Skip to main content

 

ช่วงนี้มีคนพูดถึงบทบาทขององค์กรประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนใต้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่คนทำงานในองค์กรเหล่านี้บางส่วนได้มีโอกาสเดินทางไปเรียนรู้ความขัดแย้งในที่อื่นๆ อย่างในมินดาเนาและอาเจะห์ ซึ่งองค์กรประชาสังคมมีบทบาทสำคัญอย่างมาก เมื่อสองสามปีก่อน ผมและน้องๆ เคยทำวิจัยสำรวจสถานภาพของการรวมกลุ่มเป็นองค์กรและเครือข่ายเหล่านี้ โดยเชื่อมโยงให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ตรงไหนและสามารถทำอะไรได้บ้างในกระบวนการสันติภาพ เลยเอามาแชร์ต่ออีกครั้งครับ
 
ทบทวนแนวความคิดเกี่ยวกับ “ประชาสังคม” ที่ถือกำเนิดในสังคมประชาธิปไตยตะวันตกและสร้างข้อถกเถียงในโลกนอกตะวันตกอื่นๆ รวมทั้งโลกมลายูและโลกมุสลิม ในขณะที่การพิจารณาประชาสังคมทั้งในฐานะที่เป็น “พื้นที่ทางการเมือง” ซึ่งแต่ละฝ่ายมุ่งใช้ต่อรอง และในฐานะ “ตัวแสดง” สำคัญในความขัดแย้งอาจส่งผลให้มองเห็นความเป็นไปได้ของสันติภาพบางประการ
 
สำรวจความรู้และประสบการณ์โดยย่นย่อเพื่อตอบโจทย์ที่ว่าเมื่อความขัดแย้งปะทุเป็นความรุนแรงทางการเมืองขึ้นมาแล้ว กลุ่มองค์กรประชาสังคมอยู่ตรงไหนและมีบทบาทหน้าที่อย่างไรได้บ้าง? ความแตกต่างหลากหลายในหมู่พวกเขาจะสร้างโอกาสให้กับสันติภาพได้อย่างไร? การรวมกลุ่มในอาณาบริเวณนอกรัฐเช่นนี้จะนำพาสังคมที่แตกร้าวจากความรุนแรงไปได้อย่างไร?
 
‘องค์กรประชาสังคม’ ในบริบทของชายแดนใต้คืออะไรและเป็นใครบ้าง? รายงานตอนที่ 3 ซึ่งถอดมาจากงานวิจัยชิ้นนี้พยายามแจกแจงให้เห็น โดยการประมวลคำนิยามและแชร์ฐานข้อมูลเปิดเกี่ยวกับ ‘องค์กรประชาสังคม’ ที่เปิดเอื้อต่อการพัฒนาร่วมกันในอนาคต พร้อมๆ กับการเป็นฐานสำหรับการทำงานร่วมกันในเชิงเครือข่ายเพื่อสร้างอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้น
 
รายงานตอนสุดท้ายที่พุ่งตรงสู่การวิเคราะห์สถานภาพของกลุ่มประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ข้อจำกัดและโอกาสของพวกเขาในการสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพในอนาคตไม่สามารถถูกผูกขาดเพียงแค่คู่ขัดแย้งหลักได้อีกต่อไป
 
ใครสนใจดาวน์โหลดทั้งเล่มเป็นไฟล์พีดีเอฟคลิกที่นี่เลย หรือไม่ก็ต้องการอ่านแบบอีบุ๊คก็คลิกที่ภาพหน้าปกข้างล่างนี่เลยครับ
 
 
 
อีกไม่กี่วันจะมีงานถอดบทเรียนภาคประชาสังคม ซึ่งร่วมกันจัดหลายองค์กร (ดูกำหนดการที่นี่ครับ) เอกสารชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในการทบทวนบทบาทของภาคประชาสังคมที่ผ่านมาไม่มากก็น้อยครับ