เนื่องในโอกาส ครบรอบ 3 ปี ของการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างฝ่ายรัฐบาลไทย และฝ่ายเห็นต่างจากรัฐ (ปัจจุบันคือ มารา ปาตานี) ในงานวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ที่ม.อ. ปัตตานี เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (civic women) และองค์กรภาคี ออกแถลงการณ์ ที่เป็นข้อเรียกร้องที่มาจากเสียงของผู้หญิงในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง และเสียงของผู้หญิงภาคประชาสังคม ที่ทำงานด้านสันติภาพมาอย่างต่อเนื่อง ดังมีรายละเอียดของแถลงการณ์ภาษาไทยและอังกฤษ ข้างล่างนี้
แถลงการณ์ของเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Civic Women) และองค์กรภาคี
เนื่องในโอกาสวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี
และวันสตรีสากล
เนื่องในโอกาสวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี 28 กุมภาพันธ์ 2559 และในโอกาสที่จะถึงวันสตรีสากล 8 มีนาคมนี้ เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Civic Women) และองค์กรภาคี ดังมีรายนามข้างล่างนี้ ขอสะท้อนเสียงและข้อเรียกร้อง ที่ยึดโยงกับเสียงของประชาชนในชุมชน และเสียงของประชาสังคม ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาล และมาราปาตานี รวมทั้งคนจากทุกภาคส่วนของสังคม ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้หญิงในชุมชนและสังคม มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างจริงจังแข็งขัน ทั้งนี้การมีส่วนรวม ต้องคำนึงถึงความเสมอภาค ความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซง การเคารพและให้เกียรติในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และบทบาทของผู้หญิงที่เป็นหุ้นส่วนสำคัญในการสร้างสันติภาพชายแดนใต้
2. ทุกฝ่าย จะต้องช่วยกันทำให้สันติภาพ “กินได้” หมายความว่าจับต้องได้ ยึดโยงกับประชาชนที่เป็น ผู้มีส่วนได้เสียกับสันติภาพ และเกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อประชาชน ทั้งนี้โดย
2.1 การพูดคุยระหว่างรัฐบาล และมารา ปาตานี (track 1) ต้องทำให้ “กินได้” โดยมีความจริงใจ จริงจัง ไม่ตั้งแง่กัน ยึดโยงกับเสียงของประชาชน ข้อเสนอใดก็ตามที่สองฝ่ายพอยอมรับกันได้ ก็ขอให้ยอมรับกันเพื่อให้การพูดคุยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพื่อเห็นแก่ประชาชนที่ไม่อยากให้มีการสู้รบและได้รับผลกระทบอีกต่อไป
2.2 การพูดคุยกับชาวบ้านในระดับชุมชน (track 3)ก็ต้องให้เดินหน้าควบคู่ไปกับ track 1 โดยเฉพาะในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ เพื่อให้ผู้คนทุกฝ่ายที่บอบช้ำ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่เป็นชาวมลายูมุสลิม ชาวพุทธ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่เอง ได้ใช้การสานเสวนาเพื่อรับฟังถึงผลกระทบของกันและกัน และเยียวยาบาดแผลความบอบช้ำที่ชุมชนและคนทุกฝ่ายได้รับ
2.3 ในระหว่างการพูดคุยของ track 1 ทั้งสองฝ่าย ต้องใส่ใจช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากที่ชาวบ้านกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะปัญหาปากท้อง คุณภาพชีวิต ปัญหายาเสพติด ปัญหาการจัดการทรัพยากร นอกจากนั้นต้องไม่ปล่อยให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่หวาดระแวง ตีตรา และปฏิบัติต่อผู้ได้รับผลกระทบจากคดีความมั่งคงเหมือนพวกเขาเป็นโจรผู้ร้ายหรือเป็นผู้ต้องสงสัยไม่จบไม่สิ้น ที่สำคัญขอให้กองกำลังติดอาวุธทุกกลุ่ม ไม่ไปซ้ำเติม ก่อเหตุรุนแรงที่ทำให้ผู้หญิง และชาวบ้านซึ่งไม่ใช่คู่สู้รบ ขาดพื้นที่ปลอดภัยในการดำรงชีวิตและทำมาหากิน ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นสภาวะแวดล้อมที่ทุกๆฝ่าย ต้องช่วยกันดูแลรักษาและทะนุถนอม เพื่อไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนซ้ำซ้อน และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีต่อกระบวนการสันติภาพ
3. สื่อกระแสหลัก สื่อทางเลือกทั้งหลาย เป็นตัวแสดงสำคัญที่จะทำให้สันติภาพเดินหน้าต่อและกินได้ ขอให้พี่น้องสื่อ ช่วยกันสื่อสารให้คนทั่วทุกภาคได้ตระหนักว่าปัญหาชายแดนใต้ เป็นวาระแห่งชาติ ที่พลเมืองไทยทั่วทั้งประเทศ ต้องหันมาสนใจ และสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้วยความเข้าใจ ด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพในบริบทและเสียงของคนในพื้นที่
