Skip to main content
นรินทร์   อินทร์ฉาย
นักเขียนอิสระ
 
เรียน ท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน หากคนที่สนใจสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จชต.ในปัจจุบันคงจะเคยได้ยินคำว่า การกำหนดใจตนเอง (self determination) ซึ่งเป็นคำที่น่าจะฮิตที่สุดในการสร้างกระแสเพื่อให้ชาวมุสลิมในพื้นที่ จชต.เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การลงประชามติในการปกครองตนเองในรูปแบบต่างๆ  ขณะเดียวกันก็มีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอเป็นบทความและงานวิจัยว่า การกำหนดใจตนเองดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้สำหรับประเทศไทย  เพื่อความกระจ่างชัด  จึงขอนำเสนองานวิจัยของท่านผู้รู้ในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศกับการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่  รายละเอียดดังนี้
 
1. กล่าวนำ
 
1.1 สภาพปัญหาและความเป็นมา
 
สถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสาเหตุของปัญหาในลักษณะเดียวกับความขัดแย้งภายในรัฐที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาดังกล่าวเพียงแต่ได้เกิดขึ้นก่อนเนื่องจากไทยไม่ได้เป็นประเทศอาณานิคมโดยปัญหาได้เริ่มต้นมาตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองสยามในรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการเปลี่ยนระบบการปกครองจากหัวเมืองมาเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ท่ามกลางการล่าอาณานิคมเพื่อให้การกำหนดเขตแดนของรัฐไทยมีความชัดเจน จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปัตตานีเปลี่ยนจากการเป็นเมืองขึ้นมารวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางของรัฐ หลังจากภัยคุกคามในยุคสงครามเย็นยุติลงพร้อมกับภัยคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ ความขัดแย้งปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ยกระดับความรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  จนกระทั่งเป็นที่สนใจในระดับโลกตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 เป็นต้นมา  
 
1.2  สาเหตุของปัญหาและแนวโน้มการแยกตัวของกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาภายในรัฐ
 
ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนระบบการปกครองของไทยซึ่งทำให้ต้องยกเลิกระบบสุลต่านมาเป็นการปกครองโดยข้าราชการ  ความพยายามในการใช้ระบบการศึกษาที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและการเผยแพร่ศาสนาพุทธ ความพยายามกลืนกลายเอกลักษณ์โดยรัฐบาลไทยในสมัยชาตินิยมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม การไม่ได้รับความยุติธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ ความไม่พร้อมของระบบการศึกษา การค้าของเถื่อน และการค้ายาเสพติด  แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงผลที่ตามมา ส่วนรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงของความพยายามแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระไม่ได้แตกต่างไปจากปัญหาการแยกตัวของกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาภายในรัฐต่างๆ ในปัจจุบัน
 
2. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ตามยุทธศาสตร์ฝ่ายก่อความไม่สงบ
 
เขตแดนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการกำหนดโดยเจ้าอาณานิคมเช่นเดียวกับรัฐในโลกที่สามอื่นๆ แต่เป็นผลมาจากการเจรจาเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษซึ่งจำเป็นต้องจัดระบบ การปกครองดินแดนให้มีความชัดเจนตามระบบรัฐอธิปไตย จึงทำให้เกิดกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาขึ้นภายในรัฐไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะแยกตัวออกจากการปกครองของรัฐบาลไทย เมื่อรวมปัจจัยอื่นที่เกิดขึ้นภายหลัง จึงเร่งทำให้มีความต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ โดยสามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ฝ่ายก่อความไม่สงบตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้ 
 
2.1 ความเป็นไปได้ในการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ตามหลักสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง      
 
สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ -.2pt">โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ได้เคยมีคำพิพากษาให้สิทธิประชาชนในติมอร์ตะวันออกสามารถกำหนดเจตจำนงตนเองได้ แต่ก็เป็นกรณีที่แตกต่างไปจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสิ้นเชิง เนื่องจากติมอร์ตะวันออกเป็นดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกสที่ถูกครอบครองโดยอินโดนีเซีย ดังนั้นจึงมีสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะเลือกว่าจะเป็นดินแดนปกครองตนเองภายใต้อินโดนีเซียต่อไป หรือจะแยกตัวเป็นรัฐเอกราช แต่ในขณะที่พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดนภายใต้อธิปไตยของไทยตั้งแต่ในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนในพื้นที่จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกกำหนดเจตจำนงของตนเองเพื่อแยกออกเป็นรัฐอิสระและประชาคมระหว่างประเทศก็ไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงอธิปไตยของไทยได้ 
 
2.2  ความเป็นไปได้ในการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ตามหลักการความรับผิดชอบในการปกป้อง
 
เหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงแม้ว่าจะมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก แต่เป็นตัวเลขที่รวมในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจำนวนและระดับความรุนแรงตามหลักการความรับผิดชอบในการปกป้องแล้ว ยังไม่นับว่าร้ายแรงถึงขนาดที่สหประชาชาติต้องเข้ามาแทรกแซงเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในรวันดาในปี 1994 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตถึง 7 แสนคน และเป็นต้นกำเนิดของหลักการนี้
 
ปัจจุบันยังไม่มีรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศใดมีแนวโน้มที่จะนำปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติพิจารณาเข้ามาแทรกแซง ซึ่งนอกจากจะยังไม่เข้าหลักการดังกล่าวแล้ว
 
