Skip to main content

สรุปคำถามต่อผู้แทนไทย ต่อสถานการณ์การทรมานในประเทศไทย

ทางคณะกรรมการต่อต้านการทรมานที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีด้วยนั้น ได้พิจารณารายงานความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) ในวันที่ 30 เมษายน 2557 เวลา 10.00 น. – 13.00 น.ตามเวลา ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสามารถดู Video ย้อนหลังได้ที่ http://www.treatybodywebcast.org/category/webcast-archives/cat/
ในขณะที่การตอบคำถามโดยตัวแทนรัฐบาลไทยจะเริ่มต้นขึ้นในวันนี้ (1 พฤษภาคม 2557) เวลา 15.00 – 17.00 น. ตามเวลา ณ กรุงเจนีวา หรือ 20.00 น. – 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ทุกท่านสามารถติดตามการถ่ายทอดสดออนไลน์ได้ที่ http://www.treatybodywebcast.org/treaty-body-webcast-ii/  และ http://www.deepsouthwatch.org/
สรุปแนวคำถามได้ดังนี้
บทนำ ทางคณะกรรมการต่อต้านการทรมานของยูเอ็นขอแสดงความยินดี ว่าได้ยินว่าประเทศไทย ห้ามไม่ให้มีการทรมาน และไม่ยอมให้มีการทรมานเกิดขึ้น ยินดีด้วยว่าประเทศไทยเป็นรัฐสมาชิก ของ OPCAT ภายในปี 2015 คำถามมีดังนี้
1. NHRC จะมีทำหน้าที่เป็น NPM หมายถึงศักยภาพในการเข้าไปตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว อยากจะให้กำหนดระยะเวลาในการเข้าเป็นสมาชิกในพิธีสารเลือกรับเรื่องการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว OPCAT ว่าจะดำเนินการเมื่อใดและการจัดทำให้เกิด NPMจะเกิดขึ้นเมื่อใด
2. ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสํญญาป้องกันคนหาย น่าจะระบุได้ว่าจะให้สัตยาบันเมื่อไร
3. การอนุญาตให้มีการเยี่ยมประเทศไทยของผู้แทนพิเศษฯต่อต้านการทรมาน เป็นสิ่งที่น่ายินดี
4. เราจะพูดคุยกันเรื่องการป้องกันการทรมาน ในหลายประเด็นด้วยกันดังนี้ คือเรื่องการไต่สวนการตาย /การร้องเรียนเรื่องทรมานและคนหาย / เรื่องตำรวจ /เรื่องทหารในพื้นที่เกี่ยวข้องกับการทรมาน เราได้รับเรื่องร้องเรียน กรณีต่างๆ มากมาย /การฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับการทรมาน/การไม่สามารถสืบสวนสอบสวนการทรมานได้อย่างทันท่วงที อิสระ/การใช้คำสารภาพจากการทรมาน ในศาล/นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน /โรฮิงยา/การบังคับส่งกลับที่ต้องไปเผชิญกับการทรมาน/การชดเชยเยียวยา รวมทั้งความรุนแรงทางเพศ
5. เริ่มที่มาตรา 1-2-3 ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การทรมานเป็นข้อหาอาญาหรือยังในประเทศไทยให้ตรงกับอนุสัญญามาตรา 1 และ 4 หรือยัง กฎหมายไทยยังไม่ระบุว่าการทรมานเป็นข้อหาทรมาน แม้ว่าในรายงานจะอธิบายถึงความเป็นไปได้ว่าการทรมานเป็นความผิด แต่ทางคณะกรรมการฯ ต้องการให้เป็นข้อหาเฉพาะ เพราะต้องการให้เห็นว่าเป็นเรื่องร้ายแรง และทำให้ผู้กระทำการทรมาน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้จริง
