Skip to main content

ฮาร่า ชินทาโร่

 
ตังแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 9 ทางสถานีวิทยุ มีเดีย สลาตัน ได้เปิดคลิปเสียงสัมภาษณ์ อุสตาซ ฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนของ BRN ในการพูดคุยสันติภาพ ท่านให้สัมภาษณ์ในภาษามลายู ผมขออนุญาตจากทางสถานี และแปลข้อสรุปของคลิปดังกล่าวเป็นภาษาไทย มีประเด็นในสัมภาษณ์มีดังต่อไปนี้

- ข้อคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ 
- เกี่ยวกับเป้าหมายการโจมตีของฝ่าย BRN 
- รูปแบบการปกครอง 
- สถานการณ์ในเดือนรอมฎอนปีนี้ 
- รูปแบบการปกครอง 
- ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเดือนรอมฎอิน 
- การควบคุมของกำลังในสนาม 
- การพูดคุยรอบต่อไป 
- ความรวมมือกับขบวนการอื่น 
- ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความรวมมือจากฝ่ายต่างๆ 
- บทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร 

************************************************
 

- ข้อคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ
 
 
ผมหวังว่ากระบวนการสันติภาพประสบความสำเร็จ แต่ฝ่ายรัฐบาลไทยก็จำเป็นต้องมีส่วนรวมอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งบนโต๊ะเจรจา ฐานะของมาเลเซียก็ต้องเป็นผู้ไกลเกลี่ย ไม่ใช่แค่ผู้อำนวยความสะดวก ขอยืนยันว่า ฝ่าย BRN เอาจริงเอาจังในเรื่องกระบวนการสันติภาพ เพราะการต่อสู้ของเราไม่อาจจะสิ้นสุดในสนามรบ ไม่ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนก็ตาม แต่จุดจบของการต่อสู้ของเราอยู่บนโต๊ะเจรจา คนที่อ้างว่าเราต้องการล้มโต๊ะเจรจานั้นคือแค่เอาจินตนาการตัวเองมาเล่าอย่างเดียว แน่นอนว่า ก่อนหน้านี้เราก็รบมาแล้ว แต่จุดจบก็ต้องเป็นโต๊ะเจรจา ฉะนั้นการเจรจาจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป ไม่มีการหยุดนิ่งหรือการชะงัก 
 
- เกี่ยวกับเป้าหมายการโจมตีของฝ่าย BRN 
 
มีเหตุการณ์ทำร้ายโต๊ะครู โต๊ะอิหม่ามหรือครูตาดีกา แต่เราไม่โจมตีเป้าหมายอ่อน (soft target) โต๊ะอิหม่าม โต๊ะคอติบ โต๊ะบีลัล คนเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นเป้าหมายอ่อน เราไม่ทำลายเป้าหมายเศรษกิจด้วย เป้าหมายการโจมตีของเราคือกองกำลังติดอาวุธเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ อส. ก็ตาม ฉะนั้นเราก็บอกว่า ณ ย่านการค้าขาย ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ติดอาวุธมารักษาความปลอดภัย 

ผมขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของโต๊ะอิหม่ามมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี แต่เราก็ไม่ทราบว่ามันเป็นฝีมือของใคร ขอยืนยันอีกครั้งว่า เป้าหมายการโจมตีของเราคือกำลังติดอาวุธอย่างเดียว เราไม่โจมตีเป้าหมายอ่อนหรือเป้าหมายเศรษฐกิจ ใครโจมตีเป้าหมายเหล่านี้ เราก็ไม่ทราบเหมือนกัน ต้องรอผลการสอบสวน 

