รอมฎอนและท้ายที่สุดสิ่งที่ผมคิดว่าต้องวิจารณ์ดันแคนก็คือเขาเสนอการรื้อฟื้นความชอบธรรมนี้โดยการรวมเอาคนที่เห็นต่างตอนนั้นยังไม่ได้ใช้คำว่าเห็นต่างนะ คนที่เห็นต่างจากรัฐ คนที่ต่อต้านระบบให้เข้าสู่รัฐให้มากที่สุด วิธีการหนึ่งคือการพยายามออกแบบการปกครองที่คนในพื้นที่สามารถดูแลตัวเองหรือปกครองตัวเองได้ด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่รัฐจะมีความชอบธรรมในการปกครองพื้นที่
แต่ผมรู้สึกว่านี่คือการทำให้รัฐเป็นศูนย์กลางรัฐเป็นเรื่องใหญ่แต่คิดในมุมกลับกันสิ่งที่ดันแคนไม่ได้อธิบายก็คือสำหรับกลุ่มขบวนการหรือกลุ่มที่เป็นmovement ควรปรับตัวเองอย่างไรในการเผชิญหน้ากับวิกฤตความชอบธรรมเช่นนี้เสนอให้แค่ฝ่ายรัฐแต่ไม่ได้บอกว่าคนมลายู คนมุสลิมหรือคนทุกศาสนาที่อยู่ที่นี่จะรับมือกับวิกฤตอันนี้อย่างไรรัฐศาสตร์จะเสนอแค่นโยบายกับผู้กำหนดนโยบายเท่านั้นแต่ว่าผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้จริงๆแล้วน่าจะไปถึงการถกเถียงเรื่องคุณต้องชี้ว่าแต่ละฝ่ายจะมีทางออกอย่างไร
อันธิฌา เราได้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือมากพอสมควร มีท่านใดอยากจะสอบถามเพิ่มเติมไหมคะ
ศรีสมภพปกภาษาอังกฤษ สำหรับหนังสือเล่มนี้ที่เด่นคือภาพในหนังสือดันแคนถ่ายเอง เขาทำหน้าที่เหมือนเป็นนักข่าวไปด้วยใช้กล้องทั่วไปแต่ภาพที่ถ่ายเป็นภาพสำคัญๆเยอะมากแต่ไม่ทราบว่าปกนี่เขาถ่ายเองหรือเปล่าภาพเหตุการณ์ตากใบเขาอาจเอามาจากผู้สื่อข่าว
ณัฐธยาน์เรื่องภาพมีบางส่วนที่ อ.ดันแคนได้มาจากคนอื่นด้วย พอแปลในฉบับภาษาไทยภาพจะไม่เหมือนกันเพราะมีเรื่องของลิขสิทธิ์ภาพ เมื่อแปลคำอธิบายประกอบภาพตอนหลังต้องเปลี่ยนเพราะติดเรื่องนี้
ศรีสมภพเท่าที่ผมดูส่วนใหญ่เป็นงานของดันแคน แล้วก็มีของจรูญ ทองนวล เขาพยายามใช้ภาพจากการลงภาคสนามสังเกตว่าออกแบบปกก็สะท้อนความคิดที่แตกต่างกัน
สมัชชาการออกแบบปกฉบับภาษาอังกฤษตั้งใจให้ออกมาแบบหนังสือพิมพ์แทปลอยของอังกฤษร่องรอยบนปกก็ตั้งใจให้รู้สึกเหมือนหนังสือพิมพ์ มีพาดหัวหลักพาดหัวรอง
รอมฎอน เห็นด้วยครับแต่มันก็สะท้อนวิธีคิดของคนไทยที่มองประเทศไทยเป็นแบบนี้ เป็นแบบภูมิกายามีความเป็นหนึ่งเดียว แล้วมีรอยร้าวตรงนี้ซึ่งเป็นที่เข้าใจสำหรับคนไทยผมชอบอย่างเดียวคือสีที่เป็นสีส้ม แต่สิ่งที่ผมชอบคือภาพประกอบภาพแรกผมคิดว่านี่คือความเจ๋งของ อ.ดันแคน ที่เปิดเรื่องของบทนำด้วยป้ายที่อยู่หน้ามัสยิดกรือเซะด้วยความบังเอิญหรือไม่บังเอิญก็ไม่รู้ กระสุนลูกหนึ่งมันทะลุตัว t ตัวที่สองของคำว่า pattani ตอนปี 48 ยังเป็นสีแดงสดตอนนี้เริ่มซีดแล้วประเด็นอยู่ที่ว่านี่คือกิมมิกนิดนึงในพื้นที่ประวัติศาสตร์แล้วก็ดึงมันมาอธิบายความขัดแย้งทางการเมืองหลักเป็นเรื่องของตัวt ตัวนั้น ที่ต้องการเอาออกและที่ต้องการคงไว้ของสองความคิดสองอุดมการณ์ใหญ่ซึ่งผมคิดว่าเจ๋ง แล้วพวกเราก็นำมาต่อยอดในกระบวนการสันติภาพว่าเราต้องมาสนใจตัว tในวงเล็บคือการที่บอกว่าคุณต้องเฟรมให้เห็นชัดว่ามันไม่ใช่เรื่องของยาเสพติด อาชญากรรมธรรมดามันมีอุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่างที่มันชนกัน ถ้าเราเฟรมแบบนี้เราก็จะเดินไปในกระบวนการสันติภาพได้ผมว่านี่เป็นกิมมิกที่เริ่มต้นหนังสือได้น่าสนใจและท้าทาย
อันธิฌา อันที่จริงนี่ควรเป็นภาพปก?
