ถอดบทเรียน TriPEACE via ASEAN Muslim Societies ไตรสันติภาพบนเส้นทางสังคมมุสลิมอาเซียน
โดย : อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ
ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
เมื่อ 30 ก.ย.2558 ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ คณะรัฐศาสตร์ สถาบันสันติศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.สงขลานครินทร์ ได้ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ วิทยาลัยประชาชน และสถาบันอัสสลาม ม.ฟาฏอนี (มฟน.) ได้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ว่าด้วยไตรสันติภาพบนเส้นทางสังคมมุสลิมอาเซียน ภายใต้หัวข้อ “สังคมมุสลิม, ความรู้ และการสร้างสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ณ วิทยาลัยอิสลามนานาชาติ ม.อ.ปัตตานี โดยมีนักวิชาการทั้งใน และต่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม นักศึกษา จำนวน 400 คนเข้าร่วม
1. วัตถุประสงค์หลัก
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการข้ามพื้นที่ใน “สามพื้นที่ความขัดแย้ง สามกระบวนการสันติภาพ” ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นฐานคิดสำคัญของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ทั้งนี้ ก็เพื่อแบ่งปัน สานสัมพันธ์ และประมวลองค์ความรู้ผ่านบทเรียนและการคิดใคร่ครวญของนักวิชาการในภูมิภาคดังกล่าวนี้ ไปพร้อมๆ กับการพยายามสร้างความร่วมมือข้ามพื้นที่เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน โดยคาดหวังว่าความรู้ที่แฝงฝังอยู่ในสังคมมุสลิมเหล่านี้นี่เองที่เป็นต้นทุนอย่างดีในการเผชิญหน้ากับความท้าทายในปัจจุบัน
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งฯ ระบุว่า
“การที่เราเชื่อมโยงให้เห็นว่าพื้นที่อย่างมินดาเนาของฟิลิปปินส์และอาเจะห์ในอินโดนีเซียกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่นี่ก็เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพราะเราต่างเผชิญกับความขัดแย้งที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่มีขั้นตอนหรือกระบวนการสันติภาพที่แตกต่างกัน ผมเชื่อว่าหากเราสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานความรู้ด้วยกัน เราอาจพัฒนาประสบการณ์ของทั้งสามพื้นที่นี้ให้เป็นตัวแบบในการแก้ไขความขัดแย้งต่อไปได้ในอนาคต”
2. ผลการสัมมนา
จากการสัมมนาพบว่า
1. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับพลวัตของสังคมมุสลิมในพื้นที่ความขัดแย้ง
เช่นปาฐกถาโดยนักวิชาการ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยในพื้นที่ความขัดแย้ง 3 แห่ง ได้แก่ ศ.ดร.ยุสนี ซาบี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งชาติอัลรานิรี จากอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ได้ถอดบทเรียนของอาเจะห์ในประเด็นหลัก 1. การศึกษาและสันติภาพ: บทเรียนจากอาเจะห์ 2. ก้าวข้ามความขัดแย้ง คนที่มีความรู้พูดได้มากกว่าคนถืออาวุธ 3. บทบาทของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ความขัดแย้ง โอกาสของคนท้องถิ่น 4. สันติภาพต้องรักษาไม่ให้พังทลาย คนเห็นต่างต้องร่วมมือ 5. การปรับความคิดจากเอกราชสู่ความเป็นหนึ่งเดียว 6. อาเจะห์ต้องไปไกลกว่าพื้นที่ตนเอง และกำหนดใจตนเองได้ “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้นำ จงเป็นแบบอย่าง ถ้าไม่เป็นแบบอย่างแล้วก็จงเอาผู้นำนั้นลงมาแต่แน่นอนว่าต้องทำด้วยแนวทางสันติวิธี”
