เมื่อคิดทำงานชายแดนใต้:
ควรทำงานกันอย่างไรอีก10 ปีข้างหน้า?...
อิสมาอีล เจ๊ะนิ
บทนำ
ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับวันดีวันดีขึ้น ภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียวของทุกภาคส่วนที่อาสาร่วมช่วยชายแดนใต้สู่สันติสุข เหมือนดังวลีอันน่าตื่นเต้นว่า “... รวมเป็นหนึ่ง ให้เสมือนสายลม ที่ปัดเป่าความทุกข์ นำพาสันติสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้จงได้…” วลีสั้นๆ ที่กินใจ คนพื้นที่อย่างข้าพเจ้าและคนธรรมดาที่ไร้ตัวตนแห่งชื่อ ทำให้ตัวตนแห่งชื่อที่ไม่มีพื้นที่อธิบายสภาวะทางสังคมแห่งที่นั้น จำเป็นต้องถอยร้นอีกครั้งเพื่อพิสูจน์ทราบความจริงแท้แห่งสภาวะที่เป็นอยู่ มากกว่านั้นนับเป็นการถ่อมตนในสภาวะ ที่นักวิชาการที่อยู่บนตึกเล่นเทียนเขียนที่ชาวบ้านเดินดินอย่างเราออกจะตามไม่ทัน “…มันสูงนักคนบ้านนอกอย่างเราจะเข้าใจความคิดสูงๆเหล่านั้น...” แต่ด้วยภารกิจอันน่าเสาะแสวงหาทำให้ปัญญาชน และนักคิดบ้านนอกอย่างข้าพเจ้าก็ต้องทำ ต้องประกาศหาความสันติสุขแท้ของพื้นที่อันเป็นภารกิจที่ข้าพเจ้าประกาศตัวตนอยู่ร่ำไป
การสลับร่างเพื่อคลิกความคิดอันเป็นกรอบที่ฝั่งลึกของนักวิชาการที่ไม่ยอมเปลี่ยนกรอบให้มองกว้างรอบด้านมากกว่านี้ นับเป็นงานใหญ่ไม่ใช่น้อยที่ต้องกระทำ ณ เวลานี้ เพราะการสืบค้นความจริงแท้ที่อาศัยพลังตัวตนที่ต้องมองอย่างองค์รวม ที่ต้องอาศัยการเสริมพลังสังคมแห่งการเรียนรู้ในหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการทางสังคม (Community Action Research : CAR ) การทัศนศึกษาพิสูจน์ทราบพื้นที่ต้นแบบ การถอดบทเรียน การศึกษาโมเดล การสังเคราะห์องค์ความรู้ หรือแม้แต่การเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Base) เชิงประเด็น (issue Base) ภายใต้กรอบคิดการทำงานแบบบูรณาการที่เน้นกระบวนการขับเคลื่อนแบบเสริมพลังที่มีพหุภาคีในการทำงานร่วมกัน นับเป็นกลไกหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อสู้กับกระบวนคิดการทำงานในชายแดนใต้
ความเป็นนักวิชาการที่ไร้ชื่ออย่างข้าพเจ้า การหาตัวตนที่แท้จริงจากในพื้นที่จริง ย่อมเป็นเรื่องท้าทายของความเป็นนักวิชาการบ้านนอกที่แสวงหาความจริงที่ลงลึกแทรกซึม ลงหาความจริงแท้จากชาวบ้าน จากชุมชน แกนนำ หรือปราชญ์ที่อยู่เต็มพื้นที่ของชุมชน อันเป็นพื้นที่ที่บรรดานักวิชาการมองข้ามรังเกียจ และถูกมองว่าเขาเหล่านั้นแค่คนจบป.4 หาเทียบเคียงกับความเป็นดร. ได้อย่างไรเหมือนๆกับตัวตนแห่งชื่อ (ผู้เขียน) ถูกกำบังความคิดด้วยคำง่ายๆ ว่าคุณคือใคร มีชื่อไหม มียศ หรือมีตำแหน่งวิชาการอะไรอันเป็นสาระของสังคมไทยที่ติดยึด ทำให้ความเป็นตัวตนที่กดทับเหล่านั้นจำเป็นต้องแสดงพลังปัญญาหาความเป็นตัวตนแห่งที่ ในการร่วมแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้อีกครั้ง ในท่ามกลางที่ข้าพเจ้าต้องหาสันติสุข กับอีกคนกำลังหารัฐที่เป็นธรรมนั้นเอง
การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ย่อมเป็นสาระสำคัญยิ่งในการแก้ปัญหาพื้นที่พิเศษแห่งนี้ เป็นเพราะนักคิดอย่างข้าพเจ้า นักคิดที่ไม่อยากมองพื้นที่แห่งนี้เป็นเสมือนพื้นที่ที่ทำงานของหนูทดลอง ที่ไม่สำมารถดิ้นรนชีวิตปลดแอกแห่งคำง่ายๆว่า พื้นที่แห่งเฝ้าระวัง สังคมแห่งการเอาใจ ชุมชนแห่งการให้ แต่อยากให้ตัวตนแห่งชื่อมีสภาวะความเป็นตัวตนที่เกิดจากใจสู่การก่อตัวพลังที่เป็นธรรม ที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นทางออกที่สำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาสภาวะสังคมสามจังหวัดชายแดนใต้แห่งนี้ เพราะการดิ้นรนแสวงหาความจริงอย่างไม่มีเงื่อนไขนับเป็นกฎสภาวะจริงแท้ของการนำไปสู่ความเป็นธรรม
