Skip to main content

ข่าว 3 มิติ: บทเรียนสันติภาพมินดาเนา

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ จัดบรรยายทางวิชาการเรื่อง “เมื่อทหารทำงานสันติภาพ: บทเรียนและประสบการณ์จากมินดาเนา” โดยโฆษกกองพลทหารราบที่ 6 กองทัพบกฟิลิปปินส์ ซึ่งเห็นว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องเอาชนะด้วยสันติภาพไม่ใช่การใช้อาวุธ และการพูดคุยกับกลุ่มคิดต่างจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างสันติภาพ ติดตามรายงานจากคุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย

วิจารณ์หนังสือ "บทเรียนสันติภาพ : เรียนรู้กระบวนการสันติภาพในประสบการณ์ความขัดแย้งร่วมสมัย"

ชื่อหนังสือ     “บทเรียนสันติภาพ :  เรียนรู้กระบวนการสันติภาพในประสบการณ์ความขัดแย้งร่วมสมัย” (Experiences of Peacebuilding : Learning the peace process in contemporary conflicts)

เนื้อหาโดย  แอนเดรีย เค. โมลนาร์, ซูซาน ดี. รัสเซล, ไอแซค เคน, ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี,  โนอาห์ ซาลาเมห์, พิษณุ สรรพโกตา, นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส

ทำไม "เปลี่ยนศรี" สามารถเปลี่ยนนโยบายความมั่นคงได้

ในสื่อกระแสหลักมีคำถามว่า ระลอกการใช้ความรุนแรงรอบใหม่ที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนใต้มีเกี่ยวข้องกับการคืนตำแหน่งให้แก่อดีตเลขาฯ สมช. นายถวิล เปลี่ยนศรี หรือไม่ แน่นอนว่า เราไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนต่อคำถามเหล่านี้ เพราะขาดข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจากฝ่ายผู้กระทำ

การเมืองต้องนำการทหาร [1] : แนวทางที่ควรเป็นกับการพูดคุยที่ไว้วางใจ

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

 

           เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ร่วมกับสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า และศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเวทีสัมมนาวิชาการหัวข้อ “การเมืองต้องนำการทหาร : ทิศทางการแก้ไขปัญหาภาคใต้สู่ความยั่งยืน” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวทางความคิดสำคัญในพื้นที่สาธารณะถกเถียงถึงแนวทางการคลี่คลายความขัดแย้งที่ชายแดนภาคใต้อันควรจะเป็น