ดร. มูฮำหมัด อับดุลเราะห์มาน รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งชาติอัลรานิ, เมืองบันดาร์อาเจะห์, ประเทศอินโดนีเซียได้ถอดบทเรียน สำคัญของบทบาทมหาวิทยาลัยในการพัฒนาสังคมและการเมืองหลังเหตุสึนามิโดยการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพผ่านงานวิชาการให้คนทำงานด้านนี้จากทุกภาคส่วนเพราะการทำงานบนฐานวิชการมันจะสร้างความน่าเชื่อถือของกระบวนการสันติภาพถึงแม้การได้มานั้นจะแสนแพงมากทั้งชีวิต ทรัพย์สิน คณานับ
ศ.ดร.มาคาปาโด อบาตอน มุสลิม อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมินดาเนา จากหมู่เกาะมินดาเนา ของประเทศฟิลิปปินส์ได้ถอดบทเรียนกระบวนการสันติภาพระหว่างกลุ่มต่อต้านรัฐในมินดาเนากับรัฐบาลกลางฟิลิปินส์
มินดาเนาเองก็กำลังอยู่ในห้วงเวลาสำคัญของกระบวนการสันติภาพทียั่งยืนถึงแม้มี "พิธีลงนาม The Comprehensive Agreement on Bangsamoro การลงนามดังกล่าวเป็นความสำเร็จระดับหนึ่งของชาวมินดาเนาภายใต้การนำของขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front, MILF) และรัฐบาลฟิลิปปินส์” แต่ก่อนจะได้สนธิสันญานี้ ได้ผ่านข้อตกลงก่อนหน้านี้คือ ข้อตกลงสันติภาพกับขบวนการปลดปล่อยโมโรแห่งชาติ MNLF ในปี 2539
แม้ใช้เวลาในการเจรจาถึง 18 ปี แต่ทำให้คนโมโร คนฟิลิปปินส์ได้เรียนรู้ว่า การสร้างสันติภาพต้องเกิดจาการมีส่วนร่วม ความเข้มแข็ง และการเป็นเจ้าของจากทุกฝ่ายในสังคมรัฐเดินคนเดียวหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดำเนินคนเดียวไม่ได้
ศาสตราจารย์ ดร.อัสนาวิล รอนซิง คณบดีศูนย์กษัตริย์ไฟซอลเพื่อการศึกษาอิสลาม, อาหรับ และอาเซียน, มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมินดาเนาได้ให้ความสำคัญถึงกฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) และอนาคตของโครงสร้างทางสังคมการเมืองในมินดาเนา ซึ่งประเด็นหลักว่าจะต้อง คลอบคลุมทุกฝ่ายและมีหลักนิติธรรมอันนำไปสู่อนาคตการวางโครงสร้างทางสังคมการเมืองในมินดาเนา
สำหรับพื้นที่สามคือปาตานีหรือจัหวัดชายแดนภาคใต้นั้นช่วงที่หนึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียาอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี (FatoniUniversity), ปัตตานีได้กล่าวสาระสำคัญของกระบวนการสันติภาพผ่านองค์ความรู้จากหลักพื้นฐานอิสลาม วัตรปฏิบัติของศาสนฑูตมุฮัมมัด ถึงแม้ท่านพยายามหลีกเลี่ยงสงครามแต่ก็สงครามรุกรานจากศัตรูท่าน ทำให้ศาสนฑูตและบรรดาสหายต้องออกมาปกป้องด้วยการใช้อาวุธเพื่อนำสันติภาพกลับมา การทำสงครามของท่านศาสนฑูตมีกฎกติกา จรรญามารยาทมากมายทำให้เกิดการสูญเสียน้อยเมื่อเทียบกับสงครามครูเสด สงครามโลกเป็นต้น สุดท้ายท่านก็ยอมลงสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะห์ก่อนทำพิธีฮัจญ์ซึ่งผู้เขียนมีทัศนะว่าท่านอธิบายรูปประธรรมในหลักการอิสลามและให้นำหนักเชิงพื้นที่น้อยไปนอกจากท่านเรียกร้องช่วงท้ายว่าอยากให้สถาบันการศึกษามีรายวิชา “สันติวิธี” อยากให้นักเรียนจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับ “สันติภาพ” เพื่อให้ทัศนคติแก่นักศึกษาเพื่อรัก “สันติภาพ ”อยากให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันทางการศึกษาที่จากปตานี อาเจะห์ และมินดาเนา ในเรื่องสันติภาพ อยากให้ทุกฝ่ายสร้างสันติภาพในสังคม ไม่ว่าสังคมใหญ่และสังคมเล็ก รัฐบาล เอกชน และหน่วยงานต่างๆ มีจุดหมายเดียวกันนั้นคือ “ชีวิตนี้ต้องมีสันติ” มหาวิทยาลัยต้องพยายามผลิตสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สื่อออนไลน์ เพื่อเป็นรูปแบบของสันติภาพในแต่ละพื้นที่ สนับสนุนให้อิหม่าม คอเต็บ ตามมัสยิดต่างๆ ได้อ่านคุตบะฮ์ เกี่ยวกับสันติภาพ และอยากให้รัฐมี Road Map ในการสร้างสันติภาพ
