Skip to main content
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
Deep South Watch (DSW)

 

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งอย่างโดดเด่นในปี 2547 และยืนระยะอย่างต่อเนื่องก้าวเข้าสู่ปีที่ 9 ในปัจจุบัน กำลังส่งผลให้มียอดสะสมของผู้เสียชีวิตในท่ามกลางความขัดแย้งเกือบ 5,500 คน แม้ว่าการเผชิญหน้าของรัฐไทยต่อขบวนการของเหล่านักรบที่มุ่งหวังปลดปล่อยปาตานีให้เป็นอิสระจะมีการปรับตัวอย่างมาก แต่ฝ่ายหลังก็ยังคงรักษากำลังของตนเองและปฏิบัติการทางการทหารอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้น ผลข้างเคียงของการใช้ความรุนแรงของทุกฝ่ายกำลังสร้างแรงกดดันให้แต่ละฝ่ายจำเป็นต้องมีการปรับตัว ในขณะเดียวกัน การเติบโตของกลุ่มและองค์กรประชาสังคมในพื้นที่และบทบาทที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันข้อเสนอทางการเมืองหลายประการในระยะหลัง ทำให้แนวโน้มของความขัดแย้งในอนาคตจะไม่สามารถถูกผูกขาดทิศทางอย่างเบ็ดเสร็จโดยคู่ขัดแย้งหลักจะได้อีกต่อไป การถกเถียงถึงปัญหาใจกลางสำคัญที่ยึดโยงอยู่กับอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์อันยาวนานกำลังมีที่ทางในพื้นที่สาธารณะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การผลักดันให้มีการพูดคุยเพื่อสันติภาพและการเจรจาสันติภาพก็กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่แหลมคมขึ้นทุกขณะ จนอาจกล่าวได้ว่าลักษณะของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรัง (protracted conflict) กำลังคลายตัวไปสู่การแสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการทะลุกรอบจากวงจรของความรุนแรงที่กัดกินตัวเองและสังคมในชายแดนใต้มานานหลายปี
The violence in the Deep South of Thailand, which prominently surfaced in 2004 and continuously existed up to the 9th year at present, has resulted in nearly 5,500 cumulative deaths. Although the confrontation between the Thai state and the militants aiming to liberate Patani has been significantly transformed, the latter still maintains their own force and military operations. However, the consequences of the use of violence from all sides are creating pressure for all sides to make changes upon themselves. The growth of local civil society groups and organizations with greater roles, particularly in recent mobilization of many political proposals, has steered the direction of the conflict in the future away from the complete monopoly of the main parties of the conflict. Discussions about the heart of the matter, tied to the local identity and long history, are taking up more public space while the peace talk and peace negotiation are being sharpened as an ever-prominent public issue. Thus it can be said that the southern Thailand insurgency has become a protracted conflict that is expanding towards new possibilities in escaping the frame of the violence that has been consuming itself and the society in the Deep South for years.
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (ก่อตั้งในปี 2549) เป็นองค์การชานชาลา (platform organization) ที่มีฐานอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะการทำงานในรูปแบบของโครงข่าย (lattice) หรือเครือข่ายที่กระจายศูนย์และเน้นการสร้างและเป็น “พื้นที่กลาง” (common space) หรือ “ชานชาลา” (platform) ในการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ความขัดแย้งที่รุนแรงอย่างจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยหรือปาตานี โดยการพยายามสร้างพื้นที่ทางการเมืองที่เอื้ออำนวยให้กับตัวแสดงในความขัดแย้งต่างๆ ได้แสดงบทบาทอันหลากหลายในพื้นที่สาธารณะได้อย่างปลอดภัยเพียงพอ พร้อมๆ กับสร้างบทสนทนาสาธารณะให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฟากฝ่ายถกเถียงแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งที่รุนแรงดังกล่าว ผ่านเครื่องมือที่เป็นปฏิบัติการต่างๆ สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะมุ่งสู่การสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เป็นจริงและรอบด้านเท่านั้น หากแต่คาดหวังว่าด้วยกระบวนการดังกล่าว เหตุผลที่รองรับการใช้ความรุนแรงจากทุกฟากฝ่ายจะลดน้ำหนักลง และเปิดโอกาสให้การต่อรองโดยไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธและการกดบังคับหรือในที่นี้คือแนวทางของการไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งไปสู่ทิศทางที่สร้างสรรค์มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
Deep South Watch (established in 2006) is a platform organization based at Prince of Songkla University Pattani Campus in southern Thailand, working as a lattice or decentralized network with an emphasis on creating a "common space" or "platform" in mobilization of peace in areas of violent conflict, in this case, the deep south provinces of Thailand or Patani. Deep South Watch tries to create a facilitating political space for various parties in the conflict to present their diverse roles in a setting with adequate safety, while creating public discourse for all stakeholders to discuss and find an exit from the mentioned violent conflict through different practice-based instruments.  The aims of these practices are not only to create a realistic and comprehensive understanding of the conflict, but it is also expected that these practices will help to lessen the justification for use of violence from all parties to the conflict and create opportunities for negotiation without arms and coercion. In other words, the aim of Deep South Watch is to use non-violent means to constructively transform the conflict.
