ไซนา อันวาร์ เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมและปัญญาชนที่ทำงานใน กลุ่ม”พี่สาวน้องสาวแห่งอิสลาม” (Sisters In Islam)ใน เมืองกัวลา ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กลุ่มเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่ต่อสู้เรียกร้องสิทธิของผู้หญิงมุสลิม นอกจากนี้กลุ่มของพวกเธอยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสภา “มูซาวะห์” ซึ่งเป็นสภาที่ริเริ่มการเคลื่อนไหวระดับโลกเพื่อความเท่าเทียมและความยุติธรรมในครอบครัวให้แก่มุสลิม กองบรรณาธิการนิตยสารอามานา โยจินเดอร์ ซิคานด์ ได้สัมภาษณ์ ไซนา ถึงวิสัยทัศน์ของเธอในการเข้าใจถึงความยุติธรรมทางเพศในอิสลามและตำแหน่งของอิสลามภายใต้ระบอบรัฐชาติที่มีความเป็นประชาธิปไตย
Q: คุณอาจไม่ชอบนักที่จะถูกมองเพียงแค่ชื่อเสียง แต่ว่าคุณจะอธิบายถึงตัวเองอย่างไร ในฐานะที่เป็นนักสตรีนิยมมุสลิม คำถามต่อมาคือ นักสตรีนิยมคือผู้ที่เป็นมุสลิมด้วยหรือไม่ และนักสตรีนิยมอิสลามเป็นอย่างไร
A: ฉันเป็นนักสตรีนิยม นั่นคือสิ่งที่จะอธิบายตัวตนของฉันได้ดี แต่ในขณะเดียวกันฉันก็เป็นมุสลิมด้วย ฉันไม่ได้มีปัญหาที่จะเรียกตัวเองว่าเป็น “นักสตรีนิยมมุสลิม” ฉันภูมิใจมากที่ตัวเองมีอัตลักษณ์เป็นชาวมุสลิม ในขณะเดียวกันฉันก็เป็นนักสตรีนิยมด้วยและเห็นว่าสองสิ่งไม่ได้ขัดแย้งกัน เนื่องจากว่าฉันถูกเลี้ยงดูมาตามระบอบอิสลามที่มีความยุติธรรมและพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงความยุติธรรมในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ฉันไม่อยากจะเรียกตัวเองว่าเป็น “นักสตรีนิยมอิสลาม” แต่ฉันชอบเรียกตนเองว่าเป็นนักสตรีนิยมมุสลิมมากกว่า เพราะความหมายของมุสลิมนั้นมีความหมายถึงตัวแทนของมนุษย์ ซึ่งฉันก็เป็นมนุษย์ที่เข้าใจในพระเจ้าและศาสนา ในขณะเดียวกันฉันก็อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการก่อเกิดของการเมืองอิสลาม(Political Islam) ทำให้มีความเชื่อว่าสิ่งใดก็ตามที่มีเรียกว่า “อิสลาม” นั้นเป็นศาสนาของพระเจ้า ทำให้ไม่มีการใคร่ครวญถึงการตีความของศาสนาโดยตัวแทนที่เป็นมนุษย์
Q: นักสตรีนิยมมุสลิมหลายคนค้นหาความเข้าใจเกี่ยวกับเพศสภาพของอิสลามที่อยู่บนพื้นฐานของการอ่านคัมภีร์ อัลกุรอาน ซึ่งไม่ได้อิงอยู่กับกฎเกณฑ์ของอาดิษและหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ซึ่งทั้งสองอย่างได้บัญญัติกฎเกณฑ์ที่อาจจะมีผลกระทบต่อความยุติธรรมทางเพศ คุณจะบรรยายให้เราฟังถึงกฎเกณฑ์ทั้งสองซึ่งเป็นหลักการของชาวมุสลิมอย่างไร
A: สำหรับฉันคัมภีร์อัลกุรอานนั้นมีความชอบธรรมสูงสุด อะไรก็ตามที่ขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นฮาดิษหรือหลักการปฏิบัติ ก็ไม่สามารถได้รับการพิจารณาได้ว่าเป็นอิสลาม นอกจากนั้น ฉันยังเชื่อว่าคัมภีร์อัลกุรอานนั้นได้เปิดให้กับการตีความอันหลากหลาย ซึ่งเป็นผลให้เกิดการค้นคว้าเพื่อที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระในนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการตีความของมนุษย์คนไหนที่ถือเป็นสิ่งตัดสินสุดท้าย
