เนื่องจากวันนี้ (25 กรกฎาคม) มีการประชุมวิชาการนานาชาติ ความขัดแย้งในสถานการณ์สากล กรณี ชายแดนใต้ของไทย มินดาเนา อาเจะห์ เมียนมาร์ และตีมอร์ตะวันออก โดยนักวิชาการที่เชี่ยวชาญจากหลากหลายพื้นที่ ซึ่งจัดโดยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้มอ.ปัตตานี และในช่วงระหว่างการตั้งคำถามของผู้ร่วมก็มีท่านหนึ่งถามถึงความขัดแย้งของชาวโรฮิงญา จึงนึกขึ้นได้ว่าเมื่อต้นปีที่ผ่านมามีเพื่อนจากประเทศพม่าได้เคยส่งรายงานการสังเกตการณ์ต่อการสังหารหมู่ในประเทศพม่าซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมที่รัฐยะไข่และลามไปถึงพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะเมกติลา ดังนั้นข้อมูลนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่สนใจความขัดแย้งในพม่า
โดยรายงานชิ้นนี้เริ่มด้วยคำทวงถามความรับผิดชอบต่อรัฐบาลพม่าว่า :-
· รัฐบาลมีแผนอะไรบ้างเพื่อหยุดความรุนแรง (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์) ต่อมุสลิมพม่า
· รัฐบาลจะทำอะไรบ้างเพื่อซ่อมแซมบ้าน มัสยิด หรือฟื้นฟูความเป็นอยู่ของมุสลิม
· ทำไมรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลท้องถิ่นจึงล้มเหลวอย่างชัดเจนต่อการปกป้องชาวมุสลิมพม่า
ตั้งแต่ความรุนแรงก่อตัวขึ้นในรัฐยะไข่เมื่อปลายเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ใบปลิวและแผ่นพับการต่อต้านมุสลิมก็แพร่ขยายไปสู่เมืองต่างๆ ของประเทศ, และช่วงวันที่ 20-28 มีนาคม 2013 มีมัสยิดจำนวน 28 หลังถูกเผาและบ้านของมุสลิมกว่าหนึ่งพันหลังคาเรือนถูกเผา โดยกลุ่มไทยพุทธที่เรียกว่า พุทธเคร่งศาสนา หรือพุทธสุดโต่ง (“Buddhist” extremists.)
นี่ไม่ใช่ความรุนแรงระหว่างชุมชน แต่นี่เป็นการโจมตีชาวมุสลิม ซึ่งเป็นเชื้อชาติพม่า การก่อเหตุความรุนแรงของชาวพุทธที่ต่อต้านชาวมุสลิมนั้นนอกจากมีการทำร้ายทั้งครอบครัวหรือชุมชนมุสลิมแล้วแม้แต่เด็กหรือทารกก็ยังไม่เว้น ตามที่สหประชาชาติได้ระบุว่าตั้งแต่มีเหตุรุนแรงต่อมุสลิมในวันที่ 20 มีนาคมปีที่แล้วส่งผลให้ชาวมุสลิมไม่มีที่พักอาศัยประมาณ 12,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าที่นับถือศาสนาอิสลาม
ทั้งนี้กลุ่มที่ก่อเหตุจะใช้สโลแกน หรือ โลโก้ 969 ซึ่งเป็นคำสอนของศาสนาพุทธที่ถูกบิดเบือน ไม่ตรงกับคำสอนของศาสนาที่พูดถึงความเมตตาต่อมวลมนุษย์
Dr. Maung Zarni จากโรงเรียนอังกฤษภาคเศรษฐศาสตร์ ได้อธิบายกลุ่ม969 คือ “ชายที่คลุมผ้าของพระสงฆ์ และใช้เทคนิคหรือแนวคิดของฮิตเลอร์(Hitlerian) (ฮิตเลอร์ที่เป็นจอมเผด็จการของเยอรมันและเป็นผู้นำลัทธินาซี)ที่สร้างความเกลียดชัง ( hate - mongering) เหมือนที่พวกเขาได้กระจายปรากฏการณ์ความกลัวต่ออิสลาม (Islamophobia) - เขาเหล่านี้เป็นพุทธที่เป็นลัทธิที่เคลื่อนไหวหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อฟื้นคืนลัทธินาซี หรือเรียกว่า neo-Nazis