เพื่อที่จะบรรลุผลไปในทิศทางดังกล่าว ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้จัดวางการทำงานในลักษณะเครือข่ายของตนเองไว้บน “โมดูล” หรือข้อต่อ 3 ขา ซึ่งถือเป็นหลักการทำงานร่วมกันในทิศทางกว้างๆ โดยเน้นการ “ควง” (spin) เพื่อให้สอดประสานกันและหนุนเสริมกันและกันในแต่ละปฏิบัติการของเครือข่าย อันได้แก่
In order for the outcomes to be in the mentioned direction, Deep South Watch has planned its own action based on 3 "modules", i.e. making "spinning" collaborations in a loosely-defined direction in order for each module to support the others in their own practices, namely:
 
ข้อต่อที่ 1 การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication Module) ที่เน้นการสร้างพื้นที่และช่องทางการสื่อสารอันหลากหลาย ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพด้านการสื่อสารของผู้คนในพื้นที่ ไปพร้อมๆ กับการสร้างเครือข่ายของการสื่อสารที่สะท้อนเสียง ภาพ และมุมมองจากผู้คนอันหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงจากในพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมต่อกับเครือข่ายการสื่อสารในระดับชาติเพื่อโน้มน้าวให้ผู้คนสามารถทำความเข้าใจสถานการณ์และสนับสนุนแนวทางอันนำไปสู่สันติภาพ
Module 1 (Public Communication Module), which emphasizes the creation of space and diverse channels of communication and build the communicative capacity of the local people and simultaneously build a communication network that reflects the voice, images, and perspectives from a diverse variety of people, particularly the voices from inside the conflict area. Meanwhile, Deep South Watch also connects the area to the national-level communication networks in order to persuade the people to understand the situation and support the way towards peace.
ข้อต่อที่ 2 การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Formation Module) คือ กระบวนการสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ไปพร้อมๆ กับการพยายามแสวงหาทางออกบนพื้นฐานของความรู้และบทเรียนจากความขัดแย้งอื่นๆ ผ่านการการบันทึกรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ การแสวงหาโจทย์และทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสร้างความร่วมในทางวิชาการระหว่างสถาบันและองค์กรต่างๆ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้สาธารณะผ่านการจัดกลุ่มศึกษา กลุ่มวิเคราะห์คลังสมอง การอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมไปถึงการสัมมนาวิชาการ
Module 2 (Knowledge Formation Module) is the process of understanding the situation while trying to find an exit based on the knowledge and lessons gained from other conflicts through collection of data on the local situation, posing questions and conducting relevant research, creating academic collaboration between various institutions and organizations, and creating a public learning process through formation of study groups, think tank forums, workshops, and seminars.
ข้อต่อที่ 3 การขับเคลื่อนภาคประชาสังคม (Civil Society Mobilization Module) คือ กระบวนการหนุนเสริมกลุ่มประชาสังคม (Civil Society Organization: CSOs) ให้สามารถขับเคลื่อนขยายพื้นที่ทางการเมือง ผ่านการทำงานในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือและการสร้าง “พื้นที่กลาง” ที่จะเอื้ออำนวยต่อการสร้างข้อเสนอทางการเมืองที่มีรากฐานมาจากประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการเสริมอำนาจต่อรองให้กับตัวแสดงที่ไม่ติดอาวุธซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์สาธารณะ
Module 3 (Civil Society Mobilization Module) refers to the process of supporting civil society organizations (CSOs) to mobilize a political space through collaborative networking and creating a "common space" that will facilitate political proposals based on the local people and enhance the power to negotiate with unarmed representatives on the basis of public interests.
