ที่มา : ประชาไท
องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ ออกแถลงการณ์ที่ใช้ชื่อว่า "ประเทศไทย : ความหวาดกลัวเข้าปกคลุมการศึกษาในภาคใต้ ครูกลายเป็นเป้าหมายของการสังหารล้างแค้น และความรุนแรง" (Thailand: Education in the South Engulfed in Fear) ระบุการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนระลอกใหม่ต่อครูและโรงเรียน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
ครูในจังหวัดนราธิวาสต้องตัดสินใจปิดโรงเรียนมากกว่า 300 แห่งในพื้นที่ 13 อำเภอเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ภายหลังจากที่ครูสามคนถูกสังหารในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน โดยมือปืนสองคนบุกเข้าไปในห้องสมุดโรงเรียนบ้านซากอ ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร แล้วใช้อาวุธปืนพกจ่อยิงศีรษะครูเสียชีวิตทันทีสองคน คือ นางนิภาพร ทรัพย์โสภา อายุ 43 ปี และ น.ส.ยุพา เซ๋งวัฒน์ อายุ 26 ปี ท่ามกลางสายตานักเรียนจำนวนมากที่อยู่ในระหว่างช่วงพักกลางวัน และกำลังเล่นอยู่ที่บริเวณหน้าห้องสมุด
ทั้งนี้ องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์พบว่า ก่อนหน้าเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้ ครูในโรงเรียนบ้านซากอเคยถูกกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนข่มขู่มาก่อน หลังจากนั้น ประมาณหนึ่งชั่วโมง นายสมหมาย เหล่าเจริญสุข อายุ 55 ปี ครูโรงเรียนบ้านเจ๊ะเก ตำบลโงสะโต อำเภอระแงะ ถูกมือปืนยิงด้วยอาวุธปืนอาร์กาเข้าที่บริเวณศีรษะ ลำตัว และสะโพก จนเสียชีวิตอยู่ภายในร้านขายของชำ ขณะที่กำลังบันทึกรายชื่อเด็กที่ยังไม่ได้ไปเข้าโรงเรียน
นายแบรด อาดัมส์ ผู้อำนวยการแผนกเอเชียขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า "กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบคุกคามครูและโรงเรียน เนื่องจากเห็นว่า ครู และโรงเรียนเป็นสัญลักษณ์ของรัฐไทย แต่การโจมตีดังกล่าวเป็นการก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรง และไม่สามารถเอาเหตุผลใดๆ มาอ้างความชอบธรรมได้"
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน กองกำลังติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนได้เผาโรงเรียน 11 แห่งในอำเภอระแงะ จังหวัดยะลา โดยอ้างว่า เป็นการตอบโต้ต่อเหตุการณ์ที่นายอับดุลสะมัด สามะ อายุ 60 ปี อุสตาซปอเนาะบ้านบาลอ และประธานชมรมครูสอนศาสนา อำเภอรามัน ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน และในวันที่ 13 มิถุนายนนั้นก็ยังมีกลุ่มเด็ก และสตรีมุสลิมจำนวนกว่า 500 คนมาชุมนุมประท้วงปิดถนนสายรามัน-โกตาบารู ตรงบริเวณหน้ามัสยิดกลางประจำ อำเภอรามัน เพื่อแสดงความไม่พอใจ และเรียกร้องความยุติธรรม โดยมีการกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่นายอับดุลสะมัดถูกยิงเสียชีวิต ความรุนแรง และการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นทำให้โรงเรียน 60 แห่งในพื้นที่อำเภอรามัน ต้องตัดสินใจปิดการเรียนการสอน เนื่องจากกลัวว่า จะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีล้างแค้นของกองกำลังติดอาวุธแบ่งแยกดินแดน
รัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สัญญาว่า จะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยของครู และโรงเรียน องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ขอสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็มีความกังวลว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลส่วนกำลังสนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนไทยพุทธใช้ศาลเตี้ย และวิธีการตอบโต้แบบ "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ในการป้องกันตนเองจากการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดน ทั้งนี้ ได้ปรากฏข้อกล่าวหาว่า การลอบสังหารอุสตาซหลายคน และการโจมตีโรงเรียนปอเนาะหลายแห่ง นับตั้งแต่ที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 นั้น เป็นการการกระทำเพื่อล้างแค้นต่อกรณีที่กองกำลังติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนโจมตีครู และโรงเรียนของรัฐบาล
นายแบรด อาดัมส์ กล่าวว่า "กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาจจะยกเอาข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการกระทำของกองกำลังของรัฐบาล มาใช้เป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมในการโจมตี ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า ความพยายามใดๆ ในการปกปิดการกระทำความผิดของกองกำลังของรัฐบาล หรือช่วยปกป้องไม่ให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องรับผิดชอบในทางคดีอาญา จะกลายเป็นการขยายวงจรความรุนแรง และการล้างแค้นออกไปในวงกว้างมากขึ้น"
งานวิจัยขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์พบว่า การโจมตีของกองกำลังติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนที่เรียกตัวเองว่า นักสู้เพื่อเอกราชปัตตานี (pejuang kemerdekaan Patani หรือ pejuang) ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 นั้น ได้ทำให้ครูเสียชีวิตไปแล้วถึง 75 คน และบาดเจ็บอีก 91 คน นอกจากนี้ ยังมีการเผาโรงเรียนไปอีก 194 แห่ง องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ยังพบด้วยว่า ใบปลิวที่นักสู้เพื่อเอกราชปัตตานีเผยแพร่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีเนื้อหาที่เป็นการข่มขู่อย่างชัดแจ้งไม่ให้ชาวมุสลิมส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาล และห้ามไม่ให้ชาวมุสลิมร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกวิถีทาง โดยได้ระบุว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดข้อห้ามทางศาสนา ซึ่งจะต้องมีการลงโทษอย่างรุนแรง รวมทั้งการสังหารผู้ที่กระทำความผิด และครอบครัวด้วย