6. เดือนพย. 2013 มีความพยายามในการร่างกฎหมายอาญาฯ มีการร่างแก้กฎหมายอาญา มาตรา 166/1 แต่ยังคงไม่ตรงกับความหมายของการทรมานในมาตรา 1ซึ่งยังไม่ร่วมการกระทำทั้งหมด ฯ ในความหมายของมาตรา 1 ในร่างกฎหมายยังพูดถึงแค่ผลกระทบจากการทรมานหลังการเกิดการทำร้ายร่างกาย ดังนั้น การทรมานบางอย่างมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างให้เกิดผลกระทบทางจิตใจเป็นการเฉพาะ ก็ไม่รวมอยู่ด้วย คำว่า Public official ที่ระบุว่าเฉพาะผู้ที่มีอำนาจควบคุมตัวเท่านั้น อาจทำให้เจ้าหน้าที่หลายส่วนไม่ตกเป็นผู้ต้องได้รับการลงโทษจากการมีส่วนร่วมในการทรมาน ร่างก็ไม่ระบุว่า ผู้มีอำนาจสั่งการฯ จะได้รับโทษหรือไม่ อีกทั้งไม่มีเรื่องอายุความด้วย
7. การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ชจต กฎหมายเหล่านี้ทำให้หลักการตามกระบวนการยุติธรรม ถูกทำให้หายไปหมด เช่นการจับกุมควบคุมตัวบุคคล 30 วันพรก.ฉุกเฉิน การกักตัวตามความจำเป็นของทหาร 7 วัน เท่ากับว่าตอนนี้ยังมีคนถูกควบคุมตัวอยู่ 37 ก่อนถึงมือศาล ก่อนถึงการตรวจสอบจากหน่วยงานอื่น
8. มีข้อมูลว่าผู้ถูกควบคุมตัวสามารถเยี่ยมได้โดยญาติ แต่ไม่ได้ทั้งหมด ถ้าแพทย์ หรือทนาย เราต้องขออนุญาตเป็นพิเศษ เราพบวันวันแรกๆ ไม่อนุญาตให้เยี่ยม กลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ทนายความของกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้ ไม่เคยได้นั่งร่วมการซักถามสอบสวนเลยแม้แต่กรณีเดียว ใช่หรือไม่
9. จำนวนคนที่ถูกจับตั้งแต่ปี 2550 มีทั้งหมดกี่คน ขอทราบจำนวน
10. การสร้างกลไกในการต่อต้านการทรมาน มีอย่างไร มีการสร้างกลไกอะไรอบ้าง อย่างไร
มีกลไกไหมว่าคนที่ถูกควบคุมตัวต้องนำตัวไปศาลโดยทันทีภายใน 48 ชม. สิทธิในการเข้าถึงทนายความทันที สิทธิในการเข้าถึงแพทย์ ที่เป็นอิสระมีหรือไม่อย่างไร สิทธิในการได้รับการพบกับญาติโดยทันที
11. กรณีห้ามไม่ให้เยี่่ยมญาติ ถ้ามีเรื่องร้องเรียนเคยลงโทษเจ้าหน้าที่ีที่ห้ามไม่ให้มีการเยี่ยมโดน
12. ในการร้องเรียนที่ระบุว่าลดลงนั้น ตั้งแต่ลงนามในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานมีตัวเลขไหมว่ามีการร้องเรียนลดลง ลดลงอย่างไร ขอรายละเอียด
13. กสม. ยอ่หน้า 35 มีรายงานฯ และใน ย่อหน้า 94 เราได้รับเรื่องร้องเรียนหลายกรณีจากกสม.
เขาได้ระบุว่ามิย 193 กรณีในจชต. และได้ระบุเพียง 7 กรณีตำรวจและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ถูกกล่าวหา
เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนกรณีในจชต.เลยหรือ
14. ในรายงานของ Coalition มีข้อมูล 90 กว่ากรณี มีหลายกรณีระบุว่าถูกทำร้ายวันแรก
ซึ่งได้ข้อมูลตรงกับศูนย์ทนายความมุสลิม ได้รับ 393 กรณี ข้อมูลระบุว่าไม่มีการนำคนผิดมาลงโทษได้เลย แม้เคสต่างๆ จะระบุถึงบุคคลที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นอิหม่าม ยะผา 2008 เสียชีวิต ศาลนราธิวาส ไม่รับฟ้อง การลงโทษคือการย้ายเท่านั้น ทั้งศาล และ กองทัพระบุว่ามีการทรมาน มีคนทำให้ตาย แต่มีแค่การย้าย กับการไม่รับฟ้อง
15. สำหรับกรณีนายอัสอารี ฯ กรณีนายมะยาเต็ง กรณีดังกล่าวไม่เคยมีคนกระทำผิดถูกลงโทษใช่หรือไม่ ขอรายละเอียดด้วย
16. กรณีคนหาย บิลลี่ 17 เมษายนที่ผ่านมา หายไปที่อุทยานแก่งกระจาย ได้ศาลได้เรียกให้มีการไต่สวน ฯ ในวันนี้ ขอรายละเอียดด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น ขอให้ชี้แจ้งเรื่องการหายตัวไปของนายบิลลี่ด้วย
