Skip to main content

นายอัมรี เดย์
ผู้ปฏิบัติงาน สำนักสื่อ  Wartani             
 
               องค์กรภาคประชาสังคมที่มีบทบาททางด้านการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย จากการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนใต้หรือปาตานี และเป็นที่รู้จัก เป็นที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ตลอดระยะเวลา 10 ปี ไม่เคยคิดค่าใช้จ่ายในคดีความมั่นคง มีคณะทำงานอาสาสมัครที่เสียสละ ทุ่มเทเพื่อผดุงไว้ซึ่งความถูกต้อง องค์กรที่กล่าวมานั้นรู้จักกันในนาม MAC (แม็ค) หรือ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
 
                มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม  เป็นองค์กรอันดับต้นๆที่ประชาชนปาตานีให้การยอมรับและมอบความไว้วางใจ แม้จะจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิได้ไม่นาน แต่บทบาทการทำงานนั้นต่อเนื่องมาตลอดนับตั้งแต่การหายตัวไปของ ทนายสมชาย นีละไพจิตร อาจกล่าวได้ว่า จิตวิญญาณการต่อสู้ของทนายสมชายนั้นมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมคือผู้สืบทอดเจตนารมณ์        
 
                ในวันนี้ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (Muslim Attorney Center Foundation) ได้ยกระดับบทบาทของตัวเอง ที่ไม่ใช่แค่องค์กรทำงานเฉพาะเรื่องการว่าความในชั้นศาลและเพียงแค่รับเรื่องร้องเรียนอย่างเดียว หากแต่ยังมีการทำงานเชิงรุก อันได้แก่ เพิ่มศักยภาพให้กับเครือข่ายของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อที่เครือข่ายเหล่านี้จะได้มีการให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน ทั้งในเรื่องการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมและการช่วยเหลือกันในการดำเนินใช้ชีวิตปกติหลังจากสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรม และเพื่อการทำงานที่รอบด้านมากขึ้น ทางมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ได้เชื่อมสัมพันธ์กับองค์กรที่มีประสบการณ์ระดับโลก อย่าง Lembaga Bantuan Hukum (LBH) Jakarta หรือเรียกสั้นๆว่า “แอลเบฮา” จากประเทศอินโดนีเซีย
 
                 LBH หรือ แอลเบฮา เป็น สำนักงานให้ความช่วยทางด้านกฎหมาย แก่ประชาชน ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศอินโดนีเซีย และเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือประชาชนมาตลอดระยะเวลา 50 กว่าปีแล้ว
 
 
 
 
                การเจอกันระหว่างมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม Muslim Attorney Center Foundation กับ Lembaga Bantuan Hukum (LBH) Jakarta นั้น  เริ่มที่ LBH เดินทางมาที่ ปาตานี (จังหวัดชายแดนภาคใต้) เมื่อสองปีที่แล้ว (ปีพ.ศ. 2555) หลังจากที่ได้มีการพบปะพูดคุยกันที่ร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่งในเมืองปัตตานี โดยมีองค์กรศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ทั้งสององค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายเหมือนกัน มีเส้นทางและบทบาทในการต่อสู้ที่เหมือนๆกันมีโอกาสพุดคุยกัน  และ LBH ก็ได้มาศึกษาดูการทำงานของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ
 
                หลังจากนั้น  มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมก็ไดัรับเชิญจาก มูลนิธิซาซากาว่า (Sasakawa) เพื่อวางแนวทางที่จะสร้างสันติภาพและร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ ที่ปาตานี ที่เมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น จากนั้นมูลนิธิซาซากาว่า (Sasakawa) ได้ให้การสนับสนุนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมโดยผ่านทาง LBH เพื่อเป็นองค์กรพี่เลียงในเรื่องของการอบรม การให้ความรู้และ เพิ่มศักยภาพบุคลกร ตลอดจนถึงในการวางแนวการทำงานในด้านสันติภาพ การติดต่อประสานงานโดยผ่าน เครือข่ายผู้ช่วยทนายความ หรือ Span เป็นผู้ประสานงาน โครงการ เกี่ยวกับกับการ อบรม การให้ความรู้และ เพิ่มศักยภาพองค์กรในการสร้างกระบวนการสร้างสันติภาพ จากนั้นในปีพ.ศ.2556 ทาง LBH เชิญตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมปาตานีเพื่อไปฝึกงานกับองค์กรภาคประชาสังคม ที่ประเทศอินโด ในครั้งนั้นมีตัวแทนไปฝึกงาน 5 คน
 