ภายใต้กฎสภาวะจริงแท้อยู่เอง ทำให้ตัวตนแห่งชื่อ(ตัวตนของผู้เขียน) จำเป็นต้องสดับรับดู มอง ฟัง เห็นของความจริงแท้อย่างมีสมาธิ เพราะการสดับเหล่านั้นล้วนถูกสร้างแล้วในฐานคิดจากผู้นำการเปลี่ยนในพื้นที่พิเศษแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นฐานคิดการเสริมพลังความมั่นคงของชาติมิติสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามรอยพระยุคลบาทที่สอนให้ใช้พลังบริสุทธิ์ที่เป็นหนึ่งเดียวในมิติองค์รวม (รูปธรรม นามธรรม เชิงซ้อน) ที่มีกลไกเชิงระบบแบบบูรณาการ 3 ฝ่าย (รัฐ วิชาการ ประชาชน ) ในการทำงาน ภายใต้กระบวนการการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ ( Learning by doing ) ที่มีการสืบสานพลังชีวิตธรรมาธิปไตยอย่างต่อเนื่องในการเสริมพลังความมั่นคงของชาติภายใต้หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขในการสร้างพลังอำนาจที่เป็นธรรม เกิดรัฐธรรมาธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวหากคำถามที่ว่า “…เมื่อคิดทำงานชายแดนใต้ : ควรทำงานกันอย่างไรอีก10 ปีข้างหน้า?...ข้าพเจ้าคิดว่า การบูรณาการความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นแนวทางสำคัญในการทำงานของคุณ?...
หมายเหตุ : ( หากสนใจบทความฉบับสมบูรณ์ติดตามได้จากคุณอิสมาอีล เจ๊ะนิ นักวิจัยศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย)
ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับวันดีวันดีขึ้น ภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียวของทุกภาคส่วนที่อาสาร่วมช่วยชายแดนใต้สู่สันติสุข เหมือนดังวลีอันน่าตื่นเต้นว่า “... รวมเป็นหนึ่ง ให้เสมือนสายลม ที่ปัดเป่าความทุกข์ นำพาสันติสุข มาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้จงได้…” วลีสั้นๆที่กินใจ คนพื้นที่อย่างข้าพเจ้าและคนธรรมดาที่ไร้ตัวตนแห่งชื่อ ทำให้ตัวตนแห่งชื่อที่ไม่มีพื้นที่อธิบายสภาวะทางสังคมแห่งที่นั้น จำเป็นต้องถอยร้นอีกครั้งเพื่อพิสูจน์ทราบความจริงแท้แห่งสภาวะที่เป็นอยู่ มากกว่านั้นนับเป็นการถ่อมตนในสภาวะที่นักวิชาการที่อยู่บนตึกเล่นเทียนเขียนที่ชาวบ้านเดินดินอย่างเราออกจะตามไม่ทัน “…มันสูงนักคนบ้านนอกอย่างเราจะเข้าใจความคิดสูงๆเหล่านั้น...” แต่ด้วยภารกิจอันน่าเสาะแสวงหาทำให้ปัญญาชน และนักคิดบ้านนอกอย่างข้าพเจ้าก็ต้องทำ ต้องประกาศหาความสันติสุขแท้ของพื้นที่อันเป็นภารกิจที่ข้าพเจ้าประกาศตัวตนอยู่ร่ำไป
การสลับร่างเพื่อคลิกความคิดอันเป็นกรอบที่ฝั่งลึกของนักวิชาการที่ไม่ยอมเปลี่ยนกรอบให้มองกว้างรอบด้านมากกว่านี้ นับเป็นงานใหญ่ไม่ใช่น้อยที่ต้องกระทำ ณ เวลานี้ เพราะการสืบค้นความจริงแท้ที่อาศัยพลังตัวตนที่ต้องมองอย่างองค์รวม ที่ต้องอาศัยการเสริมพลังสังคมแห่งการเรียนรู้ในหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการทางสังคม (Community Action Research : CAR ) การทัศนศึกษาพิสูจน์ทราบพื้นที่ต้นแบบ การถอดบทเรียน การศึกษาโมเดล การสังเคราะห์องค์ความรู้ หรือแม้แต่การเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Base) เชิงประเด็น (issue Base) ภายใต้กรอบคิดการทำงานแบบบูรณาการที่เน้นกระบวนการขับเคลื่อนแบบเสริมพลังที่มีพหุภาคีในการทำงานร่วมกัน นับเป็นกลไกหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อสู้กับกระบวนคิดการทำงานในชายแดนใต้
ความเป็นนักวิชาการที่ไร้ชื่ออย่างข้าพเจ้า การหาตัวตนที่แท้จริงจากในพื้นที่จริง ย่อมเป็นเรื่องท้าทายของความเป็นนักวิชาการบ้านนอกที่แสวงหาความจริงที่ลงลึกแทรกซึม ลงหาความจริงแท้จากชาวบ้าน จากชุมชน แกนนำ หรือปราชญ์ที่อยู่เต็มพื้นที่ของชุมชน อันเป็นพื้นที่ที่บรรดานักวิชาการมองข้ามรังเกียจ และถูกมองว่าเขาเหล่านั้นแค่คนจบป.4 หาเทียบเคียงกับความเป็นดร.ได้อย่างไรเหมือนๆกับตัวตนแห่งชื่อ (ผู้เขียน) ถูกกำบังความคิดด้วยคำง่ายๆ ว่าคุณคือใคร มีชื่อไหม มียศ หรือมีตำแหน่งวิชาการอะไรอันเป็นสาระของสังคมไทยที่ติดยึด ทำให้ความเป็นตัวตนที่กดทับเหล่านั้นจำเป็นต้องแสดงพลังปัญญาหาความเป็นตัวตนแห่งที่ ในการร่วมแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้อีกครั้ง ในท่ามกลางที่ข้าพเจ้าต้องหาสันติสุข กับอีกคนกำลังหารัฐที่เป็นธรรมนั้นเอง
การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ย่อมเป็นสาระสำคัญยิ่งในการแก้ปัญหาพื้นที่พิเศษแห่งนี้ เป็นเพราะนักคิดอย่างข้าพเจ้า นักคิดที่ไม่อยากมองพื้นที่แห่งนี้เป็นเสมือนพื้นที่ที่ทำงานของหนูทดลอง ที่ไม่สำมารถดิ้นรนชีวิตปลดแอกแห่งคำง่ายๆว่า พื้นที่แห่งเฝ้าระวัง สังคมแห่งการเอาใจ ชุมชนแห่งการให้ แต่อยากให้ตัวตนแห่งชื่อมีสภาวะความเป็นตัวตนที่เกิดจากใจสู่การก่อตัวพลังที่เป็นธรรม ที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นทางออกที่สำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาสภาวะสังคมสามจังหวัดชายแดนใต้แห่งนี้ เพราะการดิ้นรนแสวงหาความจริงอย่างไม่มีเงื่อนไขนับเป็นกฎสภาวะจริงแท้ของการนำไปสู่ความเป็นธรรม
ภายใต้กฎสภาวะจริงแท้อยู่เอง ทำให้ตัวตนแห่งชื่อ(ตัวตนของผู้เขียน) จำเป็นต้องสดับรับดู มอง ฟัง เห็นของความจริงแท้อย่างมีสมาธิ เพราะการสดับเหล่านั้นล้วนถูกสร้างแล้วในฐานคิดจากผู้นำการเปลี่ยนในพื้นที่พิเศษแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นฐานคิดการเสริมพลังความมั่นคงของชาติมิติสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามรอยพระยุคลบาทที่สอนให้ใช้พลังบริสุทธิ์ที่เป็นหนึ่งเดียว ในมิติองค์รวม (รูปธรรม นามธรรม เชิงซ้อน) ที่มีกลไกเชิงระบบแบบบูรณาการ 3 ฝ่าย(รัฐ วิชาการ ประชาชน ) ในการทำงาน ภายใต้กระบวนการการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ ( Learning by doing ) ที่มีการสืบสานพลังชีวิตธรรมาธิปไตยอย่างต่อเนื่องในการเสริมพลังความมั่นคงของชาติภายใต้หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขในการสร้างพลังอำนาจที่เป็นธรรม เกิดรัฐธรรมาธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวหากคำถามที่ว่า “…เมื่อคิดทำงานชายแดนใต้ : ควรทำงานกันอย่างไรอีก10 ปีข้างหน้า?...ข้าพเจ้าคิดว่า การบูรณาการความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเป็นแนวทางสำคัญในการทำงานของคุณ?...
หมายเหตุ : ( หากสนใจบทความฉบับสมบูรณ์ติดตามได้จากคุณอิสมาอีล เจ๊ะนิ นักวิจัยศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย)