Skip to main content
แนะนำโดย ซุกกรียะห์ บาเหะ

ศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ

 

 

 

ชื่อหนังสือ : ฉีกแผ่นดิน อิสลามและปัญหาความชอบธรรมในภาคใต้ ประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง :  ดันแคน แม็กคาร์โก
ผู้แปล :  ณัฐธยาน์ วันอรุณวงศ์
เพื่อทำความเข้าใจปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใน 4 ประเด็นคือ
บทที่ 1  ศาสนาอิสลาม
บทที่ 2  การเมือง
บทที่ 3  ความมั่นคง
บทที่ 4  กองกำลังติดอาวุธ
 
ปัญหาความขัดแย้งภาคใต้นั้นถือว่าเป็นปัญหาการเมือง ชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ในปัตตานี ยะลา นราธิวาส มีความเข้าใจประเทศไทยในมุมที่ต่างไปจากคนส่วนอื่นในประเทศเขาเหล่านั้นถูกมองว่าไม่ใช่ “ไทย” เต็มตัว  และพวกเขาเองก็ไม่ได้มองตนเองว่าเป็นไทยเช่นกัน คนเหล่านี้ไม่ยินยอมพร้อมใจกับการบริหารราชการด้วยการสั่งการจากบนลงล่างที่มีกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางโครงสร้างอำนาจรัฐ กลุ่มใช้อาวุธจึงถือโอกาสใช้ปัญหาการขาดความชอบธรรมในการปกครองพื้นที่ดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองเบื้องหลังการใช้ความรุนแรงเพื่อต่อต้านรัฐ
 
หนังสือเล่มนี้มีเป้าหมายที่จะให้ภาพความขัดแย้งในภาคใต้ของประเทศไทยอย่างชนิดที่ลงลึกในรายละเอียด โดยศึกษาความขัดแย้งดังกล่าวในบริบทของความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าของรัฐไทยในการสถาปนาการปกครอง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างมีความชอบธรรมในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูมุสลิม 
งานชิ้นนี้ไม่ได้มองหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงของไทยในฐานะตัวแสดงหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้
 
บทที่ 2 ทรัพยากรธรรมชาติ ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สิทธิของชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ
 
บทที่ 3 การศึกษา แนวคิดพื้นฐานและประเด็นสำคัญของการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบบการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ นโยบายของรัฐบาลและวิวัฒนาการของสถาบันการศึกษาประเภทต่างๆ ขัดแย้ง  หากแต่ในฐานะองค์ประกอบสำคัญของปัญหา ส่วนศาสนาอิสลามก็ถูกวางไว้ในฐานะเป็นแหล่งที่มาของโวหารที่กลุ่มนักรบในภาคใต้เลือกใช้ในวาระต่าง ๆ มากกว่าจะเป็นแรงบันดาลใจหลักของการเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับชื่อของรายงานฉบับแรกของกลุ่มอินเตอร์เนชันแนลไครซิส (ICG) ที่ว่าด้วยความขัดแย้งในภาคใต้ หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบ  ไม่ใช่สงครามศาสนา
 
 

 

ชื่อหนังสือ : การก่อการร้ายมุมมองของโลกอิสลาม
ผู้เขียน : ศราวุฒิ อารีย์
บทที่ 1 อิสลาม : ความหมายที่ตรงข้ามกับการก่อการร้าย
บทที่ 2 นิยามการก่อการร้ายและสาเหตุ : มุมมองของโลกอิสลาม
บทที่ 3 กลุ่มติดอาวุธในสังคมโลกทั่วไป
บทที่ 4 กลุ่มติดอาวุธในโลกอิสลาม
 
จากเหตุการณ์ในวันที่ 11 กันยายน 2001 ทำให้โลกได้เห็นถึงการทำลายขนาดใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนมีผู้เรียกการก่อการร้ายในยุคปัจจุบันว่าเป็น “อภิมหาก่อการร้าย” (Mega Terrorism) และการใช้ความรุนแรงเช่นนี้ได้ขยายตัวออกไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ดังเช่นที่เราได้เห็นจากกรณีซึ่งเกิดขึ้นในบาหลี มอสโคว์ มาดริดและลอนดอนเป็นต้น
ปรากฏการณ์เช่นนี้กำลังบอกแก่เราว่า โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของสงคราม “อสมมาตร”
ครั้งใหม่ (Asymmetric Warfare) ที่มีการก่อการร้ายเป็นรูปแบบหลักของความเป็นอสมมาตรที่เกิดขึ้นในเวทีการต่อสู้และก็เป็นเช่นที่กล่าวมาแล้วในอดีตว่า การก่อการร้ายคือเครื่องมือของผู้อ่อนแอกว่าใช้เพื่อต่อสู้กับผู้ที่แข็งแรงกว่านั่นเอง และในการเมืองโลกปัจจุบันสหรัฐอเมริกาในฐานะของหัวขบวนของโลกตะวันตก คือผู้ที่แข็งแรงกว่าในขณะฝ่ายต่อต้านของโลกมุสลิม คือผู้ที่อ่อนแอกว่า
 
ความซับซ้อนของปัญหาความรุนแรงร่วมสมัย ยังผูกโยงเข้ากับประเด็นทางด้านศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งไม่ว่าแนวคิดของ Samuel P. Huntington นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันในเรื่องของ “การปะทะระหว่างอารยธรรม” (The Clash of Civilizations) จะถูกหรือผิดในมิติของข้อถกเถียงทางวิชาการก็ตาม แต่ก็เป็นข้อเตือนใจให้เราตระหนักว่า ปัญหาการใช้ความรุนแรงของโลกในอนาคตมีความเกี่ยวข้องกับบริบทของศาสนาและวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้