Skip to main content

จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้พบว่าในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2557 จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2557 เกิดเหตุความไม่สงบทั้งสิ้น 186 เหตุการณ์ แบ่งเป็น

 
  • สถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่1 มกราคม - 21 มีนาคม 2557 พบว่าเกิดเหตุความไม่สงบทั้งสิ้น เหตุยิง 113 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 60.75 รวมไปถึงการก่อเหตุในลักษณะรุนแรง (Extream case ) จำนวน 4 เหตุการณ์ โดยคนร้ายใช้วิธียิงและเผาทำลายศพ คนร้ายจะก่อเหตุเฉพาะกลุ่มไทยพุทธเท่านั้น และ 3 ใน 4 รายของเหยื่อเป็นผู้หญิง
  • รองลงมาเหตุลอบวางระเบิด จำนวน 66 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 35.48 และเหตุอื่นๆ จำนวน 7 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 3.76 ตามลำดับ
  • ในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบ พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 114 ราย แบ่งเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป (Soft target) จำนวน 71 ราย (ผู้ใหญ่ 67 ราย เด็กต่ำกว่า 15 ปี 4 ราย) คิดเป็นร้อยละ 62.28และกลุ่มเจ้าหน้าที่ติดอาวุธ (Hard target) จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.72
  • โดยกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทำให้ได้รับบาดเจ็บมีทั้งสิ้น 130 ราย แบ่งเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป (Soft target) จำนวน 55 ราย (ผู้ใหญ่ 51 ราย เด็กต่ำกว่า 15 ปี 4 ราย)คิดเป็นร้อยละ 42.31และกลุ่มเจ้าหน้าที่ติดอาวุธ ( Hard target) จำนวน 75 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.69 ตามลำดับ
  • มีผู้หญิงเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 15 ราย (พุทธ 12 มุสลิม 3) และได้รับบาดเจ็บ 18 ราย (พุทธ 10 มุสลิม 8)
  • สำหรับพื้นที่การก่อเหตุ จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 74 เหตุการณ์ รองลงมาเกิดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 66 เหตุการณ์ พื้นที่จังหวัดยะลา 44 เหตุการณ์ และพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 4 เหตุการณ์
 
จากสถิติที่ปรากฏเราจะเห็นได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่เกิดกับประชาชนผู้ที่ไม่มีอาวุธมากกว่าเจ้าหน้าที่หรือกองกำลังที่มีอาวุธ และเกิดขึ้นโดยไม่เลือกอายุ เพศ และ ศาสนา แต่เมื่อพิจารณาประชากรในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 80 โดยประมาณและนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 20 โดยประมาณ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวเลขเหยื่อคนไทยพุทธที่เสียชีวิตที่มากกว่ามุสลิมแต่จำนวนประชากรที่น้อยกว่า ความเป็นเหยื่อของเขาจึงยิ่งมีตัวเลขที่ทวีคูณ เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ศาสนา หรืออาจจะก้าวไกลไปมากกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เราคงไม่อยากให้เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เราอยู่
 
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ความเป็นเหยื่อของประชาชนมลายู มุสลิมในพื้นที่ ก็มีเช่นกัน แต่อยู่ในรูปแบบการปิดล้อมตรวจค้นจับกุม การควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกละเมิด การถูกทรมาน การอุ้มหาย การถูกเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม
 
ณ เวลานี้แม้แต่เด็ก ผู้หญิงและคนชรา ต่างก็ไม่แคล้วที่จะถูกฆ่าหากเราปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ทำอะไรเลย ก็คงเป็นการยอมรับและสนับสนุนการกระทำนั้นเช่นกัน
 
จึงขอเรียกร้องให้ทุกคน ทุกฝ่ายหยุดวงจรแห่งความรุนแรงนี้และแสดงพลังแห่งสันติวิธีผ่านทาง FACEBOOK ในวันที่ 25 มีนาคม 2557 เวลา 12:00 น