โครงข่ายการทำงานของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้วางอยู่บนการทำงานในเส้นทางสายที่ 2 (Track 2) ของกระบวนการสันติภาพ และขยายตัวไปตามเงื่อนไขความพร้อมของสถานการณ์และบุคลากรที่ทำงานในลักษณะเครือข่าย หรือพอจะเรียกได้ว่าเป็น ‘ยุทธศาสตร์จากกลางกระจายออก’ ในขณะเดียวกัน ลักษณะการทำงานก็เริ่มกระจ่างชัดเจนขึ้นเป็นระยะถึงสถานะของการเป็น “ชานชาลา” ที่เชื่อมต่อและเชื่อมประสานภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้มีส่วนในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งได้พัฒนาเป็นตัวแบบที่เรียกขานว่า “โครงข่ายอะมีบา (Amoeba lattice) ที่เป็นการทำงานเครือข่ายที่ไร้ศูนย์และเน้นการให้ความสำคัญของปฏิบัติการ ซึ่งสามารถมีและดำรงชีวิตผ่านปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มหรือเครือข่ายได้ด้วยตัวมันเอง ปรับตัวอย่างยืดหยุ่นไปตามสภาวะแวดล้อมของความขัดแย้ง โดยเชื่อมต่อและหนุนเสริมการทำงานในโครงข่ายในลักษณะไขว้กันทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง
The framework of Deep South Watch is based on the ‘Track 2’ of the peace process and expands according to the condition of the conflict situation and the collaborative network of the practitioners or ‘Middle-Out strategy’ . Meanwhile, it has become clearer that Deep South Watch would act as a "platform" organization to connect various sectors to help determine the approach to solve the problem through non-violent means. Such approach and practice has developed into an "Amoeba lattice", a non-centralized working approach which emphasizes the importance of practices and each group or network is capable of existing by itself with the flexibility to adjust to the changing environment of the conflict. Each component of the organization would connect and support one another in a crossing pattern both vertically and horizontally.
ในจังหวะก้าวต่อจากนี้ มีแนวโน้มว่าการต่อสู้ช่วงชิงทางการเมืองจะเพิ่มความเข้มข้นขึ้น พร้อมๆ กับการเผยให้เห็นข้อจำกัดของการใช้การทหารของคู่ขัดแย้งหลัก โครงข่ายของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้มีความจำเป็นต้องมีขยายงานที่ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไปทั้งในระดับสากล (global level) และในระดับประชาชนรากหญ้าในพื้นที่ (grassroots local level) มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปฏิบัติการที่วางจุดเน้นอยู่บนหน่วยเชื่อมต่อการสื่อสารสาธารณะ (public communication) ที่ต้องจัดวางทิศทางไปสู่การสร้างสภาวะแวดล้อมของการสื่อสารในแบบพหุวิถี (Multi-Track Communication) ที่หมายถึงพื้นที่การสื่อสารที่มีช่องทาง ภาษา กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และรูปแบบหรือวิธีการในการสื่อสาร ที่หลากหลายเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะสถาปนา “พื้นที่สาธารณะ” ที่เอื้อให้กับผู้คนสามารถสนทนาระหว่างกันบนพื้นฐานของการใช้เหตุผลและความรู้ และเป็นการหลอมรวมเอาผู้ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งให้เข้ามาร่วมสนทนาสาธารณะให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อตกลงทางการเมืองที่จะเป็นผลของการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งในอนาคตจะมีส่วนร่วมจากผู้คนที่เกี่ยวข้องมากที่สุด และวางอยู่บนผลประโยชน์ที่ผู้คนในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายจะได้รับมากที่สุด รวมทั้งยังประกันความยั่งยืนของสันติภาพดังกล่าวด้วยเช่นกัน
color:gray;">For the next step, whereas there is a tendency for the political struggle to become more intense and the limitations in the use of military force of the main parties to the conflict to be revealed, it will be necessary for Deep South Watch to further expand its area of operations at both the global level and the local grassroots level.  This is particularly true for practices which emphasize public communication that must be directed towards creating multi-track communication with more diverse channels, language, target group, content, and form or method of communication.  The aim of these practices is to create a "common space" that facilitates the conversation between people based on proper reasons and knowledge, and to gather all stakeholders in the conflict to engage in public discourse as much as possible in order to guarantee political resolution which eventually results in conflict transformation. In the future, stakeholders' participation will be maximized and based on the maximum possible interest of the local people, and the sustainability of the mentioned peace will be guaranteed.