อาบีบุสตา ดอเลาะ
กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมชายแดนใต้(KAWAN-KAWAN)
การสู้รบเป็นเครื่องมือสำหรับการเมือง เป้าหมายทางการเมือง (Political Object) คือ ต้นเหตุที่จูงใจในการทำสงครามและเป็นกรอบในการกำหนดระดับความเข้มข้นของสงคราม สงครามที่ปาตานีมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 5,000 คนมีผู้บาดเจ็บกว่าหมื่นคนและมีทรัพย์สินมากมายที่เสียหายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำของฝ่ายใด ความสูญเสียเหล่านี้สะท้อนถึงความเข้มข้นของสงคราม การที่กลุ่มขบวนการได้ใช้การสู้รบด้วยอาวุธเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ เนื่องจากเป้าหมายทางการเมืองหรือเหตุจูงใจในการทำสงครามนั้นคือ เอกราช หากการต่อสู้มีเป้าหมายเพื่อปกครองตนเองหรือเขตปกครองพิเศษ ความสูญเสียคงไม่มากขนาดนี้หรืออาจจะไม่มีความสูญเสียเลย ฉะนั้นหากการทำสงครามสู้รบกับรัฐไทยของกลุ่มขบวนการมีเป้าหมายหรือเปลี่ยนเป้าหมายเพื่อเขตปกครองพิเศษหรือเขตปกครองตนเอง ย่อมเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าและขาดทุนอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อรัฐไทย กองกำลังติดอาวุธของขบวนการและประชาชนทั่วไป เพราะการต่อสู้ที่ไม่ใช่เพื่อแบ่งแยกดินแดนสามารถกระทำได้อยู่แล้วตามกระบวนการประชาธิปไตยและตามกฎหมายโดยมิต้องใช้ความรุนแรง
major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi">
การทำสงครามที่ปาตานีเป็นการสื่อสารให้สังคมรับรู้ทำนองว่า ฉันต้องการเอกราช รัฐไทยคือข้าศึกที่มารุกรานรัฐปาตานี เหตุผลที่มีการเลือกใช้ความรุนแรงในการต่อสู้เนื่องจากการต่อสู้แนวทางอื่นไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐไทยและประชาคมโลก และการต่อสู้แนวทางอื่นมีความผิดเช่นเดียวกับการต่อสู้ด้วยอาวุธ วันนี้แม้รัฐไทยจะพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อลดเงื่อนไขในการทำสงคราม แต่กระนั้นเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ที่รัฐปาตานีเคยเสียเอกราชให้แก่รัฐไทย จึงมีปัญหาว่ารัฐไทยจะลบเงื่อนไขดังกล่าวได้อย่างไร คงเป็นเงื่อนไขที่ไม่อาจลบหรือขจัดให้สิ้นซากได้และเป็นสาเหตุหลักของการทำสงครามที่ปาตานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกพิสดารที่ อุดมการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมจะมีในความคิดความรู้สึกของคนปาตานีทุกคนไม่มากก็น้อย ตราบใดที่รัฐปาตานียังไม่ได้รับเอกราชจากรัฐไทยอุดมการณ์เช่นนี้ก็จะยังคงมีสืบต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน แต่วิธีการต่อสู้ของแต่ละคนแต่ละกลุ่มอาจจะแตกต่างกันออกไปตามความเชื่อความรู้ความสามารถของตน
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
ที่ผ่านมาเราคงเคยได้ยินข่าวสารหรือการให้สัมภาษณ์จากฝ่ายต่างๆที่เรียกร้องให้กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนยุติการใช้ความรุนแรง เมื่อการต่อสู้ที่ปาตานีจะต้องดำเนินต่อไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแต่ความรุนแรงและความสูญเสียเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น จึงมีคำถามไปยังฝ่ายที่เรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงว่า หากเราต้องการให้ยุติการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ที่ปาตานีเราสามารถยอมรับการต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยรัฐปาตานี โดยสันติวิธีได้มากน้อยเพียงใด หากมีการยุติการใช้ความรุนแรงจริงแต่เปลี่ยนมาใช้วิธีการพูด ทำป้าย จัดเวทีอภิปราย ทำหนังสือเอกสาร แสดงความเห็นในโลกออนไลน์ ตั้งกลุ่มตั้งพรรคการเมืองหรืออื่นๆในการต่อสู้ว่าเขาต้องการเอกราช หรือเขตปกครองพิเศษหรือเขตปกครองตนเองหรืออย่างอื่นๆนอกจากนี้ เป็นสิ่งที่สังคมรับได้หรือไม่
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
เสรีภาพในการแสดงออกในภาวะสงครามที่มีอุดมการณ์เพื่อปลดปล่อยรัฐปาตานีจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้ที่คิดต่างจากรัฐสามารถสื่อสารสิ่งที่เขาต้องการได้โดยที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรง แต่ด้วยข้อกฎหมายทำให้การแสดงความคิดเห็นมีข้อจำกัดมากจึงทำให้มีการเลือกใช้ความรุนแรงในการต่อสู้เนื่องจากสามารถสื่อสารกับสังคมโดยที่มิต้องเปิดเผยตัวตนและไหวต่อการรับรู้ของสังคม เราเรียกร้องให้กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนยุติการใช้ความรุนแรงแต่ขณะเดียวกันหากมีคนแสดงความเห็นหรือชู้ป้ายว่าเขาต้องการเอกราชหรือต้องการลงประชามติ เราก็รับไม่ได้ แบบนี้เราจะให้เขายุติการใช้ความรุนแรงได้อย่างไร วันนี้รัฐไทยต้องยอมรับว่ารัฐไม่สามารถขจัดอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนหรือการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของคนปาตานีได้ แต่รัฐสามารถสร้างทางเลือกในการต่อสู้ให้กับคนปาตานีโดยที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรง ในบริบทของสงครามเช่นนี้รัฐจะต้องสร้างกระบวนการทางกฎหมายที่คุ้มครองผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ ให้เขาสามารถต่อสู้ด้วยเหตุและผล หากมีบุคคลใดไม่เห็นด้วยกับอุดมการณ์ดังกล่าว เขาก็สามารถต่อสู้ถกเถียงแลกเปลี่ยนอภิปรายแสดงออกในสิ่งที่ตนต้องการได้ด้วยเหตุและผลเช่นเดียวกัน
การให้โอกาสแก่ผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ ไม่ว่าเขาจะมีมุมมองในแก่ปัญหาอย่างไร เขาจะต้องการการปกครองตน (Autonomy) ต้องการเอกราช(Independence)ต้องการเขตปกครองพิเศษหรือหรือต้องการอะไรก็แล้วแต่ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยสามารถต่อสู้กันด้วยเหตุและผล เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อเสนอขอฝ่ายต้น จะเป็นการเปิดโอกาสให้ให้ประชาชนปาตานีต่อสู้ด้วยสันติวิธีลดการการสูญเสียจากการใช้ความรุนแรง อาจมีคำถามว่าการเปิดโอกาสเช่นนี้จะเป็นการสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนและเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 1 บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้”และมาตรา 45 วรรค 1-2 วางหลักว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” “การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ” จากบทกฎหมายดังกล่าวจะเห็นว่า การแสดงความคิดเห็นเพื่อแบ่งแยกดินแดนเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและเป็นภัยอยู่บ้างต่อความมั่นคงของประเทศ แต่ในบริบทของสงครามอันมีอุดมการณ์เพื่อปลดปล่อยรัฐปาตานีนั้น หากรัฐไทยไม่สร้างทางเลือกและยอมรับการต่อสู้ด้วยหนทางสันติวิธี การเรียกร้องให้กลุ่มขบวนการยุติการใช้ความรุนแรงจึงแทบจะไม่มีความหมาย
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
“รัฐบาลมาถูกทางแล้ว” นี้คือวาทะกรรมที่มาจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย แต่จนแล้วจนรอดไม่มีรัฐบาลใดสามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะไม่มีใครทราบว่าแท้ที่จริงแล้วคนปาตานีต้องการอะไร เราอาจเคยเห็นโพลส์สำรวจความคิดเห็นของประชาชนปาตานี ที่จัดทำขึ้นจากภาคประชาสังคมหรือองค์กรต่างๆทั้งจากเอกชนและรัฐบาล ว่าประชาชนปาตานีต้องการอะไร? ไม่ว่าคำตอบจะออกมาอย่างไร การตั้งคำถามในลักษณะนี้และคำตอบที่ได้จากประชาชนแทบจะไม่มีความหมาย เนื่องจากผู้ให้คำตอบอยู่ในภาวะที่ถูกบีบด้วยกฎหมายที่ไม่สามารถเห็นต่างจากรัฐได้และต้องตอบคำถามแสดงความต้องการเท่าที่ไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น หากรัฐไทยไม่ทราบว่าประชาชนปาตานีต้องการเอกราชหรือเขตปกครองพิเศษหรือต้องการอะไรก็แล้วแต่ รัฐไทยจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รัฐไทยจะมาถูกทางได้ก็ต่อเมื่อรัฐไทยแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับความต้องการของคนปาตานี
mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:major-bidi">
ดังนั้น หากรัฐไทยต้องการปัญหาชายแดนใต้ เบื้องต้นรัฐต้องทราบให้แน่ชัดว่า คนปาตานีต้องการอะไร ต้องการเอกราชก็คือต้องการเอกราช ต้องการเขตปกครองพิเศษก็คือเขตปกครองพิเศษ ต้องการอยู่ภายใต้รัฐไทยก็คืออยู่ภายใต้รัฐไทย จึงจะสามารถจัดการกับปัญหาได้ถูกทาง รัฐไทยจึงต้องสร้างกระบวนการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ และที่สำคัญในภาวะที่ชายแดนใต้เป็นสงครามที่มีอุดมการณ์เพื่อปลดปล่อยรัฐปาตานีขอเสนอดังกล่าวนี้ จะทำให้สงครามที่ต่อสู้ด้วยอาวุธเปลี่ยนเป็นการต่อสู้ด้วยสันติวิธีซึ่งจะสร้างทางเลือกให้คนปาตานีต่อสู้โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์และกองกำลังติดอาวุธของทั้งสองฝ่าย แม้จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศอยู่บ้าง แต่คนปาตานีมีความรู้ มีตรรกะ มีเหตุผลและมีความสามารถพอในการตัดสินใจ ว่าเขาควรอยู่ภายใต้รัฐไทยต่อไปหรือควรแบ่งแยกดินแดนหรือควรจะแสดงเจตจำนงของตนเองอย่างไร
mso-ascii-theme-font:major-bidi;mso-hansi-theme-font:major-bidi;mso-bidi-theme-font:
major-bidi">
หมายเหตุ; บทความชิ้นนี้เผยเเพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม(http://th.macmuslim.com/)