การก่อเหตุหรือการโจมตีเริ่มที่เมืองเมกติลาซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมที่อาศัยอยู่มาเนิ่นนานและมีความเจริญรุ่งเรืองและการก่อเหตุได้ขยายไปที่เมืองอื่นๆ เช่น ในมันดาเล ทิศตะวันตกของเปกู โดยมี 13 ชุมชนที่ถูกทำลายและมีประชากรประมาณ13,000 คนที่ต้องอพยพออกจากเมืองเมกติลา
เราคาดการณ์ว่ามีมุสลิมประมาณ 70-100 คน ที่เสียชีวิต จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ เจ้าหน้าที่และกองกำลังรักษาความปลอดภัยไม่ได้ขับเคลื่อนหรือหาผู้นำเพื่อที่จะหยุดความรุนแรงเลย ตามข้อมูลของผู้พบเห็นบอกว่า ผู้ก่อเหตุอยู่ในรูปของตำรวจ และไม่ได้เป็นคนในพื้นที่แต่มาจากนอกพื้นที่และมีหน้าที่เหมือนสร้างม็อบ แต่มีรายงานที่หลากหลายชุด บางข้อมูลนั้นบอกว่า ผู้ก่อเหตุขับรถbulldozers หรือ เป็นรถที่ใช้สำหรับเกลี่ยพื้นดินและรื้อสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งขับในระหว่างที่โจมตี และทำลายบ้านเรือนและมัสยิด
หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท ( Wall Street) ฉบับวันที่ 26 มีนาคม 2013, ได้เผยดังนี้:
ประเทศพม่ามีประชากรทั้งหมด 60 ล้านคน และ 10 % ที่เป็นชาวมุสลิม ซึ่งมีจำนวนน้อย และนักวิเคราะห์อย่าง Maung Zarni ซึ่งได้ไปไปเยี่ยมเพื่อนที่โรงเรียนลอนดอนภาคเศรษฐศาสตร์มีความกังวลว่าชาวพุทธที่เป็นชาตินิยมสูงกำลังใช้ความเกลียดชังในการยกระดับความขัดแย้งในประเทศพม่าในยุคใหม่นี้ หลังจากที่ทหารได้ยกอำนาจให้พลเมืองบริหารกันเองในปี 2011 และนั่นเป็นความมั่นคงของประเทศที่เลวร้ายซึ่งติดพันกับประเทศที่สำคัญทั้งสองประเทศคือ จีนและอเมริกา
วันที่ 28 มีนาคม ประธานาธิบดี Thein Seinได้ปรากฏในโทรทัศน์ของประเทศและพูดถึงความรุนแรงในเมกติลาว่า “ผู้ที่อยู่เบื้องหลังของการจลาจลครั้งนี้ คือ ผู้ที่ฉวยโอกาสทางการเมืองและผู้ที่สุดโต่งทางศาสนาเป็น เขายืนยันอีกว่าเขา “มีความมั่นใจในเสรีภาพของบุคคล, เสรีภาพของพลเรือน เพื่อประชาธิปไตย และเน้นย้ำอีกว่า “ต้องกลับไปดูวิถีชีวิตหรือการอยู่ร่วมกันในสมัยก่อนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในอุดมคติของเรา” เขาอ้างอีกว่า “ผู้ก่อเหตุความรุนแรงทั้งหลายจะได้รับบทลงโทษตามกฎหมายทุกประการ”
ประธานาธิบดีได้อ้างประโยคนี้เหมือนกับความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นที่รัฐยะไข่เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งก็ไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ และไม่ได้พยายามแก้ปัญหาเพื่อสร้างความสงบ อีกทั้งไม่มีการเอาผิดกับผู้กระทำผิดแต่อย่างใด ส่งผลให้เกิดการทำร้ายมุสลิมที่หลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
ความจริงแล้วพลเมืองที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือกองกำลังรักษาความสงบมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญสูงในการเป็นผู้สืบราชการลับและรวบรวมข้อมูล
สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดของการสังหารหมู่ คือ มีรายงานว่ารัฐมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จลาจลนี้ด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานบริหารท้องถิ่น, กองกำลังรักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ทหาร
