Skip to main content

อารีด้า สาเม๊าะ

 

 

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

3 นักวิชาการ ร้องสื่อนำเสนอข้อมูลมุสลิมที่ถูกต้อง หวั่นสังคมเข้าใจผิด ห่วงนักจัดรายการวิทยุทำภาษามลายูเพี้ยน แนะเสริมสร้างทักษะด้านภาษามลายูเตรียมรับมืออาเซียน วางมาตรการควบคุมคุณภาพดีเจ

 

            ส

(จากซ้ายไปขวา) ดร.มัสลัน มาหะมะ จากมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา รศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต จากวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาคใต้

 

 

 

เมื่อเวลา mso-fareast-font-family:Calibri">09.30 น.วันที่ 6 มกราคม 2555 ที่โรงแรม บีพี แกรนด์ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มี Calibri">การเสวนาในหัวข้อ Calibri">“บทบาทของสื่อมวลชนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ ในสัมมนานักจัดรายการวิทยุมุสลิมระดับภูมิภาค ระหว่างวันที่ 6 – 7 มกราคม 2555 มีนักจัดรายการวิทยุจาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประมาณ 80 คน จัดโดยกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีดร.มัสลัน มาหะมะ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา รศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาคใต้ ร่วมเสวนา นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินรายการ

รศ.ดร.อิบราเฮ็ม อภิปรายว่า มุสลิมมีหลายสาย แต่สื่อมักจะเลือกอธิบายอิสลามสายกลางในภาพความเป็นสากล ไม่ยึดติดหลักการศาสนา และอธิบายว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะถือปฏิบัติตามหลักการศาสนาหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นมุมที่ไม่ถูกต้อง ภาพมุสลิมสายกลางคือความไม่สุดโต่งในหลักคิดใดๆ ต้องยึดหลักการกลางที่อ้างอิงจากอัลกุรอานมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่า อิสลามคือศาสนาที่ยึดมั่นในหลักการอย่างเคร่งครัด หากมีผู้ที่แหวกแนวจากหลักการนี้ ต้องเข้าหาจุดกลางของหลักการว่า อธิบายสิ่งที่กำลังหลงทางนั้นอย่างไร นั่นคือสายกลางในความหมายที่สื่อควรจะสร้างความเข้าใจต่อสังคม มากกว่าอธิบายว่า สายกลางคือความเป็นสากล

รศ.ดร.อิบราเฮ็ม อภิปรายอีกว่า สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ จึงมีองค์กรของมุสลิมจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งมีปัญหาเรื่องการยึดหลักคิดสุดโต่งและพยายามทำให้คนอื่นสุดโต่งตามไปด้วย สื่อมวลชนยิ่งต้องเข้ามาอธิบายให้สังคมเข้าใจให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของคู่ขัดแย้งให้มากที่สุด

“องค์กรศาสนาอิสลามในพื้นที่ถูกคุกคามโดยวาทกรรมต่างๆ ที่บั่นทอนความเชื่อมั่นในหลักคิดอิสลามและปิดตัวลง สิ่งที่พบคือองค์กรเองไม่เข้มแข็งพอที่จะยืนยันว่า หลักคิดของอิสลามไม่ได้เป็นภัยอย่างที่สังคมใหญ่เข้าใจ ซึ่งสื่อต้องเข้ามามีส่วนในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องว่าอิสลามที่แท้จริงสอนให้คนคิดอย่างไร” รศ.ดร.อิบรอเฮ็ม อภิปราย

ดร.มัสลัน อภิปรายว่า ปัจจุบันนักจัดรายการวิทยุในภาคภาษามลายูในจังหวัดชายแดนใต้ มีปัญหาในการนำเสนอข้อมูลหลายด้าน สร้างความกังวลแก่นักวิชาการมลายูมุสลิมในพื้นที่ไม่น้อย เช่น ยังมีนักจัดรายวิทยุบางคนเปิดเพลงพร้อมตอบปัญหาทางศาสนา ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกันชัดเจน เนื่องจากเพลงเป็นข้อห้าทางศาสนาอิสลาม

