Skip to main content

mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">ข้อเขียนของ
Calibri;mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">bungaraya เผยอักษรมลายูโบราณ มิได้มีเพียง “ยาวี” ชี้ตัวเขียน “เรินจง(Rencong), กาวี (Kawi), ปาลาวะ(Palava)” สร้างสรรค์โดยคนท้องที่ชาติพันธุ์ดังเดิม ปัจจุบันสาบสูญไปแล้ว จากอิทธิพลภายนอก

 rencong

ใครที่กล่าวว่าเชื้อชาติเมอลายูไม่มีตัวเขียนในภาษาที่บ่งบอกถึงเชื้อชาติของพวกเขาเอง? ก่อนที่ตัวเขียนรูมีจะถูกใช้เป็นตัวเขียนในภาษาเมอลายู ชาวเมอลายูเคยใช้ตัวเขียนมาแล้วอย่างน้อย 4 รูปแบบตัวอักษร ได้แก่ เรินจง(Rencong), กาวี (Kawi), ปาลาวะ(Palava), และญาวี(Jawi)

ใน 4 รูปแบบที่กล่าวมานี้ มีเพียงอักษรเรินจงซึ่งนับว่าเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นตัวเขียนเมอลายูต้นแบบ แต่น่าเสียดายเป็นอย่างมากที่อักษร เรินจง กาวี และปาลาวะ ได้สูญหายไปแล้ว จนอักษรญาวีเข้ามาแทนที่ แต่ก็ตกอยู่ในสถานะหายใจรดต้นคอ

 

ประวัติศาสตร์แห่งอักษรเรินจง

อักษรเรินจงเคยถูกนำมาใช้ในภาษาทางการในภาษาเมอลายูในสมัยโบราณ (สมัยก่อนการมาถึงของวัฒนธรรมอินเดียในดินแดนเมอลายู)

อักษรเรินจง คือตัวอักษรเมอลายูดั่งเดิมที่ชาวเมอลายูนำมาใช้สมัยโบราณ ด้วยระบบการเขียนภาษาเมอลายูโบราณ เรินจงยังถูกเรียกว่าอักษร “ตัวเฉียง” และเป็นที่รู้จักในอักษรดังกล่าว เนื่องจากว่าตัวอักษรเป็นตัวเฉียง

อักษรเรินจงพบว่า มีอยู่ก่อนอักษรญาวากูโน (ตัวเขียนกาวี) นอกจากนี้อักษรดังกล่าวยังถือว่าเป็นตัวเขียนเมอลายูที่ยาวนานที่ใช้ในหนังสือทางการภาษาเมอลายูมาตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 6 ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยดินแดนสุมาตรา อย่างไรก็ตามน่าเชื่อว่าตัวเขียนเรินจงถูกใช้มานานตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3

อักษรนี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยจินตนาการของชาวเมอลายู ด้วยการเลียนแบบรูปร่างของกิ่งก้านสาขา ของกิ่งไม้ และการไหลรินของแม่น้ำลำธาร

ตัวเขียนเมอลายูโบราณนี้ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1892 บนแท่นเสาหิน ศิลาจารึก ที่โกตากาปูรฺ เมืองโกตากาปูรฺ บังกาบารัต สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

นอกจากเรินจง อักษรกาวี และปาลาวะ (ทั้งสองมาจากอินเดีย) ยังเป็นภาษาทางการในสมัยเมอลายูโบราณ แต่กระนั้นอักษรเรินจงเปรียบเสมือนอักษรหนึ่งที่เป็นการสร้างสรรค์มาโดยชาติพันธุ์เมอลายูโดยปราศจากอิทธิพลจากชนชาติที่นอกเหนือนูซันตาราหรือโลกเมอลายู

การใช้ตัวอักษรเรินจง กาวี และปาลาวะ ชาวเมอลายูโบราณได้เขียนไว้บนเปลือกไม้ หนังสัตว์ ใบตาล โลหะแผ่น และบนแท่นหิน (รวมถึงศิลาจารึก)

ขณะที่เริ่มมีการเผยแพร่อิสลามในหมู่เกาะเมอลายู ชาวเมอลายูคลาสสิก(โบราณ)พยายามที่จะยังคงอักษรเรินจง (ตลอดจนกาวี และปาลาวะ) เพื่อเขียนเกี่ยวกับอิสลาม พวกเขาค้นพบกว่า ทั้งสามไม่เหมาะสมและไม่สามารถที่จะออกเสียงคำใหม่ๆจากคัมภีร์อัล-กุรอาน และฮาดิษอย่างถูกต้อง จากการสร้างหรือเติมอักษรใหม่ในตัวเขียนเรินจง กาวี และปาลาวะ ชาวเมอลายูโบราณได้ตัดสินเพื่อที่จะยกเลิกตัวเขียนทั้งสามรูปแบบ

ฉะนั้นชนชาติเมอลายูจึงได้ทดลองที่จะทดสอบในการใช้อักษรอาหรับ ด้วยเสียงสะกดในภาษาเมอลายู ผลที่ได้ เกิดตัวเขียนญาวี(Jawi) ที่มาจากตัวอักษรอาหรับด้วยการเติมตัวอักษรลงไป และใช้ในภาษาทางการของเมอลายูโบราณ

อย่างไรก็ตามอักษรเรินจงยังคงใช้ในพื้นที่มีนังกาเบา และเกาะสุมาตราตอนใต้ (บังกาเหนือ และปาเลมบังเหนือ) ตลอดจนศตวรรษที่ 18 ก่อนที่ชาวโปรตุเกสจะมายึดครองอินโดนีเซีย

ตัวเขียนญาวีได้เปลี่ยนบทบาทของตัวเองมาเป็นภาษาทางการของภาษาเมอลายูโบราณหลังจากการเข้ามาของศาสนาอิสลามในหมู่เกาะเมอลายู

     

ที่มา : http://www.bungarayanews.org/news/view_news.php?id=627

โดย : bungaraya วันที่ : 7 มิถุนายน 2555