รอมฎอน ใช่...
สมัชชาผมคิดว่าการเลือกปกในฉบับภาษาไทยเป็นเรื่องของความอ่อนไหวการไหวรู้ในการจะเลือกภาพที่เลี่ยงการผลิตซ้ำความรุนแรงซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการมอง
กุสุมา กูใหญ่ภาพที่ปกฉบับภาษาอังกฤษเป็นเรื่องราวความรุนแรงที่อยู่ไกลจากบริบทของตะวันตกแต่สามารถสื่อสารเนื้อหาได้ชัด คือเป็นเรื่องความชอบธรรมการตั้งคำถามกับความชอบธรรมของคนที่มีอำนาจกับคนที่อยู่ใต้อำนาจภาพของเจ้าหน้าที่และประชาชน
มูฮำหมัดอายุบ ปาทาน ผมอาจจะเห็นต่างในบางเรื่องสิ่งที่น่าสนใจในงานของดันแคนคือการอธิบายแทร็ก สองกับสามได้ดี ในภาษาของผมคือการอธิบายเรื่องCSO (Civil Society Organization: องค์กรภาคประชาสังคม)กับคนรากหญ้า มันอธิบายศาสนา วัฒนธรรมและความเป็นชาติพันธุ์ได้ชัดสิ่งที่ดันแคนเขียน ศาสนาอิสลามและพวกขบวนการมายัดใส่กล่องสองกับสามมันจะเห็นกระบวนการเชื่อมโยงที่เป็นเครือข่ายทันทีเลยผมว่าอันนี้มันชัด การอธิบายแบบนี้ไม่ค่อยมีส่วนเรื่องอำนาจทางการเมืองผมค่อนข้างจะเห็นต่างการที่ดันแคนอธิบายว่าทำไมพวกมุสลิมต้องมีองค์กรอันนี้มันจำเป็นในสถานการณ์ที่เขาต้องการพื้นที่ต่อรองทางการเมืองผมมองอย่างนี้เลยนะซึ่งถ้าไม่มีองค์กร ชมรม อะไรพวกนี้เขาไม่มีพื้นที่ในการต่อรองเลยอันนี้เป็นความอยู่รอดของคนในสามจังหวัดด้วยนะ เดี๋ยวนี้มีกรรมการ มนตรีฯสามจังหวัดภาคใต้ด้วยนะ มาใหม่ ภาวะในการอยู่รอดในพื้นที่ทางการเมืองมันจะสู้แบบโด่ๆมันอยู่ระหว่างเขาควายที่คนใช้ความรุนแรงทั้งสองฝ่ายอันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องคิดคนอาจจะมองว่ามันไปสัมพันธ์กับขบวนการชาตินิยมมลายูก็ได้ ซึ่งมันเป็นเพราะเขาเป็นคนมลายูด้วยกันแต่โจทย์คือเขาอาจจะไม่ใช้ความรุนแรงก็ได้
การมีพื้นที่แบบนี้ที่ดันแคนอธิบายมันทำให้เห็นว่ามลายูมุสลิมเขามีพื้นที่ในการเรียนรู้การต่อรองที่มันมีทางเลือกมันต้องใช้เวทีแบบนี้ แต่โจทย์คือจะขยายพื้นที่ตรงนี้ออกไปมากเท่าไหร่ผมว่ามันสำคัญนะถ้าองค์กรเหล่านี้ที่ดันแคนพูดมาเข้มแข็งมีเอกภาพ มียุทธศาสตร์ที่ดี ผมคิดว่าจะไปต่อรองกับคนที่ใช้ความรุนแรงทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายรัฐและขบวนการด้วยอันนี้ต้องหนุนเสริม แต่มันเป็นพลวัตร timing มันอาจจะต่างกันพรรคไหน อะไรผมว่าเป็นเรื่องธรรมดานะ
สิ่งที่ผมคิดว่าดันแคนเจ๋ง อันที่สองคือการอธิบายสำนักคิดอิสลามในพื้นที่ผมเคยอธิบายเรื่องนี้ว่าสำนักคิดในศาสนาอิสลาม 90% เป็นสำนักคิดแบบจารีตโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาส่วนใหญ่จะมาแบบแนวคิดนี้เยอะ ซึ่งถามว่าผิดไหมก็ไม่ผิด แต่โจทย์คือเราไม่เข้าใจเขาเอง การวางมันมีปัญหาแน่ ปัญหาเรื่องอำนาจ โครงสร้างการเมืองการปกครองนี่ถ้าประเด็นทางศาสนาทางวัฒนธรรมไม่ได้ไปดิ้นอยู่ในนั้น เขาก็ต้องต่อรองแบบนี้แหละ ต่อรองแบบอื่นมันได้ต่อรองโดยการตั้งชมรมแล้วเอาข้อเสนอยื่นต่อรัฐ อย่างน้อยก็เป็นข้อเสนอผมว่าดันแคนให้ภาพตรงนี้ชัดเจน ถ้าเอากล่องการเมืองไปใส่ในแทร็กต่างๆที่เราชอบอธิบายแทร็กหนึ่งคือรัฐกับขบวนการ แทร็กสองคือภาคประชาสังคมอันนี้ถ้ายัดใส่เข้าไปผมว่าจะเห็นภาพนี้ชัดผมคิดว่ามันอธิบายสังคมวิทยามลายูได้ค่อนข้างชัดคือศาสนามันแยกออกไปไม่ได้แต่คนชอบอธิบายให้มันแยกออกจากกันทำให้ขาดความเข้าใจไปเยอะ