17. ขอให้ช่วยระบุว่าจะมีการแก้กฎหมาย พรก. และกฎอัยการศึกหรือไม่ที่ยกเว้นความผิดของเจ้าหน้าที่
18. เรายินดีที่เห็นว่าไทยกำลังจะเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาต่อต้านคนหาย และจะทำให้เป็นความผิดทางอาญาได้เมื่อไร
มาตรา 12, 13 14
19. พูดถึงเรื่องการสืบสวนสอบสวนการทรมาน แต่มีความกังวลว่าการสืบสวนสอบสวนไม่มีผล ไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ เมื่อมีเรื่องร้องเรียน กสม. มักจะนำเรื่องร้องเรียนส่งไปที่ผู้กระทำผิด ส่งหนังสือไปที่ผู้กระทำผิด เราก็สงสัยเรื่องความเป็นอิสระ ของกระบวนการสืบสวนสอบสวน ผลก็คือการสอบสวนไม่ได้เกิดอย่างทันที เราพยายามจะหาหาว่ามีคดีไหนมีผลหรือไม่ หลายกรณีมักจะสรุปว่า ไม่การทรมานเกิดขึ้น อนุฯ กรรมการของกสม.เองก็ระบุว่าไม่สามารถสืบสวนสอบสวนได้ผล
การตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว
20. มีกรณีการเสียชีวิตในเรือนจำพิษณุโลก การเสียชีวิต เรือนจำกรุงเทพ เป็นการถูกตีให้ตายโดยผุ้ต้องขังด้วยกันหรือกรณีที่มีการตรวจค้น ตำรวจเข้าไปก็มีการทำร้าย เรือนจำคลองเปรม การข่มขืนผู้ต้องขังด้วยกันเอง การละเมิดทางเพศ คุณรู้เรื่องเหล่านี้ไหม เมื่อมีข้อหาหรือข้อร้องเรียนเหล่านี้ คุณดำเนินการอย่างไร
21. เวลามีการตรวจค้นมีการนำด้วยบุคคลหลายคนที่มาจากข้างนอก มีเสียงตะโกน ดัง เรือนจำ
เจ้าหน้าที่เรือนจำใช้อุปกรณ์การจำกัดเสรีภาพ อย่างไร
22. มีคณะกรรมการในเรือนจำ รับเรื่องร้องเรียน เรื่องการใส่โซ่ตรวนอย่างไร รับเรื่องร้องเรียนแล้วดำเนินการอย่างไร จดหมายที่ส่งโดยผู้ต้องขังเรื่องร้องเรียน นำไปดำเนินการอย่างไร
23. ความแออัดของห้องขัง ปท.ไทย มีจำนวนผู้ต้องขังลำดับที่ 6 ของโลก แม้ว่ามี144 เรือนจำ สามเท่าของขนาดในการควบคุมตัวบุคคล ความแออัดทำให้เด็กอายุ 15-18 years old ตายในเรือนจำระนอง หรือในกรณีมีชาวโรฮิงยา 5 คน ตายระหว่างการจับกุม ควบคุมตัวกรณีเหยื่อของการค้ามนุษย์ ผู้ต้องขังเหล่านี้ตายมีใครได้รับการลงโทษบ้างหรือไม่
กรณีชาวโรฮิงยา
24. เราได้ยินว่ามีการผลักดันกลับไปกลางทะเล อาจจะเป็นการผลักดันให้กลับแม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงว่าตกอยู่ในการทรมานเมืองส่งกลับไป การบังคับส่งกลับชาวลาวม้ง 158 คนที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัย แล้ว มีคนหนึ่งตายปี 2011 รายงานนี้ มีคำตอบ หรือไม่ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
25. ขอคำชี้แจ้งเรื่องจำนวนผู้ต้องขัง ชาย หญิง จำนวนผู้ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ
26. จำนวนคนเสียชีวิตในเรือนจำ
27. ผู้แทนพิเศษการต่อต้านการทรมานของยูเอ็น เคยพูดถึงเคสอิหม่าม ยะผา ศาลนราธิวาสฯ พบว่าตายเพราะการทรมาน แต่ไม่มีการนำคนผิดมาลงโทษ มีการสืบสวนคดีนี้หรือไม่อย่างไร
28. กรณี 78 ตายในเหตุตากใบ ที่ตายระหว่างการควบคุมตัวระหว่างการเดินทาง มีการสืบสวนสอบสวนเป็นอิสระหรือไม่ นำคนผิดมาลงโทษหรือไม่ ได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างไร