2.3  ความเป็นไปได้ในการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ตามหลักการละเมิดสิทธิมนุษยชน
 
ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีหน้าที่ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามพันธะกรณีระหว่างประเทศที่ไทยได้เข้าเป็นภาคี  ซึ่งประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ยอมรับสิทธิต่างๆ ที่รัฐมอบให้ รวมถึงสิทธิการเข้าร่วมทางการเมืองจนได้รับ -.2pt">การเลือกตั้งดำรงให้ตำแหน่งที่สำคัญทั้งในรัฐบาลและรัฐสภามาแล้วหลายคนตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน -.1pt">  จึงย่อมเป็นหลักฐานที่แสดงโดยชัดเจนว่าประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีฐานะเท่าเทียมกับประชาชนส่วนใหญ่ รวมทั้งชาวมุสลิมอื่นที่กระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของไทย
 
ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การก่อความไม่สงบในช่วงแรกมีแนวโน้มว่าได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ และเหตุการณ์ตากใบ แต่รัฐก็ได้ดำเนินการแก้ไขไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงอีกให้สอดคล้องตามหลักสากล โดยมีการให้ความรู้ด้านกฎหมาย  มีการฝึกเตรียมการเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ มีการเตรียมอุปกรณ์ไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงทางอาวุธแก่ประชาชน มีกระบวนการที่ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดมาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายได้  และมีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ
 
2.4  ความเป็นไปได้ในการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ด้านประสิทธิภาพการบังคับใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่
 
ยังมีแนวโน้มว่ากลุ่มก่อความไม่สงบต้องการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงเพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่ารัฐไทยไม่มีขีดความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย หรืออาจจะกล่าวอีกแบบหนึ่งว่ารัฐไทยไม่มีอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าว ซึ่งทำให้พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดองค์ประกอบของความเป็นรัฐ และอาจจะนำไปขยายผลประกอบกับหลักการที่กล่าวมาแล้ว
 
ฝ่ายรัฐไม่ได้เพิกเฉยต่อเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น โดยมีการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม แต่เนื่องจากการก่อเหตุเป็นการลักลอบโจมตีไม่ใช่เป็นการสู้รบอย่างเปิดเผยโดยมีการแยกส่วนตัดตอนทำให้การสาวถึงตัวผู้บงการกระทำได้ยาก ถึงแม้ว่าจะมีความล่าช้าแต่ก็เป็นขั้นตอนทางกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่เป็นการสร้างเงื่อนไขหากลงโทษผู้บริสุทธิ์ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่แตกต่างไปจากในพื้นที่อื่น โดยปรากฏผลการสอบสวนจับกุมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมาดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง
 
เมื่อพิจารณาสภาพการบังคับใช้อำนาจอธิปไตยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของฝ่ายรัฐในภาพรวมแล้วยังถือได้ว่ามีประสิทธิภาพ  เพราะกลุ่มก่อความไม่สงบยังไม่มีกองกำลังตามแบบที่ทำการสู้รบอย่างเปิดเผย ถึงแม้จะมีการสูญเสียจำนวนมากแต่ก็เป็นการโจมตีด้วยอาวุธขนาดเล็กและวัตถุระเบิด ยังไม่ปรากฏการใช้อาวุธขนาดหนัก  ไม่มีการโจมตีอย่างเป็นระบบ ไม่มีการยึดครองดินแดนของรัฐอย่างเปิดเผยโดยฝ่ายรัฐสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ตลอดเวลา การกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในปัจจุบันยังจัดว่าเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่ใช่เป็นการสู้รบตามหลักกฎหมายสงคราม
 
3. สรุป
 
letter-spacing:.1pt">ความพยายามในการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาภายในรัฐต่างๆ เป็น letter-spacing:.2pt">ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ในโลก แต่ด้วยกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้การแยกตัวออกมาเป็นรัฐใหม่กระทำได้ง่ายเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งอื่นที่จะตามมาทั้งภายในรัฐและระหว่างรัฐ ทำให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงมีอยู่จนกว่าแนวความคิดเรื่องเขตแดนของรัฐในยุคโลกาภิวัตน์ลดน้อยลงไปเป็นโลกไร้พรหมแดนในลักษณะของภูมิภาคนิยม หรือสามารถปรองดองอยู่ร่วมกันโดยคำนึงถึงเอกลักษณ์ตามกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาตามหลักสิทธิมนุษยชน
 
ยุทธศาสตร์ของฝ่ายการก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการพยายามสร้างเงื่อนไขให้ฝ่ายรัฐบาลใช้ความรุนแรงเข้าปราบปราม เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาแทรกแซงและแยกตัวออกเป็นรัฐเอกราชตามที่หลายฝ่ายได้ให้ความเห็น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำมาใช้เป็นโจทย์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบันนั้น สามารถสรุปได้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศใดมารองรับว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวจะใช้เป็นเงื่อนไขในการแยกตัวออกเป็นรัฐใหม่ได้จริง ไม่ว่าจะวิเคราะห์ในด้านหลักการสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง หลักการแทรกแซงความรับผิดชอบในการปกป้อง หลักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน และหลักการใช้อำนาจอธิปไตยอย่างมีประสิทธิภาพเหนือดินแดน เนื่องจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของไทยมาโดยตลอด และประชาชนในพื้นที่ได้รับสิทธิและมีเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเท่าเทียมกับประชาชนชาวไทยทุกคน