Skip to main content

กว่าจะเรียกว่าเป็นปราชญ์ ปราชญ์ชาวบ้าน หรือนักคิดท้องถิ่น หรือครูภูมิปัญญาไทยแล้วแต่จะเรียกกัน จะมีมากมายในหลายด้านแล้วแต่งานที่ท่านปฏิบัติจนบังเกิดผล ไม่ใช่ได้มาด้วยการจัดตั้ง แต่งตั้ง ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ตามคุณสมบัติของผู้ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน คือ 1 คนเหล่านี้มีความยุติธรรมในใจ ความเป็นธรรมอยู่ในใจทุกท่าน มีความรัก ความเมตตา ความอยากช่วยคน โดยการปฏิบัติ 2 คนเหล่านี้คิดทำสรุปบทเรียน แล้วนำมาเป็นความรู้ให้คนเห็นได้อย่างชัดเจน มีทั้งวิชาการภาคประชาชนและภาคปฏิบัติตามแนวทางของวิถีชีวิตให้เห็น 3 คนเหล่านี้มีความรัก ความเป็นปราชญ์ไม่ได้อยู่ที่ความฉลาดของปัญญาที่เกิดจากการกระทำ แต่เกิดจากความรักที่มีแรงบันดาลใจให้แบ่งปันแก่ผู้อื่น 4คนเหล่านี้เป็นที่พึ่งของสังคม โดยการแผ่ภูมิปัญญาที่เกิดจากการทำจริงด้วยความรัก แผ่นดินที่มีลูกหลาน มีป่า มีชุมชน มีเมือง โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ปราชญ์ชาวบ้านนั้นเป็นผู้ที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ มีความคิดเข้าระบบชอบค้นหาความจริง ช่างสังเกตและนำสิ่งที่พบเห็นมาเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง สามารถสรุปเป็นบทเรียนได้ ดังเช่นปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้ลูกหลานได้พัฒนาองค์ความรู้ในปัจจุบัน (ส่วนรวมคือชีวิต ถ้าส่วนรวมไม่รอดตนเองก็ไม่รอด )