ตอนที่ ๑. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขทั้งหมดเจ็ดข้อเพื่อยุติความรุนแรงจากฝ่าย BRN
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผานมา ผมได้มีโอกาสที่จะเข้าร่วมรายการวิทยุ “Dunia Hari Ini” ของ สถานีวิทยุ ร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน ซึ่งเป็นรายการที่สร้างประวัติศาสตร์เมื่อนำเสียงสัมภาษณ์ของ อุสตาซ ฮัสซัน ตอยิบ หัวหน้าคณะตัวแทน BRN ในรายการสื่อไทยเป็นครั้งแรก ผมได้รับเชิญจากสถานีแห่งนี้ เพราะรายการในวันนั้นเกี่ยวกับเงื่อนไข 7 ข้อที่นำเสนอโดยฝ่าย BRN เพื่อยุติความรุนแรงในเดือนรอมฎอน
รายการนี้ มีการ phone-in จากบรราดผู้ฟัีงทั้งหลายอย่างไม่ขาดสาย ในวันนั้นก็มีคนโทรมาหาเข้าในรายการไม่ต่ำกว่า 20 คน (ซึ่งเป็นจำนวนธรรมดาสำหรับรายการที่ได้รับความนิยมรายการนี้) ต่างคนเสนอความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับเงื่อนไขของ BRN
ปรากฎว่า คนมลายูในพื้นที่ (รายการนี้ดำเนินในภาษามลายูถิ่นปาตานี) ต้อนรับเงื่อนไขดังกล่าวอย่างดีเป็นทุกคน และต้องการเดือนรอมฎอนอันสันติสุข มันตรงกับโพสต์และคอมเมนต์ในเฟสบุ๊กเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตามแหล่งข่าวต่างๆ ก็เห็นว่าัสังคมในพื้้นที่ โดยเฉพาะชาวมลายูมิสลิมต้อนรับข้อเสนอของ BRN อย่างดี
เงื่อนไขที่ฝ่าย BRN นำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกับการยุติความรุนแรงนั้นมีบางข้อที่ปฏิบัติได้ ณ ขั้นตอนนี้ และการตามเงื่อนไขเหล่านั้นจะเอื้อต่อการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เช่นการปล่อย อส. ไม่ให้ประจำการในเดือนรอมฎอน ไม่ทำการโจมตีหรือการควบคุมตัว ไม่จัดกิจกรรมทางสังคมเกี่ยวกับเดือนรอมฎอนเป็นต้น
(สำหรับเงื่อนไขเหล่านี้ กรุณาดู http://www.deepsouthwatch.org/node/4402)
เงื่อนไขที่เรียกร้องให้ทหารที่มาจากภาคอื่นๆ และทหารในภาค ๔ อยู่ในค่ายนั้น ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่รุนแรง เพราะมันแค่เรียกร้องให้สภาพความเป็นอยู่ของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เหมือนกับคนในจังหวัดอื่นๆ ในช่วงรอมฎอนและ 10 วันแรกของเดือนชาวัล เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองคนในพื้นที่สนับสนุนเงื่อนไขข้อนี้ แต่ต้องยอมรับว่า มีปัญหาบางอย่างเชิงปฏิบัีติ (practical)
ประเด็นที่สำคัญคือการสลับเงื่อนไขเช่นนี้คือขั้นตอนที่ควรเกิดขึ้นในการเจรจา (negotiation) แต่ผมขอเ้น้นอีกครั้ง ณ ตรงนี้ว่า กระบวนการสันติภาพปาตานี ยังอยู่ในขั้นพูดคุย (dialogue) ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (trust building) ยังไม่ถึงขั้นการเจรจาที่ทั้งสองฝ่ายมีความไว้วางใจกันแล้วและสามารถยื่่นเงื่อนไขกันได้ โดยมีคนกลางผู้ไกล่เกลี่ย เป็นผู้รับผิดชอบและมีผู้สังเกตการที่เป็นกลาง
ในขณะที่ยังไม่มีผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง ก็หมายความว่า ยังไม่มีใครที่รับรองได้อย่างยุติธรรมและอย่างไม่ลำเอียง (objectively) ว่า มีการถอนกำลังทหารกับกำลังตำรวจของฝ่ายรัฐ และมีการยุติความรุนแรงของฝ่ายขบวนการปลดปล่อยปาตานี จริงๆ
นอกเหนือจากนี้ ถึงแม้ว่าชาวมลายูต้อนรับเงื่อนไขของ BRN อย่างดี แต่ชาวไทยพุทธและชาวจีนจะมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน และหลายคนแสดงความเป็นห่วงว่า ถ้าทหารตำรวจออกจากพื้นที่ ใครจะรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของพวกเขา
ด้วยเหตุนี้ อาจกล่าวได้ว่า ยังไม่ถึงเวลาสำหรับฝ่ายรัฐไทยที่จะรับเงื่อนไขที่นำเสนอโดยฝ่าย BRN อย่างเต็มที เพราะยังไม่มีบรรยากาศที่ทุกฝ่ายไว้ใจซึ่งกันและกัน กลไกต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติการเหล่านี้ก็ยังไม่ครบ ยังไมีมีคนกลางและััยังไม่มีผู้สังเกตการณ์
แต่มันไม่ได้หมายความว่า รัฐควรปฏิเสธเงื่อนไขทุกข้อ ยังมีเงื่อนไขบางข้อที่สามารถปฏิบัติได้ ณ เวลานี้ และเงื่อนไขอื่นๆ ก็สามารถรับได้บางส่วน อย่างเช่น ถ้าไม่สามารถถอนทหารได้ทั้งหมด ก็ยังสามารถลดกำัลังทหารในพื้นที่ได้ และการยอมรับเงื่อนไขบางส่วนนั้น ยังสามารถใช้เป็นเดิมพันในการเรียกร้องให้ลดความรุนแรง
เดือนรอมฎอนเป็นช่วงเวลาที่มีความหมายพิเศษอย่างยิ่งสำหรบชาวมุสลิม ไม่ใช่แค่ช่วงปฏิบัติถือศีลอดเท่านั้น แต่ศาสนกิจในเดือนนี้จะได้บุณหลายๆ เท่า ประตูสวรรค์ก็เปิดมา และมีการอภัยโทษจากอัลลอฮฺด้วย เพราะฉะนั้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมที่จะให้ “ของขวัณ” ในรูปแบบสันติภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ทุกคนต้องการมากที่สุด
ขอให้ฝ่ารรัฐพิจารณาเงื่อนไขเหล่านี้อย่างรอบคอบ และปฏิบัติสิ่งที่ทำได้เพื่อคนในพื้นที่ เราห่างไกล่จากสันติภาพเป็นเวลาเกือบสิบปี เด็กๆ หลายๆ คนก็ไม่รู้จักรสชาติของสันติภาพเป็นอย่างไร ถึงแม้่ว่า แค่เป็น “ความสงบชั่วคราว” ก็ยังมีความหมายลึกซึ้งสำหรับคนในพื้นที่และสังคมไทยโดยภาพรวม
ตอนที่ ๒. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขทั้งหมดสี่ข้อเพื่อดำเนินกระบวนการสันติภาพ)
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือจากคำแถลงการณ์ครั้งที่ ๔ คึือเงื่อนไข ทั้งหมด ๔ ข้อเพื่อดำเนินการพูดคุยต่อไป ที่สื่อต่างๆ ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญ แต่สำหรับผมมีความสำคัญไม่น้อยกว่าเงือนไขยุติความรุนแรงชั่วคราว เงื่อนไขดังกล่าวคือ:
1. ข้อเรียกร้องห้าข้อจาก BRN ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของรัฐสยาม
2. การเจรจาสันติภาพต้องเป็นวาระแห่งชาติ
3. ต้องกำหนดฐานะของหัวหน้าคณะตัวแทนไทยและฐานะของหัวหน้าคณะนั้นต้องมั่นคง
4. ไม่มีการเจรจาลับหรือไม่เปิดเผย
ผมข้ออธิบายตามแต่ละข้อครับ
