Skip to main content

Winning hearts and minds ที่บ้านแยนะ สะแลแม

รถขนาดปิ๊คอัพบรรทุกทหารสองคันถอยเข้าจอดที่ถนนแคบๆหน้าปากซอยเข้าบ้านของแยนะ สะแลแม - “ก๊ะแยนะ” หรือป้าแยนะ นายทหารที่เดินนำหน้าเป็นผบ.จากหน่วยฉก.นราธิวาส 31 ขณะที่พวกเขาเดินเข้าสู่ตัวบ้านและนั่งลงพูดคุยกับเจ้าของบ้านนั้น ทหารนาวิกโยธินอีกสามสี่นายก็แยกย้ายกันออกไปยืนคุมเชิงเฝ้าระวังสถานการณ์อยู่ที่ด้านนอกของหน้าต่าง

แอมเนสตี้ ชี้ว่าทางการไม่สามารถให้ความยุติธรรมกับผู้เสียชีวิต 85 ศพในกรณีตากใบ

 

 

 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกแถลงการณ์ระบุว่าคำตัดสินศาลฎีกาของไทยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556 แสดงให้เห็นว่า ทางการไม่สามารถทำให้เกิดความยุติธรรมกับผู้เสียชีวิต 85 ศพที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงที่อำเภอตากใบได้

มันไม่ใช่ความสำเร็จ: กรณีสิบหกศพกับการเปิดแนวรบ(ไม่)ใหม่

ผลการพบปะสื่อมวลชนของเจ้าหน้าที่ทหารและศอ.บต.เมื่อ 18 กพ.ที่ผ่านมาแม้ว่าจะไม่ค่อยมีข้อมูลใหม่อะไรออกมามากนัก แต่ท่วงทำนองการตอบข้อซักถามเรื่องกรณีการปะทะที่บาเจาะดูโดยภาพรวมแล้วให้อารมณ์ประหนึ่งว่าในทางการเมืองนั้น เจ้าหน้าที่ได้กลายเป็นฝ่ายถูกรุกไปแล้วเรียบร้อย

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน-ไม่รับคำร้องเพิกถอนคำสั่งไต่สวนการตายกรณีตากใบ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
เผยแพร่วันที่ 8 มิถุนายน 2555
 
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไต่สวนการตาย

รำลึก 6 ปีตากใบ 25 ตุลาคม 2547 วันแรกที่ “เหยื่อแดนใต้.... เริ่มกำพร้า”

 ไลลา เจะซู

เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กลุ่ม INSouth)

NO truth ! NO justice! NO PEACE!  วาทกรรมที่กลุ่มนักศึกษาชายแดนใต้รณรงค์เพื่อทวงคืนความยุติธรรมแก่ “เหยื่อ” ผู้ชุมนุมโดยสงบ สันติวิธีและปราศจากอาวุธ  ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ผ่านคำมั่นสัญญาว่า “เราจะดูแล จะพิทักษ์ จะเยียวยาทุกคนที่เป็น “เหยื่อความรุนแรง” ในฐานะนักศึกษาปัญญาชน  ตราบใดที่ความยุติธรรมไม่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้ ”