Skip to main content

ฐิตินบ  โกมลนิมิ

 

ในการอบรมเครื่อข่ายเยาวชนชายแดนใต้ที่ปัตตานี เมื่อไม่นานนี้ ซึ่งมีเวลาน้อยมากในการอธิบายวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการขับเคลื่อนการสื่อสารเชิงประเด็นโดยเฉพาะการสื่อสารสันติภาพ ความโชคดีอยู่ที่พี่ ‘มูฮำมัดอายุบ ปาทาน’ กับ ‘รอมฎอน ปันจอร์’ ปูพื้นฐานเรื่องการสื่อสารกระบวนการสันติภาพไว้ล่วงหน้าที่ ให้ความสำคัญกับการสร้าง ‘พื้นที่กลาง’ ในการสมดุลข้อมูลข่าวสารจาก 'ตัวละคร' ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพ หรือประเด็นที่แต่ละคนเกาะเกี่ยวอยู่ ไม่นำเสนอในลักษณะทำลายการต่อสู้ของคู่ขัดแย้ง แต่เปิดให้เห็นวิธคิดการต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งให้ความสำคัญ 3 เรื่อง คือ ความรู้ - เครือข่าย - การขับเคลื่อนทางสังคม และจะทำอย่างไรเพื่อดึงเสียงจากชุมชนขึ้นมาให้สาธารณะได้ยิน และสื่อความรู้จากสาธารณะกลับสู่ชุมชนด้วย

 

เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงเพื่อพูดประเด็นสุดท้าย “การใช้การสื่อสารขับเคลื่อนทางสังคม” ป้าก็หากินง่ายเลย เริ่มต้นจากสำรวจว่า เฉพาะกลุ่มเยาวชนอย่างน้อยกว่า 30 คน (ที่เข้าอบรม) ซึ่งนับเป็นชุมชนแบบหนึ่งใช้ ‘เครื่องมือ’ อะไรในการสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างกันบ้าง .

 

วิธีสำรวจนั้นเพื่อให้ได้ทั้งเชิงปริมาณว่า กี่ช่องทางใดและจำนวนกี่คน สำหรับเชิงคุณภาพก็เป็นการเก็บข้อมูล ID Account เยาวชนทุกคนเป็นฐานข้อมูลไปพร้อมกัน เพื่อเริ่มต้นสื่อสารเชื่อมโยงกันโดยทันที

 

เครื่องมือที่ใช้สำรวจ/ประเมินการสื่อสารเครือข่ายเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพครั้งนี้ ใช้ ‘Printing Post it’: Social Media 4 app. คือ Facebook Twitter Line และ Instagram โดยป้าแจก ‘Printing Post it’ ดังภาพให้น้องๆเยาวชน กรอกรายละเอียดแต่ละ ID Account ของ Application ที่ใช้งาน และขอให้ทุกคนนำข้อมูลไปแปะบนกระดานเพื่อจะได้เห็นภาพรวมสถานการณ์การสื่อสารของเครือข่ายเยาวชนพร้อมกัน จากการสำรวจพบว่า เครือข่ายเยาวชนใช้ FB มากที่สุด รองลงมาคือ Line Instragram และ Twitter เรียงลำดับจากมากมาน้อย

 

ได้อธิบายความสำคัญและจุดเด่นของของการใช้เครื่องมือการสื่อสารแต่ละ application ที่ควรเชื่อมโยงกับ Web Base ในที่นี้ได้ยกตัวอย่างเว็บไซต์ www.deepsouthwatch.org เป็นกรณีตัวอย่าง ในการออกแบบทั้ง “สื่อ” และ “สาร” การใส่ข้อมูลใน web base และขยายผลสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างไร โดยเน้นย้ำว่า การคิดกิจกรรมใดๆไม่ควรแยกขาดกับการสื่อสาร วิธีคิดในการขับเคลื่อนการสื่อสารต้องคิดสามก้อนพร้อมกัน คือ ความรู้ - เครือข่าย - การขับเคลื่อนทางสังคม ในสองระนาบพร้อมกันด้วยคือ online และ offline ที่สำคัญหากวางยุทธศาสตร์การสื่อสารไว้ที่เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ ถามว่า “มวลชน” และ “เครือข่าย” ของเครือข่ายเยาวชนนั้นคือใคร พูดง่ายๆ add แต่เพื่อนกันเอง ทำเองรู้กันเองเฉพาะกลุ่มตนเท่านั้น หรือได้ขยายวงออกไปรู้จัก ‘ตัวละคร’ อื่นๆ บ้างหรือยัง อยากสื่อสารกับใครรู้ช่องทางที่จะสื่อสารกับเขาหรือยัง เป็นต้น

 

ห้วงเวลาที่จำกัด ทำได้อย่างมากเพียงจำลอง “ชุมชนเยาวชน” ให้เห็นเท่านั้นว่ากำลังสื่อสารสิ่งใด ด้วยเครื่องมือใดอยู่ และถ้าคิดถึงชุมชน และสาธารณะที่กว้างขึ้นกว่าห้องอบรมจะออกแบบทั้ง “สื่อ” และ “สาร” อย่างไร? สำหรับป้าชั่วโมงเดียวได้พัฒนานวัตกรรมหรือเครื่องมือในการชวนคนุร่นใหม่ให้เห็นภาพและทำงานต่อร่วมกันทันทีได้เลย คุ้มแล้วหนึ่งชั่วโมง

 

สำหรับไอเดียเรื่อง ‘Printing Post it’: Social Media นั้นป้าหยิบยืมดัดแปลงจากโลกของ Pinterest: DIY Secret: How to Print on Post-It Notes (and Free Printable Template) http://goo.gl/Vv4yd