มีข้อความจากTomas Ojea Quintana ผู้สื่อข่าวพิเศษด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ของสหประชาชาติ ‘เสียงประชาธิปไตยของพม่า’ ซึ่งมีฐานอยู่ที่ Oslo และเป็นองค์กรที่รวบรวมข่าวให้สำนักข่าว ได้รายงานดังนี้:
“ฉันได้รับรายงานว่า รัฐมีความเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุความรุนแรง” Tomas Ojea Quintana ระบุ เขายังชี้ว่า
“ทหาร ตำรวจและกองกำลังพลเรือนที่บังคับใช้กฎหมายปรากฏอยู่ในที่เกิดเหตุ รวมทั้งเป็นผู้จัดตั้งม็อบกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงของพุทธด้วย”
“สิ่งนี้อาจบ่งบอกถึงว่า รัฐมีส่วนร่วมหรือสมรู้ร่วมคิดและสนับสนุนความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริง”
เช่นเดียวกัน, ในวันที่ 29 มีนาคม มีบทความจากKristallnacht ในประเทศพม่า, นิวยอร์กไทม์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงว่า สถานที่ก่อเหตุความรุนแรงที่ต่อต้านชาวมุสลิมในเมกติลานั้น มีกองกำลังรักษาความปลอดภัยปรากฏอยู่ หนังสือพิมพ์ไทม์ได้รายงานว่า
เมื่อวันพฤหัสบดี ฉันได้ถามตำรวจชั้นผู้น้อยในเมกติลาว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นในที่มีเจ้าหน้าที่ได้อย่างไร เขาบอกว่า “เราได้รับคำสั่งว่าไม่ต้องทำอะไร แต่ให้ดับไฟ ในการทำงานของเรานั้นการเชื่อฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด”
นี่คือคำถามที่เคร่งเครียดต่อรัฐบาลThein Sein ในการปกป้องกลุ่มศาสนาที่เป็นชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชาวมุสลิม
1.เหตุใด ที่ 9 เดือนที่ผ่านมาเหตุความรุนแรงในรัฐยะไข่ซึ่งมีกลุ่มพุทธสุดโต่งที่เป็นผู้ปลุกระดมและเป็นผู้ก่อเหตุความรุนแรงต่อมุสลิม รวมทั้งผู้รับผิดชอบต่อการโจมตีในรัฐยะไข่และสมาชิกของ 969 ไม่ได้ถูกระบุ
2.ทำไมกลุ่มสมาชิกกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกจับ
3. เหตุใดที่ยังคงปล่อยให้การรณรงค์เกี่ยวกับมุสลิมแบบผิดๆและอันตรายนั้นถูกแพร่ขยายไปสู่ชาวพุทธซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ได้
และยังมีคำถามอีกมากมายที่ไม่ได้รับการตอบกลับ เช่น ทำไมผู้ก่อเหตุถึงครอบครองรถ bulldozers ได้? รถดังกล่าวเป็นของใคร ใครฝึกให้ผู้ก่อเหตุสามารถขับได้? เพราะในพม่า มันไม่ใช่ง่ายที่ประชาชนธรรมดาจะใช้มันได้
เหตุใดที่สายโทรศัพท์ของผู้มีอำนาจ ทั้งของเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแล ก็ถูกตัดในย่านที่มีเหตุความรุนแรงต่อมุสลิมก่อนที่การโจมตีจะก่อขึ้น
นี่ไม่ใช่ลักษณะความขัดแย้งที่แบ่งแยกระหว่างชุมชนพุทธซึ่งเป็นชุมกลุ่มใหญ่และมุสลิมชนกลุ่มน้อย : เพราะเป้าของความรุนแรงคือข้างเดียว และบ่อยครั้งที่ทำถึงขั้นตายทั้งทรัพย์สิน และ ธุรกิจ ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ข่ายของหน่วยงานรัฐ หรืออีกคำหนึ่งคือ Myanmar pogroms.