- รูปแบบการปกครอง 

ถ้าสมมุติว่ารัฐบาลให้สิทธิปกครองโดยตนเอง การปกครองของเราก็ต้องเป็นการปกครองที่ยุติธรรมที่สุด โดยมีกฎหมายอิสลามเป็นหลัก เมื่อมีการปกครองตามกฎหมายอิสลาม เราก็ต้องมองว่าคนที่นับถือศาสนาอื่นก็เป็นสมาชิกครอบครัวของเราเช่นกัน เมื่อเรากดขี่พวกเขาก็ถือว่าเป็นฮารอม (ผิดกฎหมายอิสลาม) และเป็นบาปด้วย ฉะนั้นการปกครองของเราก็ต้องตามหลักการของศาสนาอิสลาม ชาวจีนและชาวสยามในปาตานีก็ไม่ต้องเป็นห่วง ขอยกตัวอย่างของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นสังคมหลากหลายเชื้อชาติ สังคมของเราก็สังคมหลากหลายเชื้อชาติเช่นเดียวกัน ลองสังเกตดูชาวสยามในอำเภอตุมปัต (Tumpat) รัฐกลันตัน พวกเขาก็สามารถสร้างวัดและปฏิบัติศาสนกิจของเขาได้ การที่ต่างคนนับถือศาสนาต่างกันก็ไม่มีปัญหาตามหลักการอิสลาม

- สถานการณ์ในเดือนรอมฎอนปีนี้ 

ในเดือนรอมฎอนปีนี้ ก็มีเหตุการณ์ความรุนแรงน้อยลง และหวังว่าทุกท่านสามารถต้อนรับวันอีดิลฟิตรอย่างสันติ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับท่าที่ของรัฐบาล ถึงแม้ว่า ฝ่ายรัฐบาลไม่ปฏิบัติเงื่อนไขทั้งหมด 7 ข้อที่เราได้ยื่นมาแล้วแม้แต่ข้อเดียว แต่เราก็ให้การพิจรณาต่อการลดความรุนแรง ฉะนั้นตั้งแต่วันแรกของเดือนรอมฎอนไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่มีการใช้ความรุนแรงและมีคนเสียชีวิตทุกวัน จนถึงทำให้คนในสนามอดทนไม่ได้อีก ฉะนั้นพวกเขาก็ให้คำเตือนต่อรัฐบาล ไม่ใช่การแก้แค้น สถานการณ์ในพื้นที่ก็ไม่ใช่เกิดขึ้นจากฝ่ายเดียว ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่าย BRN หรือฝ่ายรัฐบาล ต้องรวมมือกันเพื่อสร้างสันติภาพ 

- ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเดือนรอมฎอน 

ตอนแรก ฝ่ายรัฐบาลอยากลดความรุนแรง แต่ฝ่าย BRN พร้อมที่จะยุติความรุนแรงโดยมีเงื่อนไข 7 ข้อที่เราได้เสนอแล้ว แต่ฝ่ายรัฐไม่รับเงื่อนไขเหล่านี้ เขตชนบทยังมีทหารเต็มและเพิ่มจำนวนอีก นอกจากนี้ก็มีการสกัดถนน การโจมตี การล้อมรอบบ้าน การค้นบ้าน ฯลฯ แต่เราก็ใช้ความอดทน เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นระยะนั้นคือคำเตือนสำหรับฝ่ายรัฐบาลไทย ไม่ใช่การตีกลับ ถ้าเป็นการตีกลับ เมื่อมีคนเราตายหนึ่งคน คนเขาก็ต้องตายสิบคน นี่คือการตีกลับ แต่การโจมตีในเดือนรอมฎอนไม่ใช่การตีกลับ ถือว่าเป็นคำเตือนต่อรัฐบาล ฉะนั้นความเสียหายก็มีไม่มาก 

พวกเราไม่ได้ลงนามในข้อตกลงการริเริ่มเดือนรอมฎอนสันติสุขนั้น เพราะมีเวลาน้อยมาก พวกเราอยากจะให้นายกรัฐมนตรีลงนามในข้อตกลงก่อนเดือนรอมฎอน แต่ไม่มีการลงนาม อย่างไรก็ตาม เราก็ลดความรุนแรง แม้ว่าไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ประมาน 60-70 เปอร์เซ็นต์ 

