Skip to main content

      ช่วง Patik Talk เป็นส่วนหนึ่งของสถานีโทรทัศน์ปาเต๊ะทีวี ห้องข่าวสันติภาพชายแดนใต้ ที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมปฏิบัติการในงานมหกรรมวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งในวันนั้นเองน้องๆได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดาโต๊ะศรีฮาหมัดซัมซามิน ฮาซิม ผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เป็นผู้แปลตลอดการสัมภาษณ์พิเศษในครั้งนี้ ดำเนินรายการโดย นายมุมิน มูหนะ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี 

 

(1) อยากให้ดาโต๊ะเล่าบรรยากาศในการมาไทยครั้งนี้ จากเชียงใหม่ถึงปัตตานีในวันนี้ มีส่วนในการเอื้อต่อการพูดคุยของไทยเป็นอย่างไรบ้าง?

     “ภูมิที่ได้เดินทางมาประเทศไทย เรียกได้ว่าเป็นแขกของสงขลานครินทร์ในวันนี้ ท่านเคยมาประเทศไทยเมื่อหลายปีมาแล้ว ปี1987  เคยมาที่นราธิวาสเมื่อปี 2011 แต่คราวนี้มาไปที่เชียงใหม่ และปัตตานี ปัตตานีถือเป็นครั้งแรกที่ท่านมา และรู้สึกประทับใจเมืองที่สงบอาหารอร่อย ท่านมีความชื่นชอบ”

(2) มุมมองของดาโต๊ะในบทบาทที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก มองว่าภาคประชาสังคม ในฐานะวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้ จะมีส่วนในการหนุนเสริมการพูดคุยเพื่อสันติภาพชายแดนใต้อย่างไรบ้าง?

      “บทบาทของภาคประชาสังคมในพื้นที่ มีความเข้มแข็งมากกว่าที่ท่านคิด และมีบทบาทมากในการพูดคุยครั้งนี้ ทั้งการจัดการประชุม แลกเปลี่ยนเสวนา ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา มีความเข้มแข็ง มันจะช่วยหนุนเสิรมกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างมากมาย”

(3) อยากจะให้ฝากถึงเยาวชน ว่าควรจะเข้ามามีบทบาทหรือช่วยหนุนเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ในครั้งนี้อย่างไรบ้าง?

        “สำหรับเยาวชนท่านเห็นว่า ภาคประชาสังคมมีบทบาทมากในตอนหลัง แต่ก็ยังgมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางสันติภาพที่กำลังทำอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในฐานะที่ท่านเป็นคนมาเลเซียและมีบทบาทที่จะผลักดันเรื่องของกระบวนการสันติภาพในประเทศไทย ทั้งที่ตัวชี้ขาดคือคนในพื้นที่ และท่านก็เห็นว่ามาเลเซียในฐานะที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกอยากจะให้มันเกิดขึ้นเพราะเราเป็นเพื่อนบ้านกันที่ใกล้ชิดและอยากให้เกิดกระบวนการสันติภาพอย่างจริงใจ มีความยุติธรรม มีความเสมอภาค และหากมันสามารถเดินไปข้างหน้า มันก็จะเกิดประโยชน์กับทั้งประเทศไทย และประชาชนในพื้นที่ และเป็นประโยชน์ที่สัมพันธ์ทั้งกับมาเลเซียและประเทศไทยด้วย ซึ่งก็จะเป็นสันติภาพที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ท่านอยากจะฝากเอาไว้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้เข้าใจกับการพุดคุยครั้งนี้”

(4) หนึ่งปีกับกระบวนการสันติภาพ ท่านมองว่าอนาคตต่อไปจะเป็นอย่างไร?

        “กระบวนการสันติภาพในช่วงต้น ถ้าเปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์ ใช้เวลา 45 ปี ปีหน้าจะมีการลงนามสันติภาพกันอย่างยั่งยืนแล้ว ของเราพึ่งเริ่มปีแรก แต่ขอให้เชื่อมั่นว่า นี่คือสิ่งใหม่ สิ่งที่ก้าวหน้ามากในหนึ่งปีที่เราทำ เชื่อว่าจะทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน ยุติธรรมและเสมอภาคเท่าเทียมกันกับทุกฝ่าย”  

 

                           

http://www.youtube.com/watch?v=doH34noAers

ชมย้อนหลัง ช่วงปาเต๊ะ ทอร์ค