(สำหรับข้อเรียกร้องห้้าข้อ กรุณาดู http://www.deepsouthwatch.org/node/4301)
ข้อที่ ๑ ข้อเรียกร้องห้าข้อจาก BRN ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของรัฐสยาม
ตั้งแต่การประชุมครั้งที่สองเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ฝ่าย BRN ก็ได้นำเสนอข้อเรียกร้องเหล่านี้ และเป็นจุดยืนของฝ่าย BRN ในกระบวนการสันติภาพที่สำคัญ แต่เท่าที่สามารถติดตามจากข่าวสารต่างๆ ฝ่ายรัฐไทยยังไม่นำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ และยังไม่แสดงท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ฉะนั้นผมเห็นว่า ถึงเวลาแล้วฝ่ายรัฐต้องใ้ห้ความสำคัญแก่ข้อเรียกร้องห้าข้อดังกล่าวเพื่อให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไป ที่สำคัญนั้นคือ ข้อเรียกร้องทุกข้อก็ยังอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูณ รัฐควรพิจารณาเงื่อนไขเหล่านี้ยังจริงจัง
ข้อที่ ๒ การเจรจาสันติภาพต้องเป็นวาระแห่งชาติ
ผมเห็นด้วยข้อนี้อย่างยิ่ง เพราะปัญหาความไม่สงบในปาตานีเป็นปัญหาของประเทศทั้งหมด ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ฉะนั้นรัฐไทยจำเป็นต้องระดมกำลังและทุ่มเททุกอย่างเพื่อแก้สถานการณ์ในปัจจุบันนี้โดยไม่คำนึงถึงความสำคัญทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้การแก้ไขปัญหานี้ยังเป็นวาระของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเท่านั้น จึงทำให้หลายฝ่ายต่อต้านหรือไม่สนับสนุน
ตอนนี้พรรคฝ่ายค้านและ่ฝ่ายกองทับไทยไม่เคยแสดงท่าทีที่จะช่วยกระบวนการสันติภาพอย่างเต็มที เพราะยังเป็นวาระของรัฐบาลชุดปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นวาระแห่งชาติ ทุกฝ่าย รวมถึงพรรคฝ่ายค้านก็ต้องให้ความรวมมือ และพรรคฝ่ายค้านก็มีสรรพยากรมนุษย์อนมีค่าและประสบการณ์ในกระบวนการสันติภาพ อีกอย่าง การระดมกำลังและความทุ่มเทจากทุกฝ่ายย่อมช่วยกระบวนการสันติภาพอย่างราบรื่นขึ้น
นอกจากนี้ ตอนนี้กระบวนการสันติภาพยังมีข้อจำกัดที่เป็นวาระของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่นำโดยพรรคเพื่อไทย แต่ยังไม่มีการรับรองใดๆ ว่า ถ้ามีการเปลี่ยนรัฐบาลในอนาคต รัฐบาลชุดใหม่จะดำเนินกระบวนการสันติภาพหรือไม่ ดังนั้นการที่กำหนดกระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติเจะเอื้อต่อการดำเนินต่อเนื่อง ไม่ว่ารัฐบาลของประเทศไหนจะมาจากพรรคไหนก็ตาม
และในสุดท้าย การแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างสมบูรณ์จะเป็นโอกาสทองสำหรับประเทศไทยที่แสดงให้เห็นถึงเวทีโลกว่า ประเทศไทยยังมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาภายในประเทศอันยิ่งใหญ่อย่างดีด้วย เราไม่ควรลืมว่า ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาที่อาเจะห์นั้นให้เครดิตอย่างมากต่อประเทศอินโดนีเซีย สิ่งเดียวกันสามารถเกิดขึ้นกับประเทศไทย ถ้าประเทศไทยประสบความสำเร็จในกระบวนการสันติภาพปาตานี
