฒน์ อาษาศรี
เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
คือผมไม่ขอตอบในประเด็นที่ถามว่า “ทุกวันนี้ทหารเป็นของประชาชนหรือไม่ ? หรือทหารที่เป็นของประชาชนนั้นเป็นอย่างไร ?” เพราะว่าเราเห็นพฤติกรรมโดยลักษณะที่รู้กันดีอยู่ แต่ผมมีสารจากผู้เฒ่าแม่เฒ่าถึงคนหนุ่มสาว โดยมีผู้เฒ่ากับแม่เฒ่านั่งพูดคุยกันว่า
“เรามาจากอนาคต แต่ท่านทั้งหลายมาจากอดีต
พวกเราทั้งสองรุ่น มาเจอกันในปัจจุบัน
ในยุคแห่งการตื่นรู้ เราล้วนตาสว่าง
เราสร้างปรากฏการณ์แผ่นดิน แผ่นดินที่นี่ไม่ได้เป็นของใคร นี่เชียวล่ะว่าหน้าที่จะไม่สิ้นสุด
ในการเวลานี้ เรามาร่วม มารับ เพื่อกลับไปสู่อนาคต
เรามีบทเรียนสักหลายๆบท ก่อนที่พวกท่านจะกลับสู่อดีต
มีปัจจุบันทุกวัน และทุกๆวัน
ที่เราต่างขับเคี้ยวกัน จนแหลกเหลวให้เป็นผลึก
เรารุ่นเดียวกัน กับเด็กหลานของท่าน นั้นคือ เด็กในอนาคต
เราอยู่กับท่านร่วมกันในหลายอย่าง มุ่งกลับสู่อนาคต
เราจะอยู่กับบุตรหลานของท่าน แต่ปัจจุบันนี้ยังไร้วี่แวว
สถานการณ์ชายแดนใต้ เหตุการณ์ยังปกติ
สถานการณ์ชายแดนใต้ เหตุการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลง
ยุคแห่งการตื่นรู้ เราล้วนตาสว่าง
และใช้เวลาว่างเคลื่อนไหว ขยับกาย
เรามาจากอนาคต และจะกลับไปในที่สุด
เรามีเวลาว่างมากมายเหลือเกิน เกินกว่าจะใช้เวลาหมดไปในการเล่าเรียน
มหาวิทยาลัยอาจเล็กเกินไป แม้คนจะไม่เบียดเสียด
ยัดเยียดกัน อยู่ในครอบแห่งตำรา
อาจจะกว้างเกินไป จนลูกหลานบรรดาของท่านหลงทาง
ถนนเส้นนี้เราอาจไม่รู้ว่า จะสั้นหรือยาวเท่าใด
แต่เป็นห้องเรียนที่กว้างใหญ่ แม้คนแออัด
สถานการณ์ชายแดนใต้ เหตุการณ์ยังปกติ
สถานการณ์ชายแดนใต้ เหตุการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลง
แต่คนที่นี่กำลัง จะกำหนดชะตากรรมตนเอง”
ผู้ดำเนินรายการ :
พวกเราเองก็คงหวังว่า สนน.จชต. หรือองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ จะจัดงานในรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป ผมมีประเด็นเล็กน้อยที่ต้องการจะฝากให้กับพวกเราทุกคน ณ ที่นี้ หลังจากที่เราฟังความคิดเห็นจากหลายๆท่านที่อยู่บนเวทีนี้ เรามีความคิดเห็นที่ค่อนข้างหลากหลายและครบถ้วนพอสมควรเหมือนกัน ซึ่งแน่นอนความคิดที่แตกต่างกัน โดยขอยกตัวอย่างเช่น สมมุติใจผมคิดว่า “การอยู่ภายใต้รัฐไทยเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ขอเพียงแค่รัฐไทยทำสิ่งที่พวกเราไม่ชอบในระดับหนึ่ง เปลี่ยนให้ดีขึ้นกว่าเดิม” ซึ่งสิ่งที่ผมจะคิดแบบนี้ มันก็เป็นสิทธิของผม
วันหนึ่งถ้าหากเขาต้องการจะให้ผมเลือกอะไร ผมก็ตอบว่า “ผมต้องการที่จะอยู่ภายใต้รัฐไทยมาที่พัฒนาเป็นประชาธิปไตย” มันก็เป็นสิทธิของผมเช่นกัน ในส่วนของคุณกริยา เขาบอกว่า “เขาต้องการรูปแบบการกระจายอำนาจ เพราะคุณกริยาบอกว่า การกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และคุณกริยาก็ยังไปน้าวโน้มให้คนอื่นคิดเช่นเดียวกับตนเอง มันก็เป็นสิทธิของคุณกริยาเช่นเดียวกัน
