Skip to main content
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ 
อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
http://www.oknation.net/blog/shukur
 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อ 3 เมษายน 2557 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงทุกฝ่ายยุติการฆ่าสังหารต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ การฆ่าสังหารผู้บริสุทธิ์ ชาย หญิง เด็ก เป้าอ่อนแอ รวมทั้งการทำลายศพ ที่เป็นการกระทำอย่างเป็นระบบแพร่หลายจะเข้าข่ายอาชญกรรมต่อมนุษยชาติ  การต่อสู้เพื่อเรียกร้องความไม่เป็นธรรมต้องอาศัยความชอบธรรมในการต่อสู้  วงจรความรุนแรงจะนำมาแต่เพียงความสูญเสียต่อมวลมนุษยชาติ

ตามข่าวเผยแพร่ทางสื่อสาธาณะระบุว่าในวันพุธที่ 2 เม.ย.2557 เกิดเหตุคนร้ายดักยิงคณะผู้ใหญ่บ้าน ขณะเดินทางเสียชีวิต 3 ราย คือนายเอียะ ศรีทอง อายุ 47 ปี เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านกาสังใน หมู่ 6 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ นางเฉลียว พิกุลกลิ่น อายุ 50 ปี และ นางอุไร ทับทอง อายุ 47 ปี โดยทั้งคู่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านเดียวกัน สภาพศพทั้งสามอยู่ในเครื่องแบบผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  โดยศพนางอุไรถูกทำลายโดยไม่ปรากฎว่ามีศีรษะอยู่บริเวณศพ   จุดเกิดเหตุอยู่บนถนนในหมู่บ้าน สายบ้านกาสัง-บ้านกาสังใน หมู่ 6        ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา  จ.ยะลา  และในวันเดียวกัน ที่ ต. ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี มีเหตุรอบยิงนางประภรณ์ แก้วมณีรัตน์ อายุ 51 ปี  ซึ่งเป็นอาสารักษาดินแดน(อส.) ประจำ จ.ปัตตานี เสียชีวิต  แม้ว่าทั้งสองเหตุการณ์จะยังคงอยู่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุ   หากแต่การฆ่าสังหารผู้บริสุทธิ์ทั้งเด็กและผู้หญิงในสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่มีจำนวนและความรุนแรงมากขึ้นในปี 2556  และช่วงสามเดือนแรกของปี 2557  ทั้งการฆ่าสังหารและเผาศพ  การฆ่าสังหารพระ  สตรีและเด็ก เหตุการณ์ความรุนแรงต่อพลเรือนอาจเข้าข่าย “อาชญกรรมต่อมวลมนุษยชาติ” ที่กลุ่มก่อความไม่สงบจะต้องรับผิดทางอาญาตามหลักการของกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ  ทั้งนี้แตกต่างจากการรับผิดของรัฐในกรณีที่มี  “การละเมิดสิทธิมนุษยชน”

การละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นหมายถึงการละเมิดที่กระทำโดยรัฐบาลต่อสิทธิที่ได้รับการรับรองในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ และการกระทำและการงดเว้นการกระทำที่เป็นของรัฐโดยตรง รวมทั้งการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีด้านกฎหมายที่มีต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชน การละเมิดเกิดขึ้นเมื่อกฎหมาย นโยบาย หรือการปฏิบัติเป็นการละเมิดอย่างจงใจ หรือเป็นการเพิกเฉยต่อพันธกรณีของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือเมื่อรัฐไม่สามารถปฏิบัติตาม หรือกระทำการให้เกิดผลตามมาตรฐานที่กำหนด การละเมิดเพิ่มเติมยังเกิดขึ้นเมื่อรัฐเพิกถอน หรือกำจัดมาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ทั้งสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

