Skip to main content

 

มานิ วิถีแห่งป่าเขา ตอนที่ 5 สุขภาพและความเจ็บป่วย

 

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่กลางแจ้ง

ชาวมานิเนื่องจากอยู่ป่า ส่วนใหญ่แข็งแรง เด็กที่พอเดินได้ก็ต้องเดินเมื่อมีการย้ายทับ ภูมิปัญญาหลักของมานิใช้สมุนไพรในการรักษาความเจ็บป่วย ในอดีตการเจ็บป่วยทั้งหมด มานิรักษาด้วยสมุนไพร มานิมักเอาใบจังโหลนมามัดรอบศีรษะ ซึ่งจะมัดแน่นพอควร ให้ไอหอมระเหยช่วยสมดุลร่างกาย พี่จรูญ ทศกูล เล่าว่า “การคลอดลูก เขาก็ยังคลอดเองในป่าเขา คนทำคลอดก็คือสามี เหมือนกับว่า ผู้ชายทุกคนสามารถทำคลอดได้ เชื่อว่าที่เขาทำได้เพราะเคยเห็นมาเลยทำตามๆกันตามสัญชาติญาณ

ในโลกยุคใหม่ เมื่อเจ็บป่วยมาก รักษาเองไม่ได้แล้ว หลายคนก็ถูกหามเข้าสู่โรงพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่ของมานิยังไม่เคยมีชื่อในทะเบียนราษฎร ไม่มีเลข 13 หลัก จึงไม่มีหลักประกันสุขภาพ มาโรงพยาบาลจึงเป็นการรักษาพยาบาลด้วยการสงเคราะห์ ด้วยวิถีแห่งป่าเขา เด็กๆชาวมานิส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีน

คุณหมอปวิตร วณิชชานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู เล่าว่า หากมานิที่ป่วย 1 คนต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล เขาจะมาเฝ้าไข้กันทั้งครอบครัวใหญ่ เหมือนกับจะทิ้งทับมาอยู่โรงพยาบาลกันเลย โรงพยาบาลละงูแทนที่จะจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยคนเดียว ก็ต้องจัดอาหารสำหรับทั้งครอบครัวใหญ่เป็นสิบคน นี่คือความงดงามในระบบสุขภาพ

ความเจ็บป่วยคือสัจธรรมที่หนีไม่พ้น การที่มานิไม่มีเลข 13 หลัก ทำให้ไม่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ แม้โรงพยาบาลจะสงเคราะห์รักษาให้ฟรี แต่ความไม่คุ้นเคยกับระบบโรงพยาบาล ความกลัวถูกเก็บเงิน คนพามาก็อาจกลัวต้องจ่ายเงินให้ แม้ปัจจุบันหากพามาถึงโรงพยาบาล จะได้รับการรักษาฟรีตามหลักสิทธิมนุษยชนให้รอดจากความเจ็บความตาย แต่มักไม่มีระบบการดูแลด้านส่งเสริมป้องกัน การเข้าถึงบริการสุขภาพของมันนิจึงยังมีอุปสรรคมาก

 

ในภาพอาจจะมี 3 คน

 

อ่านตอนที่แล้ว

มันนิ วิถีแห่งป่าเขา (ตอนที่ 1)

มานิ วิถีแห่งป่าเขา  (ตอนที่ 2)

มานิ วิถีแห่งป่าเขา (ตอนที่ 3 ความตาย และภาษาของชาวมานิ)

มานิ วิถีแห่งป่าเขา (ตอนที่ 4 ตุดและการล่า)