Skip to main content
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ background:#FFFBFF;">, background:#FFFBFF">  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ background:#FFFBFF;">, background:#FFFBFF"> ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮ.ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
 
 

ผู้เขียนกำลังสัภาษณ์  H.E. Dato' Nazirah binti Hussain  เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศ
 
เมื่อ 9 เมษายน 2556 ได้มีโอกาสพูดคุยกับ H.E. Dato' Nazirah binti Hussain  เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยยและ background:#F0F0F0;">Mr. Muhammad Faisol Razali กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา  ณ  ลีลารีสอร์ท ตำบลสะกอม  อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เนื่องในโอกาสได้รับเชิญให้อ่านบทขอพรรับประทานอาหารค่ำระหว่างข้าราชการมาเลเซียและประชาชนมาเลเซียที่ทำงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
เมื่อเสร็จสิ้นงานเลี้ยงอาหารผู้เขียนก็ได้พูดคุยกับท่านทั้งสองที่ลีลารีสอร์ท และเพิ่มเติมที่
สถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลาในประเด็นการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
H.E. Dato' Nazirah binti Hussain  เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยได้อธิบายว่า เป็นที่ทราบดีว่า ไทยและมาเลเซีย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตวันที่ 31 สิงหาคม 2500 โดยมีสถานทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ พร้อมทั้งสถานกงสุลใหญ่ต่างๆในมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็น สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารูและมีสถานกงสุลประจำเกาะลังกาวี สำหรับหน่วยงานของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงานของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในไทยได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย  และสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา
 
ในด้านการเมืองนั้นถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้บ้างแต่ภาพรวมความสัมพันธ์ทั้งสองถือว่าแน่นแฟ้นมาก เนื่องจากทั้งสองประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายประการ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการที่มาเลเซียได้เข้ามาช่วยเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยสันติภาพกับผู้เห็นต่างในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

สามารถแบ่งประเด็นได้ดังนี้

            • ด้านสังคม ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการไปมาหาสู่ กันในฐานะเครือญาติและเพื่อนฝูง ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือกันทั้งในด้านการค้าและด้านอื่น ๆ ทั้งสองประเทศมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจรข้ามแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ แก่ประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมการติดต่อด้านการค้าและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังอนุญาตให้คนถือสัญชาติของอีกฝ่ายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ชายแดนใช้บัตรผ่านแดนซึ่งออกให้โดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่นของแต่ละฝ่ายแทน การใช้หนังสือเดินทางเพื่อผ่านด่านพรมแดนระหว่างกันได้

            • ด้านศาสนาและวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำศาสนาอิสลาม ทั้งในระดับมุฟตีหรือจุฬาราชมนตรีและผู้นำศาสนา  คณะกรรมการอิสลามทั้งระดับชาติและจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้  พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหาร จัดการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  โรงเรียนของรัฐทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรบูรณาการอิสลาม  รวมทั้งมีการศึกษาดูงาน  ฝึกอบรมหลักสูตรภาวะผู้นำอิสลามที่เรียกว่าอิหม่าม  คอเต็บ  บิลาล 
 

            • ด้านวิชาการ ทั้งสองประเทศมีการประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันเพื่อทบทวนและ ติดตามผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และ Economic Planning Unit (EPU) ของมาเลเซียเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน ความร่วมมือในกรอบทวิภาคีที่ฝ่ายไทยให้แก่ฝ่ายมาเลเซีย ได้แก่ การจัดหลักสูตรประจำปี (Annual International Training Course: AITC) หลักสูตรศึกษานานาชาติ (Thai International Postgraduate Programme: TIPP) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation Among Development Country: TCDC) และยังร่วมกันจัดการฝึกอบรมให้กับประเทศที่สาม (Third Country Training Programme: TCTP) ส่วนมาเลเซียได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการให้ทุนฝึกอบรมประจำปีภายใต้ โครงการ Malaysia Technical Cooperation Programme (MTCP) ในสาขาต่าง ๆ ให้แก่ประเทศไทย เพื่อให้คัดเลือกผู้ไปรับการฝึกอบรมที่มาเลเซีย โดยในช่วง พ.ศ. 2540-2548 มีชาวไทยได้รับทุนดังกล่าวรวม 165 ทุน  ทุนการศึกษาระดับมัธยมศึกษา  จำนวนปีละ  60  ทุน  ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี  2550  ซึ่งปีนี้จะเป็นปีสุดท้าย  ซึ่งจากการดำเนินงานมาห้าปีพบว่า มีปัญหาหลายประการเช่นกันที่รัฐบาลไทยยังไม่ตอบต่อกระทรวงศึกษาธิการในการรับช่วง นักเรียนเหล่านี้ เมื่อในปีที่5  (ซึ่ง Mr. Muhammad Faisol Razali background:#F0F0F0">กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่ารัฐบาลไทยโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการต้องเข้ามารับช่วงต่อกับนักเรียนเหล่านี้เพราะรัฐบาลมาเลเซียได้ช่วยเหลือพวกเขากว่า5 ปี) 
 