29. การให้ประกันตัว ฯหรือการปล่อยตัวชั่วคราว จะเป็นแนวทางการลดจำนวนผู้ต้องขังหรือไม่
30. เรือนจำไม่แยกระหว่างผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณากับผู้ต้องขังลงโทษแล้ว
31. ขอทราบสถิติของการให้เงินเยียวยากรณีทรมาน
32. มาตรา 15 คดีความ มีการห้ามไม่ให้ใช้หลักฐานจากการทรมานในชั้นศาลหรือไม่
คำถามจากคณะกรรมการท่านอื่นๆ เพิ่มเติม
33. คนที่ถูกจับ เมื่อมีการถูกจับการตรวจสภาพร่างกายหรือไม่ว่ามีการทรมาน หลักการคือการได้รับสิทธิในการเข้าถึงแพทย์ที่ตนเองต้องการ ไม่ต้องมีสภาพว่าจะถูกทรมานก็ได้ แค่อยากเจอแพทย์ที่เราอยากเจอก็ต้องได้เจอ
34. ย่อหน้า 62 สิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ต้องได้รับสิทธิในการพบทนายความโดยทันทีแต่ถ้าพูดถึงว่าผู้ที่ถูกจับ (ถูกจำกัดเสรีภาพ) เราต้องได้รับสิทธิในการพบทนายความทันที
35. ถ้าศาลเข้ามาดูก็จะลดการทรมานได้ แต่การได้พบทนายความทันที และถึงมีศาลในทันทีภายใน 48 ชั่วโมงก็จะลดการทรมานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
36. มาตาร 10 พูดถึงการอบรม แต่ไม่มีแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ พูดถึงบทบาทของแพทย์ สามารถช่วยลดการทรมานได้ มีการพูดถึงมีโครงการใหม่ว่าจะมีการอบรมแพทย์ แพทย์ที่จะได้รับเข้ามาการอบรม แพทย์จากที่ไหน งานในเรือนจำด้วยไหม แพทย์ที่ได้รับการอบรมแล้ว จะได้รับสิทธิในการตรวจเยี่ยมผู้ถูกจับทันทีหรือไม่ แพทย์นี้จะเป็นอิสระไหม ในการตรวจเยี่ยมในทันทีได้ไหม แพทย์เหล่านี้จะมีการบันทึกตาม Istanbul protocol หรือ ไหม
37. เหยื่อจากการทรมานควรได้รับการรักษาพยาบาล จะต้องได้รับการรักษาทางร่ายกายและจิตใจบทบาทแพทย์จะช่วยลดและป้องกันไม่ให้เกิดการทรมาน
38. ไม่จำเป็นต้องรอการเข้าเป็นภาคี OPCAT รัฐสามารถจัดให้เกิดการตรวจเยี่ยมได้ทันที การเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวโดย NGO /CSO ก็ทำได้ แม้ว่า OPCAT ยังไม่มีการลงนาม เสนอเรื่องการเข้าถึงของ CSO ในการเยี่ยมเรือนจำ และให้โอกาส ก่อนที่ NPM จะถูกจัดทำขึ้นด้วย
39. มีความเข้าใจผิดในหลายเรื่องว่าเป็นการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน รายงานเป็นไปเพียงแค่การรายงานทั่วๆ ไป เรากำลังรายงานเรื่องการต่อต้านการทรมาน ประเทศต้องเกิดการแก้ไขกฎหมาย ไม่ควรมาที่นี้แล้วบอกว่า เราจะทำ เอกสารบอกว่าเราจะร่างกฎหมาย หลังจากลงนาม ฯ แล้วคุณต้องทำ ไม่ใช้บอกว่าจะพยายามดำเนินการ เป็นเวลาที่ต้องทำแล้ว
40. คุณคิดว่ารู้ไหมว่า คุณมีพันธกรณีอะไร ดูเหมือนว่าจะเข้าใจผิดอะไรไปอย่างมากในการรายงาน แค่เขียนว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญห้ามการทรมาน มีกฎหมายนี้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องทำ สิ่งที่คุณต้องทำต้องแก้กฎหมายเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
41. มีคำถามว่า ใน ย่อหน้า 41 ของรายงานรัฐ ระบุว่า ประโยคสุดท้าย บอกว่า อัยการ และเหยื่อสามารถฟ้องร้องคดีเองได้ หรือร่วมกันฟ้องคดีก็ได้ ระบุได้ไหมว่ามีคดีที่ทำงานในลักษณะที่เป็นโจทก์ร่วม แล้วมีประโยชน์อะไรฯ
