Skip to main content

อารูล ราจู สำนักข่าวเบอร์นามา
แปลและเรียบเรียงโดย ตูแวดานียา มือรีงิง
http://voicepeace.org

หมายเหตุ: สื่อมวลชนมาเลเซียให้น้ำหนักของการเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย “นายิบ ราซัก” ว่าเป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์อันตึงเครียดของสองประเทศอย่างเป็นทางการ หลังจากก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยมักมองว่ารัฐบาลกัวลาลัมเปอร์ชอบเข้ามาแทรกแทรกปัญหาภาคใต้ของไทย เริ่มต้นจากเหตุ 131 คนไทยลี้ภัยเข้ามาเลเซีย เพราะฉะนั้นการเดินทางมาเยือนของนายนายิบครั้งนี้จึงน่าจับตามองว่าจะเกิดความร่วมมือด้านใดตามมา และแนวคิด “นครปัตตานี” ของนายนายิบจะพูดคุยกับนายอภิสิทธิ์อย่างไร ตูแวดานียา มือรีงิง แปลบทความของอารูล ราจู แห่งสำนักข่าวเบอร์นามา เกี่ยวกับประเด็นที่น่าจับตามองของวาระการเยี่ยมเยือนของนายนายิบ   

หลังจากสี่ปีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียตกอยู่ในภาวะที่เย็นชา และวันนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งผู้นำทั้งสองประเทศจะพบกันที่กรุงเทพฯ ในวันอังคารนี้   

 

 

ย้อนกลับไปเมื่อในวันที่ 30 ตุลาคม 2548 คนไทยมุสลิม 131 คนจากภาคใต้ของไทยลี้ภัยในรัฐ กลันตันประเทศมาเลเซียในที่นำมาซึ่งความขัดแย้งทางการทูตระหว่างทั้งสองประเทศ

จากเหตุการณ์ครั้งนั้นประเทศไทยกล่าวหาว่ากัวลาลัมเปอร์เข้ามาแทรกแซงปัญหาภายในของไทยที่ทำการต่อต้านขบวนการแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ในระดับหนึ่ง  ทำให้เหตุการณ์บานปลายหลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ตน ดร.มหาเธร์ โมฮำหมัด ได้เสนอต่อรัฐบาลไทยเพื่อให้สามจังหวัดภาคใต้เป็นเขตปกครองตนเอง ซึ่งเป็นปัญหาละเอียดอ่อนสำหรับประเทศไทยเพราะการให้เขตปกครองตนเองก็เท่ากับให้เอกราชแก่สามจังหวัดภาคใต้  

อย่างไรก็ตามสี่ปีหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายนายิบ ราซัก นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย ซึ่งทั้งสองคนรับตำแหน่งผู้นำประเทศในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีกำหนดการเพื่อลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 9  ธันวาคม 2552 ที่จะถึงนี้     

วันนี้ ผู้ลี้ภัยทั้ง  131 คน ได้กลับบ้านเกิดของพวกเขา ปัญหาของทั้งสองประเทศก็คลี่คลายลงอีกครั้งและความสัมพันธ์กลับสู่ภาวะปกติและที่สำคัญคือ ความร่วมมือของทั้งสองประเทศในการหาแนวทางยุติปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี จากเหตุการณ์ความรุนแรงทำให้ประชาชนเสียชีวิตแล้วมากกว่า 3500 คน  

ความจริงคือ นายิบได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไทยสองฉบับในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ว่า กรุงเทพฯ ควรที่จะให้สามจังหวัดเป็นเขตปกครองตนเอง ซึ่งจะแตกต่างกันกับข้อเสนอเมื่อปี 2548ข้อเสนอดังกล่าวได้ปฏิกิริยาจากทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ต่อต้าน  

นายิบจะเป็นผู้นำคณะสูงสุดซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีที่เดินทางพร้อมกันในครั้งนี้ทั้งหมด 9 ท่าน เพื่อเข้าร่วมการประชุมประจำปีครั้งที่ 4 ที่ทำเนียบรัฐบาลในอังคารนี้ และครั้งนี้ถือว่าเป็นการเยือนไทยอย่างทางการครั้งแรกของนายิบอีกด้วย หลังจากที่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในปีนี้  

“ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่มีคณะรัฐมนตรี 9 ท่านร่วมประชุมด้วย ผู้นำทั้งสองประเทศได้เชื่อมสัมพันธ์อย่างเป็นทางการที่ดีและตามด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีอีกด้วย” ดาโต๊ะ ฮุสนี ซัย ยะโก๊บ เอกอักราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยกล่าว

ดาโต๊ะ ฮุสนี ยังกล่าวว่าการเยือนไทยในครั้งนี้เป็นครั้งประวัติศาสตร์เพราะเป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียลงพื้นที่ภาคใต้ของไทย

ดาโต๊ะ ฮุสนีกล่าวเพิ่มเติมว่า ความสัมพันธ์ที่ดีที่เคยมีมาแต่ก่อนสามารถกระชับมิตรโดยผ่านการเยือนในครั้งนี้  และเป็นการแสดงความร่วมมือของมาเลเซีย ในการให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้โดยผ่านโปรแกรม 3 E คือ การศึกษา การลงทุนและการมีอาชีพ  

รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกล่าวว่าการพูดคุยดังกล่าวสามารถที่จะให้ผู้นำทั้งสองประเทศถกเถียงวิธีการและหาแนวทางที่กว้างขึ้นพร้อมทั้งกระชับมิตรความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศให้แน่นแฟนยิ่งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของสองประเทศ 

“การเยือนของนายกรัฐมนตรีนายิบในครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ที่เคยมีมาก่อนของทั้งสองประเทศและประชาชนของทั้งสองฝั่ง” รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าว

มาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยและไทยคือคู่ค้าอันดับ 5 ของมาเลเซีย โดยคิดเฉลี่ยการค้าของทั้งสองประเทศรวม 19.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551

ในปี 2551 มีนักท่องเทียวของมาเลเซียจำนวน 1.8 ล้านคน เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย และนักท่องเที่ยวไทย 1.49 ล้านเข้าไปเที่ยวในประเทศมาเลเซีย

เจ้าหน้าที่จากคณะรัฐมนตรีท่านหนึ่งกล่าวว่า  ไม่มีกำหนดประเด็นใดเป็นพิเศษในการพบกัน แต่จุดสนใจอยู่ที่ความร่วมมือในเรื่องความมั่นคง โดยเฉพาะความปลอดภัยตลอดแนวตะเข็บชายแดนและเกี่ยวกับปัญหาการข้ามแดนเช่นสินค้ามนุษย์  และยาเสพติด  

นอกจากนั้น  ทั้งสองฝ่ายอาจจะรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการวางแผนด้านศึกษาอุดมศึกษา เยาวชน และการกีฬา นอกจากที่เกี่ยวกับโครงการเส้นทางรถไฟสิงค์โปร์ –กามูนิง อุตสาหกรรมฮาลาล และเชื่อมโครงการพัฒนาภาคใต้กับภาคเหนือและปันตัยตีมูรมาเลเซีย 

ท่านกล่าวว่าตามด้วยแผนการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ที่เชื่อมต่อระหว่างตากใบ จังหวัดนราธิวาสและปึงกาลัน กูโบร์ รัฐกลันตัน นอกจากการขยายสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก กับรันเตาปันยัง

เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศไทยกล่าวว่า ในการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  นายอภิสิทธิ์และนายิบ จะเดินทางร่วมพิธีลงนามใหม่สะพานแห่งที่สองที่ข้ามแม่น้ำสุไหงโก-ลก เป็น“ สะพาน มิตรภาพ” ที่เชื่อมต่อบ้านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส และบูเก๊ะ บูงอ รัฐกลันตัน

ผู้นำทั้งสองจะเป็นพยานในพิธีลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการและการใช้สะพานมิตรภาพ 

นายิบและอภิสิทธ์จะเดินทางเยี่ยมชนโรงเรียนอัตตัรกียะฮอิสลามียะฮฺ เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีนักเรียนกว่า 4000 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สอนทั้งสายศาสนาและสามัญ 

หลังจากนั้น นายิบ และภริยา ดาติน สือรี โรสมะฮฺ มันโซร์ จะเดินทางเยี่ยมชมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านรอตัน บาตู  ซึ่งเป็นบ้านแม่หม้ายและเด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ความไม่สงบ.