ศุกร์เสวนา ครั้งที่ 2
เรื่อง การต่อรองพื้นที่วัฒนธรรม
เปิดประเด็น อ.สมัชชา นิลปัทม์
วันที่ 6 พฤศจิกายน 52
ณ สำนักงานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
เ เรียบเรียงโดย คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
การต่อรองเกิดขึ้นกับชีวิตของทุกคนในชีวิตประจำวันของคนเราเช่น เวลาตื่นนอนมีการตั้งนาฬิกาปลุก ๖ โมงเช้าก็จะมีการเลื่อนเป็น ๖ โมงครึ่งเป็นต้น.ส่วนคำว่าวัฒนธรรมมีความหมายกว้างมากตั้งแต่สิ่งประดิษฐ์ วิถีชีวิต การแต่งกายพื้นวัฒนธรรมที่มีอยู่สองคือพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่เสมือน วันนี้เราจะพูดถึงวัฒนธรรมในฐานะพื้นที่ๆหนึ่งทางวิชาการเรียกว่าอณาบริเวณทางวัฒนธรรม( Cultural space ) วัฒนธรรมเป็นการผลิตความหมายแบบหนึ่งต่อสิงใดสิ่งหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขระบบสังคม การเมืองเป็นตัวกำหนดวีถีชีวิตในการนิยามความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
วัฒนธรรมเป็นการช่วงชิงความหมายวัฒนธรรม ดังนั้นพื้นที่วัฒนธรรมเป็นพื้นที่การต่อสู้อย่างหนึ่งโดยมีระบบคิดและโลกทัศน์เป็นตัวกำหนดเช่นทางหลวงแถวบาเจาะมีการตั้งตลาดบนทางหลวงซึ่งคนที่นี้อาจคิดว่าพื้นที่ทางหลวงเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่คนจากพื้นที่อื่นอาจคิดว่าทางหลวงไม่ควรที่จะมีใครมาวางสิ่งของบนถนนได้
การต่อรองเท่ากับการต่อสู้ ดั้งนั้นการต่อรองน่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่งของการต่อสู้และเป็นปกติวิสัยของนักต่อสู้พื้นที่วัฒนธรรมเป็นพื้นที่การต่อสู้ที่เข้มข้นซึ่งเป็นการต่อรองที่เข้มข้นเหมือนกัน การต่อสู้บนปริมณฑลทางวัฒนธรรมซึ่งช่วงยุคก่อน ๑๔ ตุลา นักศึกษาที่แต่งกาย ๕ ย.คือผมยาว กางเกงยีน รองเท้ายาง ถือย่าม เสื้อยืด คิดว่าคนเหล่านี้กำลังต่อรองกับอะไรครับ เขากำลังต่อสู้กับกรอบแนวคิดของทางราชการ. การต่อสู้ทางอัตลักษณ์ต้องใช้พื้นที่ใด้ก็แล้วแต่ ย้อนดูในประวัติศาสตร์ของคนมลายูกำลังแสดงเช่นใส่หมวกกะปิเยาะห์ สวมเสื้อตะโละบลางอ นุงโสร่ง เป็นต้น ในประวัติศาสตร์มีการต่อสู้เรื่องนี้ต่อสู้เพื่อบอกว่าเราเป็นมลายู เราเป็นมุสลิม หากเรานุ่งโสร่งไปสถานที่ราชการได้ไหม ทางราชการจะบอกว่าไม่สุภาพแต่เราคิดว่าสุภาพใช่ไหมเพราะว่าขนาดเราละหมาดซึ่งเป็นการไปพบพระเจ้ายังนุ่งโสร่งแล้วนับประสาอะไรกับเจ้าหน้าที่ของราชการนี่เป็นเหตุผลที่เราน่าจะใช้ในการต่อรอง
การประท้วงที่มัสยิดกรือเซะในปี ๓๒ เป็นการต่อรองย่างหนึ่งว่าด้วยความหมายมัสยิดกรือเซะซึ่งกรุงเทพบอกว่าเป็นโบราณสถานแต่คนที่นี้ให้ความหมายว่าเป็นศาสนสถานซึ่งจะต้องมีคนละหมาด ที่เป็นแบบอย่างการต่อสู้อย่างหนึ่งของคนที่นี้ ความชอบธรรมของการต่อสู้จะต้องสามารถตอบคำถามของการต่อสู้ให้สาธารณะได้ซึ่งจะต้องนิยามความหมายของของต่อรองต่อสู้อย่างไร
ในการเป็นคนหนุ่มคนสาวการต่อต้านเป็นบุคลิกภาพโดยพื้นฐานของวัยรุ่น ซึ่งรู้สึกว่าจะต้องต่อต้านกระแสสังคมที่เป็นกระแสหลัก จริงๆแล้วคนหนุ่มคนสาวจะเร่งเร้ามีการเคลื่อนไหวให้มีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างที่คิดว่ามันล้าสมัย การต่อต้านนั้นเป็นพื้นฐานของการเกิดเป็นมนุษย์ที่ชอบพูดคำว่า ไม่ แต่คำว่าไม่เราจะรู้สึกว่าเราจะสูญเสียไปเรื่อยๆที่ทำให้คนถูกจองจำ
การต่อรองเป็นการต่อสู้แบบไม่หลังเลือดเช่นผมเป็นคนทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ที่จะต้องปะทะกันหลายๆเรื่อง ซึ่งผลผลิตของมันคือข่าวและสื่อ ซึ่งจะต้องมีการต่อสู้พื้นที่ข่าวหน้าหนึ่งกับ บก. ซึ่งแนวทางเราจะใช้แนวทางต่อสู้อย่างไรที่จะต่อสู้ต่อรอง ผมอยากจะบอกว่าในช่วงที่เป็นคนหนุ่มคนสาวจะต้องรีบๆทำในช่วงที่เป็นคนหนุ่ม ผมจะยกตัวอย่างหนึ่งน้องคนหนึ่งทำงานกับประชาไท แล้วลาออกไปทำงานกับไทยรัฐ เป็นการลาออกเพื่อแย่งพื้นที่ข่าวกระแสหลัก นี่เป็นวิธีการต่อรองอย่างหนึ่งซึ่งแต่ละคนจะทีการต่อสู้หลายๆรูปแบบ
ในชีวิตจริงๆการต่อสู้ทางวัฒนธรรมเป็นหนทางที่สำคัญเช่นการที่นักเรียนช่างกลชอบใช้สเปรย์พ่นตามสถานที่ต่างซึ่งการที่เป็นเด็กช่างกลที่ถูกสังคมมองว่าเป็นเด็กชายขอบที่พ่นตามสถานที่ต่างๆเขารู้สึกว่ามันสบายใจที่สามารพ่นตามกำแพงสถานที่ราชการที่ต่อต้านหรือการต่อสู้อย่างหนึ่งที่ต้องการเรียกร้องความเป็นตัวตนให้สังคมยอมรับ ซึ่งไม่แปลกใจเลยปัตตานีมีการพ่นตามป้าย ตามถนน ที่พยายามให้คนรับรู้สิ่งที่ต้องการจะสื่อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในสถานที่มีการกดขี่ก็จะมีการต่อสู้ซึ่งแล้วแต่จะต่อสู้ในรูปแบบไหน ที่จะทำให้การต่อสู้ให้สังคมยอมรับเหตุผลของการต่อสู้เรียกร้องที่จะต้องทำให้มันเนียนๆเกิดแรงปะทะน้อยที่สุด