สำหรับฉันแล้ว ในฐานะที่เป็นมุสลิม ประวัติศาสตร์ของคัมภีร์อัลกุรอ่านถือเป็นเรื่องราวที่มีความต่อเนื่องและมีความพยายามของชาวมุสลิมที่จะค้นหาความเข้าใจถ้อยคำของพระเจ้า ความมหัศจรรย์คือผลลัพธ์ที่ได้คือความหมายและมุมมองใหม่เหนือกาลเวลา ซึ่งหากคุณได้อ่านวัจนะของพระเจ้าคุณอาจได้รับความหมายบางอย่างในวันนี้ แต่อีก 5 ปีข้างหน้า วัจนะเดียวกันนั้นอาจจะให้บางสิ่งบางอย่างกับคุณในสิ่งที่แตกต่างออกไปและมีความลึกซึ้งมากขึ้น การตีความของเนื้อหาเดียวกันนั้นมีความแตกต่างกันเนื่องจากความแตกต่างของเวลาและพื้นที่ความแตกต่างในพื้นฐานของการศึกษาหรือว่าการรับรู้เกี่ยวกับเพศของผู้อ่าน หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่ผู้อ่านได้ประสบมาซึ่งทั้งหมดให้ความหมายกับเธอเมื่อเธอศึกษาคัมภีร์กุรอาน
ดังนั้นทุกๆความเข้าใจเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานโดยเราเองนั้นเป็นความพยายามที่จะเข้าใจมันมากกว่าการพยายามเข้าใจอย่างถ่องแท้ ซึ่งมีแต่พระเจ้าคนเดียวเท่านั้นที่รู้ เมื่อกล่าวถึงความเข้าใจบางอย่างในคัมภีร์อัลกุรอาน ความเข้าใจในขั้นสุดท้ายของอูลามาหรือผู้รู้ก็อาจไม่สามารถเชื่อถือได้ ซึ่งนัยนี้ เสมือนว่าเป็นการกระทำผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของพระเจ้า เนื่องจากพระเจ้านั้นรู้ดีที่สุดในสิ่งที่พระเจ้าตั้งใจที่จะกล่าวหรือส่งหมายความถึงเรา หรือพูดอีกนัยหนึ่งนักสตรีนิยมมุสลิมโต้แย้งเกี่ยวกับการกล่าวอ้างถึงสาระในคัมภีร์อัลกุรอานที่มีลักษณะของการผูกขาดโดยอูลามะห์ซึ่งถือเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดถึงวัจนะของพระเจ้าที่เผยเอาไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน แต่ความรู้ความเข้าใจในคัมภีร์อัลกุรอานนั้นมีลักษณะแยกส่วน บางอย่างมีข้อจำกัด ไม่ได้มีลักษณะแข็งกร้าวและไม่ได้มีความสมบูรณ์อยู่ในตัว
หากพิจารณาถึงอูลามาะห์ที่ยิ่งใหญ่ในยุคดั้งเดิม พวกเขาไม่เคยกล่าวว่า”อิสลามว่าอย่างโน้นว่าอย่างนี้” แต่มันคือ “ฉัน”ที่กำลังพูดหรือตีความอย่างนั้นและ “ฉัน” อาจจะผิดหรือ “ฉัน”อาจถูกก็ได้ ซึ่งมีเพียงพระเจ้าที่รู้ดีที่สุด แต่ทุกวันนี้ความรู้ที่มีลักษณะของความนอบน้อม หรือสำนึกความผิดพลาดขอตนเองไม่ได้มีอยู่อีกต่อไป นักคิดในปัจจุบันต่างๆบ่อยครั้งกล่าวว่า “ อิสลามพูดอย่างนี้”หรือ “พระเจ้าพูดอย่างนี้” และใครก็ตามที่ท้าทายสิ่งเหล่านี้อาจจะถูกกล่าวหาว่ากระทำการต่อต้านอิสลามและพระเจ้า
Q: บ่อยครั้งที่นักสตรีนิยมอิสลามถูกกล่าวหาว่าพยายามที่จะทำลายอำนาจของอูลามะห์ในฐานะที่เป็นผู้แทนของศาสนาอิสลามที่มีอำนาจชอบธรรม และบ่อยครั้งถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวแทนของตะวันตก ที่ถูกตราว่าเป็น “ศัตรูของอิสลาม” พวกคุณจะตอบถึงประเด็นที่ถูกกล่าวหานี้ว่าอย่างไร