นายแบรด อาดัมส์ กล่าวว่า "กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกำลังพยายามที่จะทำให้โรงเรียนของรัฐบาลทุกแห่งต้องปิดตัวลง โดยการใช้การโจมตีอย่างเหี้ยมโหด และการข่มขู่สร้างความหวาดกลัวเป็นเครื่องมือ ซึ่งผลของการกระทำดังกล่าว ทำให้คุณภาพของการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตกอยู่ในระดับต่ำที่สุดของไทย"
Thailand: Education in the South Engulfed in Fear
Teachers Targeted in Spiral of Reprisal Killings and Violence
(New York, June 14, 2007) - A new surge of violent attacks on teachers and schools by separatist militants has seriously disrupted education in Thailand's southern border provinces, Human Rights Watch said today.
Officials in Narathiwat province have been forced to close more than 300 government schools in all 13 districts this week after insurgents killed three teachers on June 11. Two gunmen walked into the library of Ban Sakoh school in Si Sakhon district around noon and shot two female teachers, Thippaporn Thassanopas, 42, and Yupha Sengwas, 26, in the head, abdomen and legs. They died instantly in front of some 100 children, who were playing in front of the library after lunch. Both teachers received warnings before they were killed.
Approximately an hour later, a male teacher was shot dead in a grocery store in Ra Ngae district. Sommai Laocharoensuk, 55, a teacher at Ban Jehke School, was hit six times by AK-47 fire in the head and body. An eyewitness said six gunmen walked into the shop and opened fire on Sommai, who was registering the names of children to be enrolled in his school.
Human Rights Watch said it believed those responsible were separatist militants because of a long pattern of similar attacks on government schools and teachers, along with continuing public threats.
"Insurgents are terrorizing teachers and schools, which they consider symbols of the Thai state," said Brad Adams, Asia director at Human Rights Watch. "These attacks are grave crimes and cannot be justified by any cause."
On June 13, militants burned down 11 schools in Yala province's Raman district, apparently in retaliation for the June 12 murder of Abdulraman Sama, 60, a respected Muslim religious teacher. More than 500 Muslim women and children blocked a highway in front of a mosque in Raman district in protest of his killing, accusing government security forces of responsibility. Fears of further reprisal attacks on schools have led to the closure of 60 other schools today.
The military-backed government of General Surayud Chulanont has promised to give special attention to measures that would make schools safe and teachers secure in their work. Human Rights Watch urged the government to take appropriate steps to ensure the security of schools, but expressed concern about vigilantism inspired by authorities who encourage the local Buddhist Thai population to defend itself against insurgents. Since the military coup in September 2006, there have been reported assassinations of Muslim religious teachers (ustadz) and attacks on Muslim schools (ponoh) in revenge for insurgent attacks on government teachers and schools.
"Insurgents might claim that abuses by the security forces justify their attacks, but the Thai government must not allow its troops to adopt the same logic," Adams said. "Any attempt to cover up the misconduct of security forces, or to protect them from criminal responsibility, will further escalate a cycle of reprisal violence."
According to Human Rights Watch's research, the new generation of separatist militants - calling themselves Patani Freedom Fighters (pejuang kemerdekaan Patani, or pejuang) - has been responsible for 75 deaths and 91 injuries of teachers since January 2004, when the insurgency escalated. They have also burned 194 schools in the same period.
Human Rights Watch examined leaflets distributed by pejuang militants in the southern border provinces explicitly warning ethnic Malay Muslims not to send children to government schools and not to cooperate with Thai authorities. The leaflets say that doing so is considered to be a forbidden sin (haram) and can be subject to severe punishment - including death.
"Insurgents are attempting to close down all government schools," Adams said. "Their campaign of terror strikes a serious blow to public education in the southern border provinces, which already retain the lowest test scores in Thailand."