Skip to main content

อารัมภบท "Times New Roman";color:#999999">

ผมเพิ่งจะเริ่มเขียน "Times New Roman";color:#999999"> Blog Kisah Patani มาได้แค่ 2 ตอนเท่านั้นเอง ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกว่าจะเขียนปูพื้นในเรื่องประวัติศาสตร์ปาตานีในยุคเริ่มแรก ก่อนที่จะเข้าสู่การเล่าเรื่องในยุคอาณานิคมอังกฤษ เมื่อวันก่อนได้เห็นประกาศเชิญชวนเที่ยวงาน “Pesta Patani : Masyarakat Madani ถอดบทเรียน ๑๐ ปี ภาคประชาสังคม” ที่จะจัดในบริเวณมัสยิดกลางปัตตานี ในวันที่ 5 มกราคม 2557 นี้ ประกอบกับเห็นหนังสือ มัสยิดกลางของประชาชนชาวไทยภาคใต้ซึ่งเป็นหนังสืออนุสรณ์เปิดตัวมัสยิดกลางปัตตานีที่คุณสมานมาจัดแสดงที่ร้านหนังสือบูคู เลยต้องตัดสินใจอยู่ชั่วขณะว่าจะเขียนเรื่องนี้แทรกมาดีหรือเปล่า ซึ่งก็คงต้องค้างเรื่อง ชนชาติต่างๆในโลกมลายู - นูซันตารา ตอนที่ 2 ไว้ก่อน คงจะไม่ทำให้เสียอรรถรสและขาดความต่อเนื่องในการติดตามอ่านมากนัก "Times New Roman";color:#333333">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333"> 

"Times New Roman";color:#333333">มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี "Times New Roman";color:#333333">

"Times New Roman";color:#999999">ปกหนังสือ "Times New Roman";color:#999999">“มัสยิดกลางของประชาชนชาวไทยภาคใต้ "Times New Roman";color:#333333">

ผมเคยเห็นและอ่านผ่านตาหนังสือ "Times New Roman";color:#333333">“มัสยิดกลางของประชาชนชาวไทยภาคใต้มาก่อนแล้ว เพราะมีเก็บไว้ในตู้หนังสือของพ่อผมอยู่เล่มหนึ่ง แต่นั่นก็นานมากกว่า 25 ปีแล้ว ปัจจุบันเข้าใจว่ายังคงอยู่ในตู้หนังสือหรือลังเก็บของที่ซุกอยู่ที่ใดที่หนึ่งในบ้านพ่อผม เพราะไม่ได้ผ่านตามานาน จนกระทั่งมาเห็นในFace book เมื่อสองสามวันก่อนนี้

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">            ที่บ้านพ่อผมจะมีหนังสือประเภทนี้อยู่มาก ด้วยเหตุที่ว่าในสมัยหนึ่งที่PULO. และBRN. มีการเคลื่อนไหวขยายแนวคิดและปฏิบัติการณ์ในแถบบ้านผมอย่างเข้มข้นนั้น กอรมน.และหน่วยงานของรัฐก็ได้เข้ามาปฎิบัติการด้านการพัฒนาและจิตวิทยาด้วย เท่าที่จำได้จะผ่านหน่วยงานด้านพัฒนาที่เรียกว่า กรป.กลาง ซึ่งมีฐานอยู่ที่บ้านเจาะวา สุไหงปาดี สมัยนั้นอยู่ภายใต้การปฏิบัติงานของ ว่าที่พันเอก ถนอม ไวถนอมสัตย์ (ผมไม่แน่ใจยศในขณะนั้นของท่านว่าใช่ยศ ว่าที่พันเอกหรือเป็นพันเอกไปแล้ว) ในการมาเยี่ยมพื้นที่เพื่องานทางด้านจิตวิทยา หลายๆครั้งที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นมักจะนำหนังสือต่างๆมาแจก โดยเฉพาะหนังสือที่จัดพิมพ์โดยหน่วยงานของรัฐ

ในยุคนั้นรัฐมีความพยายามที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ โดยเฉพาะถนน เพื่อตอบโต้ทางด้านจิตวิทยากับขบวนการต่างๆในสมัยนั้น ซึ่งมีทั้งขบวนการปลดปล่อยปาตานีและขบวนการคอมมิวนิสต์มาลายา นอกเหนือจากนั้นถนนหลายๆสายที่ตัดใหม่ในยุคนั้นก็ยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการลำเลียงกำลังพลเพื่อการปราบปรามด้วย เช่นเส้นทางตัดผ่านภูเขาไปสู่พื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นการตัดถนนผ่านผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่าและไม้มีค่า จนก่อให้เกิดการสัมปทานป่าและบริษัทค้าไม้ของผู้ทรงอิทธิพลกันอย่างกว้างขวาง "Times New Roman";color:#333333"> 

เมื่อ เดือนพฤศจิกายน mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333"> 2518 มีเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ที่มัสยิดกลางปัตตานีแห่งนี้ จาก กรณีนาวิกโยธินฆ่าชาวบ้าน 5 ศพ ที่สะพานกอตอ รอยต่อระหว่างอำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานีกับอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ของชาวมลายูปาตานี ที่เรียกร้องความเป็นธรรมตามแนวทางสันติวิธีต่อรัฐบาลเป็นเวลานาน 48 วัน 48 คืน และได้ยุติการประท้วงหลังจากผู้นำการประท้วงได้เจรจากับตัวแทนของรัฐบาลด้วย ดี ต่อมา ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 12 มกราคม 2519 และประกาศให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 4เมษายน 2519

ผมค่อนข้างจะจำเหตุการณ์ในครั้งได้ดี เพราะเกี่ยวข้องกับครอบครัวผมอยู่ด้วย เพราะหนึ่งในจำนวนเหยื่อระเบิดที่หน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานีก็คือพี่สาวของผมเอง หลังจากที่มีการฆาตกรรมชาวบ้านที่สะพานกอตอและเหยื่อฆาตกรรมในครั้งนั้นรอดชีวิตมาเปิดเผยเหตุการณ์การสังหารหมู่ในครั้งนั้น ก็เกิดการชุมนุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมที่หน้าศาลากลาง(หลังเก่า)จังหวัดปัตตานี เมื่อการณ์ชุมนุมประท้วงดำเนินการไปถึงตอนค่ำ หลังการละหมาดก็มีการปราศรัยของอุสตาซมามุ ซึ่งมีคนร่วมฟังจำนวนมาก ก็ได้มีระเบิดโยนลงมาจากข้างบนอาคารลงในตะกร้าอาหารของผู้ชุมนุม แรงระเบิดทำให้มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">

หลังเหตุการณ์ระเบิดชั่วขณะ อุสตาซมามุซึ่งปราศรัยอยู่ด้านบนก็ได้กล่าวตักบีร color:#333333">“อัลลอฮูอักบัร, อัลลอฮูอักบัร, อัลลอฮูอักบัรก็ได้ถูกยิงจากมือสังหารที่อยู่บนอาคาร กระสุนถูกร่างอุสตาซมามุ 3นัด เสียชีวิตทันที มีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหรือเดลินิวส์ ผมก็จำไม่ได้เสียแล้ว รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น 13 ราย โดยมีรายชื่อรายที่ 13 เป็นชื่อของพี่สาวผม ครอบครัวของเราทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่รับเป็นประจำที่บ้านด้วยความตกใจอย่างยิ่ง ตัวผมเองเมื่อทราบข่าวก็ช๊อคจนตัวแข็งทื่อ น้ำตาร่วงอย่างไม่อาจอดกลั้นได้ คงจะคาดเดาได้ว่าพ่อแม่ผมคงใจสลายไปตั้งแต่แรกแล้วเมื่อทราบข่าว เพราะหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นกว่าจะส่งมาถึงบ้านเราก็ล่วงเลยไปสองวันแล้ว พ่อต้องรีบไปปัตตานีเพื่อค้นหาศพลูกสาว... อัลฮัมดูลิลลาฮ์ ขอบคุณพระเจ้าผู้ทรงเมตตา

 เมื่อตรวจสอบจากสถานีตำรวจและโรงพยาบาลแล้ว ปรากฏว่าพี่สาวผมยังไม่เสียชีวิต และฟื้นขึ้นมาหลังจากสลบไปสองวัน ที่หนังสือพิมพ์รายงานข่าวว่ามีผู้เสียชีวิต color:#333333"> 13 ราย โดยมีพี่สาวผมเป็นรายที่ 13 นั้น เพราะเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุเข้าใจว่าพี่สาวผมเสียชีวิตแล้ว เพราะสภาพร่างกายที่โดยสะเก็ดระเบิดเต็มกลางหลังนั้น สาหัสจริงๆ แต่ด้วยความโชคดีที่ผู้มาร่วมชุมนุมที่รอดจากการอันตรายครั้งนั้น สังเกตในภายหลังว่าพี่สาวผมยังมีลมหายใจรวยรินอยู่ ก็เลยตัดสินใจแบกพี่สาวผมไปส่งที่โรงพยาบาลโดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ หลังจากเกิดความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานีในวันนั้น ผู้ที่ทราบข่าวต่างก็มาร่วมชุมนุมมากขึ้น โดยมาจากทุกๆพื้นที่ในสามจังหวัด และย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีแทน

ถึงแม้ว่าบาดแผลกลางแผ่นหลังของพี่สาวผมจะหายเป็นปกติ แต่ผลกระทบจากการถูกระเบิดในการชุมนุมครั้งนั้นก็ยังมีผลต่อร่างกายและจิตใจพี่สาวผมมาจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงปะทัดหรืออะไรที่มีเสียงดัง พี่สาวผมจะสะดุ้งตกใจ มีเหงื่อออกและจะชะงักงัน ใจสั่น ทำอะไรไม่ได้ชั่วขณะ และในเวลาที่ต้องอยู่ในสภาพอากาศเย็น ก็จะมีการปวดแผลที่ถูกระเบิด ปวดจนถึงกระดูกทีเดียว ซึ่งคงเป็นเพราะแรงระเบิดได้ทำความเสียหายกับระบบประสาทของพี่สาวผมนั่นเอง... "Times New Roman";color:#333333"> 