A: เราไม่ได้ต้องการตั้งคำถามถึงอำนาจของอูลามะห์ แต่สิ่งที่เรากำลังพูดถึงกันว่า หากว่ามีใครตีความศาสนาอิสลามที่เป็นการละเมิดต่อความยุติธรรมและบรรทัดฐานของความยุติธรรม ซึ่งมีความสมบูรณ์มากอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานและหากการตีความนั้นเป็นที่มาของอำนาจของกฎหมายหรือว่านโยบายสาธารณะซึ่งเป็นการต่อต้านหรือว่ามีลักษณะที่แบ่งแยกต่อผู้หญิง ดังนั้นเราในฐานะที่เป็นพลเมืองของรัฐที่เป็นประชาธิปไตย จะต้องพูดเพื่อที่จะต่อต้านสิ่งเหล่านี้
หากคุณต้องการให้อิสลามเข้ามาอยู่ในพื้นที่สาธารณะ คุณก็จะมีความท้าทายหากพวกเขาไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความคิดเห็นของคุณถูกได้รับการสนองตอบในรูปแบบของกฎหมายเพื่อที่จะปกครองชีวิตของประชาชน คุณไม่สามารถที่จะป้องกันจากข้อท้าทายอื่นๆ ได้ คุณใช้ข้อโต้แย้งที่คุณรู้เพียงว่าอิสลามคืออะไร และไม่มีคนที่จะมีสิทธิ์ที่จะพูดได้ ซึ่งหากมองดูผลกระทบแล้วดูเหมือนว่าการทำให้ความคิดของคุณถูกยอมรับในสายตาของพระเจ้านั้น เป็นการสร้างบาปในอิสลาม ซึ่งเป็นที่น่าเศร้า
เราไม่ได้กำลังกล่าวว่าการตีความคัมภีร์อัลกุรอาน ของเรานั้นเป็นการตีความที่เป็นหนึ่งเดียว มีลักษณะที่แท้จริงมีความชอบธรรม และจะต้องเข้ามาแทนที่การตีความของเหล่าบรรดาอูลามะห์ที่เคร่งครัดหรืออุดมคติของนักอิสลามนิยม แต่เรากำลังโต้แย้งถึงความต้องการที่จะเคารพในสิทธิของทุกๆคน ทั้งสิทธินักสตรีนิยมมุสลิม สิทธิของอูลามะห์ สิทธิของนักอิสลามนิยมหรือว่าสิทธิของคนอื่นๆ เพื่อที่จะค้นหาถึงความเข้าใจและการตีความวจนะของพระเจ้า พวกเราทั้งหมดอยู่บนเส้นทางของการค้นหาพระประสงค์ของวจนะของพระเจ้า ซึ่งการเดินทางนี้เองมันไม่เคยสิ้นสุด และเรากำลังโต้แย้งกันด้วยความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
Q:คุณมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสตรีนิยมและมุสลิมอย่างไร หรือระหว่างอิสลามกับสตรีนิยม ทั้งสองสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายและจุดประสงค์ร่วมกัน หรือพวกเขาอาจคัดค้านกันและกัน
A: ฉันคิดว่าสตรีนิยมจะทำงานในบริบทที่เป็นอยู่ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางบริบทซึ่งจริงๆ แล้วมันมีความเป็นไปได้ว่า มีความต้องการในรูปแบบที่แตกต่างกันในแนวทางนักสตรีนิยมเพื่อที่จะร่วมมือกันในประเด็นทั่วๆไป แต่เมื่ออยู่ในบริบทของการเมืองอิสลามที่เกิดขึ้นในส่วนใหญ่ของประเทศมุสลิม นักสตรีนิยมทางโลกย์ก็ต้องเผชิญหน้ากับกำแพงที่ขวางกั้น แต่บางทีพวกเขาอาจจะสามารถทำงานได้ในบางบริบทที่ผู้หญิงลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจของรัฐที่อ้างถึงการรับรองในทางศาสนาอิสลามและใช้แนวทางอิสลามที่เป็นของตัวเองในการกดขี่และทำให้ผู้หญิงเป็นคนชายขอบ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงบริบทของมาเลเซียชาวมุสลิมจำนวนมากยังคงใฝ่ฝันถึงรัฐอิสลามอยู่
เมื่อพิจารณาถึงบริบททางสังคมการเมืองของชาวมาเลย์มุสลิม การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมและความยุติธรรม สิ่งเหล่านี้ได้รับการยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องในขอบเขตของอิสลาม แต่เราเชื่อว่าความรู้ความเข้าใจใดๆในอิสลามที่เป็นแหล่งที่มาของกฎหมายและนโยบายของรัฐจะต้องถูกวางรากฐานลงไปเช่นเดียวกับหลักการของสิทธิมนุษยชนหรือการรับประกันถึงความเท่าเทียมและการขจัดการเลือกปฏิบัติ และความเป็นจริงของชีวิตในปัจจุบัน