42. ประเทศไทย มี impunity ทั้งสำหรับตำรวจและทหาร มีการควบคุมตัวบุคคลโดยไม่ต้องพบปะกับคนภายนอก เรื่องการไม่ให้พบญาติ ทนายความ แพทย์ และทำให้ล่าช้าในการได้พบกับศาล และยังไม่มีกลไก ในเรื่องร้องเรียนที่มีขึ้น
43. น่าจะมีการยกเลิก ข้อกำหนดที่อนุญาตให้มีการห้ามไม่ให้พบกับคนภายนอก
44. มีทนายความอิสระ ไหมที่จะทำให้ผู้ถูกจับได้เข้าถึงการช่วยเหลือทางกฎหมายที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
45. เรื่องเรือนจำ มีความแออัด มีความรุนแรง และไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษ มีการลงโทษจนท.เรือนจำหรือไม่ มีการปฏิบัติอย่างรุนแรง การเข้าถึงการรักษาพยาบาล อาหารและความเป็นอยู่ก็ยากลำบาก มีแนวทางปรับปรุงอย่างไร
46. การควบคุมตัวตามกฎหมายคนเข้าเมืองและแรงงานฯ รวมทั้ง Immigration Detention Center (IDC )การควบคุมตัวระยะเวลายาวนาน และไม่ได้ถูกสร้างเพื่อการควบคุมตัวระยะเวลานาน พบว่ามีการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม การควบคุมตัวโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เป็นการละเมิดปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม
47. การควบคุมผู้ลี้ภัยตามชายแดน และผู้แสวงหาที่พักพิง มีข้อเท็จจริงว่าบ่อย ๆ เขาถูกทำร้าย ไม่ใช่แต่เจ้าหน้าที่แคมป์ หรือบางครั้งผู้ลี้ภัยด้วยกันเอง มีเคสที่มีการลงโทษผู้คุมค่ายหรือไม่
48. เราเป็นห่วงสิทธิเด็ก ฯที่ถูกจับ
49. ขอบคุณประเทศไทยสัญญาว่าจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในระยะเวลาไม่ช้า ไทยจะพิจารณาให้มีการหยุดหรือยุติการประหารชีวิต หรือไม่แม้ว่าจะยังไม่ยกเลิกตามกฎหมาย
50. กรณีคนหายในไทยมีใช่ไหม มีใครได้รับการลงโทษแล้วหรือไม่อย่างไร การชดเชยเยียวยาต่อกรณีคนหาย อย่างไร
51. การชดเชยเยียวยา มีการพูดถึง การชดเชย ไม่ให้เกิดขึ้นอีก เหยื่อได้รับความพอใจ ได้นำไปใช้ในกฎหมายของประเทศคุณแล้วหรือยัง ใน Comment 14
52. การพูดถึงการจัดการผู้แสวงหาที่พักพิง ระบบเป็นอย่างไร จัดการอย่างไร ในการส่งกลับดำเนินการอย่างไร
53. โอกาสที่ทหารจะได้รับการพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรม ศาลทหารเหมือนกับศาลเล่นเพลงทหาร ไม่น่าจะมีการลงโทษทหารด้วยกัน
54. การขังเดี่ยว
55. ความรุนแรงในครอบครัว รัฐต้องรับผิด ถ้าไม่มีการป้องกัน ไม่สืบสวนสอบสวน ไม่มีการลงโทษ ก็เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติฯ
56. การฆ่านอกระบบกฎหมาย 2003-2004 กรณีฆ่าตัดตอน ไม่มีการสืบสวนสอบสวนใดใด
ในกรณีภาคใต้ เป็นกรณีการสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่เคยมีการระบุว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างไร ต้องมีการเคารพสิทธิฯ ประเภทต่างๆ ด้วย
57. กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องมีการเคารพสิทธิ มีกลไกอย่างไรในการคุ้มครองอย่างไรไม่ให้มีการไม่เลือกปฏิบัติ
58. การเยียวยากรณีผู้สูญหาย Tsunami
59. การคุ้มครองชาวมาลายูมสุสลิมผู้หญิง ที่ถูกละเมิดสิทธิฯ
หมายเหตุ: บันทึกอย่างย่อจากการประชุม โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