แนะนำโดย นางสาวซุกกรียะห์ บาเหะ
ศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ
ชื่อหนังสือ : เล่าขานตำนานใต้
ผู้เขียน : ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ
"เล่าขานตำนานใต้ : ตำนานเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง สถานที่และบุคคลสำคัญของท้องถิ่น" เล่มนี้ นำมาจากเอกสารโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาท้องถิ่นในสามจังหวัดภาคใต้ระยะที่ 2 หนังสือเล่มนี้ได้ถ่ายทอดความรู้รวมกับประสบการณ์จากการทำงานในพื้นที่ของผู้เขียนทั้งสองท่านซึ่งเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงที่เป็นคนเชื้อสายมลายูและมีความพยายามสร้าง "เรื่องเล่า" ให้ใกล้เคียงกับ "ข้อเท็จจริง" มากที่สุด เพราะทุกเรื่องราวที่ท่านกล่าวถึงนี้ รัฐบาลยังไม่สามารถปลดล็อคปัญหาความตึงเครียดที่สร้างความขัดแย้งรุนแรงในพื้นที่ได้ ซึ่งตำนานใต้ที่ผู้อ่านจะรับรู้จากหนังสือเล่มนี้ แบ่งออกเป็น 3 ตำนานหลักคือ 1.ตำนานเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง เช่น เหตุการณ์การเจรจายุติขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์มลายา การชุมชนประท้วงขอความเป็นธรรมที่ปัตตานี การชุมนุมประท้วงกรณีมัสยิดกรือเซะ การปล้นปืนทหารอันนำไปสู่การอุ้มฆ่าทนายสมชาย นีลไพจิตร ทนายมุสลิมและเป็นต้นเหตุของความรุนแรง เป็นต้น 2.ตำนานบุคคลสำคัญของท้องถิ่น เช่น นักปราชญ์มลายูปาตานี อย่างคุณแซะห์ ดาวด อัล-ฟาฏอนี คุณโต๊ะกือลาบอ คุณชัยค์ อัฮฺหมัด บิน วันมูฮัมหมัดเซ็น อัล-ฟาฏอนี เรื่องของดอเลาะ ผู้ใหญ่บ้านหนังเหนียวแห่งบ้านตะโล๊ะเว เรื่องครูเปาะสุ วีรบุรุษหรือโจรแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น และ 3.ตำนานสถานที่สำคัญในท้องถิ่น เช่น เมืองโบราณยะรัง ปัญหาจากที่ตั้งสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว บ้านดี ชุมชนเก่าแก่ของเมืองปัตตานี
ผู้เขียน : ชุติมา ประกาศวุฒิสาร
เนื้อหาในหนังสือ
บทที่ 1 การอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมสตรีชายขอบ
1.1 ข้อจำกัดในการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมสตรีชายขอบ
1.2 ชายขอบในฐานะพื้นที่ของการกดขี่และการสร้างสรรค์วรรณกรรม
1.3 งานเขียนกับการจดบันทึกประวัติศาสตร์ของชุมชน
1.4 นักเขียนกับภาษาและรูปแบบการประพันธ์
บทที่ 2 ความเป็นอะบอริจิน: การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ใน My Place
2.1 จุดกำเนิด My Place
2.2 อัตชีวประวัติของแซลลี มอร์แกน
2.3 การสืบค้นประวัติครอบครัว
2.4 การเดินทางกลับบ้านเกิดบรรพบุรุษ
2.5 การปฏิเสธชื่อพ่อ
2.6 เรื่องเล่าของสมาชิกในครอบครัว
บทที่ 3 ประวัติศาสตร์บาดแผล: การเยียวยาและการรื้อฟื้นความทรงจำใน Obasan
3.1 กลุ่มคนเชื้อสายญี่ปุ่นในแคนาดา
3.2 การอพยพโยกย้ายชุมชนเชื้อสายญี่ปุ่นในแคนาดา
3.3 การทบทวนความหมายของความเงียบและคำพูด
3.4 การรื้อฟื้นสายสัมพันธ์กับแม่และวัฒนธรรมญี่ปุ่น
3.5 การไขปริศนาเรื่องการหายไปของชุมชนแคนาดาเชื้อสายญี่ปุ่น
3.6 จากปัจเจกสู่ชุมชน: การสร้างจิตสำนึกทางการเมืองผ่านพื้นที่
บทที่ 4 ความรุนแรง จิตวิญญาณ และการเยียวยาใน Comfort Woman
4.1 ความเป็นหญิงกับความเป็นชาติ
4.2 การครอบครองชาติและเรือนร่างสตรี
4.3 ความเงียบและความตาย
4.4 พิธีกรรมเข้าทรงกับการเยียวยา
4.5 ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกสาว
บทที่ 5 ตำรา ตำรับ ทัพพี: อิสตรีกับการสร้างประวัติศาสตร์
5.1 การทำครัวกับการรื้อฟื้นความทรงจำในอดีต
5.2 ความเป็นหญิงในสังคมจารีตเม็กซิกัน
5.3 ผู้หญิงกับการทำครัว: “ความรู้” กับ “ความลับ”
5.4 อาหาร อำนาจ อัตลักษณ์
5.5 อาหารกับการเยียวยา: การกดขี่ทางเพศและวัฒนธรรม
5.6 ตำราอาหารกับการบันทึกประวัติศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
บทที่ 6 อารมณ์ต้องห้าม: อุดมการณ์กับความรักใน อะเซเลียสีแดง
6.1 การปฏิวัติวัฒนธรรม: ความเป็นชาติและความเป็นชาย
6.2 พื้นที่ประวัติศาสตร์ในฐานะพื้นที่แห่งความปรารถนา
6.3 ในเมืองเซี่ยงไฮ้: ครอบครัว อุดมการณ์ และความรัก
6.4 ในฟาร์มเพลิงแดง: อุดมการณ์กับความเป็นจริง
6.5 การรื้อฟื้นเรื่องราวของสตรีในประวัติศาสตร์
บทที่ 7 บทสรุป
7.1 จากความเงียบสู่เรื่องเล่า
7.2 พื้นที่ส่วนตัวกับการต่อสู้ในชีวิตประจำวัน
7.3 ผู้หญิงกับบทบาทของการดำรงรักษาวัฒนธรรม