28 กุมภาพันธ์ 2559
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เครือข่ายองค์กรประชาสังคม และชุมชนที่ร่วมแถลงการณ์
1. เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (CIVIC WOMEN)
2. มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร (HILAL-AHMAR FOUNDATION)
3. แกนนำผู้หญิงพ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
4. แกนนำผู้หญิงยุโป ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา
5. แกนนำผู้หญิงกูจิงลือปะ ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
6. กลุ่มวานีตา ต.พ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
7. กลุ่มมุสลีมะฮ์ KL(กูจิงลือปะ) ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
แถลงการณ์ฉบับภาษาอังกฤษ
The Statement of the Network of Civic Women for Peace and its AlliancesPat(t)ani Peace Media Day and International Women’s Day
On the occasion of Pat(t)ani Peace Media Day (28 February 2016) and the upcoming International Women’s Day (8 March 2016), the Network of Civic Women for Peace and its alliances would like to release a statement as follows:
1. Thai State, Mara Patani and other sectors of the society should actively promote women’s participation in the peace process. Equality, independence, respect and human dignity should be taken into account as women plays a vital role in building peace in the area.
2. All sectors in the society should consider the benefit of locals as a priority and make peace a tangible possibility for every person.
2.1 The peace talk between Thai state and Mara Patani requires sincerity and seriousness. To continue the peace talk, both parties should compromise to reach an agreement. However, locals aspire to see non-violent solutions.
2.2 A peace talk in Track 3 should proceed aligning with Track 1, especially in the communities affected by the conflict. A peace talk among affected people including state authorities, Buddhist and Muslim localscan reduce tension and depression in the area.
2.3 During the peace talk, both parties in Track 1 should struggle to improve the locals’ quality of life, seriously solve drugs problem and sustainably manage natural resources. Moreover, all forms of human rights violations should be rejected. People who are affected by security cases should also be treated with fairness and compassion. Most importantly, armed groups should allow a safe space for women and locals to live. Every sector should make a community a friendly environment for peace building.
3. Mainstream and alternative media are main actors driving the peace forward. It is their role to raise public awareness of the unrest situation in the deep south as a national agenda.Understanding and respecting locals should be considered when tackling the problem.
28 February 2016
Faculty of Communication Sciences
Prince of Songnkla University
The Network of Civic Women for Peace and its Alliances
1. The Network of Civic Women for Peace
2. Hilal-Ahmar Foundation
3. Women’s leaders, PormingSubdistrict, Panare District, Pattani Province
4. Women’s leaders, YupoSubdistrict, Muang District, YalaProvince
5. Women’s leaders, KucingLepas, ChalermSubdistrict, Ra-ngage District, Naratiwat Province
6. Wanita Group, PormingSubdistrict, Panare District, Pattani Province
7. KL Muslimah Group, KucingLepas, ChalermSubdistrict, Ra-ngae District, Naratiwat Province
For more information, please contact:
Ms. Soraya Jamjuree
[email protected]
เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ในเพจของผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนคใต้