Skip to main content

บทบาทครู : บทบาทผู้รู้ในพื้นที่จินตนาการ[1]
                                                  เรียบเรียง : สุรชัย(ฟูอ๊าด)  ไวยวรรณจิตร[2]
ครู สช.: ครูสร้างชาติ 
                การศึกษามีบทบาทอย่างยิ่งต่อการกำหนด ทิศทางการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมอาณาประเทศแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สื่อสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากมายหลายด้านในการ พัฒนาการศึกษาให้เดินไปตามเป้าประสงค์การกำหนดทิศทางที่ควรจะเป็นจนเสมือน เนื้อร้ายที่หากไม่หาทางป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วนการพัฒนาก็จะยิ่งหาทิศทาง การพัฒนาได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยว ข้องดูจะเหมือนไร้กรอบทิศทางในการแก้ไขหรือผลักดันการก่อเกิดองค์ความรู้ที่ ควรจะเป็นให้แก่นักเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านคุณภาพด้านการศึกษา
                จากรายงานค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.6) ปีการศึกษา 2551 จำแนกตามจังหวัดของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (2551) พบว่า การศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณภาพที่ต่ำเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ของประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในการจัดการศึกษาในพื้นที่จึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนาที่ถูกทิศทางสามารถปฏิรูปการศึกษา ที่สอดคล้องกับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเชิงประจักษ์[3]
             สำหรับผู้เขียนแล้วการเป็นครู สช. มิใช่เป็นเพียงแต่เป็นครูที่สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนแต่หมายถึง ครูสร้างชาติอย่างที่ควรจะเป็น บทบาทที่ควรตระหนักภารกิจที่ต้องทบทวนล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใคร่ครวญครุ่นคิด เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะพื้นที่แห่งนี้พื้นที่ที่ผู้เขียนเองมองว่ายังคงเป็น พื้นที่แห่งจินตนาการที่เราทุกคนทุกภาคส่วนต้องร่วมวาดฝันไปเรื่อยๆเพื่อ สร้างสังคมแห่งสันติสุขภายใต้กระแสการต้านทานที่หนักหน่วงของสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้
การให้การศึกษาด้วยแบบอย่าง[4]
            แบบ อย่างในเรื่องการให้การศึกษาหรือการอบรมสั่งสอนนับว่าเป็นวิธีการที่มี อิทธิพลมากสำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ภายใต้การอบรม โดยเฉพาะการอบรมในด้านกริยามารยาทแก่บุตรหลาน การสร้างสภาพจิตใจที่ดีและพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม เพราะผู้อบรม-จะเป็นบิดามารดาหรือครูบาอาจารย์-นับว่าเป็นแบบอย่างที่สูงสุด แก่เด็กๆ แบบอย่างที่ดีจะอยู่ในสายตาของเด็ก เด็กจะเลียนแบบตามที่เขาได้มองเห็น  กระทำตามทั้งที่ผู้กระทำ นั้นจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ภาพที่เด็กมองเห็น คำพูดที่เขาได้ยิน ความรู้สึกที่เขาได้พบ จะบันทึกลงในความจดจำของเขาทั้งที่รู้ตัวเขาตั้งใจที่จะจดจำ และไม่รู้ตัวได้ซึมซับเข้าไปในความทรงจำ 