ข้อที่ ๓. ต้องกำหนดฐานะของหัวหน้าคณะตัวแทนไทยและฐานะของหัวหน้าคณะนั้นต้องมั่นคง
ข้อเรียกร้องนี้น่าจะเป็นปฏิกิริยาต่อคำตัดสินของศาลปกครองเกี่ยวกับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แต่ตามข้อตกลงที่ลงนามในวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมาระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้รับผิดชอบฝ่ายรัฐบาลไทยคือเลขาธิการ สมช. ขอให้ฝ่ายรัฐจัดการปัญหาตำแหน่งของพล.ท.ภราดร ท่านเลขาฯ สมช. เพราะเห็นว่าท่านก็เริ่มจะได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายคู่เจรจา และมีท่าที่ที่น่าชื่นชม อีกอย่างท่านก็มีความเข้าใจอย่างดีในเรื่องกระบวนการสันติภาพ ฉะนั้นการเปลี่ยนหัวหน้าตัวแทนรัฐไทยไม่เือื้อต่อกระบวนการสันติภาพที่กำลังเกิดขึ้น
ข้อที่ ๔ ไม่มีการเจรจาลับหรือไม่เปิดเผย
ข้อนี้ก็แสดงถึงจุดยืนที่ชัดเจนว่า กระบวนการสันติภาพต้องเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย และทั้งสองฝ่ายก็ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน และคู่เจรจาทั้งสองคู่ต้องให้เกียรติกัน
ตอนที่ ๓ สรุป
สื่อบางราย (ที่น่าจะขาดข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีความรู้น้อยไปเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ) สรุปไปเองว่า ฝ่าย BRN พยายามจะล้มโต๊ะเจรจาโดยยื่นเงื่อนไขที่ฝ่ายรัฐไม่น่าจะรับได้ นี่คือการวิเคราะห์อย่างผิวพื้น เพราะคนเขียนไม่น่าจะอ่านเงื่อนไขของ อย่างละเอียด ผมเข้าใจว่า แถลงการณ์ครั้งนี้มีเป้าหมายหลายอย่าง หนึ่งในเป้าหมายก็คือแสดงท่าที่ของฝ่าย BRN ที่ยังพร้อมที่จะดำเนินกระบวนการสันติภาพโดยมีเงื่อนไขบางอย่างที่ฝ่ายรัฐไทยต้องนำมาพิจารณาให้ดี แต่ปัญหาคือ สื่อบางรายยังสับสนเรื่อง “เงื่อนไขเพื่อยุติความรุนแรงในเดือนรอมฎอนและสิบวันแรกของเดือนชาวัล” (ซึ่งรัฐไทยไม่น่าจะรับได้อย่างเต็มที่ ณ ตรงนี้ เพราะยังขาดเงื่อนไขบางอย่าง) กับ “เงื่อนไขเพื่อดำเนินกระบวนการสันติภาพ/การพูดคุยต่อไป” (ซึ่งฝ่ายรัฐไทยรับได้ เพราะไม่มีข้อใดยังอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ)
ขอให้ทุกฝ่ายไม่สับสนเงื่อนไขสองประเภทนี้
ในสุดท้าย ผมก็ขอเรียกร้องต่อคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายว่า ขอให้พยายามมากที่สุดเพื่อให้ชาวบ้านปาตานีของขวัญอันล้ำค่าซึ่งมีชื่อว่า “สันติภาพ” และถ้ามีความสงบชั่วคราวในเดือนรอมฎอน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีงาม ขอให้ทุกฝ่าย รวมถึงสังคมทั่วไปก็ใช้ความอดทนอย่างสูง เพราะ “สันติภาพ” ยังอยู่ในครรภ์ของแม่ แต่ไม่มีใครทราบว่า แม่ต้องตั้งครรภ์กี่เดือนหรือกี่ปี ขอให้ทุกฝ่ายให้ความรวมมือจนถึง “สันติภาพ” เกิดขึ้นจริงๆ ในปาตานีในอนาคตอันไม่ไกล่ และนี่คือความหวังของชาวปาตานี