หลังจากนั้นมีการอภิปรายสะท้อนความคิดจากปาฐกถา 3 ท่าน
1. รองศาสตราจารย์ ดร. คอยรุดดีน อัลจูเนียต
อาจารย์ประจำสาขาวิชามลายูศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University Of Singapore), ประเทศสิงคโปร์ 2.ศาสตราจารย์ ดาโต๊ะ ดร. ออสมาน บาการ์ ผู้อำนวยการศูนย์อิสลามศึกษาสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน, มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสลาม (Universiti Brunei Darussalam), ประเทศบรูไน3. รองศาสตราจารย์ ดร.อับดุล ราซัก อะห์หมัดอาจารย์ประจำภาควิชายุทธศาสตร์ศึกษา, คณะการป้องกันประเทศศึกษาและการจัดการ, มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งมาเลเซีย (National Defence University of Malaysia), ประเทศมาเลเซีย
ทั้งสามท่านเห็นด้วยกับองค์ปาฐกแต่รองศาสตราจารย์ ดร. คอยรุดดีน อัลจูเนียต
อาจารย์ประจำสาขาวิชามลายูศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University Of Singapore), ประเทศสิงคโปร์
๑.มุสลิมส่วนใหญ่ มีความรู้น้อยในอิสลามที่แท้จริงให้ความสำคัญและมีองค์ความรู้มากเฉพาะ
การประกอบศาสนกิจเท่านั้นจึงสร้างความขัดแย้งมากมายมีบางส่วนจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย พร้อมให้ความร่วมมือกับ ISIS ซึ่งพบว่าคนพวกนี้เข้าใจอิสลามแบบฉาบฉวยในบางส่วนเท่านั้น
๒.มุสลิมไม่รู้จักเพื่อนบ้านต่างวัฒนธรรม ไม่เคยเรียนรู้วิถีชีวิตคนพุทธ คนเชื้อสายจีนในชุมชน ไม่เคยทำความเข้าใจ ไม่สนใจ ทำตัวเหมือนอยู่ในหลอดไซโลขณะที่คนสมัยก่อนโน้น มีความสนใจเพื่อนบ้านและให้ความสำคัญกับคนเหล่านั้น
๓.มุสลิม ไม่เข้าใจในศาสตร์ของการจัดลำดับความสำคัญ เมื่อต้องการเปลี่ยนสังคม คิดว่าต้องใช้กระบวนการรุนแรงเท่านั้น ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่สำคัญคำตอบของการแก้ไขเรื่องนี้คือการศึกษา การศึกษา และการศึกษา
๔.เมื่อถามมุสลิมว่าอัลกุรอานเป็นของใคร คำตอบจากส่วนใหญ่คือ เป็นของมุสลิม ซึ่งความจริงแล้วคือ คัมภีร์นี้เป็นของทุกคนและ ทุกประชาชาติ ทุกคนต้องเรียนรู้ต้องทำความเข้าใจ คนระดับพื้นฐานมีความสำคัญมาก ต้องจัดการเรียนรู้ถึงคนเหล่านั้น มุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะพูดสานเสวนา กับคนที่ไม่ใช่มุสลิม สำหรับประโยคสุดท้ายที่ท่านทิ้งไว้คือTaaruf..หรือทำความรู้จักจะได้มาก็ด้วยการศึกษา
ศาสตราจารย์ ดาโต๊ะ ดร. ออสมาน บาการ์ผู้อำนวยการศูนย์อิสลามศึกษาสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน, มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสลาม (Universiti Brunei Darussalam), ประเทศบรูไนตลอดระยะเวลาประมาณ 40 ปีทั้งสามพื้นที่สมารถถอดบทเรียนหนุนเสริมกันได้แต่มีปัจจัยที่เหมือนและไม่เหมือน ที่ไม่เหมือนย่อมจะมีวิธีการแก้ปัญหาต่างกันแต่อย่างไรก็แล้วแต่ความรู้คือแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
ซึ่งเป้าหมายคือการสร้างสันติภาพ แต่สำหรับดาโต๊ะฯ นั้น ความรู้คือแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย การศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ การจัดการองค์ความรู้ของอิสลามที่จะต้องดำเนินคู่กันไปในกรอบคิดไม่ว่าเป็นฟัรดูอีนหรือฟัรดูกีฟายะหฺ การศึกษาจำเป็นต้องเข้าถึงทุกระดับ และสิ่งหนึ่งที่สำคัญของความรู้คือการสนทนา ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นระหว่างอิสลามกับสิ่งภายนอกเท่านั้นแต่ภายในอิสลามด้วยเช่นกัน เนื่องจากในสังคมมุสลิมกันเองเราก็มีความขัดแย้งต่อกัน องค์ความรู้แบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ก็มีความขัดแย้งต่อกัน