หากถ้ามีการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนเช่นเหตุการณ์ฆ่าสังหารพลเรือนดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมักใช้ในความหมายทั่วไปแทนคำว่า color:#222222"> “การละเมิด” นั้นจะหมายถึงการกระทำของกลุ่มที่สนับสนุนโดยรัฐและกลุ่มที่ไม่ใช่ของรัฐด้วย (เช่น กลุ่มก่อความไม่สงบ) การฆ่าสังหารผู้บริสุทธ์ด้วยอย่างเป็นระบบอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crime against Humanity) ซึ่งเท่ากับว่าเป็น“การละเมิด” กฎหมายระหว่างประเทศ โดยกลุ่มที่กระทำทั้งที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐจะต้องรับผิดทางอาญาตามหลักการของกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ หากการสืบสวนสอบสวนพบว่าการกระทำเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่าสังหารอย่างแพร่หลายและอย่างเป็นระบบที่กระทำต่อพลเรือน

color:#222222">ในขณะหลักการอิสลามไม่อนุญาตในการกระทำดังกล่าวและหากกลุ่มเห็นต่างจากรัฐกระทำในนามอิสลาม อิสลามได้บัญญัติจริยธรรมในการทำสงคราม เช่น ต่อสู้กับบรรดาผู้เป็นศัตรู แต่ไม่เป็นฝ่ายเริ่มการเป็นศัตรูก่อน แท้จริง "อัลลอฮฺไม่ทรงรักผู้รุกราน" (ดูอัลกุรอาน 2:190)  ไม่ทำลายศพ ไม่ฆ่าเด็กๆ คนแก่ ผู้หญิง และนักบวช พระไม่ตัด หรือเผาทำลายต้นไม้ที่ออกผล ไม่ฆ่าสัตว์ เช่น แกะ วัว หรืออูฐ นอกจากเพื่อเป็นอาหาร อีกทั้งจะต้องปฏิบัติต่อเชลยสงครามด้วยดี 

ญิฮาดกับการก่อการร้าย

เพราะฉะนั้น สงครามใดในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นที่ภาคใต้ของไทยหรือต่างประเทศ หากไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ดังกล่าว คือการก่อการร้าย(ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของรัฐหรือผู้ก่อการ) ญิฮาดจึงมิใช่การก่อการร้าย อิสลามไม่อนุมัติการก่อการร้ายต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะโดยการรุกรานหรือโดยวิธีการพลีชีพ ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม อิสลามส่งเสริมผู้ถูกกดขี่ให้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวเอง และสั่งมุสลิมให้ช่วยเหลือคนที่ถูกกดขี่ และได้รับความเดือดร้อนภายใต้เงื่อนไขของการญิฮาด การก่อการร้ายมิใช่การญิฮาด มันเป็นสิ่งที่เรียกว่า "ฟะซาด" การก่อความเสียหาย และความหายนะต่อสังคมโลก ซึ่งขัดกับคำสอนของอิสลาม 

กฎพื้นฐานของการทำสงคราม

กฎพื้นฐานของสงครามในอิสลามมีดังนี้ :

1) จะต้องเข้มแข็งเพื่อที่ศัตรูของสูเจ้าจะได้เกรงกลัวสูเจ้าและไม่โจมตีสูเจ้า
2) จงอย่าเริ่มต้นการเป็นศัตรูก่อน แต่จงทำงานเพื่อสันติภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
3) จงต่อสู้กับคนที่ต่อสู้สูเจ้า ไม่มีการลงโทษแบบเหมารวม จะต้องไม่ทำร้ายคนที่ไม่ได้เข้าร่วมสงครามและจะต้องไม่ใช้อาวุธทำลายร้ายแรง
4) ยุติการเป็นศัตรูทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งมีแนวโน้มที่จะยอมรับสันติภาพ
5) รักษาสัญญาและข้อตกลงตราบใดที่ศัตรูยังปฏิบัติตามสัญญา

สรุปอย่าล้ำเส้น ฆ่าผู้บริสุทธิ์อย่างเป็นระบบค้านกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการอิสลาม