งานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 “เชื่อมร้อยเครือข่าย ผสานกำลังสื่อ สร้างพลังต่อรอง” Bargaining Power : Civil Networking and Synergy Meedia ในวันที่ 12-13 มีนาคม 2555 ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ใกล้เข้ามาทุกชั่วขณะ
เครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมต่างๆ อันประกอบไปด้วย mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:black;mso-themecolor:text1">3 mso-themecolor:text1">ภาคี คือ color:black;mso-themecolor:text1">ภาควิชาการ mso-themecolor:text1"> mso-themecolor:text1">ภาคประชาสังคม และ "Times New Roman";color:black;mso-themecolor:text1">สื่อสาธารณะใน "Times New Roman";color:black;mso-themecolor:text1">3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ mso-themecolor:text1"> mso-themecolor:text1">ต่างมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการของตัวเองภายในงานวันสื่อทางเลือกครั้งนี้
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deepsouthwatch) องค์กรประสานงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคมและภาควิชาการทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ภารกิจการสร้างกระบวนการเรียนรู้ความขัดแย้งและความรุนแรงในชายแดนภาคใต้โดยใช้ข้อมูล และการคิดค้นหาเหตุผลเพื่ออธิบายปรากฏการณ์จากมิติต่างๆ พร้อมทั้งทำหน้าที่เตือนภัยต่อสังคม
มีการจัดบรรบรรยายสาธารณ College of Deepsouthwatch หรือโรงเรียนวิชาการเมือง DSW โดยนำนักวิชาการด้านสันติวิธีจากประเทศต่างๆ ที่มีประสบการณ์อยู่ในประประเทศที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งมาสนธนาแลกเปลี่ยนกับผู้ที่สนใจปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้รับฟัง แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น
สำหรับงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 ในช่วงบ่ายเวลา 13.30 – 15.30 น. ของวันที่ 12 มีนาคม 2555 ที่ห้อง B103 ชั้น 1 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มีการจัดบรรบรรยายสาธารณะ College of Deepsouthwatch หรือโรงเรียนวิชาการเมือง DSW ห้องเรียนสัญจร ครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “Jurgen Habermas: The structural transformation of the public sphere” แนวคิดว่าด้วยพื้นที่สาธารณะของเจอร์เกน ฮาเบอร์มาส นักปรัชญาและนักทฤษฎีสังคมศาสตร์ชาวเยอรมัน โดย ดร. นอร์เบิร์ธ โรเปอร์ส ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ และนักวิจัยอาวุโส สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกลายเป็น พื้นที่สาธารณะในการเรียนรู้ของสังคม พร้อมทั้งให้สื่อมวลชน นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปช่วยกันเฝ้ามองปัญหาและเข้าใจปัญหาผ่านกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกัน
ด้านเครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ (Deep South Photojournalist-DSP) ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มของนักถ่ายภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งที่เป็นช่างภาพสื่อมวลชน ช่างภาพสื่อทางเลือก ช่างภาพอิสระ ช่างภาพอาสาสมัคร รวมถึงช่างภาพสมัครเล่น จะจัดนิทรรศการภาพถ่าย "บ้านฉัน...วันนี้" ซึ่งถ่ายเมื่อช่วงวันเด็กแห่งชาติ ที่โรงเรียนบ้านโคกเหรียง ตำบลบ้านโคกเหรียง อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ตลอดทั้ง 2 วัน
นายปิยศักดิ์ เชื่อว่า ภาพถ่ายจะสามารถสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงไปตรงมา และจะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ในการกระตุ้นหรือชักชวนสังคมให้เกิดการสนทนาถึงแนวทางการจัดการปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงความต้องการของทุกฝ่ายโดยไม่ใช้ความรุนแรงได้
“สังคมนอกพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงรับรู้ความเป็นไปของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ผ่านภาพความรุนแรง เครือข่ายช่างภาพฯ จึงขับเน้นการถ่ายภาพเชิงวัฒนธรรมเพื่อจะลดทอนบรรยากาศความไม่สงบ ส่งผลให้ภาพวิถีชีวิตของผู้คนที่ดำรงอยู่ตามความเป็นจริงในมิติต่างๆ เช่น เชิงสังคม สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตหรืออื่นๆ ที่มักถูกมองผ่าน” นายปิยศักดิ์ แสดงความเห็น
ส่วนโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (Deep South Journalist-DSJ) ภายใต้แนวคิดกึ่งสถาบันสอนทำข่าว กึ่งสำนักข่าว ที่ต้องการฝึกคนที่ต้องการทำงานข่าวเจาะเพื่อนำเสนอข่าวที่อยู่ในมุมของสังคมมองไม่เห็นทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคใต้ตอนบน normal">โดยยึดมั่นในจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัดของนายสุพจ จริงจริง บรรณธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ จะมีการยกนักข่าวในกองบรรณธิการทั้งหมดนำเสนอข่าวอัพเดทเป็นระยะๆ รวมถึงมีการจัดนิทรรศการ “ข่าวของเราไปที่ไหน” ตลอดทั้ง 2 วัน
ทว่าไฮไลต์จะอยู่ที่เวลาประมาณ 16.30 น. ของวันที่ 12 มีนาคม 2555 จะมีการเปิดตัวเว็บ http://www.deepsouthwatch.org/dsj “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)” และนำเสนอความคืบหน้าในการพัฒนาเว็บ www.deepsouthwatch.org 3.0 โดย นายรอมฎอน ปันจอร์ คณะทำงานศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และกองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
ภูมิหลังของดร. นอร์เบิร์ธ โรเปอร์ส นั้นเคยทำงานในสถาบันเพื่อการพัฒนาและสันติภาพ (มหาวิทยาลัยดุยส์เบิร์ก, เยอรมนี), ราชสถาบันแห่งกิจการระหว่างประเทศ (แชทแธม เฮ้าส์ - อังกฤษ) และสถาบันวิจัยสันติภาพแห่งแฟรงค์เฟิร์ต (PRIF) และเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิชาการกุสตาฟ สเตรซิมานน์ ต่อมาได้ร่วมก่อตั้งองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ (BPS) ซึ่งมีฐานอยู่ในนครเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการมาตั้งแต่ปี 2547 เขายังเป็นผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยเบิร์กฮอฟเพื่อ การจัดการความขัดแย้งที่สร้างสรรค์ (ปัจจุบันคือศูนย์วิจัยความขัดแย้งเบิร์กฮอฟ - BCR) ซึ่งเป็นองค์กรพี่น้องของ BPS ในห้วงปี 2544-2551 เขาเป็นประธานเครือข่ายทรัพยากรเพื่อการศึกษาคามขัดแย้งและการแปรเปลี่ยน ความขัดแย้ง (RNCST) ในศรีลังกา ปัจจุบัน ดร. นอร์เบอร์ธเป็นนักวิจัยอาวุโส (Senior Research Fellow) ประจำสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (Center for Conflict Studies and Cultural Diversity-CSCD) และที่ปรึกษาพิเศษของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch-DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> |
color:black;mso-themecolor:text1">อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
mso-themecolor:text1">