[updated: 6 February 2013]
แถลงการณ์
เครือข่าย Children voice for peace
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557
เรื่อง การเสียชีวิตของเด็กในจังหวัดชายแดนใต้
จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ที่มีเหตุกราดยิงรถกระบะจนเด็กหญิงอัสมีน ดอเลาะ อายุ 4 ขวบ เสียชีวิต ต่อมาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 เกิดเหตุคนร้ายยิงกราดยิงขณะอยู่บริเวณหน้าบ้านพักเลขที่ 157/4 ม.7 บ.ปะลุกาแปเราะ ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เป็นเหตุให้ ด.ช.มูยาเฮค มะมัน อายุ 11 ปี ด.ช.บาฮารี มะมัน อายุ 9 ปี และด.ช.อีลยาส มะมัน อายุ 3 ปี เสียชีวิต ขึ้นอีกครั้ง ทั้งสองเหตุการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในจังหวัดชายแดนใต้นั้น เด็กมิใช่เหยื่อลูกหลงเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเริ่มบ่งชี้ถึงการที่เด็กได้ตกเป็นเป้าหมายของการสังหารเสียแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์การตกเป็นเหยื่อของเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เพียงต้นปี 2557 ก็มีเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อชีวิตเด็ก ถึง 4 คนด้วยกัน ในขณะที่ในปี 2556 มีเด็กเสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบจำนวน 7 คน ทำให้เครือข่าย Children voice for peace ซึ่งเป็นการรวมกลุ่ม คน และ องค์กร เพื่อการรณรงค์ปกป้องสิทธิเด็กให้มีชีวิตรอด (Right of Survival) และได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of protection) ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ที่ไทยได้ลงนามเมื่อ ปี 2535 มีความกังวลต่อความรุนแรงที่ทำให้เด็กตกเป็นเหยื่ออย่างยิ่ง
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางเครือข่าย Children voice for peace ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสียของทั้งสองครอบครัว และ ขอประณามผู้ก่อเหตุครั้งนี้ ทั้งนี้ทางเครือข่ายจึงขอเรียกร้องต่อทุกฝ่ายดังนี้
1. ขอเรียกร้องให้ทุกคน ทุกฝ่ายในสังคม ตระหนักถึงความรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดการลดทอนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และร่วมกันแสวงหาความร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการค้นหาวิธีการและกระบวนการ ในการปกป้องชีวิตและสวัสดิภาพของเด็ก
2. ขอเรียกร้องให้รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธะกรณีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ที่ไทยได้ลงนามเมื่อ ปี 2535 โดยการทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็กให้มีชีวิตรอด ปลอดภัย และมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต
3. ขอเรียกร้องให้รัฐดำเนินการสอบสวนหรือจัดตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง อย่างเป็นธรรม รอบด้าน และมีความโปร่งใส เชื่อถือได้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และ สร้างความไว้วางใจที่อาจสั่นคลอนจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
4. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่ใช้ความรุนแรงคำนึงถึงเหยื่อผู้บริสุทธิ์โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีอาวุธที่จะลุกขึ้นมาตอบโต้ได้โดยเฉพาะ เด็ก หรือขอให้ท่านได้ใช้สันติวิธีในการเรียกร้องสิ่งที่ท่านต้องการ
5. ขอเรียกร้องให้ผู้มีศักยภาพในการใช้ความรุนแรงในการปลิดชีวิตคู่ขัดแย้งของท่าน จงใช้สันติวิธีในการบรรลุวัตถุประสงค์ในของท่าน เพื่อยุติการสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่รุนแรงที่เด็กมีโอกาสตกเป็นเหยื่อและเป้าหมายในการเข่นฆ่าเช่นทุกวันนี้
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันสร้างสรรค์บรรยากาศของสันติภาพให้กับคืนมาทดแทนความรุนแรงที่สร้างรอยร้าวและบาดแผลต่อเด็กมาอย่างยาวนานให้กลับคืนมา
---------
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม เครือข่าย Children voice for peace คุณอัณชนา หีมมิหน๊ะ Tel. 081-8098609
ลงชื่อผู้สนับสนุนแถลงการณ์
ประเภทองค์กรและหน่วยงาน
1. ศูนย์ฟ้าใสเครือข่ายเยาวชนจังหวัดยะลา
2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
3. มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย
4. สำนักพิมพ์โพรงกระต่าย
ประเภทบุคคล
1. นวพล ลีนิน
2. รอฮานี จือนารา
3. ยาสมิน ซัตตาร์
4. อารีด้า สาเม๊าะ
5. ซุกกรียะห์ บาเหะ
6. ปลายมนัส ลิ้มสุวรรณ์
7. มัสตะห์ มะกุล
8. ภาวิณี ชุมศรี
9. แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา
10. ธีรดา ศุภะพงษ์
11. แวลีเมาะ ปูซู
12. ดลยรัตน์ บากา
13. เอกราช ซาบูร์ มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย
14. อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ
15. ซุไบดา เด็ง กลุ่มด้วยใจ
16. ยามีละ ดอมอรอ กลุ่มด้วยใจ
17. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
18. ประทับจิต นีละไพจิตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
19. เจริญพงศ์ พรหมศร สำนักพิมพ์โพรงกระต่าย
20. ดันย้าล อับดุลเลาะ DREAM SOUTH
21. มะรูฟ เจะบือราเฮง DREAM SOUTH
22. มูฮำมัดอิฟฟัพ ปาทาน DREAM SOUTH
23. พันยวดี อาแว เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
24. ฐิตินบ โกมลนิมิ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
25. เจริญ สังข์ทอง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
26. อิมรอน สาเหาะ
27. อัสรา รัฐการัณย์
28. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
29. รณชัย จุทอง
30. อภิชญา โออินทร์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
31. สุนิสา จุลรัตน์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
32. อัมรี เจะฮะ
33. วัชรินทร์ สังขาระ อาชีพรับจ้างทั่วไปสำหรับงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
34. อัฏฮา โต๊ะสาน นักศึกษาระดับปริญญาโท สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์