ถ้ามองในเชิงวรรณกรรมวรรณกรรมทางภาคใต้ถึงแม้จะเป็นคนไทยพุทธเขียนแต่ก็พูดถึงประเด็นที่ผมบอกนี่สูงมากนะพูดถึงเรื่องวัฒนธรรมเรื่องศาสนา แต่คุณจะเข้าใจหรือไม่อันนี้ผมไม่รู้ แต่เขาไม่ทิ้งประเด็นเหล่านี้คนที่เข้าใจวรรณกรรมจะเขียนเรื่องนี้ออกมาถูก
ข้อที่เจ๋งที่สุดคือการไม่มีธงผมก็เคยเถียงกับเขาเยอะตอนมาใหม่ๆเขาไม่ค่อยเชื่อเรื่องขบวนการซึ่งมันเป็นเรื่องแปลกฝรั่งเขียนเรื่องขบวนการได้ดีไอ้เราอยู่ตรงนี้กลับมองไม่เห็น มันกลายเป็นเรื่องตลกมอ. มีสำนักงานตั้งอยู่ในพื้นที่ แต่ไม่มีเรื่องเขียนเกี่ยวกับขบวนการที่มีที่เห็นต่างจากรัฐ กลับมีแต่ทหารที่เขียนอยู่ฝ่ายเดียว คนอยู่ข้างในกลับไม่มีใครศึกษาเรื่องนี้ผมว่านี่มันสำคัญ และผมก็พูดกับอาจารย์เรื่องนี้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองในสามจังหวัดภาคใต้มีสองนักวิชาการที่จะต้องเป็นจำเลยคือนักประวัติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ ผมว่าสำคัญนะ มันสัมพันธ์กันอยู่ ที่นี่ใช้ประวัติศาสตร์สูงการให้ประวัติศาสตร์และเชื้อชาติไปดิ้นอยู่ในการเมืองการปกครอง โอ...อันนี้มันแย่มีบางคนบอกว่าการต่อสู้ไม่ชอบธรรม ผมว่ามันไม่ใช่ เพราะคุณไม่เข้าใจเขาไง
งานที่ดันแคนเขียนจะไปช่วยเรื่องหนึ่งคือการเตรียมตัวสู่ขบวนการสันติภาพซึ่งมันปฏิเสธความเป็นศาสนาและวัฒนธรรมไม่ได้นี่คือเรื่องใหญ่ถ้าคุณพูดกระบวนการสันติภาพแต่ไม่ได้พูดสิ่งที่มันเป็นแทร็กสองแทร็กสามกระบวนการสันติภาพมันเดินไม่ได้นะกระบวนการสันติภาพมันไม่มีโมเดล ไม่มีสูตรอาเจาะห์ก็เป็นแบบของมันที่นี่ก็มีแบบของมัน ดันแคนจะช่วยเรื่องนี้ไปหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพได้งานนี้ถ้าผมเป็น ศอ.บต. นะ ต้องบี้นายอำเภอ ผู้ว่าทุกคน สำนักงานจังหวัดต้องอ่านให้ได้ต้องอ่านทุกคน ใครไม่ได้อ่านไม่ต้องมาทำงาน
สมัชชาขอเสริมบังอายุบนิดนึงครับ เรื่องบทอิสลามน่าสนใจนะ ซึ่งพูดถึงการเปลี่ยนแปลงและการไม่ลงรอยกันของสำนักคิดอิสลามนักวิชาการไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้เคยมีงานวิจัยของ อ.ฉวีวรรณ เป็น rare research ทำเสร็จแล้วเก็บไว้ไม่ค่อยเอามาพูดเพราะคนในชุมชนเขาขอไว้แกเก็บข้อมูลแถวปูยุต ซึ่งเขาไม่อยากให้เอามาพูดกันกับอีกอันหนึ่งผมว่าเล่มนี้กลายเป็นไกด์บุ๊กสำหรับคนที่จะมาทำงานในสามจังหวัด คนมาลงพื้นที่ก็มาไล่ตามตัวละครที่อยู่ในหนังสือนี้หลายคนพยายามเดินตามหลายคนพยายามโค่นข้อเสนอในหนังสือนี้อยู่แต่ยังทำไม่ได้
ศรีสมภพ บทที่ผมประทับใจนอกจากเรื่องขบวนการแล้วเรื่องทหารหรือกองกำลังความมั่นคงของรัฐงานของดันแคนเป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่พูดเรื่องความล้มเหลวของกองกำลังความมั่นคงได้ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาเพราะเขาได้ไปเห็นจริงๆว่ามันล้มเหลวอย่างไร ดันแคนไปสังเกตและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าทหารไทยนั้นล้มเหลวหลายตอนเขาพูดได้ดี คำที่ใช้นี้แรงมากเป็นแบบเสียดสีเย้ยหยันมากทหารไทยนี้แต่งตัวสวยที่สุดในโลกแต่อาจจะไม่เคยรบชนะ
