Skip to main content

ตำนานโต๊ะมูเด็ง (หมอขลิบหนังหุ้มองคชาต) แห่งเมืองโบราณยะรัง

               

                นายหะยีมะ สะอะ โต๊ะมูเด็ง รุ่นที่ 6 แห่งเมืองยะรัง

           โต๊ะมูด็ง หรือ หมอขลิบหนังหุ้มองคชาต ตามคำนามภาษามาลายู ในสามจังหวัดชายแดนใต้ถือเป็นอาชีพหนึ่งที่อยู่คู่สังคมชุมชนอิสลามมาแต่บรรพกาล ซึ่งการเข้าสุนัตหรือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนั้น ในหนังสือ "อิสลาม กับคำถามที่ต้องตอบ" อธิบายพอสังเขปได้ดังนี้

         

                การเข้าสุนัต 26 มีนาคม 2552 ที่ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง

            การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสะท้อนถึงความเอาใจใส่ในการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลของ อิสลาม การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชาย เนื่องจากเป็นหลักปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด และการขริบนั้นมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่ศาสดาอิบรอฮีมหรือท่านอับราฮัมในยุคอียิปต์โบราณ โดยการขลิบหนังปลายอวัยวะเพศชายเป็นกฎของการรักษาความสะอาดข้อหนึ่งในอิสลาม วิธีการขริบในสมัยก่อนเรียกกันว่า “ Abraham’s method ”

            

                                            เด็กๆขณะรอเข้าสุนัตตามคิวอย่างตื่นเต้น

             Abraham’s method ทำโดยการใช้ไม้หนีบคีบหนังหุ้มปลายให้ยืดออกพอประมาณ จากนั้นใช้ของมีคมที่พอหาได้ตามแต่ในยุคสมัยนั้นๆ ตัดผ่านผิวหนังหุ้มเฉพาะส่วนที่ยืดพ้นจากปลายขององคชาติอย่างรวดเร็ว และปล่อยให้เลือดหยุดเอง ความหมาย คิตาน เป็นภาษาอาหรับ มีรากศัพท์มาจากคำว่า Khatana มีความหมายว่า ตัด (Cut หรือ Sever) ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Circumcision (คำนาม หมายถึง ควั่น เข้าสุนัต)

            

                             แม่และน้องระหว่างรอลูกเข้าสุนัต

               ปัจจุบันค่านิยมของผู้คนสังคมในสามจังหวัดชายแดนใต้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนในเมือง มักไม่ค่อยให้ความสนใจกับโต๊ะมูเด็ง หันไปใช้บริการจากแพทย์ในโรงพยาบาล หรือตามคลินิก เพราะสะดวก ปลอดภัย มั่นใจในเครื่องไม้เครื่องมือ และไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมาก  แต่มันไร้สเน่ห์ในพิธีกรรมเข้าสุนัต ตามวีถี วัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดมายาวนานในคาบสมุทรมาลายู โดยเฉพาะช่วงการทำพิธีแบบดั่งเดิม ที่เยาวชนต้องฝังการบรรยายคุณค่าของการเข้าสุนัต ก่อนจะจับฉลาก เพื่อเรียงลำดับผู้ที่จะเข้าสุนัตก่อนหลัง โดยเยาวชนจะต้องเอามือไขว่หลัง และนั้งบนหยวกกล้วย มีหมอนั้งตรงข้าม และผู้ใหญ่อีกหนึ่งคนจับไว้ เพื่อป้องกันการดิ้นของผู้เข้าสุนัต ซึ่งบรรยากาศในพิธีมีมนต์ขลัง แฝงไปด้วยปรัชญาของท้องถิ่น ที่เน้นให้เยาวชนรู้รักสามัคคีในถิ่นเกิดและผองเพื่อน นอกจากปฏิบัติตามหลักการ ที่สามจังหวัดเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า "มาโซ๊ะ ยาวี"

             

                    บรรดาพ่อๆนั้งรอด้วยความยินดีปรีดาที่ลูกๆปฏิบัติตามหลักศาสนา

                นายหะยีมะ สะอะ อายุ 53 ปี เกิดที่ ตำบลวะรัง อำเภอยะริ่ง จังหวัดปัตตานี หลังจากจบการศึกษาระดับ ประถม 4 ซึ่งความเป็นจริง ใกล้จะเรียนจบระดับ ประถม 6 แล้ว แต่ต้องตามพ่อไปเรียนรู้ ดูการเข้าสุนัตบ่อยครั้ง จึงต้องหยุดการเรียนไว้ 

                ด้านครอบครัวนายหะยีมะ สะอะ  มีภรรยาเพียง 1 คน และมีบุตร 5 คน เป็นชาย 2 คน และหญิง 3 คน ปัจจุบันคนโตก็รับราชการเป็นพยาบาลที่จังหวัดปัตตานี คนรองพึ่งจบการศึกษาปริญญาตรี ด้านคอมพิวเตอร์ ที่มหาลัยฯในนครศรีธรรมราช กำลังศึกษาระดับมัธยมที่จังหวัดยะลา 2 คน และคนสุดท้องกำลังเรียนที่ โรงเนียนบ้านอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งคนสุดท้องเริ่มฝึกการขลิบ หรือการทำสุนัตแล้ว คาดว่าจะเป็นผู้สืบทอดรุ่นที่ 7 ต่อไป

                  

                  

    เด็กเยาวชนหญิงร้องอานาเซต ในพิธีงานเมาลิด ที่จัดพร้อมกันในบริเวณงาน

                 ปัจจุบันโต๊ะมูเด็ง หะยีมะ สะอะ ได้ปักหลัก สร้างบ้านอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองเบตง ม.2 บ้านไอปาเซ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา โดยได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในตำบลอัยเยอร์เวงเมื่อ 27 ปีที่แล้ว ในปี พ.ศ.2525 ในครั้งนั้นท่านตั้งใจซื้อที่ดินเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรทำสวนยาง ตั้งใจหยุดหรือเลิกอาชีพโต๊ะมูเด็งแล้ว ท่านได้มาซุ่มอยู่แบบเงียบๆได้ 3 ปี ในที่สุด คนเริ่มรู้ข่าว ว่าเป็นโต๊ะมูเด็งที่มีฝีมือ จึงใจอ่อนทำอาชีพโต๊มูเด็งต่อ ตามคำขอร้อง ของชาวบ้านในที่สุด

              

                         เครื่องมือในการขลิบฯดั้งเดิมแบบโบราณครบชุดอายุเกิน 100 ปี

                 โต๊ะมูเด็งหะยีมะ สะอะ นั้น มีประวัติความเป็นมา น่าสนใจมาก เพราะได้รับการสืบทอดวิชาการขลิบปลายหนังหุ้มองคชาต จากต้นตระกูล มาแต่สมัยโบราณกว่า 6 รุ่น  วันนั้น ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์โต๊ะมูเด็่ง พร้อมกับได้สังเกตุการณ์ในพิธีการเข้าสุนัตหมู่ของตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม  2552 ซึ่งทำให้ทราบว่า... (โปรดติดตามตอนจบ )