กลับไปที่คุณตูแวดานียา เขาบอกว่าเขตปกครองพิเศษคือสิ่งที่คุณตูแวดานียาต้องการและเป็นสิ่งที่ประชาชนควรที่จะรับไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดแล้วกับสถานการณ์ปัจจุบัน คุณตูแวดานียาก็คงจะต้องไปทำงานในด้านการเมือง
และสมมุติต่อไปอีกว่า อาจารย์อัฮหมัด สมบูรญ์ ต้องการเอกราช ก็เป็นหน้าที่ของอาจารย์เช่นเดียวกันที่จะต้องไปทำงานในด้านความคิดกับพวกเรา และนั้นก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่สุด
ต่อมาวันหนึ่งได้มีการประชามติขึ้นมา มีใครบทเวทีนี้ หรือพวกเราจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว นั้นมันสิทธิอันชอบธรรมที่สุด นั่นคือสิ่งที่เขาเรียกว่า “สิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง” หรือ “Right to Self Determination” และนี่คือวัตถุประสงค์ของเวทีที่เราจัดมาทั้งหมดในครั้งนี้ และผมหวังว่าอนาคตข้างหน้าของปาตานีจะเป็นเช่นใดก็ตาม เราในฐานะที่เป็นคนปาตานี สิ่งที่เราห้ามลืมก็คือ อนาคตของเรา เราเป็นคนกำหนดก็จริง แต่สิ่งหนึ่งหลังจากที่เรากำหนดหรือก่อนที่เราจะกำหนด หลังจากที่เราขัดแย้งกันในเรื่องความคิดแล้ว สิ่งที่เราควรมีสำนึกร่วมกันก็คือ เรามีประวัติศาสตร์ร่วมกัน เรามีมาตุภูมิเดียวกัน เราก็ควรจะมีอนาคตเดียวกันเช่นกัน นี่คือคอนเซ็ป SATU PATANI
หลังจากนี้คำว่า “SATU PATANI” จะเป็นคอนเซ็ปในการขับเคลื่อนของพวกเราทุกคน ถึงเราจะมีความแตกต่างอย่างไรก็ตามก็อย่าลืมว่าเราคือ ปาตานี อย่าลืมว่าเราเป็นชาวปาตานีด้วยกัน และจงทำงานทางความคิดต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนอื่นยอมรับกับสิ่งที่เราต้องการจะให้เป็น “นั้นก็การเคารพในการตัดสินใจของประชาชนทุกคน”
สำหรับวันนี้ผมต้องขอกล่าวอภัย ถ้าเกิดว่าผมได้ก้าวล่วงกับหลายๆท่าน ทั้งหมด ทั้งหลาย ทั้งปวง เพื่อต้องการที่จะเพิ่มอรรถรสในการพูดคุยของเรา ต้องขอกล่าวอภัยกับผู้จัดงานในการดำเนินรายการจนล่วงเลยเวลาไป และผมคิดว่าเวทีครั้งนี้คงจะเป็นเวทีที่กระตุ้นให้เพิ่มเติมความอยากรู้ของประชาชนชาวปาตานี จนมั่นใจได้ว่าวันหนึ่งฉันจะสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ เชื่อมั่นว่าสิทธิในการกำหนดอนาคตทั้งหมดว่า “มันเป็นสิทธิของฉัน” และขอจบการเสวนาเพียงเท่านี้ด้วยคำว่า “Salam Satu Patani”
บทเสวนาที่เกี่ยวข้อง
- ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [1] อาจารย์อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง
- ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [2] ตูแวดานียา ตูแวแมแง
- ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [3] สุพัฒน์ อาษาศรี
- ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [4] กริยา มูซอ
- ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [5] ฮัมซะห์ โกมลซัง ลัยดายัน
- ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [6]
วิดีโอเสวนา