มูฮำหมัดอายุบเรื่องชื่อคนผมว่าดันแคนทำงานได้ดี ทำงานละเอียดจนสามารถใส่ชื่อคนมาได้สมาพันธ์ต่างๆนี่ใส่มาหมดผมพอมีสัมพันธ์กับผู้นำศาสนาทำให้ผมคิดได้ว่าอันนี้ใช่อันนี้ไม่ใช่อันนี้ตัดออกไปได้ ชื่อเหล่านี้บางครั้งนักวิจัยอาจจะไม่ค่อยสนใจซึ่งเขาทำงานได้ละเอียดมาก
สะรอนี ดือเระผมมีโอกาสได้เจอกับดันแคนที่นราธิวาส เวลาลงพื้นที่เจอกับฝรั่งนี่ชาวบ้านเขาพร้อมที่จะพูดออกมายิ่งแกสามารถพูดอินโดนิเซียได้แค่นั้นแหละก็เล่ากันหมดเปลือกเลยในช่วงที่เขาไปเก็บใบปลิว เขาไปได้มา ใบปลิวที่แปลกๆ มันมีคนพร้อมที่จะให้ผมก็หาแต่หาไม่ได้ มีแต่คนบอกว่าเคยเห็นแต่ไม่มีใครมีดันแคนสามารถหามาได้อันนี้เป็นความเก่งของเขาผมคิดว่าเขียนแบบนี้ถ้าเป็นคนไทยคงเขียนไม่ได้เพราะภาษาที่เสียดสีแบบนี้ก็เกินทนคนไทยอาจจะไม่เขียนแบบนี้
เรื่องศาสนาอิสลาม มีคณะเก่า คณะใหม่บางทีในบางสถานการณ์เราแยกไม่ได้ว่าเราอยู่ในคณะเก่าคณะใหม่?คือมันจะแยกชัดเจนไม่ได้แต่เขาเห็นข้อมูลนี่เขาสามารถแยกได้เพราะเขาไม่ได้อยู่ข้างใน มันอาจจะชัดกว่าในชีวิตประจำวันของเราถ้ามีคนมาถามว่าทำอย่างนี้มันเป็นสายไหนเราอาจจะไม่แน่ใจเป็นเรื่องที่เรามองไม่ชัด คนข้างนอกอาจจะมองเห็นชัด
และเวลาที่เขาพูดถึงการเมือง อย่างพูดถึงอ.วันนอร์ ถ้าคนบ้านเรามันก็จะมีสองด้าน ถ้าชื่นชมก็จะไม่เห็นอีกด้านถ้าอยู่ฝั่งตรงข้ามก็จะไม่เห็นอีกด้าน แต่พอ อ.ดันแคน มาอธิบายมันเห็นภาพ อย่างการพูดถึงนิเวดาบา(โปรดตรวจความถูกต้องอีกครั้ง-ผู้ถอดเทป) ผู้มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์แบบนี้คนที่สนใจการเมืองก็รู้ลึกๆแบบนี้อยู่ แต่จะพูดออกมาให้ชัดเจนมันพูดไม่ได้
ศรีสมภพแม้กระทั่งเรื่องสติ๊กเกอร์จอดรถใน มอ.ปัตตานี ดันแคนก็ให้ความสำคัญมาก เพราะมันช่วยชี้ว่าเขามาจากไหนเวลาไปลงภาคสนามชาวบ้านก็จะรู้ได้บางทีพูดด้วยปากมันไม่เหมือนกับเห็นด้วยตา
ณัฐธยาน์ที่อาจารย์ดันแคนลงไปหาข้อมูลได้ เอามาเขียนได้ ไม่โดนจับ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะวิธีการทางสังคมวิทยาเป็นคนนอก และเป็นคนใน แกใช้ทั้งสองวิธีรูปลักษณ์เป็นคนนอกแต่พยายามหาสิ่งที่รวมตัวแกเข้ากับ มอ. ด้วยในฐานะผู้แปลเราก็ต้อง edit ตัวเราเองด้วยก็พบว่าข้อมูลบางอย่างดูจะขัดกันชื่อ เวลาหรือสถานะของนักการเมืองที่อาจจะมีสับสน และก็จะมีบางคนที่วิจารณ์ว่าอ.ดันแคน ไม่ได้รู้จริงบางส่วนก็อยากจะขออนุญาตถามหลายๆท่านว่ามันมีส่วนไหนบ้างไหมที่แกไปสัมภาษณ์ลงพื้นที่มาที่มันไม่ได้สะท้อนข้อเท็จจริง
มูฮำหมัดอายุบ ที่ผมอ่านมันก็มีเรื่องชื่อผมว่าประเด็นของดันแคน ที่อาจารย์ถาม ผมไม่มีข้อกังขา ผมว่าสิ่งที่ดันแคนเขียนมันเป็นความเป็นจริงแต่คนอ่านไปตีค่าอย่างไรมันอยู่ที่ไปอ่านอย่างไร บางทีถ้าเราไม่เข้าใจสิ่งที่ดันแคนเขียนเราก็อาจจะไปอ่านค่าว่าสิ่งที่ดันแคนเขียนเป็นอย่างไรก็ได้คืออาจจะไม่เคยสนใจว่ากระบวนการแบ่งแยกดินแดน คุณสนใจแต่ปรากฏการณ์รายวันซึ่งนี่เป็นปัญหาเหมือนกัน อันที่สองคือคุณคิดว่าคณะกรรมการมันเกี่ยวกับ พ.ร.บ. 40อย่างเดียว จริงๆโครงสร้างข้างในอาจจะไม่ใช่อย่างที่คุณคิดก็ได้ ถ้าคนอ่านก็อาจจะถูกตั้งคำถามกลับไปว่าคุณอย่างไปมองที่ตัวคณะกรรมการอิสลามอย่างเดียวมันมีอย่างอื่น