อารมณ์ชั่ววูบ ความอยากเอาชนะของผู้มีอำนาจที่มองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ของคนที่คิดต่าง ในการปฏิบัติการณ์ในเวลาไม่กี่นาทีในครั้งนั้น แต่ส่งผลต่อผู้หญิงคนหนึ่งและครอบครัวเธอ ยาวนานกว่า "Times New Roman";color:red"> 38 ปีทีเดียว "Times New Roman";color:#333333">

หลังจาก พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">2518 ก็มีการประท้วงที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีครั้งไหนที่จะใหญ่และส่งผลสะเทือนต่อรัฐได้มากเท่าการประท้วงใน พ.ศ.2518

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333"> ผมไม่ทราบว่าการก่อสร้างมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีมีการหวังผลทางการเมืองหรือเปล่า แต่นับตั้งแต่มีการสร้างมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีมาจนถึงบัดนี้  "Times New Roman";color:red">มัสยิดหลังนี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชาวปาตานีและรัฐในรูปแบบต่างๆเสมอมา อาจจะมากกว่ามัสยิดกรือเซะและมัสยิดตะโละมาเน๊าะเสียด้วยซ้ำ "Times New Roman";color:#333333">

นอกเรื่องเข้ารกเข้าพงไปเสียนาน จริงๆแล้วแค่อยากจะเล่าว่าเมื่อหลายปีก่อน ผมเคยขอสแกนภาพถ่ายเก่าจากบ้านญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่จะบังติกอ ปัตตานี ในจำนวนหลายๆภาพที่ผมสแกนนั้นมีภาพมัสยิดรายาจะบังติกอเมื่อหลายสิบปีก่อน และอีกภาพหนึ่งก็คือภาพมัสยิดกลางปัตตานีในสมัยที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ก็เลยอยากจะเล่าเรื่องมัสยิดหลังนี้ให้ทราบกัน เท่าที่ผมพอจะได้รับทราบมา "Times New Roman";color:#333333">

จากข้อมูลใน "Times New Roman";color:#333333"> web page ของจังหวัดปัตตานี (www.pattani.go.thระบุว่ามัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถงมีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333"> 

color:#999999">

color:#999999">ภาพจาก mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#999999"> Internet "Times New Roman";color:#333333">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">                 แต่จากภาพถ่ายมัสยิดที่ถ่ายในปัจจุบัน จะเห็นเป็นอาคารมัสยิดที่สวย สง่า กว้างใหญ่ แม้ว่าสระสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่บริเวณด้านหน้ามัสยิดจะยังคงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปร แต่จะเห็นว่ามีโดมหลายลูกและมีหอคอย(หออะซาน)ทั้งสี่มุม ที่ผิดแผกจากคำบรรยายลักษณะของมัสยิดที่ก่อสร้างครั้งแรก ซึ่งก็คงจะเป็นผลจากการต่อเติมอาคารหลังจากการก่อสร้างครั้งแรกไปแล้วนั่นเอง

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333"> 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">                  ภาพถ่ายเก่าของมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีรูปนี้ เข้าใจว่าคงถ่ายหลังจากการก่อสร้างเสร็จไม่นาน เป็นการถ่ายภาพมุมสูง ทำให้เห็นภาพโดมบริวารทั้ง 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง และมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าอาคาร ตามที่มีการบรรยายข้อความในweb page ของจังหวัดปัตตานีทุกอย่าง ซึ่งเป็นภาพมัสยิดที่แตกต่างกันอยู่บ้างกับมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีการขยายออกทางด้านข้างทั้งสองด้าน และสร้างหออะซานเพิ่มทางด้านหลัง (ทิศตะวันตก) อีก 2 หอ พื้นที่โดยรอบของมัสยิดในสมัยนั้นแตกต่างอย่างมากมายกับสภาพปัจจุบัน บ้านเมืองยังไม่หนาแน่นมากนัก ตรงมุมซ้ายล่างของภาพเป็นสถานีบริการน้ำมัน ผมจำไม่ได้แล้วว่าเป็น ทหารไทยหรือ Esso หรือเป็น Shellกันแน่ ซึ่งปัจจุบันได้รื้อถอนปรับเปลี่ยนสภาพจากเดิมไปแล้ว

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">                                            วัลลอฮู อะอ์ลัม

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">  "Times New Roman";color:#999999">ส่งท้าย color:#333333">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#333333">  "Times New Roman";color:#999999">          คราวหน้าคงจะได้เขียนเรื่อง ชนชาติต่างๆในโลกมลายู - นูซันตารา ตอนที่ 2” และตอนต่อไปจนกว่าจะจบประเด็นในเรื่องนั้นได้ต่อไป "Times New Roman";color:#333333">