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้กังวลเฉพาะเรื่องการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดเท่านั้น แต่เรายังกังวลหลักเกณฑ์เหยื่อจากความรุนแรงรวมทั้งการเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มมุสลิมในการกลับไปสู่บ้านเกิดและการซ่อมแซมที่อาศัยตามที่ Human Rights Watch ได้ย้ำว่า ตามนโยบายของรัฐบาลพม่าที่ได้รายงานไว้ต่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อมุสลิมในรัฐยะไข่ตราบใดที่ที่มีการแบ่งแยก:
(ข่าวประชาสัมพันธ์) Human Rights Watch: มุสลิมโรฮิงยาเผชิญกับวิกฤติความกลัวต่อมนุษยธรรมในการแบ่งแยกในระยะยาวของประชากรพลัดถิ่น (Bangkok, March 27, 2013) – Human Rights Watch ได้บอกว่า รัฐบาลพม่าได้จำกัดการช่วยเหลือมนุษยธรรมและมีนโยบายที่เลือกปฏิบัติอย่างมากต่อชาวมุสลิมโรฮิงยาในรัฐอารักกัน รัฐบาลพม่าควรอนุญาตให้องค์กรมนุษยธรรมได้เข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่เป็นมุสลิม , และวางแผนเพื่อให้กลุ่มเหล่านี้กลับไปยังถิ่นบ้านเกิดของพวกเขา การจำกัดต่อการช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงยาของรัฐบาลพม่านั้นจะส่งผลภัยพิบัติเมื่อช่วงฤดูฝนมาถึง” และPhil Robertson, รองผู้อำนวยการHuman Rights Watch ของเอเชีย กล่าวว่า. “แทนที่อยู่กับปัญหา, ผู้นำของพม่าดูเหมือนตั้งใจที่จะเก็บโรฮิงญาในค่ายอพยพมากกว่าที่วางแผนเพื่อให้พวกเขากลับบ้านเกิด”
มันสำคัญที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือเหยื่อที่เกิดจากการโจมตีทั่วประเทศพม่าตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม,ประมาณพันกว่าคนที่ต้องการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมรวมทั้งที่พักอาศัย ยารักษาโรค น้ำที่สะอาด อาหาร และการป้องกันจากความรุนแรงที่ลุกฮือ กระทั่งปัจจุบัน มีการแทรกแซงที่ไม่เพียงพอโดยทหารหรือรัฐบาลในการป้องกันชุมชนที่มีช่องโหว่และเหยื่อ.มีข่าวที่แพร่สะพัดว่ามีรักษาและช่วยเหลือเหยื่อที่ยังไม่เพียงพอ รัฐบาลแห่งชาติไม่เสริมการป้องกันให้อย่างเพียงพอและการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ต่างชาติที่อยู่ในวิกฤตในการช่วยชีวิต โดยการบุกโจมตีครั้งนี้ได้ตามอย่างของเหตุการณ์การต่อต้านมุสลิมในพม่าและเป็นเรื่องความรุนแรงต่อสิทธิของมนุษย์อย่างชัดเจน
วิกฤตการณ์ตามลำดับเวลา
20-22 มีนาคม
* ฝ่ายต่อต้านมุสลิมได้บุกและก่อการจารจลทำลายอาคาร บ้าน รถ รถจักยานยนต์และมัสยิด