           ดังนั้น แบบอย่างนับเป็นการกระทำที่นับว่าสำคัญมากที่ทำให้เด็กคนหนึ่ง(หรือหลาย คน)เป็น คนดีหรือคนเลวได้ ถ้าบิดามารดาหรือครูที่ดี ซื่อสัตย์ รักยุติธรรม เป็นคนมีเกียรติ กล้าหาญและไม่กระทำผิด .. เด็กที่อยู่ใกล้เขาก็จะเป็นเด็กดี ซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีเกียรติ กล้าหารและจะไม่กระทำผิดด้วย.. ในทางตรงกันข้ามถ้าพ่อแม่หรือครูที่อบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นคนที่ชอบพูดโกหก ชอบทำลายล้าง ไว้ใจไม่ได้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวและอื่นๆ เด็กที่เขาเลี้ยงดูก็จะเป็นเด็กที่ชอบพูดโกหก ชอบทำลายล้าง ไว้ใจไม่ได้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว และอื่นๆเหมือนบิดามารดาหรือครูที่สอนเขาเช่นกัน    
              เด็ก แม้จะมีการเตรียมการที่ดีเพื่อให้เป็นเด็กดีหรือคนดีในอนาคตอย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นฐานของชีวิตจะบริสุทธิ์และปลอดภัย ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าพร้อมที่จะตอบรับพื้นฐานที่ดี ตราบใดที่เขาไม่ได้รับการศึกษาที่ดีด้วยการมองภาพของบิดามารดาหรือครูที่มี เพียบพร้อมด้วยมารยาทที่ดี มีคุณค่าที่สูงสุดและเป็นแบบอย่างที่สูงส่ง  เป็น เรื่องง่ายมากสำหรับครูหรือบิดามารดาที่จะสอนลูกหลานให้เป็นไปตามหลักสูตร หรือตำราการอบรมลูก แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้เด็กกระทำตามที่ได้สอนไว้ตราบใดที่ผู้สอนไม่ ได้ปฏิบัติตามที่เขาสอน   
         กวีอาหรับท่านหนึ่งได้ร่ายถึงครูคนหนึ่งที่พฤติกรรมผิดจากที่เขาได้สอนเด็กว่า…
 
 โอ้ครูที่สอนคนอื่น
เจ้าได้สอนตัวเจ้าแล้วหรือยัง 
เจ้าบอกยาแก่คนป่วยและคนอ่อนแอ 
เพื่อให้เขาหายป่วย ทั้งที่เจ้าเองยังป่วยยังอ่อนแออยู่
เริ่มต้นที่ตัวเจ้าและหันห่างจากการหลงทาง
ถ้าทำสิ่งนั้นได้แล้ว เจ้าก็จะเป็นคนยอดเยี่ยม               
เมื่อนั้นคำตักเตือนของเจ้าจะเป็นที่ยอมรับและได้รับการนำไปปฏิบัติ          
ความรู้มาจากเจ้า การสอนของเจ้าก็จะมีประโยชน์”
 
 
บทบาทคนเฝ้าสวน 
                หลายคน มักเปรียบครูเป็นดั่งเรือจ้างที่คอยส่งผู้คนให้ถึงฝั่งฝันแต่สำหรับผู้เขียน แล้วอยากจะเปรียบครูเสมือนคนเฝ้าสวนที่ทำงานมากกว่าการหวังผลตอบแทนเพียง เพื่อพาคนไปให้ถึงฝั่งเท่านั้น เพราะผู้เขียนคิดว่าคนเฝ้าสวน คือ คนที่คอยดูแลต้นไม้หลากหลายพันธุ์ที่คอยเติมฝันให้ทุกคนได้เชยชมความสวยงาม ปิติยินดีแม้ในวันหนึ่งวันใดต้นไม้เหล่านั้นจะไปเจริญเติบโตต่อไป ณ ที่หนึ่งที่ใดก็ตามคนเฝ้าสวนก็น่าจะชื่นชมยืนดีและมีความสุขกับต้นไม้ที่เคย ดูแล ดั่งบทความเรื่องหนึ่งที่ว่า...
       ... นาน มาแล้วมีผู้ชายคนหนึ่งมีอาชีพเป็นคนเฝ้าสวน เขารักต้นไม้มาก วันๆของเขาจึงหมดไปกับการดูแลต้นไม้ ณ สวนแห่งหนึ่งที่มีต้นไม้หลากพันธุ์เค้ารดน้ำพรวนดินทุกวันด้วยหวังจะเห็นมัน เจริญเติบโต แล้ววันหนึ่งคนเฝ้าสวนก็พบว่าต้นไม้จำนวนหนึ่งในสวนข้างๆกำลังเหี่ยวเฉา กำลังใกล้ตายเต็มที ด้วย ความเป็นห่วงเขาจึงเข้าไปช่วยดูแล รดน้ำพรวนดินทุกเช้าเย็นจนกระทั่งมันดีขึ้น มันกลับมาชูช่อกิ่งใบได้ดีดังเดิม ไม่นานต้นไม้เหล่านั้นก็ออกผล แล้วเจ้าของสวนก็กลับมาเก็บเกี่ยวผลเหล่านั้นออกสู่ตลาด โดยไม่ได้ให้ผลเหล่านั้นแก่คนเฝ้าสวนเลยแม้แต่ผลเดียว แต่คนเฝ้าสวนก็ภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ของเขาอย่างเต็มที่ เพราะความสุขของเขาคือการได้เห็นต้นไม้เจริญเติบโตและสามารถออกผลสู่ตลาด หล่อเลี้ยงชุมชนสังคมตลอดไป วัน หนึ่งขณะที่เขากำลังพรวนดินอยู่นั้น มีเจ้าของโรงงานแห่ง หนึ่งเดินผ่านมา จึงแวะทักทายและชักชวนไปทำงานที่โรงงานแห่งนั้น ซึ่งดีกว่าสวนแห่งนี้มาก นอกจากจะได้ทำงานในที่ร่มแล้วยังได้ค่าตอบแทนสูงอีกด้วย แต่กลับถูกคนเฝ้าสวนปฏิเสธ พร้อมบอกเหตุผลว่าเขามีความชำนาญใน การดูแลต้นไม้มากกว่า เขาไม่เคยรำคาญหรือเกียจคร้านเลยสักวัน เพราะเขามีใจรักมันนั่นเอง แม้เจ้าของโรงงานจะเสนอค่าจ้างที่สูงเท่าไรก็ตามแต่เขาก็ไม่เคยคิดที่จะละ จากงานนี้ เพราะเขารู้ดีว่าต้นไม้อีกมากมายที่รอคอยการดูแลจากเขาและเพราะต้นไม้มีค่า มากกว่าเศษตังค์เหล่านั้น และเขายังคิดอีกว่าหากวันนึงไม่มีเขาต้นไม้เหล่านี้คงหมดสวนภัยอันตรายยิ่ง ใหญ่จะเกิดขึ้น ผู้คนจะเดือดร้อนดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะเป็นคนเฝ้าสวนต่อไป...[5]
 
ตัวอย่างโครงการ : คืองานที่อยากให้ก่อเกิด
ครูเพื่อศิษย์ : โครงการที่อยากให้ส่งเสริมและต่อเติมความเป็นจริง
              ความสุขของคุณครูคนหนึ่งคงไม่ได้เพียงเพราะรางวัล แต่เพราะปัจจุบันชีวิตของนักเรียนและชุมชนเริ่มเปลี่ยนไป กระแสค่านิยมต่างๆจากตะวันตกได้คืบคลานเข้ามาอย่างที่คิดว่าไม่เป็นไรคงอีก ยาวไกลกว่าภัยเหล่านี้จะถึงตัวลูกหลานของเรา ฉะนั้นการก่อเกิดโครงการ “ครูเพื่อศิษย์” อย่างที่มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ได้ดำเนินโครงการผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องที่ควรสันบสนุนเป็นอย่างยิ่ง หากแต่ว่าภายใต้เงื่อนไขการก่อเกิดขึ้นโครงการดังกล่าวนี้ในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้จะก่อเกิดในรูปแบบใดนั้นผู้เขียนเชื่อว่าทุกคน ที่พร้อมจะทำหน้าที่ในพื้นที่จินตนาการแห่งนี้คงมองภาพวาดฝันที่สวยงามของ เราได้ไม่ยากด้วยความเชื่อที่ว่า “หากทุกคนไม่เลือกที่จะมาร่วมกันสร้างสรรค์พื้นที่แห่งนี้ก็คงไม่เลือกที่จะมานั่งทำหน้าที่ถึงทุกวันนี้”
คืนครูให้นักเรียน : โครงการที่พากเพียรอยากให้เป็นจริง
                ผู้ เขียนอยากจะเรียกร้องเชิญชวนหากแต่ยังคงเชื่อมั่นว่าคงไม่ใช่เฉพาะผู้เขียน เท่านั้นที่อยากจะเรียกร้องเชิญชวนโครงการดั่งกล่าวทุกคนทั้งประเทศก็คงจะ ฝากความหวังไว้กับคุณครูทุกคนบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า “ลูกใครไม่สำคัญศิษย์ของฉันนั้นคือลูก...” แม้สถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรแม้ความไหวหวั่นของจิตใจจะหวั่นไหวอีก สักเท่าไหร่อีกนับจากนี้ขอให้เราทุกคนได้ทำหน้าที่ด้วยความอิคลาส(บริสุทธิ์ ) โดยเชื่อมั่นว่าบททดสอบที่เกิดขึ้น คือ เกราะอันแข็งแกร่งในการก่อเกิดซึ่งความรักในบทบาทหน้าที่มากยิ่งขึ้นเพื่อ หวังผลจากพระเจ้าในโลกหน้าอันสถาพร…ฯลฯ
บทส่งท้าย : ครู คือ ผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้เมตตา[6]
          ครู คือผู้ให้  ผู้เติมเต็ม  และผู้มีเมตตา  ดังนั้นอาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่มีเกียรติ  ท่านนบี (ศ็อลฯ) นั้นให้เกียรติผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู แม้ว่าจะเป็นคนต่างศาสนิก หรือศัตรู ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ท่านได้ไถ่ตัวเชลยศึกในสงครามบะดัร ซึ่งเป็นมุชริกีน ชาวมักกะฮฺ โดยให้เป็นครูสอนเด็กมุสลิมชาวนครมะดีนะฮฺจำนวนสิบคน  แบบอย่างของท่านนบีนี้เป็นแบบอย่างที่งดงามที่มุสลิมทุกคนควรตระหนัก หากมุสลิมได้ตระหนักแล้ว กรณีการฆ่าครู หรือทำร้ายครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้คงจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
ขออัลลอฮฺ(สุบหาฯ)ได้ทรงชี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงด้วยเถิด...อามีน 
 

 
เอกสารอ้างอิง
ฟูอ๊าด ไวยวรรณจิตร.2552.บันทึกเรื่องเล่าจากคนต่างถิ่น.งานเขียนรวมเล่ม.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน).2551.รายงานค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.6) ปีการศึกษา 2551 จำแนกตามจังหวัด(ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.niets.or.th. [17 /1/ 2553].
สุรชัย ไวยวรรณจิตร.2552.ส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยเรื่อง: การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตต่ำฯ.ทุนวิจัยสนับสนุนจาก สทศ.
อับดุลเลาะฮฺ  หนุ่มสุข.2553.ครูคือผู้ให้ ผู้เติมเต็ม ผู้เมตตา (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.islammore.com [ 17 /1/ 2553].
อิบรอเฮม หะยีสะอิ.2553.คำนำการให้การศึกษาด้วยแบบอย่าง (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.almustofa.com [17 /1/ 2553].
 

[1] เอกสารประกอบการบรรยาย “บทบาทความเป็นครูหน้าที่และการสร้างเครือข่ายของครู สช.”
[2] อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา.
[3] สุรชัย ไวยวรรณจิตร.2552.ส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยเรื่อง: การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตต่ำฯ.ทุนวิจัยสนับสนุนจาก สทศ.
[4] อิบรอเฮม หะยีสะอิ.2553.คำนำการให้การศึกษาด้วยแบบอย่าง (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.almustofa.com [ 17 /1/ 2553].
[5] ฟูอ๊าด ไวยวรรณจิตร.2552.บันทึกเรื่องเล่าจากคนต่างถิ่น.งานเขียนรวมเล่ม.
[6] อับดุลเลาะฮฺ  หนุ่มสุข.2553.ครูคือผู้ให้ ผู้เติมเต็ม ผู้เมตตา (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.islammore.com [ 17 /1/ 2553].