Skip to main content

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ) 

 

            ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

            วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๒๐ น. สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี นำโดย ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรี ประจำภาคใต้ ในฐานะประธานกรรมการสภาเครือข่ายฯ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการองค์กรความร่วมมือด้านมนุษยธรรมทั้งในและต่างประเทศ (Workshop on Collaborating between regional humanitarian NGO's)

            การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในงานมนุษย์+ธรรม ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา ในอาคารมัสยิดกลางจังหวัดสงขลา ถนนลพบุรีราเมศวร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาโดยมีองค์กรเข้าร่วม เช่น สำนักจุฬาราชมนตรี, สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (YMAT), สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณะสุข (TIMA), เครือข่ายองค์กรมัสยิดชุมชนจังหวัดยะลา (JABIM), สภาประชาสังคมชายแดนใต้ , สมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม (TMSA), สถาบันอัสสลาม (ASSALAM), สภายุวมุสลิมโลก สำนักงานประเทศไทย (WAMY), กลุ่มเรือนร่างเดียวกัน, กลุ่มอุมมะตีย์ (UMMATEE), สมาพันธ์เครือข่ายสื่อมุสลิมไทย (TMMN), สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA), สำนักข่าว i-News, สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยมุสลิม (TMTV)), Majlis Perundingan Pertubohan Islam Malaysia (MAPIM), Malaysia Relief Agency (MRA), Humanitarian Care Malaysia (MyCARE), Doctors Worldwide-Turkey, Al-Amal For Development & Social Care (Al-Amal Lebanon)

            ที่ประชุมได้ถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ขับเคลื่อนงานด้วยกัน ประสบการณ์ด้านบวกและด้านลบตลอดจนแนวทางการดำเนินงานในอนาคตซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเคลื่อนไหวด้านมนุษยธรรมทุกองค์กรควรใส่ใจ เผชิญหน้า และตระหนักรู้ไปด้วยกัน การก้าวข้ามความขัดแย้งในบางปัญหาจะสามารถให้ภารกิจด้านมนุษยธรรมก้าวไปข้างหน้าได้

การเฝ้าระวังข่าวสารบิดเบือน กรองข่าวและไตร่ตรองเนื้อหาข่าวก่อนการนำเสนอ ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ด้านข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สื่อสารภารกิจมากกว่าสื่อสารผลงานบุคคล แสวงหาความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ให้มีความเข้าใจว่าว่าภารกิจด้านมนุษยธรรมเป็นภาระหน้าที่ของมนุษยชาติ ไม่เพียงแต่อาสาสมัครปฏิบัติการเท่านั้น ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานให้ประจักษ์แก่ชาวโลก ช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ สร้างคนรุ่นใหม่มาแทนที่อย่างต่อเนื่อง และประเด็นอื่นๆที่น่าสนใจ

องค์ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของมุสลิมจะต้องสามารถก้าวข้ามศาสนา  ลัทธิที่แตกต่างภายใต้สโลแกนของอัลกุรอานที่ส่งท่านศาสนฑูตเพื่อเมตตาต่อประชาชาติและยึดมั่นใน เจตนารมณ์ของกฎหมายอิสลามเบื้องต้น 5 ข้อ1.ศาสนา  2. ชีวิต 3. สติปัญญา  4. ทรัพย์สิน  5. เชื้อสาย (ตระกูล)

การทำงานด้านนี้ต้องมืออาชีพ มีการทำRoad Map ขององค์กรแต่ละองค์กรแล้วเชื่อมเครือข่าย Road Map (แผนที่เดินทาง)เป็นเครื่องมือจัดการตัวหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริหารให้เห็นภาพของอนาคตช่วยการตัดสินใจ วิเคราะห์ วางแผน กำหนดตัวแปร ติดตามกำกับและประเมินผลที่คาดว่าจะได้มากที่เดียว   Road Map จึงเป็นแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง มียุทธศาสตร์การดำเนินงานพร้อมทั้ง มีการใช้ระบบ PDCA หมายถึงวงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย

                P  = Plan         คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น

                D = Do           คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง

                C = Check       คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด

                A = Action      คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป

มีเจ้าหน้าประจำและอาสาสมัครพร้อมทั้งทำงานเป็นทีมอีกทั้งสามารถร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆที่เป็นข้อเห็นพ้องกัน

            ท้ายสุดมีการทำบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมเพื่อขับเคลื่อนด้านมนุษยธรรมกันดังนี้

สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

Majlis Perundingan Pertubohan Islam Malaysia (MAPIM)

Malaysia Relief Agency (MRA)

Doctors Worldwide-Turkey

Al-Amal For Development & Social Care (Al-Amal Lebanon)

 

            หวังว่าการทำบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมเพื่อขับเคลื่อนด้านมนุษยธรรมกันครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวข้ามความท้าทายของสังคมมุสลิม