การสานเสวนานี้เป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถเห็นได้จากบทเรียนของมินดาเนาที่มีการสานเสวนาระหว่างมุสลิมกับคริสเตียนอยู่บ่อยครั้ง การสานเสวนานี้ไม่ได้หมายถึงการเสวนาในประเด็นทางปรัชญาศาสนา หากแต่เป็นประเด็นร่วมกันไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การพัฒนาสังคม เราจำเป็นต้องศึกษาถึงศิลปะของการอยู่ร่วมกัน
ท้ายสุด ท่านให้ทัศนะว่าแน่นอนว่าอิสลามไม่ได้สอนถึงความรุนแรง(อย่างเดียวมีสองมิติ)มุสลิมจำเป็นที่จะต้องใช้การเสวนาร่วมกัน มองบนฐานของความเป็นมนุษย์ที่เป็นลูกหลานของท่านนบีอาดัมเหมือนกัน พวกเราจำเป็นต้องสื่อสารถึงสังคมมุสลิมให้ใช้องค์ความรู้ที่ถูกต้อง ในปัจจุบันเราใช้ความรู้สึกของเราที่มีต่อผู้อื่นมิใช่ความรู้ ถ้าเราเข้าถึงองค์ความรู้อิสลามแล้วแน่นอนว่ามีรายละเอียดอยู่ แต่เราไม่ได้นำมันมาพัฒนาต่อ ไม่ว่าจะใช้เพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพยากรมนุษย์ก็ตาม ขณะเดียวกันก็ควรเปิดพื้นที่ให้กับทรัพยากรจากสังคมอื่นให้เข้ามาได้ด้วยเช่นกัน
รองศาสตราจารย์ ดร.อับดุล ราซัก อะห์หมัดอาจารย์ประจำภาควิชายุทธศาสตร์ศึกษา, คณะการป้องกันประเทศศึกษาและการจัดการ, มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งมาเลเซีย (National Defence University of Malaysia), ประเทศมาเลเซียกล่าวเพิ่มเติมถึง 2 ประเด็นหลักคือ ปัญหาของความรู้มุสลิม(ส่วนใฆญ่)กับโลกสมัยใหม่ ที่จะหาแนวทางอย่างไรให้สามารถเดินไปด้วยกันได้ ประเด็นนี้นับว่าเป็นประเด็นที่น่ากังวล โดยที่เขาเป็นคนหนึ่งที่ศึกษาในด้านการก่อการร้ายและการเผชิญหน้า แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ขัดกับมุสลิมหลายคนที่เลือกใช้ความรุนแรงและแนวทางสุดโต่ง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการไม่สามารถประยุกต์ตัวเองให้เข้ากับโลกสมัยใหม่ในกระบวนการคิดของอิสลามได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการศึกษาจึงสำคัญ ความสำคัญของความเป็นสมัยใหม่ที่จะทำให้เห็นชัดได้นั้นก็จะสามารถทำได้ผ่านการลงทุนในด้านการศึกษา
ประเด็นที่สอง คือ มาเลเซียพยายามแสดงบทบาทในการสนับสนุนการเจรจาสันติภาพในฟิลิปปินส์ สิ่งที่มาเลเซียบอกต่อฟิลิปปินส์ไม่ใช่เริ่มด้วยการเจรจาเลย เพราะการเจรจาไม่ใช่จุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นคือการที่มาเลเซียเสนอการฝึกผู้เจรจาและผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการสร้างสันติภาพในอนาคตให้กับฟิลิปปินส์ ซึ่งตัวเขาเองได้มีส่วนร่วมกับการฝึกอบรมครั้งนี้ แม้ว่าจะมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษาหรือระดับของความรู้ แต่การอบรมครั้งนี้ไม่ได้ไปเน้นในการพูดคุยทางความคิด แต่เป็นการพาไปให้เห็นการพัฒนาในด้านต่างๆ และการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายในมาเลเซีย เพื่อที่จะบอกว่านี่คือแนวทางหนึ่งของความเป็นสมัยใหม่ ที่ทุกคนพยายามต้องการหาคำตอบ ถ้าใช่ มันจะเกิดขึ้นไม่ได้จนกว่าคุณจะหยุดและนั่งคุยกันเกี่ยวกับสันติภาพและมองไปข้างหน้าในประเด็นการพัฒนา ซึ่งความพยายามในการทำเช่นเดียวกันนี้ในปตานีของไทยก็ยังไม่ก้าวหน้าไปไกลนัก
กระบวนการสันติภาพพบว่าได้ถูกทำจากประเทศใดประเทศหนึ่ง มากกว่าจะมาจากกลุ่มอาเซียนทั้งหมด นี่คือคำถามว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับอาเซียนกระนั้นหรือ? ทั้งๆที่พื้นที่ขัดแย้งอยู่ในอาเซี่ยนแต่กลับดูมีบทบาทน้อย ทั้งๆ ที่ความประสงค์แรกของอาเซียนในช่วงก่อตั้งคือการป้องกันความมั่นคงและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดังนั้นในอนาคตอาเซียนจำเป็นต้องแสดงออกต่อกรณีความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ให้มากขึ้น และการสร้างพื้นที่ทางวิชาการเช่นเวทีนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นการแสดงจุดยืนและให้ความรู้แก่อาเซียนถึงความจำเป็นนี้