เท่าที่ผมอ่านผมคิดว่าเขาอธิบายกล่องที่สองกับสามได้ดีที่ไปตั้งข้อสังเกตผมคิดว่าอาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้อ่านทั้งหมดในงานเขียนชิ้นนี้คุณอ่านเรื่องญูแว บทที่สี่ก่อน หรือว่าเรื่องทหารหรือว่าอ่านเรื่องการเมือง มันจะไปต่อกันเองอัตโนมัติอย่างผมเนี่ยผมไปอ่านเรื่องขบวนการก่อนเลย แล้วมาอ่านเรื่องอิสลาม สำหรับผมมันโอเคการอ่านนี่มันสำคัญ แน่นอนว่าสิ่งที่ดันแคนเขียนเกี่ยวกับขบวนการฯซึ่งมันเป็นสิ่งที่ปิดๆเปิดๆไม่ระบุถึงตัวบุคคลที่ชัดเจนมากนักแต่ผมว่ากลิ่นของมันมี มันมีขบวนการนี้อยู่ ถ้าอ่านโดยความเข้าใจมันจะชัด
รอมฎอนผมคิดว่าไม่ใช่แค่กลิ่นแต่มันมาทั้งก้อนเลย อาจจะเป็นเพราะว่างานชิ้นนี้เขียนขึ้นในช่วงแรกๆของเหตุการณ์ยอดการเสียชีวิตอยู่หลักสองพัน โดยช่วงเวลาตอนนี้มันเป็นสองเท่าของที่แกลงพื้นที่อย่างบทของญูแวเอง ขบวนการเคลื่อนไหวมันก็มีพลวัตร เราเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้นเริ่มจับต้องได้มากขึ้น ข้อเสนอ liminal lattice ของดันแคนอาจจะต้องทบทวนใหม่ด้วยซ้ำต้องมีการตีความแบบใหม่ ซึ่งมันถูกตีโต้ได้
การปรากฏตัวของ ฮัดซัน ตอยิบ ในการเจรจาสันติภาพมันทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ปฏิบัติการทางการทหารแล้วนะมันมีปฏิบัติการทางการเมืองด้วย ซึ่งอาจล้ม argument ของดันแคนแต่งานของเขาอยู่ในช่วงริเริ่มของการทำสงครามกับรัฐไทยซึ่งข้อมูลมีเท่านี้แต่แกลงลึกเท่าที่ข้อมูลเหล่านั้นมี
อีกประเด็นหนึ่งในฉีกแผ่นดินในฉบับภาษาอังกฤษก็มีคนวิจารณ์เยอะมากซึ่งผมยังไม่ได้ตามอ่านการวิจารณ์ทั้งหมด อันหนึ่งที่หน้าสนใจคืออาจารย์...(ได้ยินไม่ชัด-ผู้ถอดเทป) ยูซุฟ วิจารณ์ในการอ่านภาพของศาสนาอิสลามการเคลื่อนไหวของมุสลิมในพื้นที่ ในบทที่หนึ่งผู้รู้สึกว่าแกใช้ approach แบบนักมานุษยวิทยา คือความหมายกลุ่มนั้น กลุ่มนี้ เป็นความหมายของคนในเองแล้วแกไปจับออกมา ซึ่งคนอื่นอาจจะไม่เห็นพ้องกับการแบ่งซ้ายกับขวาแบบนี้แต่สิ่งที่ดันแคนทำเจ๋งกว่านั้นคือการเอามาให้หมด เอามาให้หมดนี่ทำให้เห็นถึงวิธีคิดการแบ่ง การมองภาพของคนในมองยังไง ซึ่งนี่ต่างจากคนอื่น
ซึ่งจริงๆแล้วหน้าที่ของดันแคนก็ไม่ได้ฟันธงว่าศาสนาอิสลามของที่นี่เป็นยังไงแต่ดูว่าศาสนาอิสลามถูกใช้ยังไง เขาจึงไปดูการตีความที่แตกต่าง เป็นคนละโจทย์กัน
มูฮำหมัดอายุบ เท่าที่อ่านผมว่ามันอธิบายชัดในเชิงพฤติกรรมนะคำถามอาจารย์เป็นประเด็นทางวิชาการ แต่ในวงมลายูมุสลิมความขัดแย้งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาสำนักคิดต่างๆมันถกเถียงกันได้ อันนี้เป็นเรื่องปกติ ผมคิดว่าถ้าดันแคนเขาจับพลาดเขาจะต่อมาแบบนี้ไม่ได้ผมคิดว่าอันนี้ทำให้อยู่ได้ มันมีพื้นที่ให้ถกเถียงกัน ถ้าไม่มีพื้นที่ตรงนี้ก็อาจจะลุกขึ้นจับอาวุธกันหมดทีนี้จะไปยังไง อย่างน้อยมันมีพื้นที่การเมืองของมัน อย่างที่รัฐพยายามจะมองว่า CSOบางกลุ่มเกี่ยวข้องกับขบวนการ จริงๆการมี CSO ส่วนหนึ่งทำให้มีพื้นที่ต่อรองผมอธิบายอย่างนี้เพราะผมคิดว่าความรุนแรงมันกลัว movement ที่มีพื้นที่อย่าง อ.ชินทาโร่ เป็นคนญี่ปุ่นออกมาเขียนเรื่องป้ายผ้าถ้าเป็นเมื่อก่อนออกมาเขียนอย่างนี้อาจจะโดนหิ้วไปถามได้
