รายงานโดย อิมรอน ซาเหาะ นักข่าวพลเมือง โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
22 ก.ค 2559 กลุ่มภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ได้ร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ เรื่องการปกป้องพลเรือน การลดความรุนแรงและการสร้างพื้นที่ปลอดภัยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนจากบทเรียนและการปฏิบัติการในพื้นที่ความขัดแย้ง ผ่านวงเสวนาแลกเปลี่ยนการทำงานของพลังประชาชนจากประเทศฟิลิปปินส์ เมียนมา และจังหวัดชายแดนใต้ของไทย
พื้นที่ปลอดภัยเป็นหนึ่งในประเด็นที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนใต้ขับเคลื่อนมาโดยตลอด นี่เป็นอีกครั้งที่โรงเรียนวิชาการเมือง ศูนย์ เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เปิดวงสาธารณะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากประเทศที่มีความขัดแย้งและภาคประชาสังคมในพื้นที่ได้เรียนรู้และจะนำไปใช้อย่างไร
ลม้าย มานะการ คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ทำให้เรามั่นใจขึ้นนะคะว่า ในหลายประเทศเขาพูดเรื่องการสร้างพื้นที่ปลอดภัย เพราะว่าผู้หญิงที่ทำงานในคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ เราก็เรียกร้องเรื่องพื้นที่สาธาราณะปลอดภัย มันทำให้เราคิดว่าเราจะเดินเรื่องนี้ต่อไปผลักดันนโยบายให้เกิดให้ได้ ให้มีรูปธรรมที่แท้จรองของพื้นที่สาธารณะปลอดภัย
ดร.ตายูดิน อุสมาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พื้นที่สันติภาพในทั่วโลกเขาใช้กัน ดังนั้นพื้นสามจังหวัดช่ยแดยใต้ก็จำเป็นต้องใช้ ซึ้งการแลกเปลี่ยนในวันนี้ความประโยชน์อย่างมาก ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ก็เช่นเดียวกัน จะทำอย่างไรให้มีพื้นที่ปลอดภัย เมื่อชุมชนมีความปลอดภัยสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้ก็จะเกิดความสงบ
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ จุดที่สำคัญคือต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของภาคประชาสังคม หรือคนในท้องถิ่นที่จะสามารถเข้าร่วมกระบวนการในการแก้ปัญหาร่วมกัน เราจะทำย่างไรให้ประชาชนช่วยเหลือกันได้และร่วมมือกับฝ่ายต่างๆเพื่อนำมาสู้ภาวะสันติในระดับชุมชน
บทเรียนสำคัญที่ภาคประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ของไทยได้เรียนรู้ ไม่ใช่เพียงประสบการณ์จากคณะทำงานในพื้นที่ขัดแย้งอื่นๆ เท่านั้น แต่ยังมองเห็นรูปธรรมโดยเฉพาะการเปิดพื้นที่การทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้พื้นที่ชายแดนใต้เป็น ความสันติที่มองเห็นภาพ และนำไปสู่การปฏิบัติงานได้จริงต่อไป