สำหรับมาเลเซียก็มีความพยายามในการให้ความช่วยเหลือต่อการยุติความรุนแรงในทั้งสามพื้นที่ กระบวนการที่จะให้เกิดผลสำเร็จได้นั้น แน่นอนว่าจำเป็นต้องใช้กระบวนการทางการเมืองเข้ามา มาเลเซียเองก็ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ขณะเดียวกันการเกิดขึ้นของขบวนการสุดโต่งและเครือข่ายการก่อการร้ายในภูมิภาค ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มาเลเซียตระหนักว่าถ้าไม่แก้ไขปัญหาในพื้นที่ขัดแย้งในภูมิภาคแล้วก็จะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในอนาคตของมาเลเซียเอง ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องของประเทศมาเลเยประเทศเดียว และอาเซียนหากแต่เป็นปัญหาร่วมข้ามชาคิของคนทั้งโลกในปัจจุบันนี้
เมื่อเห็นถึงหลักฐานของการมีการญิฮาดในภาคใต้ของไทย(การต่อสู้ด้วยอาวุธฝ่ายต่อต้านรัฐไทย)ซึ่งก็จะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันกับขบวนการเจไอที่เกิดขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากลุ่มคนที่ใช้แนวทางนี้ก็มีการพูดคุยกัน การก่อการร้ายปรากฏทั้งในระดับสากล ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น หากไม่สามารถจัดการได้แล้วนั้น อาจมีอีกหลายกลุ่มในพื้นที่ขัดแย้งนี้ที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์เช่นนี้ได้
ช่วงบ่ายเป็น เวทีอภิปรายสาธารณะ “ความรู้ทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ ”จากวิทยากรที่นำองค์ความรู้ มาปฏิบัติงานจริงในพื้นที่
วิทยากรสองท่านเป็นคนนอกพื้นที่คืออาจารย์เมธัส อนุวัตรอุดม นักวิชาการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า และอาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
นายแวอิสมาแอล์ แนแซ ผู้อำนวยการวิทยาลัยประชาชนมีบทบาทอย่างมากในพื้นที่โดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวให้หันมาใช้กระบวนการสันติวิธีในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญมีส่วนให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้เรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นาการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ
วิทยาลัยประชาชน เป็นองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) ประเภทสถาบันวิชาการภาคประชาชนเพื่อให้การศึกษา อบรม และเผยแพร่องค์ความรู้ประเด็นสันติภาพ สิทธิมนุษยชนและการเมืองการปกครอง ให้กับองค์กรภาคประชาสังคมและผู้นำประชาชน ประชาชน ในพื้นที่ปาตานี (จังหวัดชายแดนภาคใต้) มีสถานะเป็นผู้อำนวยความสะดวก
วิทยาลัยประชาชนจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2010 โดย อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน อาสาสมัครนักกฎหมาย ครู อุสตาซ(ครูสอนศาสนา) ผู้นำเยาวชน สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น นักศึกษา นักพัฒนา ร่วม 20 กว่าคน ภายใต้แนวคิด “Knowledge is power - ความรู้คืออำนาจ”
วิทยาลัยประชาชน (People’s College) ได้ดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างภาคีและแนวร่วมในการสนับสนุนกระบวนการสร้างสันติภาพในปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการเปิดอบรมหลักสูตรผู้นำแปรความขัดแย้งสู่สันติภาพ หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ หลักสูตรโรงเรียนประชาธิปไตยและการจัดการองค์กรสาธารณประโยชน์ หลักสูตรความขัดแย้งในระยะเปลี่ยนผ่าน และหลักสูตร TOT Conflict in transition ให้กับผู้นำนักศึกษา ผู้นำองค์กรเยาวชน ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำองค์กรภาคประชาสังคม และหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความขัดแย้ง ให้กับนักวิชาการรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ตลอดจนการทำงานวิจัย และการเปิดพื้นที่เรียนรู้ในรูปแบบ Forum โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุนองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ SASAKAWA Peace Foundation (SPF) สำนักงานใหญ่โตเกียว โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) สำนักงานภูมิภาคแปซิฟิก
การจัดอบรมหลักสูตรดังกล่าวเพื่อเป็นการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในอนาคต และเพื่อการสนับสนุนกระบวนการสร้างสันติภาพในระดับรากหญ้า โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความขัดแย้ง ด้านกฏหมาย ด้านการพัฒนา จากองค์การระหว่างประเทศ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ นักวิชาการชั้นนำของไทย ข้าราชการพลเรือน และบุคคลากรในกองทัพไทย ทั้งนี้เพื่อมาเรียนรู้ในรู้แบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์และศึกษาจากกรณีศึกษา
ดูวิดิทัศน์แนะนำองค์กรได้
http://www.peoplecollegeofpatani.org/web/th/about-us
นางโซรยา จามจุรี นักวิชาการฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ม.อ.ปัตตานี/เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ได้บอกเล่าประสบการณ์การจัดกระบวนการเรียนรูู้ให้ผู้หญิงในเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมฯ ในพื้นที่ความขัดแย้งชายแดนใต้ หลักใหญ่ใจความมี 3 ประการคือ ประการที่ 1. จัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้หญิงนำไปปฏิบัติการ ขยับขับเคลื่อนงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสันติภาพในพื้นที่ ไม่ใช่รู้ เพียงเพื่อรู้ เช่น เมื่ออบรมผู้หญิงเป็นวิทยากรกระบวนการสานเสวนาแล้ว ผู้หญิงที่ผ่านการอบรมก็ต้องกลับไปยังชุมชน เพื่อนำทักษะความรู้ที่ได้ไปจัดสานเสวนาเพื่อแก้ปัญหาในชุมชน จากนั้นเผยแพร่เรื่องราวจากการปฏิบัติการสู่สังคมผ่านสื่อสาธารณะ และสรุปบทเรียนจากการลงมือปฏิบัติ ประการที่ 2. จัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ไปเสริมพลังอำนาจและศักยภาพ (empowerment)ให้ผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อ ทีมักคิดว่าตนเองอ่อนแอ ไร้สิทธิไร้เสียง ให้มีตัวตน ให้สามารถส่งเสียงเรียกร้องสันติภาพสู่สาธารณะ และตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ที่แม้เป็นคนตัวเล็กตัวน้อย แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ชุมชน และสังคมได้ ประการที่ 3. เชื่อมโยงการเรียนรู้กับเครือข่ายอื่น เช่น กับเครือข่ายนักเคลื่อนไหวผู้หญิงจากส่วนกลาง เพื่อแสวงหามิตรและภาคีให้ได้มากที่สุด เนื่องจากมีความเชื่อว่าสันติภาพชายแดนใต้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยลำพังจากคนใน แต่ต้องมาจากความร่วมมือของคนนอกด้วย
ผู้เขียนยังได้ทราบว่าเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้(ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากจังหวัดชายแดนภาคใต้) ยังได้ร่วมกับกลุ่มองค์กรภาคี มูลนิธิเอเชีย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และกลุ่มเอฟที มีเดีย ร่วมกันจัดงาน “ร่วมสร้างและตามหาสันติภาพ” ในงานเปิดตัวรายการวิทยุ เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้ “ We Voice ตามหาสันติภาพ”
เป็นที่ทราบกันดีว่า เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทำให้มีผู้หญิงเสียชีวิตกว่า 500 คน บาดเจ็บกว่า 1,500 คน ไม่นับผลกระทบที่เกิดขึ้นที่มีมากกว่าการรวบรวมเป็นตัวเลขได้ “ทางเครือข่ายฯ ได้ชวนผู้หญิงธรรมดาที่มีจิตอาสาในพื้นที่ที่ไม่เคยจัดรายการวิทยุมาก่อน มาเรียนรู้ อบรมจนสามารถจัดรายการวิทยุได้ จากเดิมเป็นการเล่าเรื่องของตนเอง มาสู่การนำเสนอเรื่องราวของเพื่อนในชุมชนและท้องถิ่นมาออกอากาศ จากเสียงเงียบที่ไม่มีใครได้ยินมาบอกเล่าให้สังคมได้รับรู้ และมีการพัฒนานักจัดรายการวิทยุมือสมัครเล่นมาเป็นนักจัดรายการวิทยุแบบมืออาชีพ
สำหรับรายการวิทยุเสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้ในปี2558 เป็นการนำเรื่องราวของผู้อื่นที่เป็นเสียงเงียบมาออกอากาศทาง 15 คลื่นวิทยุในพื้นที่ชายแดนใต้และนักข่าวพลเมืองทางไทยพีบีเอส ซึ่งเชื่อว่าสื่อนี้จะเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการเข้าถึงแหล่งชุมชนรวมทั้งผู้คนในประเทศได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้และการขับเคลื่อนงานเพื่อสันติภาพ
อาจารย์เมธัส อนุวัตรอุดมจากสถาบันพระปกเกล้ามีส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของตัวแทนคนทุกภาคส่วนในหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข 5รุ่น วุฒิบัตรบัตร การเสริมสร้างสังคมสันติสุข ชายแดนใต้ 3 รุ่น โดยตัวแทนทุกภาคส่วนดังกล่าวทำงานสานต่อกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ เช่นที่เด่นโครงการสันติธานี
อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียรอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
เน้นโครงการสานเสวนาจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะคนต่างศาสนิก นักการเมือง ได้สร้างบรรยากาศการไว้เนื้อเชื่อใจ นอกจากนี้ มีการเดินรณรงค์สันติภาพจากกรุงเทพมหานคร ถึงปัตตานี เป็นการสร้างบรรยากาศในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ
2. ได้องค์ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกหลายหัวข้อเช่น
- การจัดการความขัดแย้งของมุสลิมร่วมสมัย: จากหลักการสู่เครื่องมือ
โดยอาจารย์ยาสมิน ซัตตาร์นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์และการระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยอิสตันบูล, ประเทศตุรกี
- ความหวาดกลัวอิสลาม, อวิชชา หรือการสื่อสารที่ผิดพลาด?: เสียงสะท้อนของชุมชนมุสลิมต่อกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับเสียงอาซานในจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทยโดยอาจารย์ อรชา รักดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- บทบาทภาวะผู้นำสตรีไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดร.สุธิรัส ชูชื่นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือผ่านรูปแบบลูกขุนพลเมือง: กรณีรูปแบบการปกครองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ดือเระอาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์
- บทบาทของการเงินอิสลามต่อกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ดร.ธวัช นุ้ยผอม อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์
- บทบาทของธุรกิจในการสร้างสันติภาพ: การสำรวจเบื้องต้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอาจารย์ อริศ หัสมาอาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์