Shintaro Hara มันจะมีอันหนึ่งที่ผมสนใจคือปกหน้าผมคิดว่ามันคือยุทธศาสตร์เป็นการค้าอย่างหนึ่ง ผมเจอหนังสือเล่มนี้(ฉบับภาษาอังกฤษ) ที่สนามบินที่กรุงเทพ มันดูเหมือนหนังสือราคาถูกแล้วผมก็ตกใจว่ามันแพงฉิบหาย พันกว่าบาทแน่ะ การออกแบบปกแบบนี้มันไม่น่าจะเป็นหนังสือแบบพันกว่าบาทมันอาจจะเป็นการล้อว่าเรื่องของภาคใต้เป็นเรื่องที่ถูกมองว่าไม่สำคัญผมมีเพื่อนที่ทำงานที่รอยเตอร์ เขาเล่าให้ฟังว่ารัฐบาลไทยกำลังพยายาม propagandaอยู่ เขาเชิญนักข่าวต่างชาติจากสำนักข่าวใหญ่ๆแล้วพยายามกันพวกนั้นออกจากเรื่องภาคใต้(การออกแบบปกหนังสือ) มันเหมือนกับการที่คนภายนอกรวมทั้งคนไทยมองว่าเรื่องภาคใต้ไม่สำคัญทั้งที่มันเป็นปัญหาที่สำคัญมากแต่เราก็ละเลย
สำหรับเนื้อหาของหนังสือสถานการณ์ตอนนี้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงไป ถ้าอ่านตามรายงานข่าวนักข่าวต่างประเทศมักจะมีความไม่มั่นใจเกี่ยวกับฝ่ายขบวนการว่ามีจริงหรือเปล่าในปัจจุบันผมอยากให้ อ.ดันแคน ทำวิจัยเกี่ยวกับขบวนการตอนนี้เรามีข้อมูลที่เราพอหาได้มากขึ้น ผมมั่นใจว่าหลังจากนี้ที่เขาขึ้นเวทีแล้วถ้าเขาเก็บตัวเขาจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบเสียเอง มันเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ดังนั้นผมมั่นใจว่าเขาจะเริ่มเปิดตัว
ถ้าเปรียบเทียบในหนังสือกับข้อมูลที่ผมมีบางเรื่องก็ไม่ค่อยตรงกัน แต่ผมคิดว่า อ.ดันแคนได้พยายามอย่างที่สุดแล้ว ณเวลานั้น ผมมั่นใจว่าไม่มีใครที่มีข้อมูลทั้งหมดแล้วทำได้ขนาดนั้นตอนนี้มีข้อมูลใหม่ๆผมก็อยากให้นักวิชาการในพื้นที่ทำเรื่องขบวนการให้ชัดเจนก่อน
กุสุมาขอแลกเปลี่ยน อาจจะเป็นประโยชน์นะคะเวลาอ่านหนังสือเล่มนี้ เราจะวิเคราะห์ตัวข่าวในช่วงแรกๆปัญหาของการวิเคราะห์ตัวข่าวคือเราไม่มีหมุดหมาย พื้นความรู้ไม่มีปัญหาต่างๆเราไม่รู้ลึก เราไม่ใช่นักรัฐศาสตร์หนังสือเล่มนี้จะช่วยเป็นตำราสำหรับนักเรียนและนักข่าวเพราะมันได้สะท้อนกลับไปกลับมากับเหตุการณ์ข้อมูลจริงเราอ่านแล้วก็จะย้อนไปเทียบกับข่าวที่เราอ่านในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเขาว่าอย่างไรในแง่ที่เราสนใจเราก็จะดูว่าข้อมูลประจักษ์ที่ได้จากพื้นที่เป็นอย่างไร กับส่วนที่ในขณะที่สังคมไทยเข้าใจว่าอย่างนี้ประเด็นที่หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆวิเคราะห์
ทำงานด้านนิเทศศาสตร์ก็จะเน้นไปที่ตัวบทของข่าว แต่ยังไงก็ต้องเติมจุดอ่อนของตัวเองในเรื่องของข้อมูลในเชิงพื้นที่ ไม่ได้บอกว่าข้อมูลนั้นจริงนะคะแต่เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวกับการรับรู้ของคนในพื้นที่เองมีจุดหนึ่งที่เราอาจจะตอบคำถามไม่ได้ในทางการวิจัยอาจจะตอบยากหรือใช้เวลามาก ก็คือว่ารอยต่อตรงนี้ไม่ใช่เพียงความสัมพันธ์ในพื้นที่ระหว่างการจัดประเภทกลุ่มคนแต่ว่ามันเป็นความสัมพันธ์หรือความรับรู้ของคนในพื้นที่ผ่านกระบวนการสื่อสารในระดับแนวนอนในหนังสือพิมพ์ที่เขาอ่านทุกวันกับชีวิตประจำวันที่เกิดสถานการณ์ขึ้นของคนแต่ละกลุ่มด้วยซึ่งตรงนี้ก็ยิ่งซับซ้อนมาก แต่ก็ช่วยให้เห็นว่าในหนังสือเล่มนี้บางจุดอาจพัฒนาต่อได้ในทางวิชาการคุยต่อได้ เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาด้านการสื่อสาร
