|
.. เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ของคืนวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004) กองกำลังติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายจำนวนราว 60 คน บุกเข้าโจมตีคลังแสงเก็บอาวุธของกองทัพบกในค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ พื้นที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส กองกำลังดังกล่าวได้สังหารทหารไป 4 นาย ก่อนหลบหนีไปพร้อมกับอาวุธปืนเอ็ม-16 และอาวุธปืนสั้นรวม 437 กระบอก ทั้งนี้ การบุกเข้าโจมตีค่ายทหารในทำนองเดียวกัน...เคยเกิดขึ้นมาแล้วในท้องที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เมื่อช่วงปี พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) ที่ผ่านมา
ภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฝ่ายทหารออกมาระบุว่าค่ายทหารที่ถูกโจมตีเป็นเพียงกองพันทหารช่างไม่ใช่หน่วยสู้รบ โดยกองทัพภาคที่ 4 แถลงข่าวว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างขบวนการแบ่งแยกดินแดน 3 กลุ่มคือ PULO, BRN และกลุ่มมูจาฮีดินปาตานี" อย่างไรก็ตาม ควรเชื่อได้ว่าการปล้นอาวุธปืนในครั้งนี้ก็เพื่อนำไปใช้ในขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากกว่าที่จะนำเอาไปขายอย่างที่ทางการไทยระบุไว้
ผลพวงจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกมาระบุว่า การโจมตีที่เกิดขึ้นมีเป้าหมายอยู่ที่อาวุธปืนและให้ความเห็นว่า "ทหารภายในค่ายบางนายถูกสงสัยว่ามีส่วนรู้เห็นกับปฏิบัติการโจมตีในครั้งนี้ด้วย" นายกรัฐมนตรีเองก็แสดงท่าทีไม่พอใจและกล่าวตำหนินายวัน มูฮัมหมัด นอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอย่างรุนแรงว่า ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ได้ดีพอที่จะหาทางป้องกันเหตุการณ์เอาไว้ได้
.. ผ่านเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ มาจนถึงวันนี้ ต่างก็มั่นใจ ปักใจเชื่อกันไปต่างๆ นาๆ คิด วิเคราะห์ โทษกันไปมา ดูเหมือนเหตุการณ์ค่อยๆ แปลเปลี่ยนจากการต่อสู้ที่ดูเหมือนจะมีอุดมการณ์ เริ่มกลับกลายเป็นธุรกิจต่างๆ ที่เริ่มผุดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ น้ำมันเถื่อนเอย ยาเสพติดละ โครงการต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่มีความขยันทำกันเป็นพิเศษ อีกละ ล้วนสนองตอบต่อการแก้ปัญหาจริงๆ จังๆ หรือไม่
แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ดูเหมือนจะเริ่มดูดีขึ้น เมื่อมีการริเริ่มการพูดคุยเพื่อสันติภาพ จัดทำเวทีเสวนา เป็นร้อยเวที จัดเสวนาย่อยอีกหลายต่อหลายครั้ง โดยอาจจะขาดความคำนึงของพี่น้องต่างศาสนาที่ยังไม่รู้เรืองราวความเป็นไปของการ พูดคุยสันติภาพ มีการเพิ่มพูนประเด็นใหม่ๆ เข้ามาอีกหลายๆ ประเด็น จนเป็นเหตุผลหลักในการจุดชนวนของเหตุการณ์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว จุดประเด็นติดแล้วเกิดการขยายวงกว้าง ใครคือผู้รับผิดชอบ
ประเด็นต่อประเด็น ประเด็นของการอ้างในสิ่งต่างๆ เพียงเพื่อต้องการชื่อเสียง เพียงเพื่อต้องการผลประโยชน์ที่แอบแฝงมากับเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถอ้างถึงได้ สุดท้ายล้วนก่อเกิดเป็นปัญหา
เสียงพื้นฐานที่ถูกมองข้าม
เสียงพื้นฐานที่ถูกมองข้ามมาตั้งแต่แรกเริ่มของเหตุการณ์ คือเสียงของประชาชน เสียงของชาวบ้านที่มีความต้องการจะแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดจากภายในความรู้สึกของตัวเอง เป็นเสียงที่ต้องการแก้ไขปัญหาของชาวบ้านต่อชาวบ้าน เราต้องการสร้างความเข้มแข็งในพื้นฐานของคนที่อาศัยเกิดในผืนแผ่นดินแห่งนี้ แต่เรากลับถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
พื้นฐานของชุมชน พื้นฐานของหมู่บ้าน มันก็คือเสียงจากประชาชน ความต้องการของชุมชน ความรักในถิ่นฐานของผู้คน ย่อมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน หากพื้นฐานภายในเกิดความเข้มแข็ง ไหนเลยปัญหาต่างๆ จะเจาะเข้าไปได้
หากแต่ การแก้ปัญหาในพื้นที่ปลายด้ามขวาน ของภาครัฐ กลับแก้ปัญหาด้วยการใช้เงิน โปรยเงิน หวานเงิน สุดท้ายหากไม่มีเงิน ปัญหาต่างๆ ก็ปะทุ ขึ้นมาใหม่อย่างง่ายดาย “เสียดายความเข้มแข็งของชุมชน”
จวบจนปัจจุบันเหตุการณ์ หรือประเด็นต่างๆ ของ 3 จชต. เริ่มจะเป็นธุรกิจ โดยมีพ่อค้าต่างถิ่นมาลงทุน ธุรกิจตัดไม้ ธุรกิจของเถื่อน ธุรกิจของหนีภาษี ธุรกิจการพนัน เยอะแยะมากมาย
ระยะเวลาล่วงเลยมา จน 10 ปี ใครเคยล่วงรู้แบบจริงๆ จังๆ บ้างครับว่า คนที่ผูกปม นี้ คือใคร เขาหรือเรากันแน่ที่ผูกปม