ในขณะที่ระดับมหาวิทยาลัยทางการมาเลเซียและเอกชนมาเลเซียได้ให้ทุนการศึกษาต่อนักศึกษาไทยในระดับปริญญาตรีมากมายเช่นกันไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ  มหาวิทยาลัยปิโตรนาส  มหาวิทยาลัย นานาชาติอัลบุฆอรี
 
H.E. Dato' Nazirah binti Hussain  เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยได้ให้ทัศนะว่า ในการเดินทางเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายครั้ง เพื่อรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา ร่วมทั้งพูดคุยการความเป็นไปได้ในการร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล และสินค้าโอทอปของไทยด้วย  สำหรับการแก้ปัญหาชายแดนใต้ที่ยั่งยืนคือการพัฒนาการศึกษาของประชาชนในพื้นที่  สำหรับประชาชนในพื้นที่มีตัวแทนที่ถูกคัดเลือกจากคนในพื้นที่ดังนั้นควรใช้ช่องทางนี้ในการสะท้อนในการแก้ปัญหาและพัฒนา 
 
            สำหรับการสร้างบรรยากาศการพูดคุยกับผู้เห็นต่างสู่กระบวนการสันติภาพนั้นคนในพื้นที่ต้องแสดงพลังอย่างแรงกล้าว่าจะเอาหรือไม่  มาเลเซียช่วยได้แค่อำนวยความสะดวก ณ  ขณะนี้เท่านั้นแต่จะพยายามอย่างแรงกล้าที่จะช่วยพยุงนาวาลำนี้หรือรถไฟสันติภาพขบวนนี้ถึงแม้จะยาวนาน
 
 
H.E. Dato' Nazirah binti Hussain  เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยในเวที
 
“ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเชิงแข่งขันและมรดกทางวัฒนธรรมของมุสลิมในประชาคมอาเซียน”[i]
 ในขณะที่วันที่ 22 พฤษภาคม2556   ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมนานาชาติในหัวข้อเรื่อง “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเชิงแข่งขันและมรดกทางวัฒนธรรมของมุสลิมในประชาคมอาเซียน”[ii]  โดย  H.E. Dato' Nazirah binti Hussain  เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยให้ทัศนะในการประชุมครั้งนี้ว่า  ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาทางการในประชาคมอาเซี่ยนแต่ ภาษามลายูจะเป็นภาษาที่สองที่ประชากรในประชาคมอาเซี่ยนใช้มากที่สุดดังนั้นประชาชนโดยเฉพาะชาวมุสลิมจะได้เปรียบในการใช้ภาษามลายูเพื่อติดต่อสื่อสาร  ประกอบธุรกิจ หรืออื่นๆ
 
 
Mr. Muhammad Faisol Razali กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา
 
 
ผู้เขียนกำลังสัมภาษณ์ Mr. Muhammad Faisol Razali
 
        ในขณะที่ background:#F0F0F0;">Mr. Muhammad Faisol Razali background:#F0F0F0">กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา กล่าวว่ามาเลเซีย จะหนุนเสริมประชาชนจาก 7  จังหวัดภาคใต้เริ่มจากนครศรีธรรมราชถึงนราธิวาสให้มีการพัฒนาการใช้ภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร โดยจะเริ่มนำอาสาสมัครนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆมาทำค่ายภาษามลายูเพื่อการสื่อสารในพื้นที่ในช่วงปิดภาคเรียนสำหรับองค์กรในพื้นที่ใดที่สนใจ
             
 


[i] เพื่อรวบรวมและนำเสนอองค์ความรู้ในเชิงสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของชนต่างศาสนา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ในอาเซียน พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเสาหลักทั้ง 3 ด้านประกอบด้วยเศรษฐกิจ ความมั่นคง และวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน ตลอดจนนำเสนองานวิจัยด้านวัฒนธรรมร่วมกันของไทยกับ 4 คู่ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย จีนยูนาน พม่า และกัมพูชา   ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ  โดยศูนย์นโยบายโลกมุสลิม (CMP) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยมุสลิมอาเซียน (AMRON) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)