สำหรับเล่มที่สอง (ที่ดันแคนเขียน) อันนั้นจะลงรายละเอียดของการmapping การจัดระบบความคิดของคนผ่านระบบของการสื่อสารและความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆด้วยที่จะทำให้คนเข้าใจหรือรับรู้ปัญหาที่แตกต่างกันเรื่องขบวนการเปลี่ยนผ่านจากภาคใต้ ไปสู่การเป็น deep south สร้างความเข้าใจเรื่องการสื่อสาร
ณัฐธยาน์ที่บอกว่าเล่มนี้กลายเป็นไกด์บุ๊กสำหรับคนที่จะมาศึกษาเรื่องภาคใต้มันน่าสนใจตรงที่ อ.ดันแคน ได้ศึกษาและทำมาอย่างนี้แต่นักวิจัยคนอื่นๆจะมาศึกษาแบบเดียวกับคนที่เคยทำมาก่อน มันจะมีอะไรที่ต่างกันจะมาตามรอยแบบนั้นที่จริงในแง่ของวิชาการน่าจะมีอะไรใหม่ๆเพื่อที่จะมีความรู้อะไรใหม่ๆขึ้นมาด้วย
Dominic Earnshaw ผมสังเกตว่านักวิชาการฝรั่งที่เคยมาศึกษาที่นี่ดันแคนหรือคนอื่นๆส่วนใหญ่จะมาจากคณะไทยศึกษาก็มาวิเคราะห์ปัญหาของที่นี่ในกรอบของการเมืองไทยยังไม่ค่อยมีนักวิชาการที่อยู่ในคณะมลายูศึกษา คิดว่าปัญหาที่ศึกษาออกมาได้จะเหมือนกันไหมตามที่ผมเคยอ่านวิทยานิพนธ์ของแบรดลีย์ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์มันไม่ได้ดูลึกๆในปัญหาที่มีในปัจจุบันแต่ก็รู้สึกว่าเขาเข้าใจไม่เหมือนนักวิชาการที่มาจากคณะไทยศึกษาผมก็อยากรู้ว่าถ้านักวิชาการที่ไม่ได้มาจากคณะไทยศึกษาเขาจะมองออกมายังไง
ศรีสมภพแบรดลีย์เป็นหลาน เหลน แท้ๆของหมอบรัดเลย์ เป็นคนอเมริกันอาจารย์ที่ปรึกษาของเขาก็คือ อ.ธงชัย วินิจกูลลักษณะเด่นของงานของแบรดลีย์ผมเห็นด้วยว่าเขาศึกษาจากมุมของมลายูอ่านเอกสารต้นฉบับในภาษามลายูที่มาเลเซีย น่าสนใจที่เอกสารบันทึกต่างๆทางประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูเต็มไปหมดเลยเขาไปศึกษาเอกสารของดัชท์ด้วย ข้อสรุปอันหนึ่งที่ผมคิดว่านักวิชาการต่างๆมีใกล้เคียงกับข้อสมมติฐานของดันแคนในส่วนหนึ่งคือmoral authority อำนาจในเชิงคุณธรรม ซึ่งอาณาจักรปาตานีหรือปาตานีดารุสลามในอดีตนี่ให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้นำทางศาสนาจะเน้นสิ่งนี้ ตั้งแต่ศตวรรษที่19 เป็นต้นมาบทบาทของผู้นำศาสนาจะเข้มแข็งมากและมีบันทึกเอกสารด้านศาสนาจำนวนมาก ซึ่งมันมีผลต่อการเมืองของปาตานีของมลายูที่เน้นเรื่องของ moral authority
มาต่อกันได้กับงานของดันแคนคือรัฐไทยขาดความชอบธรรม คือ moral authority ที่มลายูปาตานีเคยมีมันขาดหายไปดันแคนอธิบายว่าเป็นความชอบธรรมบกพร่อง ซึ่งมันเชื่อมต่อได้ในรายละเอียดพวกนี้สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าการศึกษาเอกสารของมลายูมากขึ้นมันก็จะช่วยเสริมภาพให้ชัดเจนว่าในมุมมองของโลกมลายูมองปัญหานี้อย่างไรทำให้มองปัญหาใน deep south ได้ชัดขึ้น ผมเห็นด้วยที่บอกว่าทั้งดันแคนทั้งมาร์ค เอสคิว ไมเคิล (โปรดตรวจสอบชื่ออีกครั้ง-ผู้ถอดเทป) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษาก็จะมาจับในเรื่องปัญหาภาคใต้เราอาจจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านมลายูศึกษามาช่วยซึ่งยังขาดอยู่