ในขณะที่นักอิสลามนิยมได้เสนอวาระทางการเมืองที่เสนอถึงรัฐอิสลาม สำหรับเรา เราก็พูดก็ส่งเสียงเพื่อความยุติธรรมทางเพศในนามของอิสลามเช่นกัน ซึ่งเป็นการส่งเสียงให้กับผู้หญิงมุสลิมที่ทนทุกข์อยู่กับการกดขี่และการเลือกปฏิบัติในนามของศาสนาของเธอ เนื่องจากพวกเธอถูกสอนว่าผู้หญิงมุสลิมที่ดีคือผู้ที่เชื่อฟังสามีแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทนทุกข์อยู่ในความเงียบงัน ในบริบทเช่นนี้ เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงอิสลาม ความยุติธรรมทางเพศจึงเป็นแหล่งที่มาของการเสริมพลังของผู้หญิงมุสลิม
Q: กลุ่มนักสตรีนิยมมุสลิมทั่วโลก รวมทั้งกลุ่มพี่สาวและน้องสาวในอิสลามได้รับการสนับสนุนจากแหล่งเงินทุนของต่างชาติโดยเฉพาะตะวันตก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ฉันถามคำถามนี้เนื่องจากมีแหล่งเงินทุนเปิดให้การสนับสนุนตัวแทนของพลังมุสลิม ซึ่งถูกมองว่าเป็น “มือที่สาม” ที่จะเข้ามาทำลายอิสลาม
มันเป็นที่น่าแปลกมากว่า แม้แต่กลุ่มอิสลามต่างๆก็ยังรับเงินจากต่างชาติ แต่ไม่มีใครเข้าไปวิจารณ์พวกเขา ถ้าหากพวกเรากลุ่มสตรีนิยมมุสลิมคือเครื่องมือของตะวันตกเช่นอย่างนั้นก็พูดได้ว่ารัฐบาลมุสลิมทั่วโลกก็ยังคงพึ่งพิงอยู่กับแหล่งเงินทุนของตะวันตกและสถาบันที่ถูกครอบงำโดยตะวันตกเช่นกัน นักวิจารณ์ชาวมุสลิมมีความกังวลมากว่าเราไม่ควรที่จะขอความช่วยเหลือจากตะวันตกด้านเงินทุน ทำไมชาติมุสลิมที่ร่ำรวยอย่างเช่น ประเทศมุสลิมรอบอ่าวเปอร์เซียถึงไม่เคยช่วยเราเลย สำหรับเรามีความเต็มใจที่จะรับเงินตราบที่พวกเขาไม่แทรกแซงในสิ่งที่เราทำอยู่เหตุผลง่ายๆ คือพวกเขาไม่เชื่อในความเท่าเทียมกันของผู้หญิง
ฉันอยากจะทำให้กระจ่างว่าผู้ให้ทุนแก่เราไม่ได้เข้ามาแทรกแซงในการทำงานของเราทั้งหมด เราเขียนข้อเสนอ และวาระการดำเนินต่างๆ ขึ้นก่อนที่จะมีผู้ให้ทุนเข้ามาสนับสนุน พวกเขาให้เงินทุนแก่เราแต่ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับหนทางที่เรากำลังทำอยู่อย่างไรก็ตามเราจะต้องรับผิดชอบต่อเงินที่เราใช้ไป
ฉันจะต้องเพิ่มเติมต่อว่าเรากำลังเริ่มต้นที่จะเข้าหาผู้ให้ทุนในระดับท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อที่ว่าชาวมาเลเซียจะมีหุ้นส่วนที่มากขึ้นในงานของตัวเอง ในความเป็นจริงแล้วทุกๆ การโจมตีต่อเรานั้นเป็นโอกาสสำหรับเราที่จะได้เปิดพื้นที่ของเสียงที่ควรถูกได้ยิน และเนื่องด้วยสิ่งเหล่านี้ การได้รับการสนับสนุนของเราได้เติบโตมากขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญในงานของพวกเราและต่อประเทศมาเลเซียในฐานะที่เป็นประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม
บทความนี้เป็นบทความที่แปลโดยเจ้าของบล็อกเอง ซึ่งเป็นบทความที่จะนำเสนอในนิตยสารอามานา (AMANA Magazine ) ฉบับต่อไป คุณสามารถติดตามได้ที่http://www.arfasia.org/amana/prod/index.php?option=com_content&task=section&id=16&Itemid=105