                ต่อมามูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้มีแนวคิดที่จะให้บอร์ดบริหาร ไปศึกษาดูการทำงาน กับองค์กรที่ทำงานเหมือนกับองค์กรของตัวเองว่า เขาสร้างระบบการทำงานกันอย่างไร  และจะปฏิรูปการทำงานของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้อย่างไร เพราะการเปลี่ยนนโยบาย เปลี่ยนยุทธศาสตร์ จาการทำคดี ไปสู่เส้นทางการต่อสู้เพื่อสร้างติภาพนั้นจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ดี   คำตอบนั้นคือการไปศึกษาดูงาน ของ LBH โดยมีวัตถุประสงค์ สองอย่าง อย่างแรกเป็นเรื่องการบริหารงานองค์กร โครงสร้างการทำงาน ประวัติการทำงานของ LBH อย่างที่สองเป็นเรื่องแหล่งทุน การระดมทุนสนับสนุนจากภาคประชาชนเพื่อความยั่งยืน
 
 
 
                  ในวันที่สองมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมพร้อมกับ Lembaga Bantuan Hukum (LBH) Jakart เดินทางไปที่ Dompet Dhuafa Republika เพื่อศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การ ที่ Dompet Dhuafa ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่จัดการเงินซะกาต เงินบริจาค เงินจากแหล่งต่างๆที่ประชาชนคนเล็กคนน้อย ยินดีที่จะจ่ายออกไปเพื่อสังคม โครงการที่องค์กร Dompet Dhuafa หลากหลายโครงการ เช่น โครงการด้านสังคมสงเคราะห์ โครงการก่อสร้าง โครงการช่วยเหลือสังคม โครงการสนับสนุนการกินดีอยู่ดีของประชาชน
 
 
 
                 คุณสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ เลขาธิการศูนย์ทนายความมุสลิม ได้กล่าวว่า “ตอนนี้เรามีการสร้างเครือข่ายเกือบทุกระดับตอนนี้เรารุกไปที่โต๊ะอีหม่าม ผู้นำศาสนาเพื่อที่พัฒนาศักยภาพให้เขาซึ่งได้ผลมาก เรารุกไปที่เครือข่ายเยาชน  รุกเครือข่าย เครือข่ายครูโรงเรียนเอกชน ตอนนี้มาถึงขั้นเจ้าของโรงเรียนว่าจะให้มีส่วนร่วมอย่างไรกับเราในการสร้างกระบวนการสร้างสันติภาพ เพราะเราเชื่อว่าสันติภาพที่มาจากคู่ขัดแย้ง(ระหว่างรัฐกับขบวนการปลดปล่อย)จะมีปัญหาเหมือนอาเจะห์  บทเรียนจากอาเจะห์เป็นบทเรียนสำคัญที่เราต้องทำการศึกษา และจะทำอย่างไรที่จะไม่เดินตามรอยอาเจะห์  เพราะฉะนั้นสันติภาพที่แท้จริงต้องมาจากบุคคลที่ตรงกลางระหว่างคู่ขัดแย้ง ประชาชนที่อยู่ตรงกลางซึ่งเป็นคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากคู่ขัดแย้ง เขาต้องมีสิทธิมีเสียงในการกำหนดชะตากรรมของเขาเพื่อนำมาสู่สันติภาพมันจะเป็นสันติภาพที่ยั่งยืน”
 
                   คุณสิทธิพงษ์  ได้กล่าวต่อไปอีกว่า “ สิ่งที่เป็นอุปสรรค์ขัดขวางสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนนี้ที่สำคัญที่สุดก็คือกฎหมายพิเศษ และกฎหมายพิเศษตัวสำคัญที่ขัดขวาง คือกฎอัยการศึก วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2547 ซึ่งเป็นวันหายตัวไปอย่างไม่มีวันกลับของ ทนายสมชาย นิละไพจิตร  ก่อนหายตัวไปของทนายสมชาย เขามีการเคลื่อนไหวเพื่อล่ารายชื่อให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2547 ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายที่เขายังทำไม่สำเร็จเพราะฉะนั้น วันที่ 12 มีนาคมปีนี้ ครบรอบ 10 ปี การหายตัวของทนายสมชาย  ศูนย์ทนายความมุสลิม จะถือโอกาสนี้ จัดรณรงค์ให้ยกเลิกกฎอัยการศึกตลอดทั้งปีร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในหัวข้อ  ‘100ปี กฎอัยการศึก  10 ปี ณ ปาตานีกับการบังคับให้สูญหายของเสียงเรียกร้อง’ ”
 
 
 
Cradit ภาพถ่าย : มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ( MAC )