รอมฎอนผมรู้สึกว่าฝรั่งกลุ่มนี้ กระโดดมาจากที่อื่นแล้วลงมาดูที่ภาคใต้แต่เรายังไม่ได้กระโดดเข้ามาในโลกมาเลย์ซึ่งไม่ได้มีแค่มาเลเซียแล้วมองขึ้นมาผมสนใจอันนึงคือระยะหลังๆความเคลื่อนไหวทางวิชาการมันมีบรรยากาศของการพยายามทำให้ปาตานีเป็นองค์ประธานเป็น subject ที่ไม่เหมือนกับที่กรุงเทพหรือโลกอิสลามมองมาที่นี่แต่ในตัวมันเองเป็นองค์ประธานแล้วขยายการไปเชื่อมต่อมันจึงไม่แปลกที่งานของดันแคนมองว่ารัฐเป็นศูนย์กลาง รัฐสูญเสียความชอบธรรมแล้วการแก้ปัญหานี้รัฐต้องปรับตัวเองอย่างไร
ถ้ามองจากปาตานีในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศนี้แล้วประสบกับปัญหาวิกฤติความชอบธรรมแบบหนึ่งแล้วคุณจะจัดการกับชีวิตของตัวเองอย่างไรในช่องที่ Dominic มองผมว่าน่าสนใจมากๆในเรื่องประสบการณ์การต่อต้านการล่าอาณานิคมในโลกมาเลย์ซึ่งผมว่ามาเลเซียอินโดนิเซีย ก็ต่าง สิงคโปร์ก็ต่างทั้งวิธีการและผลของมันรวมทั้งปัตตานีด้วย moralauthority ในโลกมาเลย์ก็เปราะบางมากและก็ช่วงชิงกันต่างต่อสู้ฉวยใช้ชาวต่างชาติที่เข้ามาในกลุ่มพวกเขาซึ่งปัตตานีก็คล้ายกันแต่ว่าศัตรูในความหมายก็ต่าง วิธีการก็ต่างกัน ไม่ใช่คนตะวันตกแต่เจอสยามด้วย
อันธิฌาเราไปกันไกลมาก ทำให้เห็นภาพของหนังสือเล่มนี้ทั้งกระบวนการศึกษา การทำงานและการวิจารณ์ ข้อโต้แย้งต่างๆ จนกระทั่งเราได้ข้อเสนอ ซึ่งอันนี้น่าสนใจหลายท่านได้มีข้อเสนอที่ต่อยอดออกมาจากงานของอ.ดันแคน น่าสนใจว่าหลักฐานหรือปรากฏการณ์ที่เพิ่มเติมจากหนังสือ ณ ปัจจุบันจะนำเราไปสู่ทางออกอย่างไรสำหรับปัญหาของสามจังหวัดชายแดนใต้
สะรอนีผมอยากรู้ว่าถึงทุกวันนี้ โรคความชอบธรรมบกพร่องยังมีอยู่และมีอาการอย่างไร
ศรีสมภพ ผมคิดว่าโรคนี้ยังมีอยู่ยังอยู่ในสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ถึงจะไม่เลวลงซึ่งอันนี้งานของดันแคนเป็นหนึ่งในงานวิชาการที่เป็นปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของรัฐบาลไทยที่หันไปสู่การพูดคุยสันติภาพและข้อเสนอในการเป็นเขตปกครองพิเศษถ้าไม่เจรจาสันติภาพคุณแก้ปัญหาไม่ได้และมันจะเลวลงนี่เองผมคิดว่าทำให้รัฐบาลหันกลับมาสู่วิธีการที่เราเห็นกันทุกวันนี้แต่เราก็ต้องพัฒนากันต่อไปในเรื่องความรู้และวิชาการ ที่สำคัญคืองานของดันแคนเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองเช่นเดียวกับที่พวกเราพยายามจะทำกันในตอนนี้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง
รอมฎอนถ้าหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในปีนี้ ผมคิดว่ามันต้องมีบทที่ 5 และบทที่ 5 นั้นคือเครือข่ายประชาสังคมพิจารณาความชอบธรรมที่ขึ้นๆลงๆในกลุ่มนี้ สื่อมวลชน NGO กลุ่มที่ไม่ถือปืนและไม่ใช่รัฐจะเป็นกลุ่มที่ถูกประเมินในบทที่ 5 นี้ ผมขอจบด้วยประโยคนี้ “พวกนักรบในภาคใต้เจริญงอกงามอย่างที่เป็นอยู่นี้ก็เพราะว่ารัฐไทยไร้ซึ่งความชอบธรรมที่เพียงพอ หากต้องการเอาชนะพวกเขาสิ่งแรกที่ต้องสถาปนาคือความชอบธรรม” ในหน้า 299 ของหนังสือเล่มนี้
อันธิฌา ในนามของร้านหนังสือบูคูขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมเสวนากันในวันนี้นะคะ
หมายเหตุ ขอขอบคุณภาพจาก ปิยศักดิ์ อู่ทรัพย์ และ รอมฎอน ปันจอร์