ดร.มัสลัน อภิปรายว่า นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการใช้ภาษามลายูที่ไม่ถูกต้องในการจัดรายการภาคภาษามลายู มีการใช้ภาษาไทยและมลายูปนกันในหนึ่งประโยค ซึ่งควรพูดภาษาเดียวให้จบประโยค และบางครั้งมีการใช้คำศัพท์ที่ผิดมหันต์ต่อหลักภาษามลายูมาใช้ในการสื่อสาร ซึ่งไม่เหมาะสมแก่การจัดรายการภาคภาษามลายู

“มีครั้งหนึ่งที่ผมฟังผู้จัดรายการวิทยุกล่าวจบรายการ โดยใช้คำว่า selamat pertinggal ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในการกล่าวให้พรการตายของมุสลิมให้ไปสู่ความโปรดปรานของพระเจ้า ไม่ใช่การกล่าวลาปกติ เพื่อนชาวมาเลเซียของผมฟังแล้วรู้สึกตกใจ กับการใช้ภาษาของนักจัดรายการวิทยุที่นี่” ดร.มัสลัน กล่าว

ดร.มัสลัน อภิปรายต่อไปว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการใช้ภาษามลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไม่ถูกต้อง คือการขาดช่วงในการการเรียนการสอนภาษามลายู เนื่องจากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การเรียนการสอนด้วยภาษามลายูในโรงเรียนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องหลบๆ ซ่อนๆ เนื่องจากเป็นที่จับตาอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐไทย แม้ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ กระแสของอาเซียนจะเปิดโอกาสให้มีการใช้ภาษามลายูในสังคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น แต่ทักษะการใช้ภาษามลายูได้ขาดหายไปแล้ว

ดร.มัสลัน อภิปรายต่อไปว่า นอกจากการใช้ภาษาในการใช้สื่อสารที่ต้องระมัดระวังแล้ว ยังมีเรื่องการแสดงจุดยืนที่ต้องชัดเจนด้วย มีหลายกรณีที่นักจัดรายการเปิดเพลงพร้อมเปิดสายตอบคำถามศาสนา จึงต้องสร้างความเข้าใจและเรียกร้องให้สื่อมวลชนมุสลิมในพื้นที่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคมด้วย

ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาคใต้ อภิปรายว่า สื่อนิยมผลิตซ้ำภาพความแง่ลบ เล่าเป็นฉากเหมือนหนังในละคร ซึ่งทำให้เยาวชนที่มีภูมิต้านทานต่ำซึมซับภาพเหล่านี้ แล้วส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก ดังนั้น สื่อควรระวังในการนำเสนอประเด็นนี้ให้มากขึ้น

ดร.วิสุทธิ์ อภิปรายอีกว่า บทบาทสื่อถือเป็นฟัรดูอีน(บังคับสำหรับทุกคน) ที่ต้องนำเสนอความถูกต้อง ความจริงที่ไม่เพียงเพื่อขายข่าวให้เกิดความสนใจในหน้าสื่อ เหมือนที่สื่อกระแสหลักเป็นอยู่ทุกวันนี้ และควรสร้างวัฒนธรรมการเผยแพร่สิ่งดีๆ ออกสู่สังคม อย่างที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ที่ได้รับการชื่นชมจากหลายประเทศว่า เป็นสื่อสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น

“สื่อกระแสหลักของประเทศมาเลเซีย จะประโคมข่าวนักเรียนที่สามารถเรียนได้ 9 เอ ที่ถือว่าเป็นเด็กที่เก่งมาก ไม่ว่าใครที่สามารถเรียนได้ เกรด 9 เอ สื่อจะนำเสนอข่าวเป็นสัปดาห์ ทำให้ประเทศมาเลเซียมีวัฒนธรรมส่งเสริมการศึกษาของบุตรหลานอย่างแข็งขัน ซึ่งบทบาทนี้สื่อกระแสหลักในบ้านเราควรจะคิดให้มาก เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้ดีขึ้น” ดร.วิสุทธิ์ อภิปราย