ก่อนถึงเดือนรอมฎอนก็มีเหตุการณ์ยิงโต๊ะครูที่ปูลาฆาซิงและสมาชิกขององค์กร JOP หลายคนก็ถูกยิงตาย คดีของพวกเขาก็ถูกยกฟ้องแล้ว แต่คนเหล่านี้้ก็ถูกยิงตาย หลังจากเหตุการณ์เหล่านี้ คนที่ควบคุมนักรบในสนามก็โทรมาหาผม และแจ้งว่าเด็กๆ ภายใต้การควบคุมก็เสียความอดทนแล้ว แต่ผมก็ให้คำแนะนำว่าต้องใช้ความอดทน พวกเขาก็โทรมาหาสองสามครั้ง แต่ผมก็บอกว่าอดทนหน่อย 

ผมก็เสียใจด้วยที่ว่าการลดความรุนแรงในเดือนรอมฎอนเกิดขึ้นอย่างไม่เต็มที เพราะความต้องการของเราก็คือไม่อยากจะก่อให้เกิดเหตุรุนแรงในเดือนรอมฎอนถึงวันที่ 10 ของเดือนเชาวัล 

- การควบคุมของกำลังในสนาม 

เราควบคุมพวกเขาอยู่มานานแล้ว แต่เมื่อเหตุการณ์ยิงสังหารเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ กองกำลังในสนามก็เสียความอดทน แต่อย่างไรก็เราให้ความสำคัญแก่ข้อตกลง ถ้าฝ่ายรัฐยังปฏิบัติและใช้ความรุนแรง เหตุการณ์ก็เกิดขึ้น แต่มันเป็นแค่ชั่วคราว 

- การพูดคุยรอบต่อไป 

เวลาสำหรับการพูดคุยครั้งต่อไปยังไม่กำหนด แต่เราก็ได้เสนอเงื่อนไขแล้ว เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลให้คำตอบต่อข้อเรียกร้อง 5 ข้อ ว่า จะรบได้หรือไม่ ถึงแม้ว่าไม่มีการพูดคุยอย่างเปิดเผยไม่มี แต่เราก็จะติดต่อสื่อสารกับฝ่ายไทยผ่านผู้อำนวยความสะดวก ในเดือนรอมฎอนก็เราได้เจอกับผู้อำนวยความสะดวกสองครั้งแล้ว และนายภราดรซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายไทยก็มาด้วย เราไม่ได้พบตัวต่อตัว แต่ติดต่อผ่านผู้อำนวยความสะดวก 

- ความรวมมือกับขบวนการอื่น 

เราได้ประสานงานกับขบวนการอื่นๆ แล้ว เช่น องค์กร PULO และ BIPP และทั้งสององค์กรก็รวมกันในการพูดคุย การที่องค์กร PULO มีหลายสายนั้นเป็นปัญหาของ PULO ฉะนั้น PULO ก็ต้องสร้างความเอกฉันท์ในตัวองค์กร 

- ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความรวมมือจากฝ่ายต่างๆ 

ขอให้ข้าราชการทั้งหลายและองค์กร NGO ต่างๆ ทำงานอย่างจริงจัง พรรคประชาธิปัตย์นั้นมันเห็นว่ายากหน่อย แต่ถ้าพรรคนี้ประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งก็ขอให้การสนับสนุนต่อกระบวนการสันติภาพ พวกเขาอาจจะคิดว่าถ้ากระบวนการสันติภาพที่นำโดยพรรคเพื่อไทยประสบความสำเร็จ พรรคประชาธิปัตย์จะเสียเก้าอี้จากภาคใต้ แต่พวกเขาไม่ควรคิดแบบนั้น ในโลกการเมือง คนที่ดี คนที่ทำงานเพื่อประชาชนนั่นและที่จะได้รับการสนับสนุนของประชาชน 

เราก็ขอเรียกร้องทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ปาตานี ไม่ว่าจะเป็นชาวมลายู ชาวจีน หรือชาวสยามก็ตาม ให้ความรวมมือเพื่อสร้างสันติภาพ 

- บทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร 

นายทักษิณให้การสนับสนุนอย่างเต็มทีต่อกระบวนการสันติภาพ มีบางคนอ้างว่า ผมสนิทกับนายทักษณมาก แต่จริงๆ แล้ว เราก็ไม่ใช่คนที่สนิทกัน ผมเจอกับนายทักษิณก็ผ่านฝ่ายมาเลเซีย เมื่อมีกระบวนการสันติภาพนี้แหล