ความจำเป็นนักวิชาการ องค์ภาคประชาสังคมชายแดนใต้กับการสังเกตการณ์ลงประชามติ
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
[email protected], http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วย พระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์พระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญที่จะจัดให้มีการลงประชามติของประชาชนในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นั้น ซึ่งในมาตรา 7 ระบุ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย ขณะที่ ในมาตรา 61 ระบุ ผู้ใดกระทําการ ฝ่าฝืน พ.ร.บ. ฉบับนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งมีกําหนดไม่เกินห้าปีด้วยก็ได้
ในเชิงวิชาการ “รัฐธรรมนูญกับประชามติควรเลือกได้ในแง่ปฏิบัติ” ปัจจุบันกกต. ประชาสัมพันธ์ร่างนี้ ผ่านหลากหลายรูปแบบ เช่น ครู ก. ครู ข การประชาสัมพันธ์จะต้องไม่อธิบายข้อดีรัฐธรรมนูญเพื่อให้รับ
ดังนั้นนักวิชาการ องค์ภาคประชาสังคมชายแดนใต้จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรขับเคลื่อนสังเกตการณ์เพื่อถ่วงดุลหรือให้ความรู้ร่างรัฐธรรมนูญนี้โดยเฉพาะประเด็นต่างๆ
ประเด็นแรก สิทธิเสรีภาพประชาชนหายไปหรือไม่
ประเด็นสองศาสนา
ประเด็นสามการศึกษา
ประเด็นสี่การปกครองส่วนท้องถิ่นและอื่นๆที่เกี่ยวกับการจะหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพโดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อเชิญชวนประชาชนออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติอย่างมีวิจารณญาณ
3. เพื่อให้การลงประชามติเป็นไปตามกฏหมาย และเกิดความยุติธรรม
4. เพื่อป้องกันและดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนไม่ให้กระทำผิดกฏหมายประชามติ
5. เพื่อสังเกตการณ์ และเฝ้าระวังไม่ให้มีการทุจริตในการนับคะแนนลงประชามติ
6. เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีเผยแพร่ฯ อาทิ ก่อนเผยแพร่ ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลงานวิจัย รวมถึงที่มาก่อนนำมาประกอบความเห็นหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการ เป็นต้น