นอกจากนี้ยังมีผู้นำเสนอโปสเตอร
- เมื่อฮาลาลเป็นเรื่องการเมือง อาจารย์สุไรนี สายนุ้ย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- ผู้หญิงมุสลิมในความขัดแย้งถึงตาย: ผู้เยียวยาในความรุนแรงอาจารย์ธัญญธร สายปัญญาอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- ความไว้วางใจและการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้อาจารย์สุวรา แก้วนุ้ย
อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- องค์กรประชาสังคมมินดาเนากับกระบวนการเจรจาสันติภาพ อาจารย์ฟารีดา ปันจอร์
อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- การเคลื่อนไหวทางการเมืองของมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย : ทางเลือกของการเข้าสู่อำนาจโดยใช้สันติวิธี คุณอิมรอน ซาเหาะ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
3. 5 สถาบันการศึกษาร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรรวมทั้งการร่วมมือหมุนเวียนจัดการประชุมวิชาการด้านกระบวนการสันติภาพในอาเซียนทุกปี
5 สถาบันการศึกษาใน 3 ประเทศประกอบ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและ วิทยาลัยประชาชนจากประเทศไทย Universitas Islam Negeri Al-Raniry จากอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย และ Mindanao State University มินดาเนาประเทศฟิลิปปินส์บันทึกความเข้าใจที่มีการลงนามในครั้งนี้มีประเด็นสำคัญ 7 ประเด็นในความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนด้านการพัฒนาการศึกษา ร่วมเป็นเครือข่ายในกิจกรรมที่เกี่ยวกับสังคมมุสลิมและอิสลามศึกษารวมทั้งการพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและประชาสังคมในอนาคต
นอกจากความร่วมมือในโครงการวิจัยต่างๆ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรเพื่อการศึกษาและการวิจัย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและวัตถุดิบต่างๆ ทางวิชาการ การตีพิมพ์ผลงานเอกสารทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้วยังรวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคคลากร นักวิจัย อาจารย์พิเศษ วิทยากรในกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ ระหว่างกันด้วย ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรของสถาบัน โดยผ่านแผนการอบรมของแผนต่างๆ ด้วย
สิ่งที่สำคัญที่สุดของกาลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกันในครั้งนี้คือการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อร่วมกันจัดการประชุมวิชาการด้านกระบวนการสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งการสัมมนาทางวิชาการด้านอื่นๆ ที่เป็นความสนใจร่วมกันทุกๆ ปี
สิ่งที่ท้ายทั้งสามพื้นที่
1. การหยุดสงครามเป็นกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า สันติภาพเชิงลบ แล้วสันติภาพที่ยั่งยืนจะได้มาอย่างไรซึ่งเรียกว่าสันติภาพเชิงบวก
2. อะไรคือปัจจัยหลักของสามพื้นที่ที่จะนำไปสู่กระบวนการสันติภาพทั้งเชิงลบและเชิงบวก
3. การสานเสวนาระหว่างรัฐ ผู้เห็นต่าง ประชาสังคม ประชาชน ที่ข้ามวัฒนธรรมทั้งเชื้อชาติศาสนา
4. การสานเสวนาระหว่างมุสลิมแต่มีหลักความศรัทธา ปฏิบัติต่างกัน ไม่ว่าระหว่างสายเก่า สายใหม่ในนิกายซุนนีย์หรือซุนนีย์กับชีอะห์
5. การยอมรับกระบวนการสันติภาพจากประชาชนในพื้นที่ความขัดแย้งกับนอกพื้นที่ความขัดแย้ง
6. การสานเสวนาระหว่างคนทำงานนโยบายรัฐกับรัฐ ขบวนการการกับขบวนการ
7. องค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงเชิงปฏิบัติ
ถอดบทเรียน TriPEACE via ASEAN Muslim Societies