ในเมืองของเมกติลา เขตมันดาเล ผู้คนในเมืองที่เป็นมุสลิมได้ถูกทารุณกรรม ทุบตี ทำร้ายด้วยของมีคมและถูกเผาร่างอยู่กลางถนน มีรายงานว่าผู้เสียชีวิต 50 คนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ การฆาตกรรมครั้งนี้ได้รวมถึงเหยื่อที่เป็นเด็ก 28 คนและ ครุสอนศาสนาอิสลาม 4 คนที่ถูกจับตัวไปจากโรงเรียยนสอนศาสนาอิสลามเมื่อวันที่ 21 มีนาคมด้วย
กองกำลังรักษาความปลอดภัยในพื้นที่นี้ ที่ได้ร้องขอไปยังองค์การมุสลิมแล้วก็ยังไม่สามารถรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนได้ ในขณะนี้มีผู้อพยพประมาน13,000คนในพื้นที่กำลังหาค่ายผู้อพยพในเมกติลาโดยไม่มีช่องทางการสื่อสารและอาหารกับน้ำกำลังจะหมด
22 มีนาคม
*รายงานความรุนแรงจากหลายเมืองรวมทั้ง Yamethin and Leweiที่ใกล้กับเมืองหลวง เนปิดอว์ และได้มีการถูกโจมตีใน3 เมืองใน ภูมิภาคบาโกด้วย
25 มีนาคม
•การโจมตีของฝ่ายต่อต้านมุสลิม ตามที่ได้ถูกรายงานจาก pyay,พม่า ได้เกิดจากการเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อ รวมไปถึงใบปลิว การปลุกระดมการต่อต้านมุสลิมในหมู่บ้านรอบๆที่เกิดเหตุการณ์ โดยทีพยานที่ได้เห็นเหตุการณ์รายงานว่า ได้มีการปลุกระดมผ่านทางลำโพงใหญ่ในรถบรรทุกของทหาร ชาวบ้านที่เป็นมุสลิมก็ได้ถูกข่มขู่ด้วยและเล่าว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะต้านทานการทำลายมัสยิดของพวกเขาและพวกเขากำลังตกอยู่อันตราย
•หมู่บ้านYwe ในTat Kon, Nay Payi Tawได้ถูกโจมดีด้วย ในหมู่บ้านนั้นได้มีมัสยิดและบ้านมุสลิมในหมู่บ้าน20ครัวเรือน
26 มีนาคม
• ใน Kyopinkauk ใกล้ Pegu บ้านของมุสลิม ร้านค้า มัสยิด และโรงเรียนสอนศาสนาได้ถูกโจมตี โดยในเมืองนี้ได้มีมุสลิมประมาณ400คนในเมืองและบ้านมุสลิมประมาณ 150 หลังเรือน
27 มีนาคม
• ใน Oak Kanmk’ ตอนเหนือของย่างกุ้งพระ 969รูปได้เทศน์ถึงเรื่องการต่อต้านมุสลิมทุกวัน ชาวบ้านได้กลัวการโจมตีเพราะได้มีการข่มขู่ชาวบ้านมุสลิมในพื้นที่ ผู้โจมตีบางคนได้ข่มขู่จะเผาหมู่บ้านปานิปินที่อยู่พื้นที่ของมุสลิม
•ในMinhla, Pegu หมู่3 ได้มีมัสยิดถูกทำลายและรวมไปถึงบ้าน ร้านอาหาร และร้านจักรยานที่เจ้าของเป็นมุสลิม มีผู้ประท้วงประมาณ500คนพร้อมอาวุธจากGone Su, Zigone Myo Thit ได้โจมตี Sit Kwinและทำลายทรัพย์สินในพื้นที่ โดยที่ในMinhla มีมัสยิดและบ้านมุสลิมประมาณ100หลังคาเรือน
• ใน Zigon, หมู่บ้านPegu, ได้มีฝูงชนประมาณ500คนเข้าทำลายมัสยิดแล้วบ้านเรือนหลายหลังคาเรือน
• ใน Patigone, หมู่บ้านPegu, ได้มีผู้โจมตีบ้านคนมุสลิมหลายหลัง
28 มีนาคม
• MoeNyoหมู่บ้านPegu มีมัสยิดถูกโจมตี
Additional Information, contact Myo Win: [email protected]