ความรุนแรงเกิดขึ้นจากการกระทำของทั้งสองฝ่าย คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อปาตานี กว่า 6000 คนเสียชีวิตและกว่า 10000 คนได้รับบาดเจ็บ ในช่วงระหว่างปี 2547 จนถึง 2557 ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายมีทั้งไทยพุทธซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่ และ มุสลิมในพื้นที่ที่สนับสนุนรัฐบาล ความสูญเสียบางรายเกิดจากปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในนามของการปราบปรามการก่อความไม่สงบ และจากการโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐ พลเรือนและสถานที่สาธารณะของกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวน 6 ฉบับได้แก่
1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child (CRC)
2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination (CEDAW)
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)
4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)
5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ Convention on the Elimination of all Forms of Racial Discrimination(CERD)
6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment ( CAT)
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย
สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (The right to life)
สิทธิมนุษยชนสิทธิของมนุษยชนขั้นพื้นฐาน คือ สิ่งที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ต่อการอยู่รอดและพัฒนาตัวเอง ได้แก่การมีปัจจัย 4คือ ใช้ ชีวิตอย่างเสรีและมั่นคงปลอดภัย แต่ความขัดแย้งได้ส่งผลให้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานถูกละเมิด ทั้งจากกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ และจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบสะสมตั้งแต่ปี 2547 – 2558 พบว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆโดยจำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนธันวาคม 2558 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือในปี 2548 และเหตุการณ์ที่น้อยที่สุดคือปี 2558 และสอดคล้องกับจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงปี 2556- 2558 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในระดับหนึ่งของแนวทางการแก้ปัญหาด้วยแนวทางสันติวิธี และ การทำงานของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในการผลักดันเรื่องการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี
สถานการณ์การทรมานในจังหวัดชายแดนใต้
Prohibition of torture and in human or degrading treatment or punishment
ผลพวงของสถานการณ์ความไม่สงบทำให้เกิดการกล่าวหาว่าประชาชน มลายู – มุสลิม คือผู้ที่กระทำผิดในเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ และ นั้นก็นำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อควบคุมสถานการณ์คือ การประกาศใช้ กฎอัยการศึกที่ทีอำนาจการควบคุมตัวได้ 7 วัน พระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีอำนาจควบคุมตัวได้ 28 วัน ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยรัฐสามารถควบคุมตัวผู้ที่ถูกสงสัยว่าเป็นผู้กระทำผิดได้เป็นเวลา 35 วัน โดยไม่ต้องมีหมายจับตามกฎหมายอาญา และไม่มีสิทธิที่จะพบทนายความหรือนักสิทธิมนุษยชน และ นอกจากนี้ก็ยังควบคุมการพบญาติ ในแต่วันหรือมีการห้ามเยี่ยม ทำให้เกิดข้อร้องเรียนเรื่องการกระทำทรมานในสถานที่ควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ และส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อตัวบุคคล เกิดความยากลำบากในทางเศรษฐกิจ ความยากลำบากในการอยู่ร่วมในชุมชน และ ความมั่นคงของรัฐ
สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และ การฆ่านอกระบบ
Right to a fair trial and arbitrary killing
สภาพปัญหาการไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
• ความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม
• การอายัดตัวเมื่อได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำซ้ำ
การฆ่านอกระบบ ( Extra judicial killing and Arbitrary killing)
การวิสามัญฆาตกรรม
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตลอด 12 ปี พบว่ามีการปะทะและนำไปสู่การวิสามัญฆาตกรรมผู้ก่อความไม่สงบไปจำนวน 325 คน จากรายงานของ ศชต ในปี 2557 พบว่ามีการวิสามัญฆาตกรรมไปจำนวน 8 คน ในขณะที่ ปี 2558 ศชตได้รายงานว่ามีการวิสามัญฆาตกรรมไป 16 คน ซึ่งมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เท่าตัวเลยทีเดียว
การฆ่านอกระบบกฎหมาย
ความกังวลใจของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงหรือผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนใต้กังวลใจมากที่สุดคือความปลอดภัยหลังจากได้รับการปล่อยตัวซึ่งความกังวลของพวกเขาก็ไม่เกินเลยจากข้อเท็จจริงมากนักเมื่อกลุ่มด้วยใจได้รวบรวมรายชื่ออดีตผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษ และบุคคลในครอบครัว ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบันพบว่ามีจำนวน 20 ราย โดยเฉลี่ยปีละ 4 ราย และนั่นก็เป็นการเพิ่มความหวาดระแวงและไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทย
การไม่เลือกปฏิบัติ (Non – discrimination)
การตรวจ DNA เฉพาะชาวมลายู-มุสลิม และการตรวจ DNA เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนและครอบครัว
สิทธิเด็ก
สถานการณ์เด็กในพื้นที่ขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา
จากรายงานของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้และกลุ่มด้วยใจพบว่า ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีเด็กเสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบจำนวน 82 รายและได้รับบาดเจ็บ จำนวน 446 ราย โดยในปี 2558 พบว่ามีเด็กที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดคือมีจำนวน 5 ราย และได้รับบาดเจ็บจำนวน 20 ราย ซึ่งเป็นการลดลงอย่างเห็นได้ชัดโดยมีหลายปัจจัยคือ มีความพยายามในการทำงานเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิเด็กในจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น รวมไปถึงการเคารพในหลักสิทธิเด็กของผู้มีอาวุธทั้งสองฝ่าย
ทั้งนี้เด็กจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
• ผลกระทบทางตรง คือเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ พิการ ถูกควบคุมตัว หรือถูกดำเนินคดี
• ผลกระทบทางอ้อม คือสูญเสีย กำพร้า หรือถูกพรากจากบุคคลในครอบครัว เผชิญเหตุความรุนแรง
ปรากฏการณ์ที่น่ากังวลใจต่อการละเมิดสิทธิเด็กในปี 2558 คือ
1. การควบคุมตัวเด็กด้วยกฎหมายพิเศษ
2. การดำเนินคดีความมั่นคงกับเด็ก
3. การตรวจดีเอ็นเอเด็ก
4. การใช้เด็กเป็นโล่
จากสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา อาจจะกล่าวได้ว่ามีปัจจัยเรื่องของสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากคู่ขัดแย้งที่มีอาวุธทั้งสองฝ่ายนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆที่เกิดจากการกระทำทั้งจากกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานี และ เจ้าหน้าที่รัฐไทย และส่งผลให้วงจรของความรุนแรงไม่มีวันสิ้นสุด ถึงแม้จะมีกระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นแต่หากยังคงเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยากที่จะทำให้เกิดสันติภาพ ที่ยั่งยืนได้ ดังนั้นการสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และ กลุ่มกองกำลังต่างๆ จะนำไปสู่การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ในระดับหนึ่ง
ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม